Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

บทสัมภาษณ์พิเศษ:เจาะใจ SRICHA ก่อนเข้าเทรด

8,252



    สำนักข่าว Hooninside.com  เจาะลึกถึงแผนการนำหุ้นเข้าเทรดกระดาน  โดยได้รับเกียรติจาก 2 ผู้บริหารไฟแรง นำโดย คุณฉัตรมงคล เขมาภิรัตน์ กรรมการ  และคุณกฤษฎา โพธิสมภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ  บมจ.ศรีราชา คอนสตรัคชั่น(SRICHA)ผู้นำด้านการรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของประเทศไทยที่มีความชำนาญในการรับงานก่อสร้างงานโลหะ ในโรงงานอุตสาหกรรมหนักแบบครบวงจรให้กับลูกค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ให้โอกาสทีมงาน Hooninside.com ได้สัมภาษณ์แบบเจาะใจ ถึงแผนเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปหรือ IPO จำนวน 78.25 ล้านหุ้น ที่ราคา 15 บาท พร้อมเปิดจองซื้อหุ้นวันที่ 22 มิถุนายน และ25-26 มิถุนายน นี้  คาดลงกระดานเทรด 2 กรกฎาคม 2555 ทิ้งท้ายด้วยว่า"จุดเเข็งอยู่ที่การบริหารจัดการ การประกอบเเละติดตั้งทั้งระบบ" เชิญผู้อ่านทุกท่านติดตามบทสัมภาษณ์แบบเต็มๆ...........................ได้เลยคะ




***บริษัทศรีราชามีความเเตกต่างจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอย่างไร เเล้วจุดแข็งของบริษัทคืออะไร***
    หากเปรียบเทียบกับบริษัท TTCL เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการในรูปแบบ EPT คือ Engineering Procurement เเละ Construction) 3 ส่วนนี้ผสมด้วยกัน เช่น สมมุติจะทำโรงงานแอลกอฮอลล์ขึ้นมาสักโรงงานหนึ่ง จะออกเเบบ เเละรู้ว่าโรงงานต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง พอถึงขั้นตอนการซื้อของ คือ Procurement  TTCL ก็จะเป็นคนซื้อของ จากนั้นจะเป็นผู้ก่อสร้างด้วย โดยรวม TTCL เป็นลักษณะการรับเหมาวิศกรรมเเบบครบวงจร  เเต่ผมมองว่าเราเป็นผู้ร่วมธุรกิจกัน ไม่ใช่คู่แข่งกัน เพราะผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทนี้มีน้อย  ก็เลยไม่ค่อยได้เเข่งกันอยู่เเล้ว เเต่ในเเง่ความต่างกันก็มี ส่วนSTPI เป็นลักษณะเเบบ EPT เช่นกันเเต่จะมีส่วนคล้ายกับ  SRICHA มากกว่า ซึ่งในส่วนของ  Engineering เเละ Procurement จะมีน้อย โดย Construction จะเยอะ โดยจะรับงานที่เจ้าของงานเป็นคนจัดหาวัตถุดิบมา ให้ โดยคล้ายกันตรงที่จะเอาคน บวกกับความสามารถไปทำ ผู้ว่าจ้างจะเป็นคนเอาของมาให้ เเต่ในความคล้ายคลึงกันตรงปลายของการ Construction ก็ต่างกัน ตรงที่ว่าช่วงหลัง STPI จะมีความถนัด ไปในงานที่เรียกว่า  Modular ซึ่งจะเป็นลักษณะการทำในเมืองไทยเเล้วส่งไปต่างประเทศ เเต่ของเรา จะไปทำที่ต่างประเทศ ทำตรงโรงงานไปประกอบติดตั้งตรงนั้น ขณะการก่อสร้างใช้พื้นที่ต่างกันนิดหนึ่ง   STPI จะสร้างเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ส่งไป เเต่ SRICHA จะส่งคนไปทำที่นั่นเลย เเต่ตรงจุดนี้มีความได้เปรียบเสียเปรียบที่ไม่เหมือนกัน การสร้างอยู่ในเมืองไทยยังไงก็ไม่ยากมาก เเละการที่เราได้ประสบการณ์ไปทำงานในต่างประเทศเยอะ ทำให้ได้ประสบการณ์ ที่หน้างานในต่างประเทศ


***สัดส่วนงานในต่างประเทศมีประมาณกี่เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับรายได้ ***
    ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา งานในต่างประเทศจะอยู่ประมาณ 90% พอมาช่วงปีนี้ สัดส่วนของงานในประเทศ จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 20% กว่าเปอร์เซนต์ โดยยังเป็นงานในต่างประเทศประมาณ 70%  เปรียบเหมือนลูกโตอยู่เมืองไทย เเต่พ่อเเม่ไปโตที่ต่างประเทศ เป็น เพราะว่าโครงการที่เป็นลูกค้าโครงการขนาดใหญ่วันนี้ เกิดที่เมืองไทยน้อย เเต่เกิดที่ต่างประเทศเยอะ เเละมีความต้องการบริษัทที่มีความสามารถ จึงเป็นเรื่องที่ผลักดันให้บริษัทฯ ต้องไปทำงานในต่างประเทศ ส่วนการกลับมาทำงานที่เมืองไทยมองว่าไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมีจุดเเข็งของเรา

***จุดเเข็งของศรีราชาอยู่ตรงไหน***
    ผมคิดว่าจุดเเข็ง SRICHA อยู่ที่การบริหารจัดการ การประกอบเเละติดตั้งทั้งระบบมากกว่า คงไม่ได้เน้นเป็นท่อ เป็นโครงเหล็กหรืออะไร 
 
***โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ มาจาก4 ส่วนหลักใช่หรือไม่ ตัวไหนที่เป็นหัวใจหลัก***

    ใช่ ถ้าในเรื่องของ Product  สัดส่วนจะอยู่ที่งานโครงสร้างเหล็ก ยกตัวอย่างเช่น โรงกลั่นน้ำมันที่จะเห็นโครงสร้างเหล็ก ที่ไฟพุ่งอยู่ข้างบน อย่างนี้ คนสร้างตึกจะไปสร้างทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานส่วนมากมาจากการประกอบติดตั้ง ทำให้เกิดโรงงานชิ้นใหญ่ขนาดนั้น ที่ส่วนมากจะเป็นเหล็ก  เราทำอย่างนั้น ความเเตกต่างง่าย ๆ เลยระหว่างเรากับโยธาก็คือ วัสดุจะเป็นเหล็ก เเต่โยธาจะทำด้วยปูน
 
***เปรียบเทียบจุดเเข็งของ ศรีราชา กับ STPI เเละTTCL เมื่อเราเข้าตลาดหุ้น  จุดเเข็งที่จะทำให้นักลงทุนประทับใจอยู่ที่ตรงไหน***
    การทำงานต่างประเทศ ความสามารถ ความชำนาญการได้รับการยอมรับ จากลูกค้าต่างประเทศ ที่ไว้ใจให้ไปทำงานที่ต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งวันนี้จะมีงานใหญ่ที่ไหนในโลก เป็นงานก่อสร้างขนาดใหญ่ก็จะมาเชิญ  SRICHAไปทำ เราใช้คำว่าเชิญนะ เพราะปกติขั้นเเรกก็จะเชิญ ว่าสนใจมั้ย อย่างที่มาดากัสการ์ ก็เชิญไปร่วมงาน เพราะมีความมั่นใจใน SRICHA  และเห็นมีศักยภาพที่จะทำได้  ทั้งระบบความปลอดภัย เเละ ระบบคุณภาพ รวมถึงการทำงานที่ตรงตามเวลา  เมื่อมีความมั่นใจขนาดนี้เเล้ว  เเต่ก็ต้องมีการต่อรองราคาเกิดขึ้นบ้าง เพราะ  SRICHA ไม่ได้ทำงานราชการเลย

    ดังนั้นในมุมที่  SRICHA คุ้นเคยกับบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ว่าคำว่า  lock spec  จะไม่เกิดขึ้น ลูกค้าจะสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ โครงการขนาดใหญ่ คิดเป็นมูลค่าเป็น  เงินไทย ถึง 1 ล้านล้านบาท บางงานถึง 2 ล้านล้านบาท เท่ากับงบประมาณประเทศไทยทั้งปี ที่สำคัญก็ คือ วัตถุดิบ เป็นหัวใจของการก่อสร้าง ลูกค้าก็อยากได้บริษัทที่สามารถทำงานให้ได้เเน่ เป็นธุรกิจเเห่งความมั่นใจ เพราะหากทำไม่ได้งานจะเสียหาย อาทิ งานที่มาดากัสการ์ มีมูลค่า 1 เเสนกว่าล้านบาท 5,500 ล้านเหรียญสรัหฐดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้ที่ทำสัญญา SRICHA โตขึ้นมา เป็น 250 ล้าน7,500 ล้านเหรียญ แต่ตอนนี้ยังไม่จบนะครับ จะเห็นได้ว่า เเค่5% ของลูกค้าเองเเล้วหากว่าลูกค้าจ่าย  SRICHA เพิ่มอีก สัก 20% หรือ 1 % ของมูลค่าโครงการ นิดเดียวเท่านั้นเอง


***ปัจจุบัน ศรีราชา มีBacklog อยู่จำนวนเท่าไร***
    คือ ตอนBacklog ที่ยื่นไว้ตอนไฟลลิ่ง จะยื่นไปที่ 1,300 ล้านบาท จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีBacklog อยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท เเละก็มีงานทีกำลังพูดคุยอยู่อีกประมาณ 4,900 ล้านบาท เเต่การพูดคุยระหว่างที่ทำงาน  การเข้าตลาดก็ทำไปลูกค้าเข้ามามากขึ้น



***อันนี้ เป็นงานทั้ง 2 ส่วนเลยใช่ไหม ทั้งในต่างประเทศ เเละในประเทศ***

    ใช่ครับ

***เรามีความมั่นใจมากน้อยเเคไหน กับงานเรายื่นไป ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์***
    ผมไม่พูดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ไหม เเต่บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าในเเต่ละปีจะต้องมี Backlog ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท เเละGross Margin ไม่ต่ำกว่า 50% Net Profit อยู่ที่ 30-35% นี่คือความมั่นใจ จากประสบการณ์ที่   SRICHA  ทำมา 20 ปี  ทำให้รู้ว่าศักยภาพเป็นยังไง เเต่อาจมีโอกาสที่บริษัทฯ จะได้งานจนกระทั่งถึงมูลค่างานต่อปี  4-5 พันล้านบาท ฉะนั้นต้องบอกว่าเป็นไปได้ที่บริษัทฯ จะได้ขั้นต่ำประมาณ 1,500 จนกระทั่งถึง 4-5 พันล้านบาทในช่วงปีหน้า นี้คือความเป็นไปได้เเต่ผมไม่ได้บอกว่ามันจะได้ออกมาเป็นยังไง ส่วนเปอร์เซนต์ต้องชี้แจ้งว่าไม่มีอันไหนที่ 100% เเละไม่มีอันไหนที่เป็น 0% หรือว่า 40-50% ทุกอย่างมันอยู่เปอร์เซนต์ปลาย ๆ ทั้งนั้นเเหละ เเต่จนกว่าจะได้ถึงจะบอกได้ว่ามีความมั่นใจจริง ๆ

***เห็นเค้ามองว่า ความสามารถในการทำกำไรของศรีราชา มีProfit Margins อยู่ที่ 40-50% ซึ่งถือว่าสูงสุดในผู้ประกอบอุตสาหกรรมนี้เลย***
    ใช่ครับ ถ้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานะ เพราะว่างาน 2 โครงการใหญ่คือ ที่มาดากัสการ์เเละที่สิงคโปร์ เป็นงานที่มาร์จินส์ดีทั้งคู่ พองานที่มาร์จินส์ดี บวกกับงานที่มาร์จินส์ดีก็เลยดีไปกันใหญ่ เเต่ผมก็ไม่อยากให้เป็นความคาดหวังนะ ที่จะกำหนดว่ามาร์จินส์จะดีอย่างนี้ตลอด ผมต้องเรียนว่ามาร์จินส์ที่เหมาะสมที่ผมคิดภาพไว้ในใจ คือ Gross 50% Net 35% ก็ถือว่าสวยงามหรูแล้ว เเต่แน่นอนถ้าเจองานต่างประเทศอย่างเดิมอีก เเละสามารถกำหนดราคาในอัตราประมาณเดิม มาร์จินส์ก็จะสูงเหมือนเดิม


***หากเปรียบเทียบกับคู่แข่ง มีมาร์จินส์อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่***
    เท่าที่เห็น STPI ก็อยู่ที่ประมาณ 20%กว่านะ ก็ถือว่าไม่น้อยนะถือว่าเยอะ ส่วน TTCL ของเขาก็อยู่เเถว 10-20% ประมาณนั้น


***TTCL บทวิเคราะห์ให้เเค่ 4-5% เท่านั้นเองนะ***

    คือ TTCL เขาทำงานที่ครบวงจรก็จริง ในสิ่งที่เขาทำคือ EPT  เป็นงานที่มีคู่เเข่งมากกว่าเลยทำให้มาร์จินส์เฉือนกันลงมา

***กำไรของศรีราชาในปีนี้ เราจะPopular เเต่ใน1 ปีถึง2ปี เราจะเริ่มสไลด์ลงหรือเปล่า เเล้วบริษัทจะทำอย่างไรให้เท่ากับปีนี้ หรือว่าลักษณะนี้เป็นไปตามCycle ของธุรกิจ***

    คือมันเป็น Cycle ของการรับงานอยู่เเล้ว มันไม่ถึงกับสไลด์ลง เเต่มองว่าเป็นการลง เพื่อรอ Cycle ใหม่เท่านั้นเอง เพราะว่างานที่รู้ในโลกตอนนี้ โดยเฉพาะในออสเตรเลียกำลังบูมมาก ที่บริษัทฯ คุย กันไว้ 4,900 ล้านบาท ก็มีความมั่นใจระดับหนึ่ง เเต่นอกเหนือจากนั้นยังมีงานที่เพิ่มเติมเข้ามา โดยไม่คาดคิด สมมุติงานปัจจุบันที่ทำกันอยู่ เช่น ที่ออสเตรเลียเหมือนกันตอนเริ่มต้น เราก็ทำแก้ขัดเพราะงานมันเริ่มซา  แตอีกไม่นานก็มีการโยนงานเข้ามาอีก ตอนนี้ พูดถึงเฟส 2 ในปีหน้าแล้ว อันนี้ยังไม่รวมอยู่ในเอกสารไฟลลิ่ง ที่ยังไม่พูดถึงในส่วนนี้ เพราะข้อมูลของบริษัทฯ จะค่อนข้างเยอะ แต่ว่าการที่จะ รักษาให้งานเป็นอย่างนั้นได้ ผมต้องเรียนว่าลักษณะของงานก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก ธรรมชาติจะไม่ได้เป็นลักษณะว่า ปีหนึ่ง รับ 10 งาน 20 งาน เเล้วก็มาเฉลี่ยกันกำไรมากกำไรน้อย ลักษณะของ  SRICHA  คล้ายกับว่า 2 ปี หนึ่งงาน 3 ปี งานใหญ่งานหนึ่งเเบบนั้น ฉะนั้นก็จะไม่ใช่ภาพที่ว่าปีนี้ จะมีหลายโครงการ 10 งาน หรือ 15 งานอย่างนั้น มันไม่ไช่ พอไม่ใช่ Cycle ของ  SRICHA จะเป็นแบบพอขึ้นไปสูงสุด เเล้วก็ลงมาปรับรอโครงการใหม่  เเล้วก็ขึ้นไป เเล้วก็ปรับรอมันเป็นอย่างนั้น คู่แข่งหรือผู้ร่วมธุรกิจเขาก็มีลักษณะคล้ายๆ กับเรา ผมคิดว่าใน10 ปี ก็จะมีงานใหญ่สัก 3 งานในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ปฏิเสธงานไปเเล้ว 4 งาน  ที่ถามว่าเราจะสไลด์ลง

*** ตรงจุดนี้ เป็นบทวิเคราะห์ที่มองว่ากำไรของศรีราชาจะลดลง***

    ตรงนี้ สามารถพูดได้ว่า อัตรากำไรของบริษัทฯ จะสูงขึ้นนะครับ

***ปีนี้ กำไรศรีราชาสูง เเต่ว่าปี 56 ปี57 กำไรจะเริ่มลดลง เหมือนกับงานที่มาร์ดากัสการ์มันจะเริ่มลดลง หรือไหม***
    อันนี้ ต้องเรียนอย่างนี้ นะครับว่า นักวิเคราะห์รู้ในสิ่งที่บริษัทฯ ยังไม่รู้เลย  นักวิเคราะห์จะรู้ได้อย่างไรว่าปีหน้ากำไรของบริษัทฯ จะลดลง คือ ยังไม่รู้เลย เพราะลักษณะ SRICHA  มีไม่เหมือนกับ บริษัทที่มี Backlog ไป 3 ปี 5 ปี เพราะสามารถมองออกได้เลยปีหน้าต้นทุนจะเยอะ จะเหลือกำไรน้อยมันยังพอมองออก เเต่ต่างกันเพราะBacklog ส่วนมากจะจบในปีนี้ เเละคาบเกี่ยวไปช่วงต้นปี  ถ้านักวิเคราะห์มองว่าปีหน้าบริษัทฯ ไม่ได้งานเลย จะกำไรน้อยอันนี้ คิดถูก เเต่ก็ต้องถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าบริษัทฯ จะไม่ได้งาน  เพราะ ถ้าสมมุติปีหน้าได้งานใหม่ ปีหน้าบริษัทฯ น่าจะมีกำไรไม่น้อยกว่าปีนี้ หรือปีที่เเล้ว

     วงการนี้ เวลามีงานเกิดขึ้น ข่าวลือก็จะเกิดขึ้น เเล้ว บางที่ยังไม่ได้เริ่มประมูลข่าวลือก็มีไปทั่วในหมู่พนักงาน เเล้วก็มีการลือว่าบริษัทฯ นั้นได้ บริษัทนี้ได้งาน  เเต่หากจะให้พยากรณ์ เราจะพยากรณ์ถึงปี /2556-2557 อาจจะมีลูกค้านำงานใหญ่เข้ามาให้บริษัทฯ  ให้ไปทำงานให้  พอคุยกันว่างานเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มปีหน้า ใช้เวลา ทำ 2 ปี  มูลค่าทั้งหมด 8,000 ล้าน  สนใจทำไหม ลักษณะเเบบนี้ก็เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ  

    ยกตัวอย่าง 3 ปี ที่เเล้วตอนนั้นกำลังทำงานที่มาร์ดากัสการ์ อยู่ ทำที่เมืองไทย เเล้วก็ส่งทีมงานไปทำที่นู่น พองานส่วนเมืองไทยใกล้จบทีมงานก็ว่างตอนนั้นมีโอกาสรับงาน 3-4 งาน เเต่เราปฏิเสธหมด เพราะต้องการจะได้ซับพอร์ตงาน เพราะรู้ว่า1.งานที่มาร์ดากัสการ์ โตกว่าที่คิดไว้  ตอนนั้นบริษัทฯ ทำมา 2 ปี ทำให้สามารถรู้มาร์จินส์ได้ระดับหนึ่ง เเละอยู่ๆ ก็มีงานที่สิงคโปร์ติดต่อมา เเละเขาก็ตกลงจ้างบริษัทฯ  หลังจากเจรจาตกลงกันหลายรอบ มีมูลค่างานประมาณสัก ร่วม 1 พันล้านบาท เเละมีมาร์จินส์สูงกว่าที่มาร์ดากัสการ์อีก

     ผมจะยกตัวอย่างนะ สมมุติ มีแก้วน้ำ เเล้วบริษัทฯ ขายเเก้วน้ำทุกวัน คนก็มาซื้อแก้วน้ำ ถ้าเป็นแก้วไวน์แพง ๆ อาจจะนานๆ ขายได้ทีหนึ่ง เเต่มีมาร์จินส์เยอะอันนี้ เป็นลักษณะ ของ  SRICHA  คือ  เป็นบริษัทฯ ที่มีมาร์จินส์ เยอะ ไม่ได้มีลักษณะมี Backlog กันไปตลอดต่อเนื่อง เเบบ 5 ปี 6 ปี  บริษัทฯ รอจังหวะที่จะได้งาน พอได้งานทีบริษัทฯ ก็จะทำกำไรให้เต็มที่

    ถ้าจะเปรียบเทียบช่วงนั้นในเวลานี้ เดือนนี้ เดือนมิถุนายน ตอนนั้นบริษัทฯ มี Backlog 1,500 ล้านบาท ผ่านไป 2 เดือนถ้ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก สิ้นปีนี้ ก็จะกลายเป็น 2,500 พันล้านบาท คือมันไม่ได้มีสัญญาณที่จะบอกว่าปีหน้าจะเปิดประมูลรถไฟฟ้า เเล้วบริษัทฯ ไปเข้าร่วมประมูล เเละคาดว่าจะได้งานนั้นกี่เปอร์เซ็นต์  อาทิประมูล 4 สาย น่าจะได้ 2 สาย  เเล้วนำมาคำนวณออกมาเป็น Backlog ว่าเป็นเท่าไหร่ เเละคาดหวังว่ารายได้เท่าไหร่

***สัญญาที่เราทำส่วนใหญ่เป็นสัญญาเปิดใช่หรือไม่ ***
    ใช่ครับ โดยเป็นสัญญาที่บริษัทฯ ได้เปรียบลูกค้า ไม่เหมือนถ้าสร้างตึก ต้องมีเเบบของโยธา ขอเขต ไม่สามารถเปลี่ยนเเปลงอะไรได้ เช่น เเบบเหมาไปเเลย 9,000 ล้านบาท สร้างได้ประหยัดเท่าไหร่ ก็ได้กำไร สร้างเเพงก็ขาดทุน    

    บางทีสัญญาเปิดมันก็เป็นดาบ 2 คม ทำให้เสียเปรียบลูกค้า เเบบโดนหยุดงาน โดนยึดงานถอนงานไปให้คนอื่น เพราะสามารถทำได้ ในทางทฤษฎี เเต่ในทางปฎิบัติถ้าคุณเก่งพอ  คุณมีเเต่จะยึดงานคนอื่นไม่มีถูกยึดงาน


***อันนี้เป็นทักษะของพนักงานที่เป็นระดับฝีมือ***

    ใช่ครับ ต้องดูผลงาน ในช่วง 20 ปี  บริษัทฯ มีเเต่ไปยึดงานคนอื่นยังไม่เคยโดนยึดงาน เลย ดังนั้นจะบอกได้ว่า การถูกยึดงานเป็นไปได้น้อยมาก เเต่เป็นไปได้สูงว่าเราจะไปยึดงานคนอื่น เพราะความสามารถเเละฝีมือของบริษัทฯ


***อะไรเป็นตัวจุดประกายที่ทำให้เราอยู่ไม่ได้เเล้ว บริษัทศรีราชาต้องเข้าตลาดหุ้น หลังจากเป็นมหาชน เมื่อปีที่ผ่านมา***
    ขั้นเเรกต้องบอกว่าเจตนาในการเข้าตลาดของ  SRICHA  ถ้ามาดูงบของเรา ดู 3 ปีง่ายๆ เฉลี่ย 1 พันล้านบาท  ปันผล 100% ถามว่าถ้าต้องการเก็บเงินสดไว้ไม่เห็นจำเป็นต้องมีการปันผลหมดเลย เป็นเพราะว่าธุรกิจของบริษัทฯ ใช้เงินทุนหมุ่นเวียนน้อย วัตถุดิบไม่ต้องซื้อ การเข้าตลาดไม่ใช่ประเด็นการใช้เงิน
    การเข้าตลาดไม่ได้หนีคู่เเข่ง หรือ คู่เเข่งมารุมเรา เเล้วอยู่ไม่ได้ เเต่บริษัทฯ ต้องการความน่าเชื่อถือซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ความน่าเชื่อถือ จะทำให้บริษัทฯ สามารถรับงานที่ใหญ่กว่านี้อีก ไม่ใช่เรื่องระดมทุนเลย เงินเป็นเรื่องรองมีบ้าง เพราะว่าหากเงินได้มาเยอะ เวลาคิดจะลงทุน ขยับขยายพื้นที่ในการทำงานบางอย่าง เช่นงานโมดูล่าร์ ก็เป็นเรื่องที่สะดวกดี  เพราะการเข้าตลาดทำให้ บริษัทฯ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เเสดงถึงการมีเงินทุนเเข็งเเรง  ซึ่งเเต่ก่อนก็เเข่งเเรงเเต่ส่วนมากจะปันผลหมด เพราะไม่รู้จะเก็บเงินไว้ทำไม  เเต่ตอนนี้ปันผลไม่ได้ เพราะถูกกำหนดให้เราเขียนเเผนการใช้เงิน


***นโยบายปันผลของ ศรีราชา เป็นอย่างไร***

    50% ของกำไรครับ เป็นนโยบายที่อนุรักษ์นิยม เเต่ 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ปันผลไป 100% ฉะนั้น เข้าตลาดเเล้ว มีเงินทุนหมุนเวียนทำให้มีโอกาสที่จะได้งานใหญ่


***D/E (หนี้สินต่อทุน) อยู่ที่เท่าไหร่***

    D/E   พอดีงบบริษัทฯ มีรายได้รับล่วงหน้าเยอะ มีการตั้งค้างจ่ายไว้พวกหนี้ ไม่ใช่หนี้สิน ไม่ใช่หนี้ธนาคาร ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า ก็คือ เเทบไม่มีหนี้ โดยก่อน IPO D/E น่าจะอยู่ที่ประมาณ 0.1-0.2 เท่า บาทเดียวก็ไม่เสียดอกเบี้ย ไม่มีเลย ถ้าดูจากงบดุล ศรีราชา ไม่ใช่ธุรกิจที่ต้องการใช้เงินทุน ฉะนั้นคนที่คิดว่าเงินทุนเเข้มเเข่งกว่า เเละเข้าตลาดเพื่อระดมทุนจึงไม่ใช่
     นอกจากนี้ทรัพย์สินส่วนที่บริษัทฯ มี ยังมีโรงงาน อยู่ 4 ที่ บนเนื้อที่เกือบ 200 ไร่ ซึ่งไม่ติดธนาคาร เเละไม่ได้กู้ใคร  โดยใช้เงินสดซื้อ เป็นของบริษัทฯ ซึ่งเพียงพอต่อการทำงาน



***เงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปใช้ทำอะไรบ้าง***

     บริษัทฯ ตั้งใจจะนำไปขยายโรงงาน ในการทำเรื่องโมดูล่าร์ โดยเฉพาะ  เพราะโรงงาน  200 ไร่ ไม่ใช่โรงงานที่ทำไว้สำหรับโมดูล่าร์ ซึ่งต้องอยู่ติดท่าเรือ 200 ไร่ที่มีไม่ได้ติดท่าเรือ จะเป็นการประกอบชิ้นเล็กส่งไปเมืองนอกได้ เเต่ถ้าเป็นงานชิ้นใหญ่ต้องอยู่ติดท่าเรือ เพราะสะดวกต่อการขนส่งมากกว่า  ซึ่งที่ที่อยู่ติดท่าเรือ เเละมีความพร้อมที่จะทำงานได้ ราคาก็จะเเพงเเละสูง ทำให้บริษัทฯ ต้องเตรียมเงินไว้


***กำลังการผลิตรวมในปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่***

    โรงงานมีศักยภาพประมาณ 2-3 หมื่นตันต่อปี


***โรงงานใหม่ สนใจท่าเรืออะไร***

    คงเป็นท่าเรือหลัก ๆ ที่อยู่ใกล้ศรีราชา ไม่เเหลมฉะบัง  ก็มาบตาพุต


***ไม่กลัวอเมริกา มาใช้ฐานทัพ ***
    ไม่กลัวนะผมว่าน่าจะทำให้คึกคัก อีกอย่างฝรั่งเขาใช้ฐานทัพเรือ ใช้ฐานทัพอากาศ


***เงินทุนที่ใช่ลงทุนในโรงงานใหม่ ประมาณ 800 ล้านหรือเปล่า***

    ไม่ถึงนะ ที่คิดไว้ ประมาณ 400-500 ล้านบาท ที่เหลือจะเวิร์คกิ้งเเคปไว้ก่อน  เพราะจริงอยู่ว่าไม่ได้ใช้เงินเยอะในการทำงาน เเต่งานต่อไปที่เราทำอาจจะมีวัตถุดิบที่เข้ามา เพราะในเรื่องการซื้อของบางทีมีเงินไว้ก็ OK เเต่ปกติบริษัทฯ รับงานที่ไม่ได้มีเรื่องการซื้อของเยอะ
    ข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของ  SRICHA  คือ ทำธุรกิจนี้มาช้านาน เเละในวงการซับพลายเออร์ มีชื่อเสียงเครดิตค่อนข้างดี โดยจะได้เครดิตระยะยาว บางที่ก็ 6 เดือน 3 เดือน เเละ 2  เดือน ยิ่งทำให้บริษัทฯ ไม่ต้องการกระแสเงินสด ขณะที่เราเก็บเงินลูกค้าเดือนต่อเดือน


***โรงงานใหม่ จะเริ่มปักเสาเอกเมื่อไหร่***
    ต้องเรียนว่ารูปเเบบที่จะพัฒนา เเถวท่าเรือมีหลายรูปเเบบ  อาจจะซื้อที่ดินสร้างเอง อาจจะไปเช่าจากคนที่มีพื้นที่อยู่เเล้ว หรืออาจจะไปซื้อจากคนที่มีพื้นที่อยู่เเล้ว  หรืออาจจะไปร่วมทุนกับคนที่มีพื้นที่อยู่เเล้ว ฉะนั้นรูปเเบบที่ว่ามันยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ซื้อเเล้วสร้างจะเเพงที่สุด ใช้เงินเยอะ เเละใช้เวลานานด้วย  บริษัทฯ อาจจะเลือกในสิ่งที่มีอยู่เเล้ว พอมีอยู่เเล้วบางทีก็ต้องดูว่า เจ้าของเขาคิดยังไง  ก็มีหลายรูปเเบบที่จะทำเเต่คิดว่า ในไม่ช้าคงจะมีคำตอบ  หากบรรลุข้อตกลง บริษัทฯ ก็จะมีการเเถลงข่าวอีกที่หนึ่งครับ  เพราะเรามีการเคลื่อไหวที่จะเดินในหลายจังหวะอยู่ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของบริษัทฯ ในที่สุด


***ในอีกปี หรือ 2 ปี ตัวรายได้เเละกำไร ของศรีราชา จะเป็นอย่างไร***
    ก็อย่างที่เรียนว่ามาร์จินส์  บริษัทฯ ประมาณ  20 กว่า%  Net Profit เเละ Gross Profit อยู่ที่ 60 %กว่า ก็สูง  นี่คือที่ผ่านมา เเต่ไตรมาส1/2555 ที่ผ่านมาก็อาจจะดูสูงไปหน่อย ประมาณ 57%


***เเล้วไตรมาส 2/2555 กังวลไหม***

      อาจมีมุมที่คนมองเเล้วกังวลใจในเรื่องของ Backlog เพราะคุ้นเคยกับธุรกิจก่อสร้างที่มี Backlog  เยอะ  ก็เหมือนกับเอา Backlog ในอนาคตมาคิด P/E ในปีนี้เลย เเล้วจะเห็นได้ว่าบริษัทก่อสร้างใหญ่ ๆ บางราย P/E 20-30 เท่า ในขณะที่ผมเรียนว่า จาก Fair Price ที่นักวิเคราะห์ ออกมาอยู่ที่ 19-23 บาท  เเต่ยังไม่รู้ว่า IPO เท่าไหร่นะ เเต่ 19-23 บาท ที่ออกมา ถ้าคำนาณเป็น P/E raito เป็นกำไรของ  SRICHA ปีที่เเล้ว 1,000 กว่า มันประมาณ 6 เท่าเอง ถ้าผมกำหนดราคาต่ำกว่า Fair Price ดีไม่ดีไม่ถึง 6 อาจจะประมาณ 5 กว่า  คือบริษัทฯ กำลัง โฟรฟิชชันนิ่งตัวเองว่า  เห็นเเล้ว P/E  ตลาดอยู่ที่ 12 เท่า  พาร์ 1 บาท บริษัทฯ ไม่ใช้พาร์เป็นสตางค์ เพราะคิดเเล้วงง 1 บาท เข้าใจง่ายดี P/E ของบริษัท ถ้าดูตาม Fair Price นักวิเคราะห์ 6 เท่า P/E เฉลี่ย 12 เท่า  คนละขากันเลย


***Net Profit กับ ROE ของศรีราชา ถือว่าสูงสุดในอุตสาหกรรมเลย หากรวมในต่างประเทศเเล้ว***

    คู่เเข่งของบริษัทฯ ไม่เเน่น เเต่ถามว่า  SRICHA ได้เท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิด 100 หรือ เกือบ100 สำหรับ ROE  เเต่นั่นจะเป็น ROE ก่อนเข้าตลาด เเต่หลังเข้าตลาดก็น่าจะบวมขึ้น พอบวมเเล้วมีเงินระดมทุนอะไรเข้ามา อาจจะเหลือประมาณ 30-50   บริษัทฯ มีความตั้งใจจะรักษา ROE  ให้ได้ประมาณ 50%  เป็นความตั้งใจนะ ไม่ใช่คอมมิทเม้นท์

 

***IPO  จำนวน 78 ล้านหุ้น จะมี 58 ล้านหุ้นเป็นของผู้ถือหุ้นเดิม ***

    เราไม่ขายผู้ถือหุ้นเดิม  มันจะไม่กิดเหตุการณ์เหมือนที่ผ่านมา ล่าสุด 78.25 ล้านหุ้น เป็นหุ้นใหม่ทั้งนั้น จะมีใครเซอร์ไพรซ์ เอาหุ้นเก่ามาขายไม่มี จะมีเเต่หุ้นใหม่เท่านั้น การซื้อขายทั้งหมดเกิดจากนักลงทุนรายย่อย


***จะมี Warrant เเจกให้พนักงานด้วยใช่ไหม ***

    ใช่ครับ


*** ศรีราชา จะเป็นหุ้นเเบบไหน ***

    เป็นหุ้นปันผลครับ

***ราคา IPO ***

    ยังไงก็ถูกกว่า บริษัทที่เข้าตลาดก่อนหน้านี้   โดยราคาIPO อยู่ที่  15 บาท

***เดินสายมากี่กองทุนเเล้ว ***
    3 ครับ

***ผลตอบรับเป็นอย่างไร***

    จากที่ผมถาม FA ถ้ามีเหลือก็จะซื้อหมดเลยนะ กองทุนเเรกเอาไป 300 ล้าน โดยจะซื้อเก็บ ซื้อยาวไม่ขาย  เพราะเขาดูมาร์จินส์ของบริษัทฯ  เป็นกองทุนที่ร่วมทุนกันระหว่างต่างประเทศเเละไทย



***การกำหนดราคาขายใช้วิธีใด ***

    เป็นเเบบผสม ใช้สูตรผสมระหว่างค่าพีอี เรโซและการสำรวจความต้องการจองซื้อหุ้นจากนักลงทุนสถาบัน และจะให้ส่วนลดให้นักลงทุนที่จองซื้อหุ้น  เป็นราคาที่คนขายขายไม่ยาก คนซื้อสบายใจ โดยมีให้ผู้อุปการคุณ รวมนักลงทุนต่างประเทศ 20%


***จะขายช่วงไหน ***

    วันที่ 22 มิ.ย. 2555 จะเปิดจอง เเละเทรดวันเเรกวันที่ 2 ก.ค. 2555



---จบ---

 

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้