Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

SCB วิเคราะห์ ปี 2025 ปริมาณการใช้งานเหล็กของไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ 16.2 ล้านตัน (+1.7%YOY)

62

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(16 พฤษภาคม 2568)------นางสาววรรณโกมล สุภาชาติ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็ก

 

 

KEY SUMMARY

 

ปี 2025 ปริมาณการใช้งานเหล็กของไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ 16.2 ล้านตัน (+1.7%YOY) ขณะที่ราคาเหล็กโดยเฉลี่ยยังคงมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน 4.8%YOY

ปริมาณการใช้งานเหล็กทรงยาว และเหล็กทรงแบนในปี 2025 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อน มาอยู่ที่ประมาณ 6.1 ล้านตัน (+2.3%YOY) และ 10.0 ล้านตัน (+1.4%YOY) ตามลำดับ เป็นผลจากปัจจัยหนุนด้านโครงการก่อสร้างภาครัฐที่ขยายตัว แต่ยังมีปัจจัยกดดันการเติบโตของปริมาณการใช้งานจากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ และยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศที่คาดว่ายังหดตัว ขณะที่ราคาเหล็กยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยราคาเหล็กทรงยาว และราคาเหล็กทรงแบน จะลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 20,900 บาท/ตัน (-3.9%YOY) และ 22,700 บาท/ตัน (-5.6%YOY) ตามลำดับ หรือลดลงโดยเฉลี่ยประมาณ 4.8%YOY ตามแนวโน้มต้นทุนวัตถุดิบการผลิตและราคาพลังงาน ประกอบกับปัจจัยกดดันราคาจากการเข้ามาของเหล็กราคาถูกจากจีนที่มีอย่างต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะส่งผลให้มีความเข้มงวดกับการตรวจสอบมาตรฐานเหล็กมากขึ้น ทั้งที่ถูกผลิตจากโรงงานในประเทศ และสินค้าเหล็กนำเข้า โดยผู้ผลิตเหล็กของไทยมีโอกาสได้รับอานิสงส์ด้านความเชื่อมั่นในคุณภาพการผลิตเหล็กที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม

 

อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังคงเผชิญความท้าทายทั้งการทะลักเข้ามาของเหล็กจีน และนโยบาย Trump 2.0 ที่มีการเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กเป็น 25%

SCB EIC ประเมินว่าสินค้าเหล็กจากจีนจะยังคงถูกระบายเข้ามายังไทยต่อเนื่องในปี 2025 โดยเฉพาะการเข้ามาของสินค้าเหล็กปลายน้ำ เช่น เหล็กเคลือบหรือชุบสังกะสี (Galvanized steel) เหล็กทาสี ที่มีสัดส่วนการนำเข้ามาใช้งานมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้งานเหล็กกลางน้ำที่ผลิตในประเทศเพื่อนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าเหล็กปลายน้ำลดลง รวมไปถึงผู้ผลิตสินค้าเหล็กปลายน้ำของไทยที่ต้องแข่งขันกับสินค้าเหล็กปลายน้ำนำเข้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

การขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กของสหรัฐอเมริกาเป็น 25% จะส่งผลโดยตรงต่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกเหล็กไทยไม่มาก เนื่องจากสินค้าเหล็กจากไทยถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาในอัตรา 25% มาตั้งแต่ปี 2018 อยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทางอ้อม จากการทะลักเข้ามาของเหล็กนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากจีน โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่เคยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กไปยังสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2018 โดยประเทศเหล่านั้นจะเริ่มถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ส่งผลให้อาจมีการระบายสินค้ามายังไทยแทน ซ้ำเติมผู้ผลิตเหล็กของไทยให้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

พีที สเตชั่น จับมือ "โป๊ยเซียน" แจกยาดม 2 หมื่นหลอด เติมความสดชื่นเต็ม MAX ในแคมเปญ "เพื่อนคู่ใจทุกการเดินทาง"

พีที สเตชั่น จับมือ "โป๊ยเซียน" แจกยาดม 2 หมื่นหลอด เติมความสดชื่นเต็ม MAX ในแคมเปญ "เพื่อนคู่ใจทุกการเดินทาง"

งบหมดแล้ว By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา SET หมุนทะลุเส้น 1200 จุด อีกครั้ง ด้วยแบงก์ ,อิเล็กทรอนิกส์ และพลังงาน....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้