Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ.....TMC ผู้นำผลิตเครื่องจักรระบบไฮดรอลิค (ต่อ 1)

5,327

 


กลุ่มลูกค้าหลัก ของTMC แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มลูกค้าในประเทศ บริษัทมีการจำหน่ายสินค้าในประเทศเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 93.03 และร้อยละ 85.42 ของรายได้รวมในปี 2554 และ 6 เดือนแรกของปี 2555 ตามลำดับ โดยเป็นการจำหน่ายให้แก่ทั้งลูกค้าภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ และจำหน่ายให้แก่ลูกค้าภาครัฐซึ่งได้แก่คู่ค้าที่เป็นคู่สัญญากับทางภาครัฐและ2.กลุ่มลูกค้าต่างประเทศ บริษัทมีการจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศกว่า 15 ประเทศ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6.97 และ 14.58 ของรายได้รวมในปี 2554 และ 6 เดือนแรกของปี 2555 ตามลำดับ โดยเป็นทั้งการส่งออกเองโดยตรงและจำหน่ายผ่านบริษัทผู้จัดหาสินค้าของลูกค้า

ส่วนนโยบายราคา.... สามารถแบ่งได้สามประเภทตามสินค้า คือ
1.สินค้าประเภทเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิค บริษัทมีการกำหนดราคาขายโดยคำนวณต้นทุนและบวกด้วยอัตรากำไรขั้นต่ำตามที่กำหนด (Cost Plus Pricing) 
2.สินค้าประเภทเครนระบบไฮดรอลิค บริษัทมีการกำหนดราคาขายแบบโดยแบ่งตามกลุ่มของลูกค้า ( Multi Pricing Policy) ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ใช้สินค้า ตัวแทนจัดจำหน่ายซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางภาครัฐ และตัวแทนจำหน่ายทั่วไปบริษัทจึงมีการกำหนดราคาขายตามประเภทของลูกค้าและจำนวนในการสั่งซื้อ
3.เครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิค บริษัทมีกำหนดการราคาขายแบบโดยแบ่งตามกลุ่มของลูกค้า ( Multi Pricing Policy) ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ใช้สินค้า และตัวแทนจำหน่ายทั่วไป บริษัทจึงมีการกำหนดราคาขายตามประเภทของลูกค้าและจำนวนในการสั่งซื้อ

ช่องทางการจำหน่าย
บริษัทจำแนกช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าตามประเภทของสินค้าได้ 3 ประเภท คือ
1.เครื่องเพรสระบบไฮดรอลิค บริษัทมีช่องทางการจัดจำหน่าย 2 ช่องทางคือการขายตรงให้แก่ผู้ใช้สินค้า และผ่านบริษัทผู้จัดหาสินค้าของลูกค้า
2.เครนระบบไฮดรอลิค บริษัทมีช่องทางการจัดจำหน่าย 3 ช่องทางคือ การขายโดยตรงให้แก่ลูกค้า ตัวแทนจำหน่ายซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางภาครัฐ และตัวแทนจำหน่ายทั่วไป
3.เครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิค บริษัทมีช่องทางการจัดจำหน่าย 2 ช่องทางคือ การจำหน่ายโดยตรงกับลูกค้า และจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วไป


อุตสาหกรรม-สภาวะการแข่งขัน

            ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรระบบไฮดรอลิคของบริษัทนับเป็นเสมือนหัวใจสำคัญในสายการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยบริษัทมีรายได้จากลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เท่ากับร้อยละ 40.93 และ 50.00 ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2554 และ 6 เดือนแรก ปี 2555 ตามลำดับ และมีรายได้จากลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เท่ากับร้อยละ 4.79 และ 15.17 ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2554 และ 6 เดือนแรก ปี 2555 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาวะอุตสาหกรรมของกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทมีดังต่อไปนี้

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์นับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ภาครัฐกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของประเทศ โดยจากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยพบว่ามีผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บริษัท ซึ่งโครงสร้างการผลิตประกอบไปด้วยผู้ผลิตในส่วนต่างๆ มากมาย เนื่องจากในยานยนต์ 1 คันนั้น ประกอบไปด้วยชิ้นส่วน 20,000-30,000 ชิ้นจึงทำให้เกิดโครงสร้างการแบ่งงานกันทำและการจ้างผลิตเป็นลำดับชั้นต่างๆ ไก้แก่ 1)โรงประกอบยานยนต์ได้แก่ ค่ายรถยี่ห้อต่างๆ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน เป็นต้น 2)ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 3)ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 2 และ4)ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 3 นอกจากผู้ประกอบการดังกล่าวข้างต้นแล้ว อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ยังต้องอาศัยอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมศูนย์บริการยานยนต์ เป็นต้น

เครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคประเภทต่างๆ นั้น นับว่าเป็นเครื่องจักรที่มีบทบาทสำคัญในสายการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างแม่พิมพ์สำหรับผลิตชิ้นส่วนไปจนถึงการประกอบเป็นยานยนต์พร้อมจำหน่าย เครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคมีอายุการใช้งานประมาณ 8-10 ปี ซึ่งจะมีการสั่งเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคในกรณีดังนี้ 1)กรณีขยายกำลังการผลิตยานยนต์รุ่นเดิมของค่ายรถนั้น (Existing Model) ผู้ผลิตในลำดับขั้นต่างๆ จะมีการสั่งซื้อเครื่องจักรในสายการผลิตเพิ่มในกรณีที่เครื่องจักรเดิมมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ ผู้ผลิตชิ้นส่วนในลำดับชั้นต่างๆ จึงต้องเตรียมกำลังการผลิตให้พร้อมเพื่อรองรับแผนการเพิ่มกำลังการผลิตดังกล่าว 2)กรณีที่ค่ายรถมีการออกจำหน่ายยานยนต์รุ่นใหม่ (New Model) กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนในลำดับชั้นต่างๆ รวมถึงโรงงานประกอบและผู้ผลิตแม่พิมพ์ก็มักจะต้องมีการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ที่มีความสามารถรองรับการผลิตยานยนต์รุ่นใหม่ได้ ซึ่งจากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ค่ายรถต่างๆ จะมีการออกจำหน่ายยานยนต์รุ่นใหม่ทุกๆ 4-7 ปี และมีการปรับเปลี่ยนโฉมของรถรุ่นเดิม (Minor Change) ทุกๆ 2-5 ปี ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโฉมยานยนต์ ผู้ผลิตในลำดับขั้นต่างๆ ก็จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่ใช้อยู่ให้สอดคล้องกับการปรับโฉมรูปแบบใหม่ หรือต้องมีการลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ในกรณีที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่มีอยู่ได้

นอกจากการใช้งานเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคในสายการผลิตยานยนต์แล้ว สินค้าในกลุ่มเครนระบบไฮดรอลิคและเครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิคก็นับเป็นกลุ่มเครื่องจักรที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นกัน โดยสินค้าประเภทเครนและเครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิคจะถูกนำไปใช้ในศุนย์บริการยานยนต์เพื่อใช้ในงานซ่อมบำรุง หรือนำไปใช้ในการขนส่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ อุปกรณ์ หรือวัสดุต่างๆ เป็นต้น


8ปัจจัยความเสี่ยง-ทางแก้ของTMC

1.ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

เนื่องจากเหล็กเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตเครื่องจักรของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงมความเสี่ยงหากราคาเหล็กมีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลให้ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภท เครื่องเพรสระบบไฮดรอลิค เป็นสินค้าที่ผลิตเมื่อลูกค้ามีคำสั่งซื้อ ดังนั้นราคาสินค้าจึงสามารถถูกปรับให้สอดคล้องกับราคาวัตถุดิบ เมื่อเสนอราคาให้แก่ลูกค้าได้ นอกจากนี้บริษัทยังมีการสั่งซื้อเหล็กทันทีหลังได้รับคำสั่งซื้อเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาเหล็กให้น้อยที่สุด อีกทั้งบริษัทยังมีการเปรียบเทียบราคาเหล็กระหว่างผู้จัดจำหน่ายตั้งแต่ 2รายขึ้นไปเพื่อให้เกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ส่วนสินค้าประเภทเครนระบบไอดรอลิคและเครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิค บริษัทใช้นโยบายในการกำหนดราคาขายของสินค้าโดยพิจารณาจากต้นทุนขายของบริษัทควบคู่ไปกับราคาของคู่แข่ง ณ ขณะนั้น

2.ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

บริษัทมีการสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ จำนวน 25.72 ล้านบาทและ 14.54 ล้านบาท ในปี 2554 และ 6 เดือนแรกของปี 2555 ตามลำดับ จึงทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามบริษัทมีการจำหน่ายสินค้าของบริษัทไปยังต่างประเทศ เป็นเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่า 46.69 ล้านบาท และ 63.63 ล้านบาท ในปี 2554 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัทมีการสั่งซื้อสินค้าและการจำหน่ายสินค้าเป็นเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ ดังนั้นบริษัทจึงสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ในระดับหนึ่ง (Natural Hedge) โดยผู้บริหารของบริษัทได้มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและการส่งมอบสินค้าที่มีการจ่ายชำระหรือรับชำระเงินเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว

สำหรับความเสียงจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการวางแผนการสั่งซื้อและส่งมอบ (Natural Hedge ) นั้น ในอดีตที่ผ่านมาบริษัทไม่มีการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามในปี 2555 บริษัทได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจได้รับจากความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทจึงทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า  (Forward Contract) บางส่วนเพื่อป้องกันความเสี่ยงสำหรับบางรายการที่บริษัทพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูง  ทั้งนี้  ณ  วันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทได้ทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสำหรับรายการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนจำนวน 0.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือคิดเป็นประมาณ 24.32 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 32.00 บาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) นอกจากนี้บริษัทมีการเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ วึ่งการเปิดบัญชีเงินฝาก FCD ดังกล่าวเป็นการลดภาระความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

3.  ความเสี่ยงจากการขาดแรงงานมีทักษะ

เนื่องจากบริษัทผลิตเครื่องจักรเฉพาะทาง ซึ่งต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีความรู้ เฉพาะด้าน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงในการที่จะขาดแคลนบุคลากรหากบริษัทไม่สามารถหาบุคคลทดแทนหรือพัฒนาทักษะพนักงานที่มีอยู่ได้ทันอย่างไรก็ตามบริษัทมีการจูงใจพนักงาน โดยให้อัตราค่าจ้างเพิ่มสำหรับพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง จึงทำให้อัตราการลาออกของพนักงานอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีการอบรมทักษะเพิ่มเติมให้พนักงานในจุดทำงานที่ต่างกันเพื่อว่าในกรณีที่จุดใดขาดคน ก็สามารถนำบุคคลกรจากจุดทำงานอื่นเข้ามาทำงานแทนได้

4.  ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

บริษัทมีต้นทุนทางการเงินจากเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงิน จำนวน 15.30 ล้านบาท และ 5.53 ล้านบาทในปี 2554 และ 6 เดือนแรก ปี 2555 ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ดังนั้นในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น บริษัทจะมีภาระค่าใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อบริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้วจะเป็นการระดมทุนเพื่อนำมาชำระหนี้เงินกู้ยืมจากธนาคารซึ่งจะช่วยลดหนี้เงินกู้ยืมและเป็นการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยลอยตัว

5. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงอุตสาหกรรมยานยนต์และลูกค้ารายใหญ่

ในปี 2554 และ 6 เดือนแรก ปี 2555 บริษัทมีการพึ่งพารายได้จากลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ร้อยละ 40.93และร้อยละ 50.00 ของรายได้จากการขายและบริการตามลำดับ โดยหากความต้องการซื้อในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ลดน้อยลงจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท  อย่างไรก้ดีเนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานประมาณร้อยละ 8 ของแรงงานทั้งประเทศ  ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่องดังเห็นได้จากนโยบายรถยนต์ประหยัดพลังงาน  (อีโคคาร์) และนโยบายรถคันแรก  อีกทั้งบริษัทยังมีการขยายตลาดไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อลดการพึ่งพิงในอุตสาหกรรมยานยนต์ อีกด้วยทั้งนี้นอกจากรายได้จากลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว บริษัทยังมีรายได้จากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ คือรายได้จากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า  และอุตสาหกรรมไม้แปรรูป  โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.17 และร้อย  ละ 7.57 ของรายได้จากการขายและบริการในงวด 6 เดือนปี 2555 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้น รายได้ของบริษัทจึงไม่ได้พึ่งพากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เพียงอุตสาหกรรมเดียว บริษัทมีรายได้จากการขายให้ลูกค้ารายใหญ่ 10 รายแรกในปี 2554 และ 6 เดือนแรก ปี 2555 ในสัดส่วนร้อยละ 35.44 และร้อยละ 45.86 ของรายได้จากการขายและบริการตามลำดับ แต่ไม่มีลูกค้ารายใดที่มียอดสั่งซื้อเกินร้อยละ 10.00 ของรายได้รวมของบริษัทดังนั้นบริษัทจึงไม่มีความเสี่ยงจากการสูญเสียรายได้จากลูกค้ารายใหญ่

6. ความเสี่ยงในการจัดหาเหล็กชนิดพิเศษ
ในการผลิตเครื่องเพรส มีชิ้นส่วนของเครื่องบางชิ้นที่จำเป็นจะต้องใช้เหล็กชนิดพิเศษ  ซึ่งเหล็กชนิดนี้มีราคาสูงในประเทศไทย จึงมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะไม่สามารถหาซื้อเหล็กชนิดพิเศษได้ หรืออาจนำเข้ามาล่าช้าจนไม่ทันกระบวนการผลิต ดังนั้นบริษัทจึงได้มีการจัดบุคลากรเพื่อทำการติดต่อหาวัตถุดิบจากต่างประเทศโดยตรง เพื่อทำการหาผู้จัดจำหน่ายหลายรายซึ่งหากผู้จัดจำหน่ายรายใดไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบให้ก็สามารถเปลี่ยนไปซื้อจากผู้ผลิตรายอื่นได้ นอกจากนี้บริษัทยังมีการประสานงานระหว่าง ฝ่ายวางแผนการผลิตที่ทำหน้าที่กำหนดเวลาที่จะใช้วัตถุดิบและฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำหน้าที่สั่งซื้อและติดตามการจัดส่งวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอจึงสามารถควบคุมการนำเข้าวัตถุดิบให้อยู่ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด

7.  ความเสี่ยงจากการย้ายฐานการผลิตรถยนต์ไปต่างประเทศ
เนื่องจากรายได้ของบริษัท ร้อยละ 40.93 และร้อยละ 50.00 ในปี 2554 และใน 6 เดือนแรก ปี 2555 ตามลำดับเป็นยอดขายในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ดังนั้นหากอุตสาหกรรมยานยนต์ย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ จะมีผลกระทบต่อยอดขายของบริษัทเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ยังมีแนวโน้มเชื่อมั่นในตลาดของประเทศไทย เห็นได้จากการที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ มีการขยายโรงงานในประเทศไทย อย่างเช่น โตโยต้าลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถแห่งที่ 4 ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์เพื่อรองรับการผลิตอีโคคาร์และ อีซูซุลงทุนสร้างโรงประกอบรถยนต์เพิ่มที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ เช่นกัน ซึ่งจากการขยายกำลังการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะส่งผลให้มีการขยายกำลังการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตามไปด้วยเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังดึงดูดให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายย้ายฐานการผลิตมาผลิตในประเทศไทยแทนการส่งออกเมื่อจำนวนการผลิตในประเทศไทย คุ้ม ต่อการตั้งโรงงาน

8.  ความเสี่ยงจากการที่ผลกำไรลดลงจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท 
จากนโยบายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานของรัฐบาล ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555ทำให้อัตราค่าแรงโดยเฉลี่ยทั่วประเทศมีการปรับขึ้นประมาณร้อยละ 39.5 ส่งผลให้ค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทถูกปรับขึ้นจาก 196 บาท เป้น 273 บาท และจะถูกปรับขึ้นเป็น 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป้นต้นไป ซึ่งกรปรับขึ้นของอัตราค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ทสูงขึ้น อันอาจส่งผลการดำเนินงานของบริษัทได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการจ้างพนักงานที่มีความสามารถเฉพาะ จึงมีการเพิ่มค่าจ้างในส่วนของทักษะพิเศษเข้าไปแล้ว ดังนั้นบริษัทจึงจ้างพนักงานส่วนใหญ่ด้วยค่าแรงมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว การขึ้นค่าแรงจึงมีผลกับบริษัทน้อยมาก


TMC-ฐานะการเงิน
รายได้จากการขายและบริการของบริษัทเท่ากับ 358.58 ล้านบาท 468.10 ล้านบาท 669.88 ล้านบาท และ 436.42 ล้านบาท ในปี 2552 - 2554 และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 ตามลำดับ โดยรายได้ในปี 2553 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวภายหลังวิกฤติเสรษฐกิจโลก ส่วนรายได้ในปี 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จากนโยบายต่างๆของภาครัฐที่มุ่งสนับสนุนรถยนต์ที่มีคุณสมบัติประหยัดพลังงาน ทำให้บริษัทรถยนต์หลายแห่งเริ่มหันมาสนใจผลิตรถยนต์ที่มีขนาดเล็กและประหยัดพลังงานกันมากขึ้น ส่วนงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน  2555 รายได้ที่เกิดจากคำสั่งซื้อสินค้าที่ต่อเนื่องจากปี  2554 โดยส่วนหนึ่งเกิดจาก 1)การสั่งซื้อเครื่องเพรสของผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการผลิตชิ้นส่วนเพื่อชดเชยในช่วงที่เกิดน้ำท่วมทำให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิต 2) การสั่งซื้อเครื่องเพรสจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอากาศยานจากต่างประเทศ และ 3) บริษัทมีรายๆได้จากการให้บริการซ่อมแซมเครื่องเพรสที่ถูกน้ำท่วมเพิ่มขึ้น โดยบริษัทสามารถซ่อมแซมเครื่องทั้งแบรนด์ ที.เอ็ม.ซี และแบรนด์อื่นอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 23.80 ร้อยละ 19.67 ร้อยละ 21.61 และร้อยละ 28.91 สำหรับปี 2552- 2554 และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 ตามลำดับ

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ได้แก่ เงินเดือน ค่าสาธารรูปโภค ค่าซ่อมบำรุง และอื่นๆ  จำนวน 63.88 ล้านบาท 70.16 ล้านบาท 82.36 ล้านบาท และ41.70 ล้านบาท ในปี 2552 - 2554 และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 ตามลำดับ 

สินทรัพย์รวมของบริษัทมีแนวโน้มเติบโตขึ้นมาตลอดจาด 422.63 ล้านบาท 384.70 ล้านบาท และ 710.28 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ตามลำดับเนื่องจากรายได้จากการขายและบริหารของบริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ยอดลูกหนี้การค้า และสินค้าระหว่างการผลิตมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติม

หนี้สินรวมส่วนใหญ่ได้แก่ รายการเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินและรายการเจ้าหนี้การค้า เท่ากับ 313.80 ล้านบาท 404.25 ล้านบาท 452.07 ล้านบาท และ 418.56 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 2553 2554 และ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ตามลำดับ หนี้สินรวมที่เพิ่มส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นๆซึ่งเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของบริษัทส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 108.83 ล้านบาท 157.02 ล้านบาท 232.63 ล้านบาท และ 291.76 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 2553 2554 และ  ณ วันที่  30 มิถุนายน  2555 ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากบริษัทมีผลประกอบการกำไรเพิ่มขึ้นทุกปีประกอบกับในปี 2553 และปี 2554 มีการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น



โครงการในอนาคตของ TMC   

ปัจจุบันบริษัทมีโรงงาน 2 แห่ง คือโรงงานแห่งที่ 1 ดำเนินการผลิตเครื่องจักรระบบไฮดรอลิค และโรงงานแห่งที่ 2 ดำเนินการผลิตเครนและเครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิค ซึ่งโรงงานทั้งสองแห่งนั้นมีพื้นที่ใช้สอยจำกัดและได้มีการขยายสายการผลิตจนเต็มพื้นที่จนไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก บริษัทจึงได้วางแผนก่อสร้างโรงงานเพิ่มเติมและย้ายสายการผลิตของโรงงานแห่งที่ 1 เดิมทั้งหมด และบางส่วนของสายการผลิตในโรงงานแห่งที่ 2 ไปยังโรงงานแห่งใหม่
ในปี 2553 บริษัทได้ซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ขนาดพื้นที่ 23 ไร่ 2 งาน 58.6 ตารางวา โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ใกล้กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 กรุงเทพ - ชลบุรี (ถนนมอเตอร์เวย์) ห่างจากโรงงานแห่งที่ 1 ประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากโรงงานแห่งที่ 2 ประมาณ 1 กิโลเมตร

สำหรับโครงการก่อสร้างดรงงานนั้น ผู้บริหารของบริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มต้นก่อสร้างได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ดดยแบ่งออกเป็น 2 เฟส ดังนี้

เฟสที่ 1 เป็นการก่อสร้างอาคารโรงงานเฟสที่ 1 อาคารโรงอาหารและลานจอดรถ เพื่อรองรับส่วนงานผลิตชิ้นส่วนและงานประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรระบบไฮดรอลิค วึ่งเมื่อก่อสร้างอาคารในเฟสที่ 1 แล้วเสร็จ บริษัทจะทำการย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในสายการผลิตดังกล่าวจากโรงงานแห่งที่ 1 เดิม ดดยใช้เวลาก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรประมาณ 6-8 เดือน ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการเฟส 1 ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีปัยหาด้านพื้นที่สำหรับการวางชิ้นงานในกระบวนการเชื่อมและการประกอบ โดยบริษัทมีพื้นที่สำหรับวางเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคในกระบวนการทั้ง 2 ขั้นตอนได้ประมาณ 12 เครื่อง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทำให้บริาทไม่สามารถเชื่อมหรือประกอบเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคพร้อมกันมากกว่านั้นได้กำลังการผลิตของบริษัทจึงถูกจำกัดโดยพื้นที่ ซึ่งเมื่อบริษัทย้ายกระบวนการประกอบเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคไปยังโรงงานเฟสที่ 1 แล้วจะทำให้บริษัทมีพื้นที่สำหรับประกอบเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคเพิ่มขึ้นเป็น 20 เครื่อง ณ  เวลาใดเวลาหนึ่ง และมีพื้นที่สำหรับเชื่อมเพิ่มขึ้นในโรงงานปัจจุบันจากการที่กระบวนการประกอบถูกย้ายออกไป  เมื่อมีพื้นที่เพิ่มบริษัทจะเพิ่มบุคลากรในกระบวนการเชื่อมและกระบวนการประกอบ ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นโดยในช่วงเริ่มต้นกระบวนการเชื่อมจะยังคงอยู่ที่โรงงานปัจจุบันและมีการย้ายกระบวนการกัดและกลึงไปเพียงบางส่วน จำทำให้ชิ้นส่วนเครื่องเพรสระบบไฮดรอลิคจากโรงงานปัจจุบันจะต้องส่งไปประกอบยังโรงงานแห่งใหม่อันทำในการผลิตยาวขึ้น ดังนั้นแม้จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตจากการที่มีพื้นที่และบุคลากรเพิ่มแต่จะมีการเสียเวลาการผลิตจากการส่งชิ้นส่วนระหว่างโรงงานทำให้ผู้บริหารของบริษัทคาดว่าเบื้องต้นกำลังการผลิตของบริษัทจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 

เฟสที่ 2 เป็นการก่อสร้างอาคารโรงงาน (Fabrication) และงานประกอบชิ้นส่วนเครนและเครื่องทุ่นแรงระบบไฮดรอลิค โดยจะสามารถเริ่มก่อสร้างเฟสที่ 2 ได้ประมาณช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ภายหลังการก่อสร้างอาคารโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรในเฟสที่ 1 แล้วเสร็จและเริ่มการผลิตได้ จากนั้นจะย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในสายก

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้