Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ...FPI จิ๋วแต่แจ๋ว

3,598

 ท่ามกลางอุตสาหกรรมยายนต์ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว  ซึ่งหุ้นยานยนต์ ตอนนี้ถือว่า  นักลงทุนจับจ้องไม่กระพริบตา   น้องใหม่ ล่าสุด เพลานี้ คือ  บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ หรือ FPI  นับว่ากระแสความแรง ความฮอต เป็นอะไร น่าสนใจยิ่งได้ยี่ห้อ บล.ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด(มหาชน)(FSS) เป็นแกนนำอันเดอร์ไรท์ ด้วยแล้ว  นักลงทุนทั้งตลาดล้วนให้เครดิต ให้ความน่าเชื่อถือ...


จุดกำเนิด บมจ. ฟอร์จูน  พาร์ท อินดัสตรี้  จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 ในนาม "บริษัท ฟอร์จูน  พาร์ท  อินดัสตรี้ จำกัด" ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 ล้านบาท โดยครอบครัวธนาดำรงศักดิ์ โดยเริ่มต้นจากการนำเข้าแม่พิมพ์จากไต้หวันจำนวน 2 รุ่น และจ้างโรงงานอื่นผลิตให้ เพื่อจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับลูกค้าในประเทศ ต่อมาในปี 2536 บริษัทฯ นำเข้าแม่พิมพ์จากประเทศไต้หวันเพิ่มจำนวน 20 รุ่น เพื่อผลิตชิ้นส่วนประเภทหน้ากระจังกันชน และชิ้นส่วนยานยนต์อื่นที่ทำด้วยพลาสติกด้วยตัวเอง

                 หลังจากนั้นในปี 2539 บริษัทฯ จึงได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งงานฉีดขึ้นรูปพลาสติก ชุบโครเมียม พ่นสี ประกอบชิ้นส่วนพลาสติก และการให้บริการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์  รวมทั้งเป็นศูนย์รวมการจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองลูกค้าให้ได้รับชิ้นส่วนรถยนต์ที่ครบวงจร และเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ฟอร์จูน  พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)

เรียกว่า คิดหลายตลบ จะเข้าตลาดหุ้นดีหรือไม่ดี  จนที่สุด "สมพล ธนาดำรงศักดิ์"  ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ  ก็ตัดสินใจ เข้าสู่ตลาดหุ้น เพื่อความยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้า  มีความฝันอาจโลดแล่น ตะลุย ตลาดอเมริกา

                FPI เน้นการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศเป็นหลัก สัดส่วนรายได้จากการขายในประเทศและต่างประเทศเฉลี่ยปี 2552 - ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 12 และร้อยละ 88 ตามลำดับ และจากการที่บริษัทฯ เน้นการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ บริษัทฯ จึงมีฝ่ายขายที่สามารถพูดได้หลายภาษา เพื่อที่จะดูแลลูกค้าที่แบ่งเป็น 6 กลุ่มประเทศ ได้แก่ ประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง ประเทศในแอฟริกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และประเทศในยุโรป บริษัทฯ ส่งสินค้าไปจำหน่ายในกลุ่มเอเชียและตะวันออกกลางมากที่สุด  โดยมีสัดส่วนเฉลี่ยปี 2552 - ไตรมาส 2 ปี 2555 ประมาณร้อยละ 49 ของรายได้จากการขายต่างประเทศ เนื่องจากเป็นตลาดรถกระบะ 1 ตัน ค่ายรถญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดของโลก
              การจำหน่ายสินค้าของบริษัทฯ ผ่าน 2 ช่องทาง โดยผ่านลูกค้าโดยตรง ซึ่งมีทั้งที่เป็นผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และลูกค้ารายย่อยรวมถึงลูกค้าที่ติดต่อผ่านในงานแสดงสินค้า หรือ ลูกค้าใหม่ที่ได้รับการแนะนำจากลูกค้าเดิมของบริษัทฯ ซึ่งจะเป็นการติดต่อซื้อขายกันโดยตรงระหว่างบริษัทฯ กับผู้ซื้อ และผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งมีเฉพาะในประเทศไทยและประเทศอียิปต์เท่านั้น  โดยสัดส่วนการขายโดยตรงและผ่านตัวแทนจำหน่ายเฉลี่ยปี 2552 - ไตรมาส2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 89.66 และร้อยละ 10. 34
                จากข้อมูลการผลิตรถยนต์ของโลก 2011 มียอดผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 80,092,840 คัน (ข้อมูลจาก http://oica.net) ซึ่งเติบโตจากปี 2010 ประมาณร้อยละ 3.2 และจากข้อมูลทางสถิติของ Ward's Auto (http://wardsauto.com) ในปี 2010 มีจำนวนรถยนต์ทั้งหมดในโลกประมาณ 1,015 ล้านคัน และ International Transport Forum ภายใต้ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2050 จะมีจำนวนรถยนต์ในโลกประมาณ 2,500 ล้านคัน แสดงให้เห็นว่าความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่ REM จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณรถที่มีอยู่ในโลก และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องตามปริมาณการผลิตรถยนต์ใหม่ที่ผลิตเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

              โดยบริษัทฯ เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตดังกล่าว โดยปัจจัยสำคัญในการที่จะเจาะตลาดในประเทศใดประเทศหนึ่ง บริษัทฯ จะต้องลงทุนในแม่พิมพ์ตามรุ่นของรถยนต์ที่มีอยู่ในตลาดนั้นๆ ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในตลาดใหม่ๆ ได้ โดยการทำตลาดต่างประเทศของบริษัทฯ จะดูจากยอดผลิตและส่งออกของค่ายรถยนต์ประเทศนั้นๆ ตามแต่ละประเทศผนวกกับความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในประเทศนั้นๆ โดยบริษัทฯ จะเลือกเฉพาะตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงและเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งในสิบสองของโลก  

แน่นอน ธุรกิจย่อมมีการแข่งขัน  แต่สำหรับ FPI  เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตจากพลาสติก ที่สามารถตอบสนองได้ทั้ง 2 ตลาด ทั้งตลาด OEM และตลาด REM รวมทั้งเป็นศูนย์รวมในการจำหน่ายอะไหล่ชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีสินค้าที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทน (REM) บริษัทฯ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด เนื่องจาก บริษัทฯอยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มานานกว่า 20 ปี ทำให้มีแม่พิมพ์มากกว่า 1,400 แบบ มีฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจุบันสามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ในขณะเดียวกัน การแข่งขันในตลาด REM มีอยู่ในวงจำกัด ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีกลุ่มตลาดหรือกลุ่มลูกค้าตามแบบเฉพาะของรถยนต์ (NICHE MARKET) เช่นผู้ผลิตชิ้นส่วนแถบยุโรปจะผลิตสินค้าที่เป็นรถยนต์ค่ายยุโรป เช่น เปอโยต์, เรโนลด์, ซีตรอง, ซีท และโฟล์คสวาเกน 

                ส่วนผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกา จะผลิตชิ้นส่วน ฟอร์ด, เจนเนอรัล มอเตอร์ และไครสเลอร์ สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นรถญี่ปุ่นก็จะมีเพียงผู้ผลิตในประเทศไต้หวัน จีน มาเลเซีย และไทยเท่านั้น ซึ่งแต่ละโรงงานจะมีจุดแข็งในแต่ละ MODEL ต่างๆ กันไป ขึ้นอยู่กับ ECONOMY OF SCALE  ของแต่ละบริษัท โดยในส่วนของบริษัทฯ จะได้เปรียบเทียบด้านตลาดรถกระบะค่ายญี่ปุ่นทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า, มาสด้า , อีซูซุ , มิตซูบิชิ และนิสสัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะค่ายรถญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกบริษัทฯ จึงมีความได้เปรียบในส่วนของชิ้นส่วนรถกระบะ นอกจากนั้นต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ ต่ำกว่าผู้ผลิตจากประเทศไต้หวันซึ่งถือเป็นคู่แข่งหลักของบริษัทฯ 

                ขณะที่สินค้าจากประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะผลิตป้อนให้กับตลาดภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยคุณภาพสินค้าของบริษัทฯ ที่ดีกว่าคู่แข่งในประเทศจีน จะเห็นได้จากบริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล อาทิเช่น ISO 9001: 2008 , ISO / TS 16949 : 2009 สำหรับด้านคุณภาพระบบการผลิตและการจัดการ มาตรฐาน OHSAS 18001:2007 สำหรับระบบการจัดการอนามัยแลความปลอดภัย และมาตรฐาน ISO 14001:2004 สำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่รับประกันได้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีคุณภาพระดับสากล ถึงแม้ว่าราคาสินค้าจากประเทศจีนจะต่ำกว่า แต่ลูกค้าของบริษัทฯ ยังคงซื้อสินค้าจากบริษัทฯ ยกเว้นตลาดทวีปแอฟริกา และตลาด MODEL รถรุ่นเก่าๆ ที่มีขายในตลาดมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้ามากนัก

           แวะมาถึง  ปัจจัยความเสี่ยงของFPI  ถือว่า ความเสี่ยงด้านราคาและการจัดหาวัตถุดิบ   โดยวัตถุดิบหลักที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตของบริษัทฯ คือ เม็ดพลาสติก ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene) และเม็ด PP (Polypropylene) โดยสัดส่วนมูลค่าซื้อเม็ดพลาสติกของบริษัทฯ ต่อมูลค่าการซื้อวัตถุดิบทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 54.54 และ ร้อยละ 57.90 ในปี 2554 และงวด 6 เดือนแรก ปี 2555 ตามลำดับ ซึ่งราคาของวัตถุดิบดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะแปรผันตามราคาน้ำมันในตลาดโลกรวมทั้งขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของวัตถุดิบนั้นๆ ในตลาดโลกในแต่ละช่วงเวลาซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ โดยราคาเฉลี่ยเม็ดพลาสติก ABS เพิ่มขึ้นจาก 41.04 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2552 เป็น 57.96 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2553 เป็น 64.29 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2554 และเป็น 61.14 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 41.23 ร้อยละ 10.93 และร้อยละ (4.98) และราคาเฉลี่ยเม็ดพลาสติก PP เพิ่มขึ้นจาก 26.69 บาทต่อกิโลกรัมปี 2552 เป็น 35.34 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2553 เป็น 42.14 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2554 และเป็น 39.96 ต่อกิโลกรัมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 32.239 ร้อยละ 19.25 และ ร้อยละ (5.35)  ตามลำดับ ( ข้อมูลจาก Bloomberg) 

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบหลักดังกล่าวจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ ก็ตาม แต่บริษัทฯ ได้จัดให้มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบในตลาดโลกอย่างใกล้ชิดโดยจัดให้มีทีมงานเฉพาะคอยติดตามราคาวุตถุดิบ  การวิเคราะห์แนวโน้มของราคาวัตถุดิบในแต่ละช่วงเวลารวมถึงการประเมินความต้องการใช้วัตถุดิบของบริษัทฯ ในแต่ละช่วงเวลา ทำให้บริษัทฯ สามารถบริหารการจัดซื้อวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบดังกล่าวไม่มากนัก  จะเห็นได้จากอัตรากำไรขั้นต้นของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ  ผลิตเอง ในปี 2552-2554 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 เท่ากับร้อยละ 10.28 ร้อยละ 6.85 และร้อยละ 20.63 ตามลำดับ ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทฯ มีการเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นในปี 2553 ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการปรับสายการผลิตชุบโครเมียมให้เป็นระบบอัตโนมัติ และเนื่องจากบริษัทฯ มีนโยบายในการไม่พึ่งพิงผู้จัดจำหน่ายรายใดรายหนึ่ง ทำให้ที่ผ่านมา บริษัทฯ  ไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดหาวัตถุดิบ

 ความเสี่ยงจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC ) ในปี 2558 ถือเป็นความท้าทายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย  โดยแต่ละประเทศมีการแข่งขันมากขึ้น  มีกลยุทธ์เพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย  ที่พยายามจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์  เช่น อินโดนีเซีย  วางแผนที่จะเปิดนโยบายรถยนต์คล้ายๆ กับรถยนต์ประหยักพลังงานมาตรฐานสากล (อีโค่คาร์) ของประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุน ขณะที่เวียดนามมีค่าจ้างถูก  จำนวนแรงงานมาก  สำหรับจีนและอินเดีย  มีศักยภาพมากในด้านการผลิตสินค้าชิ้นส่วนต้นทุนต่ำ  ดังนั้นเมื่อเปิดเสรี  การแข่งขันด้านราคาจะมีความรุนแรงมากขึ้นเพราะผู้ผลิตรถยนต์จะพยายามหาชิ้นส่วนที่ต้นทุนต่ำที่สุด  อย่างไรก็ตาม  ประเทศไทยยังคงมีจุดแข็งในด้านการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล  เป็นฐานการผลิตรถกระบะ 1 ตัน รวมถึงอีโค่คาร์

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีความพร้อมในการเปิดเสรีดังกล่าว ในส่วนของตลาด OEM ด้วยสายการผลิตที่ครบวงจร  ทั้งฉีดขึ้นรูป ชุบ และพ่นสี  รวมทั้งมีเครื่องจักร CNC สำหรับผลิตแม่พิมพ์เอง  รวมทั้งการได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตทั้งการผลิตทั่วไปและมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะ  ทำให้บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะยังได้รับการไว้วางใจจากลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตซึ่งเป็นค่ายรถยนต์ หรือเจ้าของตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาด REM จากการที่บริษัทฯ อยู่ในอุตสาหกรมมนี้มานาน มีแม่พิมพ์จำนวนมาก  โดยเฉพาะแม่พิมพ์รถกระบะ ค่ายรถญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะดังกล่าว รวมทั้งมีความเข้าใจในลักษณะของลูกค้าในแต่ละภูมิภาค และมีความสัมพันธ์อันดี บริษัทฯ จึงยังคงมีข้อได้เปรียบค่อนข้างมาก

 ความเสี่ยงจากการที่มีลูกค้าอยู่ใน Sanctioned Countries List
เนื่องจากบริษัทฯ มีการส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศที่อยู่ใน Sanctioned Countries List ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงในด้านการปกครอง (Sovereignty concern) ที่กำหนดโดย  U.S. Department of the Treasury เช่นประเทศอิหร่าน ประเทศอิรัก ประเทศลิเบีย ประเทศซูดาน ประเทศซีเรีย ประเทศอัฟกันนิสถาน ประเทศพม่า เป็นต้น บริษัทฯ จึงอาจมีความเสี่ยงในการที่จะไม่ได้รับเงินจากการขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าของบริษัทฯ ส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มประเทศดังกล่าว ไม่มีปัญหาในการชำระเงินค่าสินค้า แต่จะมีข้อจำกัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ ทำให้ระยะเวลาในการชำระเงินจะใช้เวลานานกว่าลูกค้ารายอื่น โดยรายได้จากการขายของลูกค้าในกลุ่มประเทศดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 6.34 และร้อยละ 9.14 ของรายได้จากการขายในปี 2554 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2555 สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้ของลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศลิเบียเริ่มคลี่คลายจากภาวะสงครามกลางเมืองตลอดปี 2554 ส่งผลทำให้ยอดขายจากประเทศดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ระมัดระวังในการจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าดังกล่าว โดยจะจำหน่ายเฉพาะลูกค้าเดิมที่มีความมั่นคง มีประวัติการชำระเงินที่ดี สำหรับลูกค้าใหม่จะต้องโอนเงินให้ก่อนที่บริษัทฯ จะส่งสินค้าให้ (T/T before Shipment)

                ความเสี่ยงจากปัญหาอุทกภัย
                เนื่องจากที่ตั้งโรงงานของบริษัทฯ อยู่ในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงที่เกิดอุทกภัย โดยในปี 2554 ที่ผ่านมาบริเวณรองโรงงานเกิดปัญหาน้ำท่วม แต่จากการป้องกันที่มีประสิทธิภาพของบริษัทฯ ส่งผลทำให้โรงงานและสำนักงานของบริษัทฯ ไม่ประสบปัญหาดังกล่าว บริษัทฯ ยังสามารถผลิตสินค้า และจัดส่งให้กับลูกค้าได้ตามกำหนด เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯ เป็นลูกค้าต่างประเทศ บริษัทฯ จึงสามารถจัดสินค้าขึ้นตู่คอนเทนเนอร์ ส่งไปท่าเรือโดยตรง ทำให้ไม่ประสบปัญหาเรื่องการกระจายสินค้า ผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2554 จึงไม่กระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการเตรียมการป้องกันปัญหาอุทกภัยดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรั้วป้องกัน รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์ในการระบายน้ำอย่างเพียงพอ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ทำประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงทุกชนิด ซึ่งรวมถึงอุทกภัย เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากปัญหาอุทกภัยในอนาคต ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทฯ มีวงเงินประกันเท่ากับ 600 ล้านบาท คุ้มครองอุทกภัยจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการทำประกัยคุ้มครองอุทกภัยเพิ่มเติม


สำหรับโครงการอนาคตของFPI  มีดังนี้

1.การลงทุนด้านการผลิตและคุณภาพ
บริษัทฯ มีนโยบายในการเพิ่มกำลังผลิตในสายการผลิตที่สำคัญของบริษัทฯดังนี้

-การลงทุนในสายการฉีด เพื่อซื้อเครื่องฉีดจำนวน 5 เครื่อง มูลค่า 50.00 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2555-2556 ส่งผลให้กำลังการผลิตกลุ่มกันชนและกลุ่มกระจังหน้าเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 38 และร้อยละ37 ตามลำดับ

-การลงทุนในสายการผลิตชุบ จำนวน 2.00 ล้านบาท ในปี 2555 เพื่อติดตั้งระบบระบายอากาศ เพื่อลดปัญหาฝุ่นในกระบสนการผลิตที่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า และปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

-การลงทุนในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ในปี 2556 บริษัทฯ มีการวางแผนลงทุนในเครื่องมือวัด เพื่อตรวจวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (CMM) จำนวน 1 เครื่อง มูลค่า 5.00 ล้านบาท

2.การลงทุนด้านอาหาร คลังสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวก
บริษัทฯมีนโยบายในการขยายตัวและเติบโตในกลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่ายต่อ ร้อยละ 20 ต่อปี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัว บริษัทฯจึงมีนโยบายในการลงทุนสร้างสิ่งอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น

-ในไตรมาส 3-ไตรมาส4 ปี2555 บริษัทฯ มีแผนพัฒนาที่ดินและสร้างอาคารโรงงานพื้นที่ 6,400 ตารางเมตร มูลค่า 40.20 ล้านบาท การปรับปรุงพื้นที่โรงงาน มูลค่า 3.70 ล้านบาท และสร้างสำนักงานแห่งใหม่พื้นที่ 2,800 ตารางเมตร มูลค่า 25.00 ล้านบาท

-ในปี 2556 บริษัทฯ มีแผนสร้างอาคารโรงงานและคลังสินค้าบนพื้นที่ 4,000 ตารางเมตรและส่วนคลังสินค้าพื้นที่ 8,000ตารางเมตร 3 ชั้น (24,000 ตารางเมตร) มูลค่า 63.00 ล้านบาท รวมถึงการลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกในงวดหกเดือนหลังของปี 2555 และปี 2556 เป็นจำนวน 3.00 ล้านบาท และ 1.00 ล้านบาท ตามลำดับ

การขยายโรงงานจะส่งผลทำให้ฝ่ายผลิต (โดยเฉพาะฉีดพลาสติก) มีพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 1,800 ตารางเมตรเป็น 3,600 ตารางเมตร และทำให้มีพื้นที่จัดเก็บสินค้าเพิ่มมากขึ้นจาก 48,000 ตารางเมตร เป็น 72,000 ตารางเมตร

                อย่างไรก็ตาม การเข้าตลาดหุ้น  FPI ได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป จำนวน 63 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 21.36 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นการเสนอขายให้แก่ประชาชนจำนวน 60 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 20.34 และเสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทจำนวน 3 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.02  ราคาหุ้นละ 3.50 บาท  เข้าซื้อขายหรือเทรดหุ้นวันแรก 20 กันยายนนี้
               สำหรับเงินที่ได้จากการขายหุ้นIPO ครั้งนี้  บริษัทฯ จะนำไปใช้ลงทุนขยายโรงงานและคลังสินค้า ซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม คืนเงินกู้สถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ด้านผลประกอบการของ FPI เติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง โดยมีรายได้รวมจำนวน 955.14 ล้านบาทในปี 2552 ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 1,197.44 ล้านบาทในปี 2553 และ 1,300.37 ล้านบาทในปี 2554  และงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ FPI มีรายได้รวม 735.38 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิของบริษัทฯ อยู่ที่ 35.11 ล้านบาทในปี 2552 และ 26.61 ล้านบาทในปี 2553 ก่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาอยู่ที่ 63.43 ล้านบาทในปี 2554 และงวด 6เดือนแรกของปีนี้ FPI มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น62.93 ล้านบาท
                ตอกย้ำจุดแข็งอีกประการหนึ่ง  FPI คือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตจากพลาสติกที่ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบเม่พิมพ์ การฉีดขึ้นรูป ชุบโครเมี่ยม และการพ่นสีรวมทั้งเป็นศูนย์รวมในการจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ทั้งชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทน (REM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ภายใต้ตราสินค้าของค่ายรถยนต์ต่างๆ (OEM) ปัจจุบันมีสินค้ามากกว่า 45,000 รายการ  จัดจำหน่ายกว่า 110 ประเทศทั่วโลกโดยได้รับการยอมรับเรื่องสินค้ามีคุณภาพมาตรฐานและ  FPI ยังถือเป็นผู้นำในธุรกิจชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์พลาสติกทดแทน (REM)สำหรับรถกระบะ 1 ตัน ค่ายญี่ปุ่นติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 110 ประเทศทั่วโลก 
สรุป FPI จิ๋วแต่แจ๋ว 20 กันยายนนี้และวันต่อไป..........

โดย..จักรภพ




 

บทความล่าสุด

แนวรบเก็งกำไร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ แม้สภาพตลาดหุ้นไทย นักลงทุน ยังไม่กลับมา แต่สำหรับแนวรบ หุ้นเก็งกำไร ......

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing Series 2024

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing..

มัลติมีเดีย

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้