Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

99

 

 

วันนี้ SET จะแดงน้อย หรือ แดงเยอะ
TOP PICK ERW / BCH / TASCO

 

EXTERNAL FACTOR
• นับถอยหลัง 2 วัน ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในวันที่ 9 ก.ค. 68 ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากหลายประเทศ
• ปธน.ทรัมป์ เผยว่าได้ลงนาม “จดหมายแจ้งอัตราภาษี” แล้ว 12 ประเทศ และเตรียมส่งในวันที่ 7 ก.ค. 68 แทนการทำข้อตกลง โดยอัตราภาษีอาจอยู่ระหว่าง 10% ถึง 70%ซึ่งสูงกว่าที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากไม่มีข้อตกลงใด ๆ และมีการขึ้นภาษีตามที่ขู่ไว้ เสี่ยงส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการนำเข้า, เงินเฟ้อ, และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก


INTERNAL FACTOR
• ไทยเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ยังไม่ได้ผลสรุป และเตรียมทำข้อเสนอใหม่ โดยการเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐฯ : สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม, พลังงาน, เครื่องบิน BOEINGเพื่อที่จะลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ จาก 4.6 หมื่นล้านเหรียญลง 70% ใน 5 ปี
• ช่วงก่อนวันรู้ผล แนะนำ WAIT AND SEE หรือถือเงินสดไว้ในพอร์ตราว 5-10% แต่หากประสงค์อยากได้ CAPITAL GAIN ก็ถือเป็นจังหวะสะสมที่ดี เนื่องจากดัชนีที่ระดับดังกล่าว VALUATION เด่นพร้อมกับการเติบโตของ EPS GROWTH ในปีนี

 


INVESTMENT STRATEGY
• ประเด็น TARIFF อาจกดดันให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาผันผวนอีกครั้ง แต่น่าจะไม่ทำ LOW ใหม่ เนื่องจากความผันผวนและอำนาจต่อรองจากสหรัฐลดลง คือ 1. การเจรจาการค้าสหรัฐเพิ่งสำเร็จแค่ 2 ประเทศ หากตั้งกำแพงภาษีกับประเทศอื่นแรงๆ ต้องระวังการตอบโต้กลับ 2. นโยบาย OBBBA ทำให้สหรัฐขาดดุลเพิ่มขึ้น 3.3 –4 ล้านเหรียญใน 10 ปีข้างหน้า ทำให้รับความผันผวนของตลาดพันธบัตรเหมือนช่วงที่ผ่านมาได้น้อย 3. ไทยยังมีโอกาสได้อัตราภาษี +-20% เพราะหากสูงกว่านี้มากจะทำให้เกิด SUPPLY SHOCK และสหรัฐได้ประโยชน์น้อยถ้ามีการให้ประเทศอื่นส่งออกแทน 4. ไทยต้องระวังสิ่งที่สหรัฐฯ ต่อรองเพิ่มเติม
• ช่วงสั้นแนะนำหลบเข้าหุ้น DOMESTIC อิงปัจจัย 4 : CPALL, CPAXT, M, LH, AP, SIRI, BDMS, BCH


MAIL ALERT ไทยเตลิด : ลุ้นสหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีแต่ละประเทศก่อน DEADLINE เท่าไหร่ ?
นับถอยหลัง 2 วัน ก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในวันที่ 9 ก.ค. 68 ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากหลายประเทศ สำหรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ แบ่งสถานะออกเป็น 3 กลุ่มหลักได้แก่
1. ประเทศที่ประกาศข้อตกลงแล้ว ได้แก่ อังกฤษ, เวียดนาม, จีน (ชั่วคราว)
2. ประเทศที่เจรจาอย่างจริงจัง (อาจได้รับการขยายเวลาไปถึง 1 ก.ย. 68) อาทิ ยุโรป, อินเดีย
3. ประเทศที่อาจถูกสหรัฐฯ เก็บภาษี(ประเทศขนาดเล็ก, เจรจาช้า) อาทิ อินโดนีเซีย, ไทย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน,
สวิตเซอร์แลนด์, มาเลเซีย, เกาหลีใต

เมื่อพิจารณาผลกระทบต่ออัตราภาษีเฉลี่ยที่ “ไทย” ต้องเผชิญ หากไม่มีข้อตกลงหรือการขยายเวลาเกิดขึ้นภายในวันที่ 9 ก.ค. นี้ พบว่า หลักๆ จะมี SHOCK ที่เกิดขึ้นกับภาษีกลุ่มสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วน, เหล็กและอลูมิเนียม, บวกกับภาษีตอบโต้ส่วนเพิ่ม ซึ่งโดยรวมอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย อาจเพิ่มDOWNSIDE RISK ต่อ GDP ในบ้านเราได้

ทั้งนี้ ปธน.ทรัมป์ เผยว่าได้ลงนาม “จดหมายแจ้งอัตราภาษี” แล้ว 12 ประเทศ และเตรียมส่งในวันที่ 7 ก.ค.68 แทนการทำข้อตกลง โดยอัตราภาษีอาจอยู่ระหว่าง 10% ถึง 70% ซึ่งสูงกว่าที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งหากไม่มีข้อตกลงใด ๆ และมีการขึ้นภาษีตามที่ขู่ไว้เสี่ยงส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการนำเข้า, เงินเฟ้อ, และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก

 

TRADE TARIFF ส่งผลต่อประเทศไทยมากน้อยเพียงใด
รมว.คลังเผยไทยเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ยังไม่ได้ผลสรุป เตรียมทำข้อเสนอใหม่ก่อนถึงวันมีผลบังคับใช้ภาษีที่ 36%วันที่ 9 ก.ค.68 โดยการเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐฯ : สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม, พลังงาน, เครื่องบิน BOEINGจากสหรัฐฯ เพื่อที่จะลดดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ จาก 46 พันล้านดอลลาร์ลง 70% ภายใน 5 ปีและตั้งเป้าให้ดุลการค้าไทย-สหรัฐฯเป็น 0 ภายใน 7-8 ปี (เร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งไว้ 10 ปี)ซึ่งเป็นประเด็นต้องติตตามต่ออย่างใกล้ชิดว่าสรุปแล้วภาษีที่สหรัฐฯจะเก็บไทยจะอยู่ในอัตราที่เท่าไหร่

ประเด็นดังกล่าว ส่งผลน่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP GROWTH ไทยในปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่ง ธปท.ประเมินอัตราภาษีระดับต่างๆ จะส่งผลต่อ GDP GROWTH เท่าไหร่บ้าง
1. TARIFF สูงกว่า 36% ส่งผลต่อ GDP อาจต่ำกว่า 1.3%YOY
2. TARIFFเท่ากับ 36% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 1.3%YOY
3. TARIFF18%-36% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 2.0%YOY
4. TARIFF เท่ากับ 18% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 2.3%YOY**
5. TARIFF ต่ำกว่า 18% ส่งผลต่อ GDP เหลือสูงกว่า 2.3%YOY


อย่างไรก็ตามรัฐบาลเตรียมจัดสรรเม็ดเงินราว 1 หมื่นล้านบาท จากวงเงินงบประมาณ 1.15 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือผลกระทบจาก TRADE TARIFF อีกทั้งสภาพัฒน์ เล็งปรับ GDP ใหม่ (ล่าสุดประเมินไว้ที่ 1.3-2.3% ภายใต้ TARIFF 36%) หาก TRUMP ลดภาษีสินค้าไทย ให้เหลือตามสมมติฐานที่ 18%ดังนั้นในช่วงก่อนวันรู้ผล ฝ่ายวิจัยฯแนะนำ WAIT AND SEE หรือถือเงินสดไว้ในพอร์ตราว 5-10% แต่หากประสงค์อยากได้ CAPITAL GAIN ก็ถือเป็นจังหวะสะสมที่ดีเนื่องจากดัชนีที่ระดับดังกล่าว VALUATION เด่นพร้อมกับการเติบโตของ EPS GROWTH ในปีนี้

 

SET กลับมาผันผวน แต่เชื่อว่าจะไม่ทำ LOW ใหม่จากประเด็น TARIFFประเด็น TARIFF อาจกดดันให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาผันผวนอีกครั้ง แต่ SET INDEX น่าจะไม่ทำ LOW ใหม่ ที่ 1056จุด จากการอ่านใจพ่อใหญทรัมป์ เชื่อว่าความผันผวนและอำนาจต่อรองจากสหรัฐลดลง ดังน


1. การเจรจาการค้าสหรัฐเพิ่งสำเร็จแค่ 2 ประเทศ หากตั้งกำแพงภาษีกับประเทศอื่นแรงๆ สหรัฐฯ ต้องระวังการตอบโต้กลับจากหลายๆ ประเทศ เหมือนกับช่วงที่ผ่านมา
2. นโยบาย OBBBA ทำให้สหรัฐขาดดุลเพิ่มขึ้น 3.3 – 4 ล้านเหรียญใน 10 ปีข้างหน้า ทำให้รับความผันผวนของตลาดพันธบัตรเหมือนช่วงที่ผ่านมาได้น้อย เนื่องจากต่างชาติถือครองพัธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สูงถึง 9ล้านล้านเหรียญ หากมีแรงขายออกมา อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ROLLOVER ได้
3. ไทยยังมีโอกาสได้อัตราภาษี +-20% เพราะหากประเทศต่างๆ ต้องเสียภาษีสูงกว่าเวียดนามที่ 20% มากๆอาจทำให้เกิด SUPPLY SHOCK อีกทั้งสหรัฐยังได้ประโยชน์น้อยถ้ามีการให้ประเทศอื่นส่งออกแทน
4. ระยะถัดไปไทยต้องระวังสิ่งที่สหรัฐฯ ต่อรองเพิ่มเติม เหมือนญี่ปุ่นที่มีการเจรา 8 ครั้ง ยังไม่สำเร็จ เนื่องจากมีการต่อรองเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ การนำเข้าข้าวเพิ่ม น้ำมันเพิ่ม และเพิ่มงบทางการทหารให้กองทัพสหรัฐทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าว เชื่อว่า SET INDEX น่าจะไม่ทำ LOW ใหม่ ที่ 1056 จุด ส่วนช่วงสั้นหลบความผันผวน แนะนำหลบเข้าหุ้น DOMESTIC อิงปัจจัย 4 : CPALL, CPAXT, M, LH, AP, SIRI, BDMS, BCH



Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้