บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) SCC ภาพรวมผลประกอบการ 1Q68 แม้ยังไม่โดดเด่น แต่ก็น่าจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้อีกครั้ง หลังจากประสบผลขาดทุน 512 ล้านบาท ในงวด 4Q67 โดยฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิงวด 1Q68 จะอยู่ที่ 931 ล้านบาท โดยธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และธุรกิจ Packaging จะกลับมาทำกำไรได้จากที่มีผลขาดทุนในไตรมาสก่อน เหลือเพียงธุรกิจปิโตรเคมีที่ยังมีผลขาดทุน เนื่องจาก SCC มีค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าใช้จ่ายด้าน Overhead ค่าเสื่อมราคาดอกเบี้ยจ่าย ค่าไนโตรเจนในการรักษาสภาพเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา) จากโรงงาน Long SonPetrochemical (LSP) ในเวียดนาม ประมาณเดือนละ 1,200 ล้านบาท ในขณะที่โรงงาน LSP ยังไม่กลับมาเปิดดำเนินงาน เนื่องจาก Spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กลับมาทำกำไรได้เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่นของการก่อสร้างและไม่มีค่าใช้จ่าย One time ในการปรับโครงสร้างองค์กรเหมือนงวด 4Q67 และยังได้อานิสงค์บางส่วนจากการปรับขึ้นราคาปูนซีเมนต์ในเดือนมีนาคม ส่วนธุรกิจ Packaging รับผลบวกจากต้นทุนเศษกระดาษที่ปรับตัวลดลง และไม่มีค่าใช้จ่าย One time เหมือนที่เกิดขึ้นใน 4Q67
รายละเอียดแยกตามธุรกิจมีดังนี้
ธุรกิจปิโตรเคมี : ประเมินงวด 1Q68ขาดทุน 3.1 พันล้านบาท เทียบกับงวด 4Q67 ที่มีผลขาดทุน 3.4 พันล้านบาทผลขาดทุนลดลง แม้ว่า Spread ของผลิตภัณฑ์หลักอย่าง HDPE-Naphtha และ PP-Naphtha จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับงวด 4Q67 ก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายด้าน Overhead ของโรงงาน LSP ในเวียดนามในไตรมาสนี้จะต่ำกว่างวด4Q67 เนื่องจาก LSP หยุดด าเนินงานเต็มไตรมาส เทียบกับงวด 4Q67 ที่เปิดดำเนินงาน 1 เดือน โดยปริมาณการจำหน่ายเม็ดพลาสติก Polyolefin (PE+PP)งวด 1Q68 คาดลดลงเหลือเพียง 4.3แสนตัน ต่ำกว่างวด 4Q67 ที่ 5.5แสนตัน ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และการชะลอคำสั่งซื้อของลูกค้าในภาวะที่ยังไม่มีความแน่นอนเกี่ยวกับนโยบายของ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่ปริมาณการขาย PVC คาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.57 แสนตัน สูงกว่างวด 4Q67 ที่มีปริมาณการขาย 1.43 แสนตัน จากการกลับมาเปิดดำเนินงานโรงงาน VCM ที่หยุดดำเนินงานไปในช่วงต้น 4Q67จากเหตุอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นปลาย 3Q67 บวกกับการเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของภาคก่อสร้าง ปูนซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (CBM) ประเมินกำไรงวด 1Q68 ที่ 1.9พันล้านบาท turnaround จากงวด 4Q67 ที่มีผลขาดทุน 67 ล้านบาท เนื่องจากงวด 4Q67 มีการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดจากโครงการลาออกโดยสมัครใจของพนักงานและมีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ค้างไว้นาน รวมกันประมาณ 500 ล้านบาท ในขณะที่ 1Q68 ไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษดังกล่าว นอกจากนี้ไตรมาสแรกของปี ถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจวัสดุก่อสร้าง โดยมีความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างและปูนซีเมนต์มากขึ้นในโครงการก่อสร้างภาครัฐ รวมไปถึงธุรกิจในต่างประเทศอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียที่จะได้รับผลบวกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ด้านอัตรากำไรก็น่าจะได้แรงหนุนจากราคาถ่านหินที่ปรับตัวลดลง และอานิสงค์บางส่วนจากการประกาศปรับขึ้นราคาปูนซีเมนต์400 บาท/ตันเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค 68 ซึ่งผลบวกจากราคาขายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นจะเกิดขึ้นชัดเจนในงวด 2Q68 เป็นต้นไปธุรกิจ Packaging (SCGP) ประเมินกำไรงวด 1Q68 ที่ 826 ล้านบาท พลิกฟื้นจากงวด 4Q67 ที่ขาดทุน 57 ล้านบาท ปัจจัยหนุนมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นตามการบริโภคในกลุ่มประเทศอาเซียน โดย SCGP มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 87% เพิ่มขึ้นจากงวด 4Q67 ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิต 84% บวกกับต้นทุนวัตถุดิบหลักคือ เศษกระดาษ ที่ปรับตัวลง อ้างอิงราคาเศษกระดาษนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา (AOCC) เฉลี่ย 4Q67 ซึ่งจะน ามาใช้เป็นวัตถุดิบในงวด 1Q68 ปรับตัวลดลง 16%QoQ ในขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์ของ SCGP อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม นอกจากนี้ในงวด 1Q68 ธุรกิจ Fibrous Chain สามารถกลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติเต็มไตรมาสหลังจากมีการหยุดซ่อมบำรุง Boiler ของโรงต้มเยื่อในการผลิต Dissolving Pulp ในเดือน ธ.ค 67 ส่วนธุรกิจรีไซเคิลก็มีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล จากการที่โรงงานผลิตกระดาษในหลายประเทศมีอัตราการใช้กำลังการผลิตมากขึ้น และไม่ได้มีค่าใช้จ่ายครั้งเดียวจากการเปลี่ยนวิธีคำนวณต้นทุนใหม่ ซึ่งทำให้เกิดรายการทางบัญชี
เป็นค่าใช้จ่ายในงวด 4Q67 จำนวน 260 ล้านบาท
เส้นทางการฟื้นตัว เผชิญความท้าทายจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคมากขึ้น
แผนการรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของ SCC ที่มีทั้งแผนระยะสั้น ได้แก่ การเร่งเสริมสร้างสินค้าและบริหารที่สามารถแข่งขันได้ การยกเลิก/ขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไรเพื่อลดภาระทางการเงิน การลดเงินทุนหมุนเวียนลงการปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทในกลุ่มฯเพื่อลดภาระหนี้สินจากภายนอก คาดหวังจะช่วยลดต้นทุนลงได้5,000 ล้านบาท ภายในปี 2568 และแผนระยะยาวจากการลงทุนโครงการเพิ่มวัตถุดิบการผลิตเพื่อรองรับก๊าซอีเทน
ส หรับโรงงาน LSP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีความคืบหน้าแล้วทั้งการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างการลงนามสัญญาระยะยาวในการจัดหาก๊าซอีเทนจากสหรัฐอเมริกาและสัญญาระยะยาวสำหรับเช่าเหมาเรือขนส่งก๊าซอีเทน โดยคาดโครงการจะแล้วเสร็จปลายปี 2570เส้นทางการฟื้นตัวของ SCC กำลังเผชิญกับปัจจัยท้าทายใหม่ทางด้านเศรษฐกิจมหภาคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นหลัง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศมาตรภารกำแพงภาษีต่อทุกประเทศ นำไปสู่การตอบโต้ของประเทศต่างๆที่ทำให้เกิดความตึงเครียดทางการค้าและส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก รวมไปถึงความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่จะลดลงตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ในขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีก็กำลังเผชิญกับภาวะอุปทานล้นตลาดจากกำลังการผลิตใหม่ใประเทศจีน แต่วิกฤติดังกล่าวที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างมาก กลับกลายเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ผลิตโอเลฟินส์ที่ใช้ Naphtha เป็น Feedstock อย่าง SCC โดยราคาน้ มันดิบที่ลดลงทุก 15 USD/บาร์เรล จะทำให้ราคา Naphtha ลดลง 100 USD/ton และทำให้ SCC ประหยัดต้นทุนพลังงานที่เกิดจากการนำ By-product เหลือทิ้งจาก Feedstock Naphtha มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 20% ของ Naphtha ทั้งหมด ได้ถึง 4 พันล้านบาท/ปีมีความน่าสนใจในเชิง Valuation แต่ยังไม่มีปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้น
ให้น้ำหนักลงทุน Neutralความน่าสนใจของ SCC อยู่ที่ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PBV เพียง 0.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV ย้อนหลัง 10 ปีถึง 1.7เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขณะที่ประมาณการกำไร1Q68 แม้จะคิดเป็นสัดส่วน 9% ของประมาณการกำไรปี 2568 ที่ฝ่ายวิจัยคาดไว้ 10,124 ล้านบาท แต่ช่วงที่เหลือของปีนี้มีโอกาสที่ SCC จะบันทึกกำไรพิเศษผ่านบริษัทลูกคือ Chandra Asri ที่เข้าซื้อโรงกลั่นในสิงคโปร์จาก Shell ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ซึ่งจะทำให้เกิด Negative Goodwill บวกกับต้นทุน Naphtha ที่ลดลงและการปรับขึ้นราคาขายปูนซีเมนต์ในประเทศซึ่งจะส่งผลบวกตั้งแต่ 2Q68 เป็นต้นไป ทำให้ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการกำไรไว้เท่าเดิม อย่างไรก็ตาม ฐานกำไรปกติในช่วงหลายไตรมาสข้างหน้าที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เพราะต้องมีการรับรู้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นของโรงงาน LSP ในเวียดนามและปัจจัยลบใหม่เกี่ยกับสงครามการค้า จึงคงให้น้ำหนักลงทุน Neutral ประเมินราคาเหมาะสม 210 บาท