Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

128

 

หลายเรื่องเริ่มดูOK
TOP PICK MTC / TASCO / CENTEL

 

 

LOCAL ECONOMY

• นับถอยหลัง 9 วัน ก่อนที่นโยบายภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ (RECIPROCAL TARIFF) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. 68 โดยอิงจากประกาศรอบใหม่ไทยโดนไปที่อัตรา 36% ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเซีย ทั้งนี้ในกรณีที่บ้านเราไม่สามารถลดภาษีให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 36% ได้ อาจเพิ่มความเสี่ยง DOWNSIDE ต่อ GDP GROWTH ในอนาคต
• การรับมือกับ TARIFF ยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณช่วยประคองเศรษฐกิจไทย รวมถึงการมใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ จะยังเป็นการบรรเทาผลกระทบจากเงินบาทไทยที่แข็งค่าสุดในรอบ 4 ปี


EARNING BANK SECTOR 2Q68
• กำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด 2Q68 อยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงฝ่ายวิจัยคาด (สูงกว่า BB CONSENSUS คาด 8%) โดยลดลง 2% QOQ, +3% YOY จากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย โดย ธ.พ. ส่วนใหญ่ รายงานกำไรสุทธิตามคาดหรือดีกว่าคาด ซึ่ง KKP และ SCB มีกำไรสุทธิสูงเกินฝ่ายวิจัยฯ และ BB
CONSENSUS คาดการณ์อย่างมีนัยฯ
• กำไรงวด 2Q68 จากกลุ่ม REAL SECTOR จะทยอยประกาศออกมา และเริ่มเห็นการปรับมุมมองที่ดีขึ้นจากการ EARNING PREVIEW ของหลาย บล. ในหลายๆ บริษัท

 

INVESTMENT STRATEGY
• ในช่วง 1 เดือน SET INDEX ปรับตัวขึ้นราว 146 จุด จาก 1062 จุด เป็น 1208 จุด โดยเป็นการผลักดันจากหุ้นDELTA ถึง 43 จุด หรือ DELTA ผลักดันตลาดราวๆ 1 ใน 3 ของการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบนี้การขึ้นมาเร็วและแรงของดัชนีอาจมีพักๆ บ้าง
• กลยุทธ์ฝ่ายวิจัยฯ ทำการค้นหาข้อมูลจาก BLOOMBERG CONSENSUS ว่า นักวิเคราะห์หลายๆ ค่าย มีการทยอยปรับคำแนะนำหุ้นตัวไหนขึ้นมาบ้างในเดือนนี้ หลังจากมีการทำ EARNING PREVIEW ในระดับหนึ่ง แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่มี MOMENTUM ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ อย่าง SCC, SAPPE, BAM, BCP,BSRC, SPRC

 

ผลกระทบจาก TARIFFS ใกล้เข้ามาทุกที
นับถอยหลัง 9 วัน ก่อนที่นโยบายภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ (RECIPROCAL TARIFF) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. 68โดยอิงจากประกาศรอบใหม่ไทยโดนไปที่อัตรา 36% ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเซีย ทั้งนี้ในกรณีที่บ้านเราไม่สามารถลดภาษีให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 36% ได้ อาจเพิ่มความเสี่ยง DOWNSIDE ต่อ GDPGROWTH ในอนาคต

ในมุมของ ธปท. ประเมิน GDP GRWOTH ไทยในปี 2024 ขยายตัว +2.3%YOYO ภายใต้สมมิตฐานที่ไทยถูกเรียกเก็บ RECIPROCAL TARIFF 18% (ครึ่งหนึ่งของที่เคยประกาศไว้ ณ วันที่ 2 เมษายน 2568) และจีนถูกเรียกเก็บ 30%ขณะที่ประเทศอื่นถูกเรียกเก็บ 10% อย่างไรก็ตาม ธปท. เคยประเมิน GDP ไทยในกรณี WORST CASE ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตแค่ +1.3%YOY


สำหริบทิศทางภาคการส่งออกของไทย มีแนวโน้มเห็นการเร่งตัวก่อนที่ RECIPROCAL TARIFFจะมีผลบังคับใช้ โดยCONSENSUS คาดการณ์ส่งออกไทยเดือน มิ.ย. 68 จะยังเห็นการขยายตัวมากว่า +18%YOY อย่างไรก็ตามในช่วง 2H68 อาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้น โดยเห็นสัญาณจากช่วง TRADE WAR 1 ที่การขยายตัวของภาคส่งออกไทยชะลอตัวลง


การรับมือกับ TARIFF ยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณช่วยประคองเศรษฐกิจไทย รวมถึงการมใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น (การประชุม กนง. ครั้งถัดไปวันที่ 13 ส.ค. 68) นอกจากนี้ จะยังเป็นการบรรเทาผลกระทบจากเงินบาทไทยที่แข็งค่าสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่า 5.7%YTD สวนทางกับอินโดฯ อ่อนค่า1.5%YTD


กำไร 2Q68 กลุ่ม ธ.พ. “OK” รอดูของกลุ่ม REAL SECTOR ต่อ
กำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด 2Q68 อยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงฝ่ายวิจัยคาด (สูงกว่า BB CONSENSUSคาด 8%) โดยลดลง 2% QOQ, +3% YOY จากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย โดย ธ.พ. ส่วนใหญ่รายงานกำไรสุทธิตามคาดหรือดีกว่าคาด ซึ่ง KKP และ SCB มีกำไรสุทธิสูงเกินฝ่ายวิจัยฯ และ BB CONSENSUSคาดการณ์อย่างมีนัยฯ (รายละเอียดกำไรกลุ่ม ธ.พ. แบบละเอียดตามหัวข้อสุดท้าย)กำไรงวด 2Q68 จากกลุ่ม REAL SECTOR จะทยอยประกาศออกมา และเริ่มเห็นการปรับมุมมองที่ดีขึ้นจากการEARNING PREVIEW ของหลาย บล. ในหลายๆ บริษัท อีกทั้งยังมี MOMENTTUM กำไรช่วง 2H68 เติบโต YOYเด่น จากฐานกำไรที่ต่ำกว่าปกติในช่วง 3Q67 ที่ 1.9 แสนล้านบาท และช่วง 4Q67 ที่ 1.7 แสนล้านบาท

SET ถูกผลัก 1 ใน 3 จาก DELTA แนะเก็งกำไรหุ้น UPGRADE มุมมองในช่วง 1 เดือน SET INDEX ปรับตัวขึ้นราว 146 จุด จาก 1062 จุด เป็น 1208 จุด โดยเป็นการผลักดันจากหุ้นDELTA ถึง 43 จุด หรือ DELTA ผลักดันตลาดราวๆ 1 ใน 3 ของการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบนี้ การขึ้นมาเร็วและแรงของดัชนีอาจมีพักๆ บ้าง

 


กลยุทธ์ฝ่ายวิจัยฯ ทำการค้นหาข้อมูลจาก BLOOMBERG CONSENSUS ว่า นักวิเคราะห์หลายๆ ค่าย มีการทยอยปรับคำแนะนำหุ้นตัวไหนขึ้นมาบ้างในเดือนนี้ หลังจากมีการทำ EARNING PREVIEW ในระดับหนึ่ง แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่มี MOMENTUM ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ อย่าง SCC, SAPPE, BAM, BCP, BSRC,SPRC


กลุ่มธนาคาร : กำไรสุทธิกลุ่มงวด 2Q68 ลด QOQ จาก NII เลือก KTB SCB และเชิงกลยุทธ์มอง TTBกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด 2Q68 อยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงฝ่ายวิจัยคาด (สูงกว่า BB CONSENSUSคาด 8%) ลดลง 2% QOQ (+3% YOY)โดย ธ.พ. ส่วนใหญ่ รายงานกำไรสุทธิตามคาดหรือดีกว่าคาด ซึ่ง KKP และ SCB มีกำไรสุทธิสูงเกินฝ่ายวิจัยและ BBCONSENSUS คาดการณ์อย่างมีนัยฯ สินเชื่อกลุ่มฯ ณ สิ้นงวด 2Q68 ราว 14 ล้านล้านบาท ลด 0.5% QOQ (-1% YTD) เกือบทุกธนาคาร มีเพียง TISCO เติบโตจากสินเชื่อเช่าซื้อ รวมถึงรายใหญ่ และ KTB ในส่วนของสินเชื่อรัฐบาลNII กลุ่มฯ ที่ 1.7 แสนล้านบาท ลด 1%QOQ (-8%YOY) ตามภาพสินเชื่อข้างต้น และ NIM ชะลอตัวจาก 3.33% งวดก่อน (2Q67 ที่ 3.55%) มาที่ 3.27% เป็นไปตามวงจรดอกเบี้ย รวมถึงผลกระทบจาก มาตรการ คุณสู้ เราช่วย(สัดส่วนมูลหนี้เข้าร่วม ในแต่ละ ธ.พ. อยู่ราว 2% ของพอร์ตสินเชื่อ)

 


NON-NII กลุ่มฯ ที่ 7.2 หมื่นล้านบาท (+3% QOQ, +16% YOY) ขับเคลื่อนด้วย TRADING INCOME (FVTPL +กำไรจากการขายเงินลงทุน) ราว 2.2 หมื่นล้านบาท (+14% QOQ, +93% YOY) ของ BAY, BBL, KTB, SCB และTTB เป็นไปตามพอร์ตสินทรัพย์ที่แต่ละ ธ.พ. ลงทุน ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ยังอ่อนตัว 4% QOQ (-1%YOY) สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจ มี BAY KKP (IB) KTB (WEALTH) และ TISCO (นายหน้าประกันภัยรถยนต์) ที่ค่าธรรมเนียมฯ เติบโตCOST TO INCOME RATIO (CIR) กลุ่มฯ ที่ 43% ทรงตัว QOQ และ YOY บริหารจัดการ ในภาวะรายได้ธุรกิจหลักชะลอตัวโดย SCB ควบคุมได้ดีกว่ากว่ากลุ่มฯ มี CIR ที่ 40%

CREDIT COST กลุ่มฯ ที่ 1.6% เพิ่มจาก 1.5% งวดก่อน (2Q67 ราว 1.7%) ผ่านการตั้งสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจช่วง 2H68

NPL / LOAN กลุ่มฯ ตามคาดที่ 3.8% จาก 3.7% ณ สิ้นงวดก่อน จาก BAY และ BBL (กลุ่มที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้และไหลกลับมาตกชั้น) ในขณะที่ ธ.พ. ที่มีสินเชื่อรายย่อยและ SME มีมาตรการ คุณสู้ เราช่วย ชะลอการไหลตกชั้นของลูกหนี้ ทำให้ NPL / LOAN ทรงตัว หรือปรับตัวดีขึ้น โดยมองว่า KTB ยังคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีต่อเนื่อง ทั้งNPL ลดและ COVERAGE RATIO สูงขึ้นชัดเจนมาที่ 189%โดยรวมกำไรสุทธิ 1H68F กลุ่มฯ อยู่ที่ 1.3 แสนล้านบาท (+4% YOY) คิดเป็นสัดส่วน 53% ของประมาณการกำไร

ทั้งปีฝ่ายวิจัยและ 54% ของ BB CONSENSUS สอดคล้องกับแนวโน้ม 2H68 ท้าทายขึ้น จาก NII ตามวัฎจักรดอกเบี้ยและคุณภาพสินทรัพย์ เผชิญความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ROE กลุ่มฯ งวด 1H68 เท่ากับ 9.3% ซึ่ง TISCO ยังคงยืน ROE สูงสุดในกล่มฯ ที่ 15.5% (KKP ราว 7.8%)และ SCB กับ KTB มากสุดในกลุ่ม D-SIBS ที่ 10%
แนวโน้ม 2H68 ท้าทายขึ้น จาก NII ตามวงจรดอกเบี้ย และคุณภาพสินทรัพย์ เผชิญความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีการบริหารโครงสร้างเงินทุน ผ่านการจ่ายปันผลและโอกาสในการซื้อหุ้นคืน จะช่วยประคองราคาหุ้น จึงมองว่า ธ.พ. ที่ให้ DIV YIELD สูงกว่ากลุ่มฯ (และโอกาสซื้อหุ้นคืน) ราคาหุ้นมีโอกาสเคลื่อนไหวดีกว่ากลุ่มฯ
เลือก SCB (ปรับจาก NEUTRAL เป็น OUTPERFORM) และ KTB ทั้งคู่มี ROE งวด 1H68 ที่ 10% สูงสุดในกลุ่ม DSIBS และในเชิงกลยุทธ์มองว่า TTB ซึ่ง DIV YIELD 1H68F สูงสุดในกลุ่มฯ และมีโครงการซื้อหุ้นคืนถึง 1 ส.ค.สนับสนุนราคาหุ้นระยะสั้น

 

 

Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ร้องเพลงรอ.. By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ชั่วโมงต้องร้องเพลงรอ รอข่าวแบบลุ้น ทราบผลประชุมครม.ว่า ใครจะมาเป็นผู้ว่าฯแบงก์ชาติ วันนี้ ...

มัลติมีเดีย

TMILL วางกลยุทธ์ ขยายตลาดควบคู่เน้นบริหารต้นทุน ดันมาร์จิ้นสดใส

TMILL วางกลยุทธ์ ขยายตลาดควบคู่เน้นบริหารต้นทุน ดันมาร์จิ้นสดใส

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้