Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ...3เสือ รวมพลัง โปรเจค แพลนนิ่งฯ

4,694

 
 
 
 

ขอแก้ไขชื่อหุ้น จาก....PSS เป็น..... PPS 


และแล้ว ก็ได้เวลาของ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ PPS ไอพีโอ น้องใหม่ มี สัมพันธ์ หงษ์จินตกุล เป็นขุนศึก  ภายใต้การปลุกปั้นของ สุดยอด FA เมืองไทย นั่น คือ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) มี สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม เป็นผู้บัญชาการสูงสุด และสุดยอดแห่งวงการอันเดอร์ไรท์ เมืองไทย ดวงชะตา ขาขึ้นสุดๆ  มิใช่ ใครที่ไหน สมภพ กีระสุนทรพงษ์  บิ๊กไอบี แห่งค่าย บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) (FSS) ....เมื่อ 3 เสือ รวมพลัง ย่อมเป็นอะไรที่น่าสนใจ ว่าหุ้นไอพีโอPPS จะวิ่งทะลุฟ้าเพียงใด  เทรดวันแรก(26ก.ย.) คงรู้กัน  ท่ามกลางนักลงทุนทั่วไปกว่า 2,000 ราย ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กำหนดไว้จำนวน 300 ราย
                PPS พาร์ 0.25 บาท ไอพีโอ PPS ที่ราคา 0.70 บาท/หุ้น มี P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือน (1มิ.ย.55-31ส.ค.55) ของตลาดเอ็มเอไอที่ 17.92 เท่า หรือ คิดเป็นส่วนลดประมาณ 25.67%....3เสือ รหัส 3 เทรดวันแรก 26 ก.ย. เชื่อว่า สายตาทุกคู่  คงจ้องไม่กระพริบตา
ก่อน PPS จะเทรด มารู้กันหุ้นตัวนี้กันก่อนดีกว่า....
                  จุดกำเนิด .....บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2530 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกเท่ากับ 1.00 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจวิศวกรที่ปรึกษา ซึ่งรับให้คำปรึกษาและบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง (Project Construction Management Service) สำหรับงานก่อสร้างแขนงต่างๆ ได้แก่ งานโยธา งานโครงสร้างและสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร งานเครื่องกล งานระบบประปาสุขาภิบาลและป้องกันอัคคีภัยงานภูมิสถาปัตย์ และงานตกแต่งภายใน สำหรับอาคารประเภทต่างๆ อาทิ อาคารสำนักงาน อาคารชุด ห้างสรรพสินค้า โรงแรม รวมถึงโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ทางด่วน สนามบิน รถไฟฟ้า เป็นต้น

การให้บริการคำปรึกษาและบริหารจัดการโครงการก่อสร้างแก่เจ้าของโครงการหรือผู้ว่าจ้าง จะเริ่มให้บริการตั้งแต่การวางแผนโครงการ การดำเนินการก่อสร้าง ต่อเนื่องไปถึงการใช้งานและการบำรุงรักษา โดยสามารถแบ่งลักษณะการให้บริการออกเป็น 3 ช่วงได้แก่
1.  ช่วงก่อนการก่อสร้าง (Pre Construction Period) : ตั้งแต่ให้คำแนะนำและร่วมออกความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับรูปแบบโครงการ ไปจนถึงการให้คำแนะนำในการคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อให้เจ้าของโครงการตัดสินใจเลือก
2.  ช่วงระหว่างรอการก่อสร้าง (Construction Period ) : ตั้งแต่ผู้รับเหมาเริ่มงานก่อสร้างไปจนงานก่อสร้างแล้วเสร็จ
3.  ช่วงหลังการก่อสร้าง (Post Constrution Period) : ตั้งแต่ตรวจสอบงานก่อสร้าง จนส่งมอบงานให้แก่ลูกค้า

          บริษัทมีบริษัทย่อย 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท พีพีเอส ดีไซน จำกัด ("PPSD") ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2533 ดำเนินธุรกิจให้บริการออกแบบงานด้านวิศวกรรม ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนจำนวน 3.00 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 30,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท โดยบริษัทถือหุ้นจำนวน 29,998 หุ้น หรือคิfเป็นสัดส่วน 99.99% 
 ของทุนจดทะเบียนของ PPSD และมีกิจการร่วมค้า 1 แห่ง ได้แก่กิจกรรมร่วมค้า พีพีคิว ("PPQ") ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 โดนร่วมลงทุน 3 ฝ่าย ระหว่าง บริษัทและบริษัท พีทีเอฟ เซอร์วิส จำกัด และบริษัท วิศวกรและสถาปนิก คิวบิด จำกัด ซึ่งมีสัดส่วนการร่วมลงทุน 80% 15% และ 5% ตามลำดับ PPQ มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าร่วมประกวดราคาจ้างผู้ควบคุมงานก่อนสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา ของสำนักงานศาลยุติธรรม ปัจจุบันมีทุนกิจการร่วมค้าจำนวน 3.30 ล้านบาท โดยบริษัทลงทุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2.64 ล้านบาท ซึ่งยังคงรักษาสัดส่วนการร่วมทุนในอัตรา 80% ทั้งนี้บริษัท พีทีเอฟ เซอร์วิส จำกัด และบริษัท วิศวกรและสถาปนิก คิวบิค จำกัด ไม่ได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นใหญ่ กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทและบริษัทย่อย

บริษัทมีบริษัทที่เกี่ยวข้องที่มีการทำรายการระหว่างกัน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท พงศ์ธีรธร จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2538 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเต็มมูลค่าเท่ากับ 5.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจให้เช่าอาคารพาณิชย์ ซึ่งผู้ถือหุ้น กรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และผู้บริหารของบริษัท เข้าถือหุ้นและมีอำนาจควบคุมในกิจการดังกล่าว และยังมีบริษัทที่เกี่ยวข้องที่ไม่มีการทำรายการระหว่างกัน 2 บริษัท ได้แก่ อเฮด แอดไวเซอรี่ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเต็มมูลค่าเท่ากับ 1.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการจัดอบรมวิชาการด้านวิศวกรรม ซึ่งผู้ถือหุ้น กรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผู้บริหารของบริษัทและคู่สมรส เข้าถือหุ้นและมีอำนาจควบคุมในกิจการดังกล่าว ซึ่งไม่มีการทำธุรกิจที่แข่งขันกันกับบริษัทและจะไม่มีรายการระหว่างกันในอนาคต และบริษัท สวิฟต์เลท จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเต็มมูลค่าเท่ากับ 1.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาและจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว 

บริษัทเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการวิศวกรรม และถือได้ว่าเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษารายใหญ่แห่งหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพและมีชื่อเสียง ตลอดจนมีบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถ ทำให้บริษัทสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมที่จะเติบโตในอนาคต

โครงการในอนาคต
บริษัทมีโครงการในอนาคตเพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 แผนงานหลัก ดังนี้
1.  แผนการขยายรายได้จากการให้บริการงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง (Scale Expansion) บริษัทมีแผนการขยายรายได้จาการให้บริการด้านนี้ให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากเป็นธุรกิจหลักที่บริษัทมีความชำนาญและมีบุคลากรที่มีประสบการณ์สูง ธุรกิจการให้บริการงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างยังมีศักยภาพในการเติบโตทั้งส่วนของโครงการภาคเอกชนซึ่งจะเติบโตตามสภาพเศรษฐของประเทศไทยและของภูมิภาคเอเชีย สำหรับโครงการภาครัฐบาลก็เติบโตเช่นกันตามแผนการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Project)

2. แผนการขยายรายได้จากขอบข่ายการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิม (Scope Expansion) บริษัทมีแผนการขยายรายได้จากการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิม ซึ่งประกอบด้วย

 2.1) ด้านงานออกแบบวิศวกรรม (Engineering Design) บริษัทมีแผนงานในการขยายรายได้จากการบริการงานด้านนี้ด้วยฐานลูกค้าและชื่อเสียงของบริษัทตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา โดยจะให้บริษัทย่อยเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านงานออกแบบวิศวกรรมนี้

2.2) ด้านงานออกแบบสถาปัตยกรรม  (Architectural Design) งานออกแบบด้านสถาปัตยกรรมเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง รวมทั้งมีโอกาสเติบโตจากการที่บริษัทสามารถขยายการให้บริการไปยังต่างประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Eccnomics Community: AEC) 

บริษัทมีความคืบหน้าของแผนการขยายธุรกิจให้บริการด้านงานออกแบบดังกล่าว โดยปัจจุบันบริษัทได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการร่วมมือทางธุรกิจ (Memorandum of Understanding "Strategic Business Alliance") กับ Swan & Maclaren LLP เพื่อความพยายามในการร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศไทย ดำเนินธุรกิจด้านงานออกแบบ บริหารและควบคุมงานก่อสร้างให้แก่ลูกค้าทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ 3.4 สรุปสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ)

2.3) ด้านงานสำรวจปริมาณงานและราคา (Quantity Surveyor) งานสำรวจปริมาณงานและราคาเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นงานบริการที่เกื้อหนุนกับงานบริการบริหารและควบคุมงานก่อสร้างซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท

3. แผนการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและควบคุมการก่อสร้าง บริษัทมีนโยบายลงทุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านงานวิศวกรรมก่อสร้าง ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงการจำลองรายละเอียดข้อมูลอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกในงานบริการออกแบบและการปรับเปลี่ยนแบบบนระบบคอมพิวเตอร์ โดยคาดว่าจะประยุกต์ใช้ระบบดังกล่าว ภายในปี 2557 และมีแผนการลงทุนด้านอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมด้านงานออกแบบ และการจ้างบุคคลากรฝ่ายงานออกแบบที่มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น

ฐานะทางการเงิน
งวดบัญชีปี 2552-2554 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้จากการบริการเท่ากับ 177.98 ล้านบาท 179.48 ล้านบาท และ 256.16 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งจะพบว่ารายได้จากการบริการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2553 มีอัตราเติบโตของรายได้จากการบริการเพิ่มขึ้น 0.84% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากมีจำนวนโครงการที่ให้บริการด้านบริหารและควบคุมงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 41 โครงการ จากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 34 โครงการ อย่างไรก็ตามรายได้จาการบริการของปี 2553 ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้ เนื่องจากมีโครงการที่ชะลอการก่อสร้างออกไประยะหนึ่งจากผลกระทบของปัญหาทางการเมืองในช่วงต้นปี 2553 แต่บริษัทมีการเพิ่มบุคลากรเพื่อรองรับงานตามแผนการบริหารบุคลากรไว้แล้ว สำหรับปี 2554 มีอัตราเติบโตของรายได้จากการบริการเพิ่มขึ้น 42.7% จากปีก่อนหน้า เป็นไป ตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้ อันเป็นผลมาจากการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร จึงทำให้บริษัทสามารถเข้ารับงานโครงการใหม่เพิ่มขึ้นได้จำนวนมาก สอดคล้องกับการวางแผนการจัดสรรและการเคลื่อนย้ายบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ จำนวนโครงการที่ให้บริการจึงเพิ่มขึ้นเป็น 51 โครงการ

งวด 6 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้จากการบริการเท่ากับ 133.03 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทและบริษัทย่อยมีมูลค่างานส่วนที่เหลือตามสัญญา (Backlog) อีกประมาณ 432.08 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นมูลค่างานที่จะรับรู้เป็นรายได้ใน 6 เดือนหลังของปี 2555 ประมาณ 124.29 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 29% ของมูลค่างานคงเหลือ ณ 30 มิถุนายน 2555 มูลค่างานส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้เป็นรายได้ในปี 2556-2561 ในสัดส่วนประมาณ 30%  22% 8%  6%  4%  และ 1%  ของมูลค่างานคงเหลือ ณ 30 มิถุนายน 2555 โดยมีโครงการที่จะรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2558 คือ โครงการพัฒนาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  และโครงการเซ็นทรัลแอมบาสซี และมีโครงการที่จะรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2559 คือ โครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน และมีโครงการที่จะรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2561 คือ โครงการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทั้งนี้ บริษัทมีจำนวนโครงการที่อยู่ระหว่างให้บริการ ณ 30 มิถุนายน 2555 รวมทั้งสิ้น 37 โครงการ (ศึกษารายละเอียดได้ในหัวข้อ 2.3 การประกอบธุรกิจแต่ละสายผลิตภัณฑ์)

รายได้อื่นของบริษัทและบริษัทย่อย ประกอบด้วย ดอกเบี้ยรับ และรายได้อื่นๆ โดยในงวดบัญชีปี 2552-2554 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้อื่นเท่ากับ 0.85 ล้านบาท 0.95 ล้านบาท และ 0.54 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้อื่นเท่ากับ 2.42 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ดอกเบี้ยรับ รายได้อื่นและกำไรจากการขายรถยนต์ประจำตำแหน่งของผู้บริหาร ซึ่งบริษัทกำหนดราคาขายโดยอ้างอิงตามราคาตลาดของผู้รับซื้อรถมือสองจำนวน 3 แห่ง รถยนต์ดังกล่าวตัดค่าเสื่อมราคาทางบัญชีหมดแล้ว โดยมีกำไรจากการขายจำนวน 2.09 ล้านบาท 

ในงวดบัญชีปี 2552-2554 บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 59.45 ล้านบาท 50.60 ล้านบาท และ85.81 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 33.40% 28.19% และ 33.50% ของรายได้รวมจากการบริการ ตามลำดับ สาเหตุที่อัตรากำไรขึ้นต้นปี 2553 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตทางการเมืองในประเทศ ทำให้มีโครงการก่อสร้างของลูกค้าบางส่วนมีการชะลอโครงการออกไป รายได้จากการบริการในปี 2553 จึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นอัตรากำไรขั้นต้นจึงลดลงจากปีก่อนหน้า สำหรับปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นเป็นไปตามเป้าหมาย

งวด 6 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรขั้นต้นเท่ากับ43.97 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 33.06% ของรายได้รวมจากการบริการ

ในงวดบัญชีปี 2552-2554 บริษัทและบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายในการบริหารเท่ากับ 40.69 ล้านบาท 50.01ล้านบาท และ 52.52 ล้านบาท ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในปี 2553 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาจากรายการเงินเดือนและค่าใช้จ่ายบุคลากรเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการอบรมสัมนา เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีความรู้ด้านเทคนิกวิศวกรรมเพิ่มขึ้นสำหรับรองรับเป้าหมายการเติบโตในอนาคต ทั้งนี้บุคลากรที่รับเข้ามาใหม่จะต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างน้อย 1 ปี เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ที่จะเป็นวิศวกรหรือช่างเทคนิคที่สามารถบรรจุเข้างานและเรียกเก็บค่าวิชาชีพ ค่าใช้จ่ายการกุศลเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท จากการบริจาคเงินแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ค่าใช้จ่ายในการเตรียมนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มขึ้น 0.4 ล้านบาท และมีการตั้งหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามนโยบาย เนื่องจากลูกหนี้รายหนึ่งมียอดค้างชำระเกิน 12 เดือน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในปี 2554 ประกอบด้วย เงินเดือนและค่าใช้จ่ายบุคลากรเพิ่มขึ้น 5.00 ล้านบาท และค่าพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้น 0.85 ล้านบาทเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสำหรับรองรับเป้าหมายการเติบโตในอนาคต ค่าสอบบัญชีที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.35 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทต้องทำงบการเงินและเปลี่ยนรูปแบบการรายงานสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ผลขาดทุนจากการด้วยค่าที่ดิน 0.57 ล้านบาท และการตั้งผลประโยชน์พนักงานสำหรับปี 2554 จำนวน 3.17 ล้านบาท

สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี  2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายในการบริหารเท่ากับ 32.83 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 32.61 ล้านบาท ค่าตอบแทนกรรมการ 0.22 ล้านบาท และต้นทุนทางการเงิน 0.07 ล้านบาท 

ในงวดบัญชีปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิและกำไรเบ็ดเสร็จรวม (เฉพาะส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) เท่ากับ 13.30 ล้านบาท งวดบัญชีปี 2553 มีผลขาดทุนสุทธิ (เฉพาะส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) เท่ากับ 1.54 ล้านบาท และงวดบัญชีปี 2554 มีกำไรสุทธิและกำไรเบ็ดเสร็จรวม (เฉพาะส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) เท่ากับ 20.44 ล้านบาท สาเหตุหลักที่ในปี 2553 บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุน จากการที่รายได้จากการบริการของปี 2553 ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้ มีโครงการที่ชะลอการก่อสร้างออกไประยะหนึ่งจากผลกระทบของปัญหาทางการเมืองในช่วงต้นปี 2553 ในขณะที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรที่บริษัทมีการรับบุคลากรใหม่เข้ามาเพิ่มจำนวนมาก เพื่อเตรียมรองรับการเติบโตของรายได้ตามเป้าหมายในปี 2554 เป็นต้นไป และมีค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้า ในปี 2552-2554 บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิ 7.47% -0.86%  และ 7.98% ของรายได้จากการบริการ ตามลำดับ

สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิและกำไรเบ็ดเสร็จรวม (เฉพาะส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) เท่ากับ 8.30 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 6.24% ของรายได้จากการบริการ

ณ  วันที่ 31 ธันวาคม  ของปี 2552 - 2554 บริษัทและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 101.43 ล้านบาท 99.93 ล้านบาท และ 120.92 ล้านบาท ตามลำดับ สินทรัพย์รวมปี 2553 ลดลงเนื่องจากมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มสูญขึ้นและบริษัทย่อยมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ( วันจ่ายปันผล บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 62.17%)


สินทรัพย์รวมในปี 2554 เพิ่มขึ้นสาเหตุหลักเกิดจากผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในปี 2554 สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 128.70 ล้านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี 2552-2554 บริษัทและบริษัทย่อย มีหนี้สินรวมเท่ากับ 13.81 ล้านบาท 19.55 ล้านบาท และ 39.69 ล้านบาท ตามลำดับ หนี้สินรวมปี 2553 เพิ่มขึ้นเนื่องจากมียอดเงินกู้เบิกเกินบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และรายได้รับล่วงหน้าเพิ่มขึ้น ณ วันสิ้นงวด หนี้สินรวมในปี 2554 เพิ่มขึ้นเช่นกันสาเหตุหลักเกิดจากการบันทึกหนี้สินผลประโยชน์พนักงานในปี 2554 ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่งวดบัญชีปี 2554 เป็นต้นไป รวมทั้งมีการเพิ่มขึ้นของยอดเจ้าหนี้การค้า และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีหนี้สินรวมเท่ากับ 47.18 ล้านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี 2552-2554 บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 87.62 ล้านบาท 80.39 ล้านบาท และ 81.23 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนของผู้ถือหุ้นปี 2553 ลดลงเนื่องจากผลขาดทุนสุทธิและมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ส่งผลให้กำไรสะสมของบริษัทลดลง ส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2554 เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในปี 2554 แต่มีการบันทึกหนี้สินผลประโยชน์พนักงานตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่งวดบัญชีปี 2554 เป็นต้นไป โดยบริษัทบันทึกด้วยด้วยการปรับยอดกับกำไรสะสม ณ วันต้นงวดปี 2554 รวมทั้งมีการจ่ายเงินปันผลในปี 2554 จึงทำให้กำไรสะสมเพิ่มเพียงเล็กน้อย สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี2555 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 81.52 ล้านบาท บริษัทมีทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเท่ากับ 70.00 ล้านบาท มีกำไรสะสม ณ วันที่ 31 ธนวาคม 2554 และ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 เท่ากับ 78.23 ล้านบาท 11.52 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้กำไรสะสมที่ลดลงเป็นผลมาจากการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมไปจำนวน 75.00 ล้านบาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ในขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิ สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 จำนวน 8.30 ล้านบาท 

สำหรับการบริหารระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยจากลูกหนี้การค้า และระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ยแก่เจ้าหนี้การค้าของบริษัทในปี 2552-2554 และ ณวันที่ 30 มิถุนายน 2555 พบว่าระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย 61 วัน 71 วัน 60 วัน และ 73 วัน ตามลำดับ มีระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ย 7 วัน 11 วัน 7 วัน และ 7 วัน ตามลำดับ คิดเป็นระยะเวลาวงจรเงินสด (Cash cycle) เท่ากับ 54 วัน 61 วัน 53 วัน และ 66 วัน ตามลำดับ จะพบว่าบริษัทมีระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยจากลูกหนี้การค้าอยู่ในช่วง 60-73 วัน โดยระยะเวลาเก็บหนี้เป็นผลมาจากการให้เทอมเครดิตแก่ลูกหนี้ 30 วันนับจากวันส่งใบแจ้งหนี้ และระยะเวลาการวางใบแจ้งหนี้ และการเก็บเช็คตามขั้นตอนปฏิบัติของฝ่ายบัญชีของลูกหนี้แต่ละราย ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ในช่วงระหว่าง 30-45 วัน

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้