อุณหภูมิ TARIFF ลดลง แต่ต้องจับตามองตลอด
TOP PICK CPALL/ CBG / BEM
EXTERNAL FACTOR
• ปธน.ทรัมป์ยืนยันไม่มีการขยายเส้นตายบังคับใช้ภาษีตอบโต้ใหม่ในวันที่ 1 ส.ค. 68โดยไทยโดนไป 36% อย่างไรก็ตาม ยังเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เข้ามาเจรจาการค้า
ได้อยู่ นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์ยังขู่ว่าจะขึ้นภาษีทองแดงและยาเพิ่มเติม
• ความไม่แน่นอนของ TARIFFS เสี่ยงกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ และอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นเงินเฟ้อ ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ที่ FED คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงนานขึ้น
• ส่วนบ้านเราคาดหวังว่าจะเห็นการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ผ่านการปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 2H68 อีกราว 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย
INTERNAL FACTOR
• สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้ไทย 36%(ประเทศอื่นถูกเรียกเก็บภาษีน้อยกว่า อาทิญี่ปุ่น (25%), เกาหลีใต้ (25%), มาเลเซีย (25%), เวียดนาม (20%)) ถือเป็นปัจจัย
กดดันภาคการลงทุน (I) จากยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง
• อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ เรียงตามเม็ดเงินต่างชาติขอรับ BOI จากมากไปน้อยอาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า&อิเล็กทรอนิกส์(2.5 แสนล้านบาท), ดิจิทัล(9.5 หมื่นล้านบาท),ยานยนต์และชิ้นส่วน(8.7 หมื่นล้านบาท),ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์(5.2 หมื่นล้านบาท)เป็นต้น
INVESTMENT STRATEGY
• แม้ตัวเลขภาษีตอบโต้จากสหรัฐที่ 36% ถือว่าเป็นระดับที่สูงในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ยังมีเวลาเกือบ1 เดือนในการเจรจาก่อนถึงวันมีผลบังคับใช้
• ซึ่งหลายปัจจัย ณ เวลานี้ทำให้นักลงทุนพอที่จะคลายความกังวล ได้บ้าง1.จำนวนข่าวใน BLOOMBERG ที่อิงกับ TARIFF2.0 นั้นลดลงอย่างมีนัยฯ เหลือเพียง 1 ต่อ 8 เมื่อเทียบกับ TARIFF 1.0 2.มุมตลาดหุ้น โดยวัดจากการสร้าง DOWNSIDE ต่อรายได้รวมของ SET ที่ส่งออกไปสหรัฐราว 3% เท่านั้น 3.วานนี้ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นกลุ่มส่งออก-นิคมฯ อาทิ WHA AMATA CPF DELTA KCE HANA TU
ความไม่แน่นอน TARIFFS มีให้ลุ้นได้ทุกวัน
ปธน.ทรัมป์ยืนยันไม่มีการขยายเส้นตายบังคับใช้ภาษีตอบโต้ใหม่ในวันที่ 1 ส.ค. 68 โดยไทยโดนไป 36% อย่างไรก็ตาม ยังเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เข้ามาเจรจาการค้าได้อยู่ นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์ยังขู่ว่าจะขึ้นภาษีทองแดงและยาเพิ่มเติม
• ปธน. ทรัมป์ประกาศว่า จะเก็บภาษีนำเข้าทองแดง 50% ภายในสิ้นเดือ ก.ค. 68 หรือวันที่ 1 ส.ค. 68
• ปธน. ทรัมป์ให้เวลาบริษัทยาถึงปีหน้า ในการย้ายฐานการผลิตมายังสหรัฐฯ หากไม่ดำเนินการ จะถูกเก็บภาษีสูงถึง 200%
ความไม่แน่นอนของ TARIFFS เสี่ยงกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ และอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นเงินเฟ้อ ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ที่ FED คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงยาวนานขึ้น โดยในแง่มุมของตลาดฯ สะท้อนผ่าน BOND YIELD10Y สหรัฐฯ ขยับขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4.4%
ส่วนบ้านเราซึ่งเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบาย TARIFFS เสี่ยงกดดันเศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่ามีนัยฯหากการเจรจาการค้ายังเสียเปรียบ ทำให้คาดหวังว่าจะเห็นการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ผ่านการปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 2H68 อีกราว 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น ล่าสุดเห็นสัญญาณ BONDYIELD 10Y ของไทย เคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับสหรัฐฯ โดยย่อตัวลงมาอยู่ที่ 1.55% (ใกล้จะเทียบเท่ากับการลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง -25 BPS.)สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะหุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาลง หุ้นปันผลสูง อาทิ TIDLOR, MTC, SAWAD, KKP,TISCO, SPALI รวมถึง หุ้นปัจจัย 4 DEFENSIVE อาทิ BDMS, BH, BCH
อุตสาหกรรมไหนน่ากังวล หาก FDI หายไป ... มาดูกัน
หลังจากที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้ไทย 36%(ประเทศรอบไทยถูกเรียกเก็บภาษีน้อยกว่า อาทิ ญี่ปุ่น (25%),เกาหลีใต้ (25%), มาเลเซีย (25%), เวียดนาม (20%)) ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.68 ถือเป็นปัจจัยเข้ามากดดันเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการลงทุน (I) ที่โดนกดดันจากยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีความเสี่ยงหายไปอย่างมีนัยฯ ซึ่งอาจเห็นการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษีถูกกว่าแทน แม้ข้อมูลในอดีตจะบ่งชี้ว่าช่วงปี 2024 ยอดขอรับการส่งเสริม FDI จะพุ่งสูง 8.3 แสนล้านบาท แต่เม็ดเงินลงทุนจริง คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากขอรับการส่งเสริมผ่านไปราว 1-2 ปี
ซึ่งหากยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หายไป มีอุตสาหกรรมใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ เรียงตามเม็ดเงินต่างชาติขอรับ BOI จากมากไปน้อย อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า&อิเล็กทรอนิกส์(2.5 แสนล้านบาท), ดิจิทัล(9.5 หมื่นล้านบาท),ยานยนต์และชิ้นส่วน(8.7 หมื่นล้านบาท),ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์(5.2 หมื่นล้านบาท) เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามหากสถานการณ์ยังครุมเครือและไม่มีทิศทางที่ดีขึ้น อาจเห็นสำนักเศรษฐกิจต่างๆ ทยอยปรับลดคาดการณ์ GDP GROWTH ของไทยให้ต่ำกว่า 1%YOY ในระยะถัดไปได
อุณหภูมิ TARIFF ลดลง จากหลายปัจจัยที่น่าสนใจ
แม้ตัวเลขภาษีตอบโต้จากสหรัฐที่ 36% ถือว่าเป็นระดับที่สูงในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ยังมีเวลาเกือบ 1เดือนในการเจรจาก่อนถึงวันมีผลบังคับใช้ ซึ่งหลายปัจจัย ณ เวลานี้ทำให้นักลงทุนพอที่จะคลายความกังวลจากประเด็น TRADE TARIFF ได้บ้างแล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.ค่าความนิยมหายไป โดยจำนวนข่าวใน BLOOMBERG ที่อิงกับ TARIFF เบากว่าตอนต้นเดือน เม.ย. 7 - 8 เท่า(จาก 8 หมื่น เหลือ 1 หมื่นข่าว) และจำนวนข่าวดังกล่าว ณ ตอนเฉลยอัตราภาษี 14 ประเทศ ลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับตอนลุ้นว่าแต่ละประเทศจะเก็บเท่าไหร่ อีกทั้งจีนเตือนการเจรจา ไม่ควรยุ่งกับบุคคลที่ 3 ไม่งั้นจีนก็จะตอบโต้ประเทศนั้นๆ ทำให้หลายๆ ประเทศอาจสงวนท่าทีมากขึ้น
2.มุมตลาดหุ้นกำไรบริษัทจดทะเบียน ในกลุ่มทิอิงกับการส่งออกไปสหรัฐ 4 SECTOR หลัก ได้แก่ AGRI, FOOD,PETRO, ETRON มีสัดส่วน 3.3%ของ MARKET CAP, 3.1% ของรายได้ และ 1.1% ของกำไร (ด้วยสมมุติฐานส่งออกไปสหรัฐประมาณ 18% ของรายได้) ดังนั้น DOWNSIDE ต่อตลาดฯ ในเชิงตัวเลขสำหรับประเด็นนี้กดดัน SETINDEX ให้ลดลงได้ราว -3% เท่านั้นหากการส่งออกไปสหรัฐหดหายไปจาก 4 SECTOR นี้
3.ต่างชาติกลับมาทยอยสะสมหุ้นที่มีปัจจัยลบจาก TARIFF โดยวานนี้แม้ SET INDEX จะปรับตัวลงจากความกังวล TRADE TARIFF 36% แต่หุ้นที่ต่างชาติซื้อผ่าน NVDR เยอะๆ วานนี้กลับเป็นหุ้นส่งออก-นิคมฯ อาทิ WHA AMATA CPF DELTA KCE HANA TU เป็นต้น
ทั้ง 3 ปัจจัยแสดงให้เห็น อุณหภูมิเรื่อง TARIFF ลดลง แต่นักลงทุนยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด กลยุทธ์เลือกหุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาลง MTC TIDLOR SAWAD TISCO หุ้นปันผลสูง SPALI AP SIRI หุ้นปัจจัย 4 BH, BCH
ผลกระทบของแต่ละบริษัทที่ส่งออกไปสหรัฐ มีประเด็นนน่ากังวลอะไรบ้างหลังจากที่สหรัฐส่งจดหมายไปยังหลายประเทศถึงอัตราภาษีการค้าที่จะมีผลตั้งแต่ 1 ส.ค.68 ซึ่งประเทศไทยโดนภาษี36% เท่าเดิม โดยฝ่ายวิจัยฯได้รวบรวมว่ากลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆโดนผลกระทบทั้งในมุมส่งออก หรือ นำเข้ามากน้อยเพียงใด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กลุ่มเครื่องดื่ม
1) COCOCO สัดส่วนรายได้จากสหรัฐฯ 24% จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก ประเทศคู่แข่งในสินค้ากลุ่มกะทิและน้ำมะพร้าว มีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าไทยจากการประกาศล่าสุด เช่น เวียดนาม (20%) อินโดนีเซีย(32%) ฟิลิปปินส์ (17%) และ มาเลเซีย (25%) เป็นต้น อย่างไรก็ดี โรงงานใหม่ในฟิลิปปินส์ที่มีกำหนดสร้าง
เสร็จต้นปีหน้า น่าจะช่วยลดผลกระทบดังกล่าว และอาจกลับมาเป็นผลบวกต่อบริษัทได้ ในระยะยาว จากการย้ายการผลิตสินค้ากลุ่มกะทิเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ไปยังโรงงานใหม่
2) SAPPE สัดส่วนรายได้จากสหรัฐฯ 5% โดยมองผลลบจากราคาสินค้านำเข้าในสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อความต้องการสินค้า เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่บริษัทตั้งเป้าเข้าไปขยายตลาดในอนาคตกลุ่มวัสุดก่อสร้าง
1) SCC มีสัดส่วนรายได้ส่งออกสหรัฐ เท่ากับ 1% ของรายได้รวม ได้แก่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และสินค้ารักษ์โลก เช่นปูนคาร์บอนต่ำ ในอนาคต SCC มีแผนนำเข้า ETHANE จากสหรัฐเพื่อใช้เป็น FEEDSTOCK ให้กับโรงงาน LONG SON PETROCHEMICAL ในเวียดนามปีละ 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท/ปี
2) SCGP มีสัดส่วนรายได้ไปสหรัฐ คิดเป็น 3% ของรายได้ทั้งหมด สินค้าส่งออกหลักคือ POLYMERPACKAGING และบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งปัจจุบันมีภาษีนำเข้า 15-20% หากการขึ้นภาษีทำให้การนำเข้าของสหรัฐลดลง SCGP ก็สามารถ ALLOCATE สินค้าไปขายที่ตลาดอื่นๆ ได้ เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ของSCGP เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มอาเซียนที่ยังมี DOMESTICCONSUMPTION เติบโตดี ส่วนสินค้าที่ SCGP นำเข้าจากสหรัฐคือเศษกระดาษ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ2-3% ของเศษกระดาษที่ใช้ทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700-1000 ล้านบาท/ปี โดยมีภาษีนำเข้า0%
3) SCGD มีสัดส่วนรายได้ไปสหรัฐน้อยกว่า 1% ของรายได้รวม
กลุ่มรพ. :ส่วนใหญ่จะนำเข้ายาจากทางโซนยุโรป ทั้งนี้ยาที่นำเข้าจากสหรัฐฯ นั้นจะคิดเป็นไม่เกิน 10% ของต้นทุน และซื้อผ่านAGENCY อีกทีจึงไม่แน่ชัดว่าแต่ละ AGENCY โดนภาษีไปเท่าไหร่ เนื่องจากถูกรวมไว้แล้วในราคาขายส่วนเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำเข้าจาก US นั้นไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าอยู่แล้ว
กลุ่มโรงไฟฟ้า : คาดไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากไม่ได้มีสินค้าที่นำเข้า และส่งออกไปยังสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามคาดได้รับผลกระทบทางอ้อม 2 กรณีดังนี้
1) กลุ่มโรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรม เช่น BGRIM, GPCS, GULF เป็นต้น คาดจะได้รับผลเชิงลบจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่อาจปรับตัวลดลง
2) ผู้ประกอบการที่มีโครงการโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ เช่น BPP, BCPG, EGCO เป็นต้น อาจได้รับ SENTIMENTเชิงบวกในระยะยาว จากคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้น ตามการสนับสนุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และการใช้ไฟฟ้าภายในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น
กลุ่มเกษตรอาหาร
1) ITC มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐคิดเป็น 50-60% ของรายได้ และเดิมภาษีนำเข้าไทย-สหรัฐ สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ 0% ย่อมได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากไทยเป็น 36% ขณะที่ประเทศคู่แข่งในสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก ได้แก่ จีน คาดโดนภาษีสูงกว่าไทย ขณะที่เวียดนามภาษี 20% ต่ำกว่าไทย อาจทำให้ไทยสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ แต่อย่างไรตามบริษัทเปิดเผยว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพดีกว่าเวียดนาม และเวียดนามต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12-18 เดือนถึงจะสามารถผลิตสินค้าให้เทียบกับไทย โดยบริษัทจะใช้จุดแข็งในเรื่องการบริหารจัดการ, ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และคุณภาพ เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว
2) TU มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐราว 40% โดยสัดส่วนราว 20% มาจากฐานการผลิตไทย (ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ AMBIENT – อาหารทะเลกระป๋อง) และอีก 20% จากแหล่งผลิตอื่น โดยบริษัทมีแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยง ผ่านการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการผลิตที่มีอยู่ทั่วโลก เช่น ขยายการผลิตในโรงงานที่กานาและเซเซลล์ ซึ่งเป็นประเทศที่โดนภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำสุด เพื่อส่งออกไปสหรัฐมากขึ้น หวังลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากประเด็น US TARIFF
กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
1) DELTA มีการส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนราว 26% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2567 และลูกค้าสหรัฐที่อยู่ในจีน 11% ปัจจุบันเสียภายใต้ GMT ที่ 15%
2) KCE มีการส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนราว 24% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2567 ปัจจุบันเสียภาษีประมาณ11% เพราะการผลิตบางส่วนยังได้รับ BOI
อย่างไรก็ตามหากลูกค้าในสหรัฐที่นำเข้าสินค้าของทั้ง 2 บริษัท ต้องจ่ายภาษีนำเข้า 36% น่าจะได้รับผลกระทบต่อยอดขาย เพราะเป็นอัตราที่สูงกว่าที่ลูกค้าของทั้ง 2 บริษัทนี้เคยระบุว่าหากภาษีตอบโต้อยู่ระหว่าง 10% -15% ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์