Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

163


ภาพตลาดและแนวโน้ม


ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์โพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียเมื่อคืนนี้ว่า สหรัฐฯ ได้บรรลุข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับเวียดนาม โดยสาระสำคัญคือ สหรัฐฯ จะกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนามที่ 20% และ 40% สำหรับสินค้าที่มีการขนส่งผ่าน (transshipment) ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังได้รับสิทธิพิเศษในการส่งออกสินค้าเข้าสู่ตลาดเวียดนามโดยปลอดภาษีนำเข้า (zero tariff) ในหลายกลุ่มสินค้า

 

BLS Wealth Research มองว่าดีลนี้สะท้อนการยอมรับความจริงบทใหม่ของเวียดนามที่เลือกแบกรับภาษีที่สูงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี blanket 46% ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีหากดีลล่ม ถือเป็นการเลือกผลร้ายที่น้อยกว่า (lesser evil) เพื่อรักษาความสามารถในการเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ ที่คิดเป็นสัดส่วนถึง 29% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
แม้ภาษี 20% จะกระทบ margin และความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกเวียดนาม แต่ในความเป็นจริง สหรัฐฯ ใช้มาตรการภาษีใหม่กับประเทศคู่ค้าสำคัญทั่วภูมิภาค ไม่ได้เจาะจงเวียดนามเป็นกรณีพิเศษ ฐานการผลิตในประเทศอื่น เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย หรือบังกลาเทศ ก็ยังเผชิญภาษีในระดับสูงเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเวียดนามยังคงมีโอกาสรักษาสถานะ hub การผลิตของภูมิภาค หากสามารถรักษาความได้เปรียบด้านประสิทธิภาพ supply chain และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
สำหรับการเปิดตลาดให้สินค้าสหรัฐฯ เข้าถึงเวียดนามแบบปลอดภาษี อาจเปลี่ยน competitive landscape ในบางกลุ่ม เช่น ยานยนต์ และเทคโนโลยี สินค้าอเมริกันจึงมีโอกาสแย่ง market share ในเวียดนามได้มากขึ้น


ในส่วนของประเด็น Transshipment crackdown นั้น การตั้งภาษี 40% สำหรับสินค้าจากประเทศที่สามโดยเฉพาะจีน ที่ส่งผ่านเวียดนาม ตอกย้ำความเสี่ยงในการใช้เวียดนามหรือหลายๆประเทศในเอเชียเป็น hub สำหรับหลบเลี่ยงภาษี ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงต้องปรับตัวและจัดการ supply chain ให้โปร่งใสยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการ


Macro implication:
ดีลนี้เป็นการปรับสมดุลเชิงโครงสร้างของการค้าโลก โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้เขียนบท มากกว่าการเปลี่ยนเกม supply chain ทั้งภูมิภาค กล่าวคือ เวียดนามยังคงรักษาศักยภาพการแข่งขันในฐานะ supply chain hub ได้ต่อไป
โครงสร้างเศรษฐกิจเวียดนามยังยืดหยุ่น และ FDI กับ domestic demand จะยังเป็นแรงหนุนหลัก แม้ต้องรับมือกับต้นทุนการค้าสูงขึ้น (คล้ายๆกับประเทศอื่น) และการแข่งขันจากสินค้าสหรัฐฯ ในตลาดภายใน


Tactical view:
ระยะสั้นตลาดหุ้นเวียดนามอาจยังคงต้องเผชิญ volatility จากความกังวลเรื่องผลกระทบต่อการส่งออก
กลยุทธ์แนะ wait-and-see เพื่อติดตามรายละเอียดของดีลที่สหรัฐฯ จะทำกับประเทศคู่แข่งในอาเซียน เพื่อประเมินความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของเวียดนามอีกครั้ง รวมถึงให้เวลาตลาดปรับตัวกับ new trade regime

กล่าวโดยสรุป แม้ดีลนี้จะเพิ่มแรงเสียดทานทางการค้าและกดดัน margin ในระยะสั้น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจเวียดนามยังมีความ resilience พอ นักลงทุนอาจใช้จังหวะการปรับฐานของตลาด เพื่อคัดเลือกเซกเตอร์ที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพเติบโตในยุคระเบียบการค้าใหม่

สรุปภาพตลาดวานนี้
วานนี้บวกเบาๆ ตามคาด โดยดันกลับมาจากแดนลบเช้ามาปิดบวกบ่าย แม้หุ้นค้ำด้านบวกหลักๆ ยังเป็น DELTA แต่ก็เห็นการเล่นกลับของกลุ่มธนาคาร และอสังหาฯ ที่แอบเล่นมาซักระยะบวกเด่นขึ้นมา นอกจากนี้ หุ้นใหญ่กลุ่ม Domestic + Global play ก็มีบวกเบาๆ มาพร้อมกัน (ไม่ได้เล่นแยก) เช่น CPN CPAXT TRUE vs. SCGP PTT PTTEP ส่วน Most Active เป็น KTC ยังเด่น

แนวโน้มตลาดวันนี้
บวกน้อย แต่บวกนะ
คาด 1-2 วันนี้ หุ้นไทยยังเล่นทรงเดิมคล้ายเมื่อวานคือ บวกน้อยแต่บวกนะ แต่การรีบาวด์ ยังติดด่าน 1,120 จุด ตามที่เราระบุในรายงาน กลยุทธ์ประจำสัปดาห์ โดยสัปดาห์นี้ อาจจะเห็นหุ้นไทยเล่นดีกว่า อาทิตย์ที่แล้ว

อิงการเมืองในประเทศเหตุการณ์ตึงเครียด เริ่มทุเลา ส่วนข่าว ตปท. คงเป็นเรื่อง ผลลัพท์เจเจรจากาค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ ที่มีความคืบหน้า
เราคงคาด เมื่อปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ มีความชัดเจน เราคาดว่า นลท.คงกลับมาโฟกัสเรื่อง งบการเงิน บจ.สิ้นสุดไตรมาส 2 (ต่อด้วยเรื่องปันผลระหว่างกาล) ที่จะเป็นตัวช่วย จำกัดความเสี่ยงด้านล่างของตลาดหุ้นไทย หรืออาจซ้ำเติม ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับ ผลการดำเนินงาน ของแต่ละบริษัทฯ แต่เราคาดว่าจะได้เรื่องปันผลสูงช่วยค้ำราคาหุ้นรายกลุ่ม
โดยกลุ่มเด่นในแง่ของผลตอบแทนเงินปันผลสูง และแนวโน้มงบ 2Q25 ดี ได้แก่ หุ้นกลุ่ม ปตท. หุ้นกลุ่มเครือซีเมนต์ไทย อิงหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นรายตัวที่ปรับมุมมองขึ้นแล้ว มี ITC CBG เป็นต้น

และหุ้นที่เราคาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเห็นงบแย่กว่าคาด ได้แก่ ธนาคาร ไฟแนนซ์ ค้าปลีก ค้าวัสดุ ฯลฯ อิงตามรายงานพื้นฐานที่ BLS Research มีการทยอยปรับลดคำแนะนำ และคาดการณ์กำไรในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ ถือหุ้นปันผล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุดขยับขึ้นมาทดสอบเส้น EMA 25 วัน…จุดวัดใจ! แต่เดิมดัชนีไม่เคยผ่าน โดยเทรดใต้เส้นนี้มาตลอดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากผ่านได้จะบ่งชี้สัญญาณกลับตัวระยะสั้น จับตาโมเมนตัม RSI & Volume เครื่องมือชี้น้ำเริ่มทำงาน! ปรับตัวขึ้นแล้ว…หากย้อนกลับไปช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย. ตลาดร่วงเพราะตกใจกับเรื่องสงครามตะวันออกกลาง กังวลเรื่องการเมืองทำให้ดัชนีกดลงไปทำ low ที่ 1,053 จุด หากทั้ง 2 เหตุการณ์นี้คลี่คลาย น่าจะทำให้ดัชนีฟื้นตัวขึ้นไปได้ไม่ยาก
สรุป: %chance SET ทะลุต้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

 

What to watch
อิหร่านประกาศ ระงับความร่วมมือกับ IAEA ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบนิวเคลียร์ของ UN
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องกรณีคลิปเสียง นายกสนทนากับสมเด็จฮุนเซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา และมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกเตรียมยื่นคำชี้แจงภายใน 15 วันตามที่ศาลกำหนด
รัฐบาลไทยสานต่องานเจรจาการค้าสหรัฐฯ ส่งตัวแทนเข้าประชุมหาข้อสรุปแล้ว 3 ก.ค.นี้ ซึ่งไทยได้ยื่นข้อเสนอไปยังสหรัฐฯและได้รับการตอบรับที่ดีในทุกครั้งที่มีการหารือ
MS มองค่าเงินดอลล์ อ่อนค่า คาดการณ์ผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอาเซียน

หุ้นแนะนำวันนี้
CPN อิงตามรายงานพื้นฐาน BLS Research ที่แนะนำ Switch ออกจาก CRC มาเข้า CPN
แนวรับ 48 ต้าน 50 Stop loss 47

Tactical port เพิ่ม CPN

 

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

Utilities Sector
BLS Tariff Talk: จะลดค่าไฟจริง ต้องเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ
ราคาค่าไฟวันนี้ต่ำกว่าต้นทุนจริง: EGAT และ TDRI เห็นพ้องว่าค่าไฟฟ้าควรสะท้อนต้นทุนจริงมากกว่าพึ่งพา Clawback fund โดย EGAT แบกภาระขาดทุนสะสมถึง 6-7 หมื่นล้านบาท และต้องการเงิน 3-4 หมื่นล้านบาท/ปี เพื่อจ่ายหนี้ ขณะที่ปัจจุบันค่าไฟเพียง 3.98 บาท/kWh ไม่พอจ่ายหนี้
พลังงานสะอาดถูกกว่าฟอสซิลแล้ว: RE100 และ TDRI ย้ำว่าการเปลี่ยนไปใช้โซลาร์ร่วมกับแบตเตอรี่ เทคโนโลยีปัจจุบันมีต้นทุนต่ำกว่าพลังงานฟอสซิลแล้ว (อ้างอิงจาก BNEF) และช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้า LNG ที่ราคามีความผันผวนสูง
สิ่งที่ต้องเร่ง คือ การ 'ปลดล็อก' กฎระเบียบ: การผลักดันโซลาร์รูฟท็อปจะเกิดขึ้นได้ ต้องผ่อนคลายกฎหมายผังเมือง และกระบวนการขอใบอนุญาต เพื่อให้โรงงานหรือธุรกิจติดตั้งได้ง่ายขึ้น
กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงของผู้ประกอบการ: BGRIM และ GPSC หันไปลงทุนต่างประเทศ และธุรกิจใหม่ เช่น data center เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาก๊าซ/ไฟในประเทศ ส่วน WHAUP ได้ประโยชน์จาก Gheco-I ฟื้น และดีมานด์น้ำจาก data center ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ GUNKUL เด่นจากการจับมือพันธมิตร และเริ่มมีรายได้ใหม่จาก EPC และ trading

AAV (Idea)
เอเชีย เอวิเอชั่น
การท่องเที่ยวยังไม่สดใส ขอถอดใจก่อนช่วงนี้
วันนี้เราปรับลดคำแนะนำหุ้น AAV ลงเป็น "ขาย" ราคาเป้าหมายใหม่เหลือ 1.00 บาท (อิง PER ใหม่ที่ 6 เท่า หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 0.6SD) เนื่องจาก
1) นักท่องเที่ยวจีนที่เป็นตลาดหลักยังไม่ฟื้น โดย 5M25 อยู่ที่เพียง 2.0 ล้านคน (-33% YoY) ขณะที่นักท่องเที่ยวจากมาเลเซียและเกาหลีใต้ก็ลดลงเช่นกัน ส่งผลให้ยอดรวมต่างชาติ 5M25 ลดลง -3% YoY และมีแนวโน้มทั้งปีจะหดตัว YoY
2) ปรับลดประมาณการกำไรหลักปี 2025 ลง 30% โดยลดสมมติฐานจำนวนผู้โดยสารเหลือ 20.4 ล้านคน (-2% YoY) จากเดิมคาดทรงตัว และลดค่าโดยสารเฉลี่ยลง 1% เหลือ 1,947 บาท/คน พร้อมลดรายได้ส่วนเสริมลง 2% เหลือ 401 บาท/คน โดยคาดการณ์กำไรหลักใหม่อยู่ที่ 2,127 ล้านบาท (-25% YoY)
3) ไตรมาส 3 เป็นช่วงอ่อนตัวตามฤดูกาล และราคาหุ้นไม่มีปัจจัยบวกใหม่ หนุนการฟื้นตัวระยะสั้น
4) ความเสี่ยงเพิ่มจากราคาน้ำมันยังมีต่อ โดยหากราคาน้ำมันสูงเกิน $85/bbl จะกระทบกำไร โดยทุก $1/bbl ที่สูงขึ้นจะลดกำไรหลักลงอีก 5%

 

 

 


MOSHI
(Visit Note)

โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น
Key driver 2H25 เปลี่ยนจาก SSSG → สาขาใหม่
เริ่มเห็น SSSG แผ่วลงเพราะไม่มีแรงหนุน SSS ฐานต่ำ โดย มิ.ย. 2025 ชะลอลงเหลือ +6-8% จากช่วง เม.ย.-พ.ค. ที่โตโดดเด่น +16-18% YoY ดังนั้น จึงคาดว่า SSS ของ MOSHI ใน 2H25 มีแนวโน้มโตช้าลงเหลือ 1-4%จาก 1H25 ที่โตเฉลี่ย 11-13%
เราประเมินการเติบโตกำไร 2H25 จะพึ่งพายอดขายสาขาใหม่และอัตรากำไรขั้นต้นเป็นหลัก โดย 1Q25 เปิดสาขาไปแล้ว 6 แห่ง ในขณะที่ในช่วงที่เหลือของปีคาดทยอยเปิดไตรมาสละ 11-12 สาขา โดยสิ้นปี 2025 จะมีสาขารวมเพิ่มเป็น 204 แห่ง
ส่วนแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นยังเป็นขาขึ้น และความไม่แน่นอนของการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ กลับทำให้บริษัทมีอำนาจการต่อรองกับ supplier ในจีนมากขึ้น ในด้านการแข่งขันจากคู่แข่งเข้ามาใหม่ ผู้บริหารยังไม่กังวล เพราะแต่ละแบรนด์มี Positioning ที่แตกต่างกัน
Our view: ราคาหุ้นซื้อขายบน PER ปี 2025 ที่ 21x ยังต่ำกว่าระดับ ROE เฉลี่ย 23-24% เปิดโอกาสให้เข้าซื้อเก็งกำไร

 

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

กองหนุน By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วานนี้ เห็นพลังกองทุน ซื้อคนเดียว แบกของ วันนี้เชื่อว่า กองทุน กองหนุน คงทำหน้าที่ต่อเนื่อง..

มัลติมีเดีย

รู้จักพร้อมเปิดพื้นฐาน NUT ก่อนเทรด 11 มิ.ย.- สายตรงอินไซด์ - 9 มิ.ย.68

รู้จักพร้อมเปิดพื้นฐาน NUT ก่อนเทรด 11 มิ.ย.- สายตรงอินไซด์ - 9 มิ.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้