โดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
โรคเหงื่อมือ-เท้า อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก โดยปกติในช่วงฤดูร้อน เมื่ออากาศร้อนร่างกายของเราจะขับเหงื่อออกมาเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย แต่สำหรับบางคนการมีเหงื่อออกมากเกินความจำเป็นและเกิดขึ้นตลอดเวลาจะไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของร่างกาย แต่เรามักเรียกว่า "ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)" ซึ่งในหลายกรณีเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ประเภทของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกตินั้น ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมิ (Primary Focal Hyperhidrosis) จะมีลักษณะเหงื่อออกมากเฉพาะจุด เช่น ที่มือ รักแร้ และเท้า ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีโรคอื่นเกี่ยวข้อง อีกประเภทหนึ่งคือ ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบทุติยภูมิ (Secondary Hyperhidrosis) จะมีลักษณะเหงื่อออกมากร่วมกับภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ( Hyperthyroidism) ซึ่งใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ เช่น มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมิ จะพบได้ประมาณ 1-3 % ของจำนวนประชากร และพบในเด็กชายและเด็กหญิงเท่า ๆ กัน อาการโดยรวมมักจะเริ่มแสดงในวัยเด็กหรือวัยรุ่น อาการของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบปฐมภูมินี้ มักจะมีเหงื่อออกมากอย่างต่อเนื่องในบริเวณที่ได้รับผลกระทบที่เหงื่อออกตลอดเวลา ยกเว้นตอนนอน และอาการจะแย่ลงเมื่ออยู่ในที่อากาศร้อนหรือเมื่อเด็กเครียด ตำแหน่งที่พบมากสุด: มือและเท้า โดยเด็กส่วนใหญ่มักสังเกตเห็นอาการครั้งแรกเมื่อเหงื่อออกที่มือเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เขียนหนังสือลำบาก จับกระดาษหรือของใช้แล้วเปียกเหงื่อหรือใช้หน้าจอสัมผัสโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ยากขึ้น และเริ่มรู้สึกอายเมื่อต้องใช้มือหรือเท้า ร่วมทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ซึ่งการรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ สามารถรักษาได้ตั้งแต่เด็กโดยมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ได้แก่
1.การใช้ยาทาภายนอก
2.การใช้ยารับประทาน
3.การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)
4.การใช้กระแสไฟฟ้าต่ำเพื่อรักษา (Iontophoresis)
5.การผ่าตัด (Sympathectomy) เป็นการตัดเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังต่อมเหงื่อ
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ (เป็นทางเดียวที่หายขาดได้)
6.การผ่าตัดในปัจจุบัน !! เราสามารถผ่าตัดผ่านกล้องเล็กเหลือแผลมีขนาด 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งแทบจะมองไม่เห็นแผลเป็น เพื่อทำให้ฟื้นตัวไวและกลับมาใช้ชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง
ติดตามข่าวสาร รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย (ศัลยแพทย์ทรวงอก) ได้ที่ เฟซบุ๊ก : ผ่าตัดปอดโดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิระ เลาหทัย หรือ Youtube : ผ่าตัดปอด หรือLineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com