Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ:ใกล้ความจริงกับ 3Gประเทศไทย

2,930


ใน ที่สุดความฝัน (การได้ใช้ 3G) ของชาว Social network ใกล้ความจริงขึ้นมาทุกขณะ หลังคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สรุปกำหนด  ราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ย่าน 2.1GHz ที่ ชุดละ 4.5 พันล้านบาท  โดยกำหนดรูปแบบการประมูลเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz และจำนวนคลื่นความถี่ ที่จะประมูลต่อรายสูงสุดไม่เกิน 20 MHz  ซึ่งราคาใบอนุญาตในครั้งนี้ไม่ได้น้อยไปกว่าการเปิดประมูลด้วยวิธีการเดิม N-1 ตามครั้งก่อน  ตามที่ กสทช. ประกาศไว้ คาดว่า จะสามารถเปิดประมูลได้ในเดือนตุลาคม 2555...เวลานั้น 3G จะเข้ามาช่วยทำให้ความฝันของคนไทยที่เฝ้ารอ 3G กลับมาเป็นจริง 
                   พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธาน คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า คณะอนุกรรมการกำหนดราคาขั้นต้นการประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ย่าน 2.1GHz  ได้สรุปตัวเลขราคาตั้งต้น (รีเสิร์ฟไพรซ์)  ชุดละ 4.5 พันล้านบาท โดยในการประมูลใบอนุญาต 3G กำหนดรูปแบบการประมูลเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz โดยกำหนดจำนวนคลื่นความถี่ ที่จะประมูลต่อรายสูงสุดไม่เกิน 20 MHz   ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในเดือนตุลาคม 2555 นี้ ขณะเดียวกันก่อนจะถึงวันประมูล กสทช. จะจัดทำประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 GHz. ได้ในช่วงกลางเดือน ส.ค.55 หลังร่างสารสนเทศการประมูลดังกล่าว (IM 3G) ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา   อย่างไรก็ดีเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม กสทช.พยายามที่จะให้ผู้ประกอบการมีการลงทุนต่ำ โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เช่น การสร้างโครงข่าย เสา เพื่อให้ผู้ประกอบการเช่าโครงการจะช่วยประหยัดการลงทุน และทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ เนื่องจากไม่ต้องมีการลงทุนวางโครงการเอง
                   พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวอีกว่า ราคาใบอนุญาตในครั้งนี้จะได้ไม่น้อยไปกว่าการเปิดประมูลด้วยวิธีการเดิม N-1 ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เคยพยายามเปิดประมูลก่อนหน้านี้ โดยเบื้องต้น ใบอนุญาต 3จี ทั้ง 9 ชุด จะได้เงินทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท
                   ทั้งนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  ADVANC , บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)   และ     บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  TRUE ต่างให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตดังกล่าว
                   "ดีแทคยังคงยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศครอบงำฯ ฉบับดังกล่าวเหมือนเดิม แม้จะมีการปรับปรุงหรือแก้ไขถ้อยคำในบางประเด็นก็ตาม โดยเฉพาะประเด็น คำนิยามและบัญชีแนบท้าย เนื่องจากปัจจุบันมี พ.ร.บ.กิจการคนต่างด้าวของกระทรวงพาณิชย์ และ พ.ร.บ.ประกอบโทรคมนาคม ถือว่าเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ดีแทคเองจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว นอกจากนี้เกรงว่าจะมีผู้ประกอบการบางราย จะนำร่างประกาศฯ ฉบับดังกล่าวไปเป็นข้อสรุปในการล้มการประมูล 3G"นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  DTAC  กล่าว
                   นายพันเทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการ หรือ บอร์ด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในขณะนี้ ทีโอทีเตรียมพร้อมการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นทั้งเรื่องการประมูลใบอนุญาตให้ บริการ หรือ ไลเซนส์ 3 G 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ กสทช. จะเปิดประมูลในช่วง ต.ค.2555

                  2 เซียนหุ้น เอเซียพลัส- ฟินันเซีย ไซรัส   ชี้ราคาประมูลใบอนุญาต 2.1 GHz เป็นไปตามคาดที่ 4.5 พันล้านบาท พร้อมมองคณะอนุกรรมการ 3G สรุปราคาประมูลใบอนุญาต 2.1 GHz ที่ 4.5 พันล้านบาท ทุกอย่างเป็นตามคาด เชื่อประมูลได้ ต.ค. นี้  ซึ่งเอเซียพลัส ชี้ราคาตั้งต้น3G เป็นตามคาด ชู Top Pick คือ ADVANC และ INTUCH ให้เป้า 210 และ72 บ. ตามลำดับ เหตุมีUpside สูงสุด แถมงบปีนี้โดดเด่นมากสุดในกลุ่ม ส่วน ฟินันเซีย ไซรัส เผย กสทช.เคาะราคาขั้นต้นประมูล 3G ที่ 4.5 พันล้านบาทต่อ 5MHz ใกล้เคียงคาด แนะนำ INTUCH


                   บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส เผยว่าราคาประมูล และหลักเกณฑ์ต่างๆ บวกกับความคืบหน้าดังกล่าว ล้วนยังสอดคล้องกับคาดการณ์ของฝ่ายวิจัย ที่คาดจะมีการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ในราว ก.ย. - ต.ค. นี้ โดยทั้งนี้  ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า การสรุปแบ่งคลื่น 3G ออกเป็น 9 สล็อต และการจำกัดคลื่นความถี่ต่อรายไว้ที่ 20 MHz ขณะที่มีระยะเวลาการแบ่งจ่ายค่าใบอนุญาตถึง 3 ปี ถือการลดความเหลื่อมล้ำด้านฐานะการเงินปัจจุบัน และเป็นการเอื้อประโยชน์และจูงใจให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรายใหญ่ทั้ง 3 ราย กลับเข้าสู่ระบบและกรอบกติกาในการแข่งขันเดียวกัน ส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันในระยะยาว  โดยภาพรวมกลุ่มแล้ว จึงเชื่อว่างบลงทุนที่ ค่ายมือถือวางไว้สำหรับการประมูล (ADVANC – 5.0 หมื่นล้านบาท , DTAC – 3.0 หมื่นล้านบาท) รวมถึง ระยะเวลาการเปิดให้บริการภายใต้ใบอนุญาตใหม่นับจากราว 1Q55 ยังมีแนวโน้มเดินหน้าไปตามที่ฝ่ายวิจัยคาดไว้ ฝ่ายวิจัยจึงยังคงมูลค่าพื้นฐานของหุ้นในกลุ่ม ICT ไว้เช่นเดิม
                 กรอบการประมูลใบอนุญาต 3G ที่มีความชัดเจนขึ้น และคาดจะสามารถเปิดประมูลได้ทันตามหมายกำหนดการภายในปีนี้ ถือเป็นบวกต่อราคาหุ้นในกลุ่ม ICT ทั้งนี้ ราคาหุ้นของบริษัทมือถือบางราย อาทิ DTAC (FV@฿82.6) รับข่าวไปจนมี Upside จำกัดแล้ว จึงคงคำแนะนำ “เท่าตลาด” โดยเลือก ADVANC (FV@B210)  และ INTUCH (FV@B72) เป็น Top Pick เนื่องจากมี Upside สูงสุด และมีผลประกอบการปี 2555 ที่เติบโตโดดเด่นมากสุดในกลุ่ม
                 ด้านบล.ฟินันเซียไซรัส  ออกบทวิเคราะห์ ระบุถึงกรณีที่ กสทช.เคาะราคาขั้นต้นประมูล 3G ที่ 4.5 พันล้านบาทต่อ 5MHz ไม่ต่างจากกรอบที่ได้มีการคาดการณ์กันก่อนหน้านี้ ขั้นตอนต่อไปคือนำข้อสรุปเกี่ยวกับราคาตั้งต้น และรายละเอียดอื่นๆเข้าที่ประชุมกสทช.ปลายเดือนนี้ และเผยแพร่ร่างฯ หลักเกณฑ์ และวิธีอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1GHz ในเวปไซด์ของกสทช.เดือน ก.ค. เพื่อทำ Public hearing ในเดือน ส.ค. และลงในราชกิจจาฯ และจัดประมูลตามแผนของกสทช.ในเดือน ต.ค. เรายังคงแนะนำ INTUCH (เป้าหมาย 72 บาท) DTAC (เป้าหมาย 101 บาท)

***เกียรตินาคิน เปิดสูตรประมูล 3G หากผู้ชนะประมูลที่ได้ครองคลื่นฯ จำนวน 3 สล็อต (15 MHz) มีต้นทุนการใช้คลื่นความถี่ประมาณ16,000-17,000 ล้านบาท ***
              บล.เกียรตินาคิน ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า   มีมุมมองเป็น “กลาง” ต่อราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 MHz เรามีมุมมองเป็น “กลาง” ต่อราคาเริ่มต้นประมูลใบอนุญาต 3G 2100 MHz ที่ 4,500 ล้านบาทต่อ 5 MHz เนื่องจากยังอยู่ในกรอบราคาที่เราประเมินว่าจะไม่เกิน 5,000 ล้านบาทต่อ 5 MHz โดยสมมติฐานของเราคาดว่าผู้ชนะประมูลที่ได้ครองคลื่นฯ จำนวน 3 สล็อต (15 MHz) จะมีต้นทุนการใช้คลื่นความถี่ประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาท (สมมติฐานราคาคลื่นฯ ที่ชนะประมูลจะสูงกว่าราคาเริ่มต้นประมาณ 20-25%) อย่างไรก็ดีการกำหนดให้ผู้ชนะประมูลคลื่นและใบอนุญาตแบ่งชำระเงิน 50% ปีแรก และ 25% ในปีที่ 2 และ 3 จะช่วยให้ความต้องการใช้เงินลงทุนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น   
               ค่าธรรมเนียม 10% ต่อปี เป็นปัจจัย “ลบ” ต่อราคาหุ้น หาก กสทช. กำหนดค่าธรรมเนียม 10% ต่อปี ถือว่าสูงกว่าอัตราเดิมที่ 6% (ค่า USO 4%, ค่าใบอนุญาต 2%) และสูงกว่าสมมติฐานของเราที่ 7% มองว่าประเด็นนี้เป็นปัจจัยลบต่อราคาหุ้น ADVANC และ DTAC เนื่องจากจะทำให้มีต้นทุนค่าธรรมเนียมต่อปีสูงกว่าที่ประมาณการไว้ราว 8-10% โดย ADVANC และ DTAC จะมีมูลค่ารวม 3G บนต้นทุน 10% ที่ 154 บาท และ 87 บาท ตามลำดับ
              DTAC มีความเสี่ยง Downside น้อยกว่า ADVANC ปัจจุบันเราประมาณการกรณีใบอนุญาต 3G 2100 MHz มีค่าธรรมเนียม 7% ADVANC และ DTAC จะมีมูลค่ารวม 3G ที่ 172 บาท และ 98 บาท ตามลำดับ หาก กสทช. กำหนดค่าธรรมเนียมในอัตราสูงขึ้นเป็น 10% จะทำให้ DTAC มีความเสี่ยงราคาขาลง (Downside risk) น้อยกว่า ADVANC เนื่องจากราคาหุ้น DTAC ปัจจุบันสะท้อนมูลค่าเพิ่มจาก 3G น้อยกว่า ADVANC นอกจากนี้มูลค่าเหมาะสมรวม 3G บนต้นทุน 10% ของ DTAC ที่ 87 บาท ยังมี upside 19% จากราคาปัจจุบัน ขณะที่ ADVANC มี Downside 11% จึงมองว่า DTAC ยังเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก 3G 2100 MHz ในแง่ Cost saving มากกว่า แนะนำ “ซื้อ” DTAC ส่วน ADVANC แนะนำ “ถือ”


***เคจีไอ ยังคงกังวลประเด็นฟ้องร้องกันระหว่างประมูล นำไปสู่การเลื่อนประมูลอีกครั้ง  คงน้ำหนักลงทุนกลุ่มสื่อสาร เท่าตลาด พร้อมยังคงประมาณการและมูลค่า 3จี ของ ADVANC และ DTAC***

                บล.เคจีไอ  ออกบทวิเคราะห์ ระบุถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการ กสทช. ได้กำหนดราคาเริ่มต้นของใบไลเซนต์ 3จี ที่ราคาใบละ 4.5พันล้านบาท โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องว่าเงินประกัน 1.35 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 30% ของราคาเริ่มต้น ราคาเริ่มต้นดังกล่าวถือว่ามากกว่าที่เราคาดไว้เล็กน้อย โดยถ้าผู้เข้าร่วมประมูลต้องการให้ได้15 bandwidth ต้องจ่ายเงินเริ่มต้นการประมูลทั้งสิ้น 13.5 พันล้านบาท หรือประมาณ 5% ที่สูงขึ้นกว่าในประมาณการเราที่ 12.8 พันล้านบาท ด้วยราคาเริ่มต้นที่ไม่ได้มีความแตกต่างกับประมาณการเรามากนัก
               ซึ่งฝ่ายวิจัย ยังคงประมาณการและมูลค่า 3จี ของ ADVANC และ DTAC เอาไว้เหมือนเดิมอย่างไรก็ตาม เราเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการฟ้องร้องกันในช่วงการประมูล และอาจนำไปสู่การต้องเลื่อนการประมูลอีกครั้ง ทำให้เราคงน้ำหนักการลงทุนในกลุ่ม ICT ไว้ที่เท่ากับตลาดก่อน ส่วนการลงทุนในหุ้น ADVANC และ DTAC เรามองว่าน่าสนใจ ณ ระดับราคาปัจจุบัน เนื่องจากผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงถึง 7% และอาจสูงขึ้นถ้าไม่มีการลงทุนใน 3จี แนะนำซื้อในหุ้นทั้ง 2บริษัทที่ ราคาเป้าหมาย 210 บาท สำหรับ ADVANC และ 100 บาท สำหรับ DTAC


              หากมี3G เกิดขึ้นจริงแล้ว  จะช่วยทำให้การสื่อสารมีจุดเด่นในด้านความเร็ว และด้วยความเร็วที่เร็วกว่ายุคก่อนๆอย่างมากจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลายทาง ทั้งแง่การใช้งานด้าน Wireless Broadband, Video Call  หรือ  download  ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงนำไปใช้ในด้านการศึกษา  ธุรกิจ การดำเนินชีวิต  การยกระดับคุณภาพชีวิต และเข้ามาช่วยสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งความรู้  ด้วยความเร็วของ 3Gสามารถเชื่อมต่อโลกเอาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่เกาหลีใต้ หรือ อยู่ประเทศไทย หรืออยู่ตำแหน่งไหนๆ ของโลก ก็จะไม่พลาดการติดต่อ......



By: ธนัสสรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์

บทความล่าสุด

ลุ้น กันต่อ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็น นักลงทุนยังคงชะลอลงทุน หลังมีข่าว อิสราเอล จะตอบโต้อิหร่าน ......

ขายทำรอบ By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง เห็นวานนี้ ต่างชาติทิ้งหนักเกือบ 6.4 พันล้านบาท แต่รายย่อยซื้อสุทธิ 6.8 พันล้านบาท ท่ามกลางความ..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้