วายุภักษ์พยุงตลาด รอ FUND FLOW กลับ
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องมา 9 วัน รวม 1.67หมื่นล้านบาท ซึ่งเรามองว่าเป็นการตอบสนองต่อภาพการปรับลด
ดอกเบี้ยของ FED ที่คาดว่าจะลดในอัตรา 0.25% จากเดิมที่คาดว่าจะลด0.5% ในการประชุมเดือน พ.ย.67 อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการไหลเข้าตลาดจีนตอบสนองมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ อย่างไรก็ตามเรายังมองว่าด้วยจุดเด่นเรื่อง เศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตโดดเด่น และ VALUATION ที่ไม่แพง น่าจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินกลับมาได้ทั้งนี้ในช่วงที่รอการกลับมาของ FUND FLOW นักลงทุนสถาบันในประเทศที่มีเงินเข้ามาจากวายุภักษ์+THAILAND ESG FUND ก็ทำหน้าที่พยุง SET INDEX ได้เป็นอย่างดี ทำให้DOWNSIDE จำกัด ในเชิงกลยุทธ์ยังเห็นว่าสามารถสะสมหุ้นได้ โดยเน้นหุ้นที่ ESG RATING สูง เป็นหลักในระยะสั้นเชื่อว่า SET INDEX ยังอาจจะผันผวนได้อยู่ แต่น่าจะมีDOWNSIDE จำกัด วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว 1440 –1457 จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือก AP, MTC และTASCO
น้ำมันเริ่มแพง เสี่ยงกระตุ้นเงินเฟ้อวิ่งขึ้นแรงตาม
ความตึงเครียดในตะวันออกกลางน่าเป็นห่วงมากขึ้น นับตั้งแต่อิหร่านได้ยิงขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลเมื่อ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยทั่วโลกต่างเฝ้าจับตาความเสี่ยงสถานการณ์บานปลาย หากอิสราเอลโจมตีกลับโครงสร้างพื้นฐานพลังงานอิหร่าน และเกิดการปิดช่องแคบฮอร์มุซขณะที่ความกังวลดังกล่าวได้ส่งผ่านไปยังราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบ WTI วานนี้วิ่งขึ้นยืนเหนือ 77 เหรียญฯ/บาเรล แล้ว และเฉลี่ยทั้งเดือน ต.ค.67 อยู่ที่ 73.7 เหรียญฯ/บาเรล หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น +13.5%MTD
เมื่อพิจาณาองค์ประกอบเงินเฟ้อสหรัฐฯ มีสัดส่วนพลังงานราว 7.2% โดยจากข้อมูลในอดีต ช่วงที่ราคาน้ำมันชะลอตัวลง มักจะกดดันให้เงินเฟ้อทยอยปรับตัวลดลง ตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน ช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น จะหนุนให้เงินเฟ้อขยับขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดในปี 2022 ช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำมันวิ่งทะลุ 100เหรียญฯ/บาเรล จนเงินเฟ้อขึ้นไปทำจุดสูงสุด +9%YOY ทำให้ FED จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
สรุป หากสงครามมีความยืดเยื้อ และรุนแรงมากขึ้น อาจหนุนให้ราคาน้ำมันดิบทยอยปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ และหนุนให้อัตราเงินเฟ้อของหลายประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ
เสี่ยงส่งผลกระทบต่อการเดินหน้านโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ ซึ่งอาจหนุนให้DOLLAR INDEX แข็งค่าขึ้น และกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าตามกลไก
เงินเฟ้อไทยเพิ่ม 0.61%แต่ยังต่ำกว่ากรอบเป้าหมายกระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ก.ย. 67 +0.61%YOY (ต่ำกว่าคาด 0.8%) โดยราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลง อาทิ น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภค ส่งผลให้เงินเฟ้อไทย 9 เดือนแรก 0.2%AOA ส่วน CORE CPI ล่าสุด +0.77%YOY ตามคาดโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 0.62% ส่งผลให้เฟ้อพื้นฐานไทยใน 9M67ขยายตัวเพียง 0.48%AOA
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์เงินเฟ้อไทย 4Q67 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจาก3Q67 โดยมีแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบโลกอาจขยับขึ้น บวกกับผลกระทบน้ำท่วม(สินค้าเกษตร & อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านและครัวเรือน เสี่ยงราคาขึ้น) และยังเป็นช่วง HIGH SEASON ท่องเที่ยว ด้านกระทรวงพาณิชย์ประเมินเงินเฟ้อปีนี้ไว้ที่ 0.5%
ส่วนของฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่า แม้บ้านเราจะมีโครงการแจกเงิน 10,000 บาท เข้ามาช่วยผลักการใช้จ่ายปลายปี แต่เงินเฟ้อไทยยังต่ำกว่ากรอบเป้าหมายรัฐบาลที่ 1-3% สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการใช้ทั้งนโยบายการเงินผ่อนคลาย อย่างการลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากวัฏจักรดอกเบี้ยโลกมีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ ท่ามกลางทิศทางเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเป็นไปตามคาดการณ์ของธนาคารกลางต่างๆ นำโดยการปรับลดดอกเบี้ยของ ECB -0.5% (2 ครั้ง) BOE -0.25% (1 ครั้ง) และ FED -0.5% (1 ครั้ง) นอกจากนี้กลุ่ม TIPทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ต่างเริ่มปรับลดดอกเบี้ย 0.25% (1 ครั้ง)
สรุป เงินเฟ้อไทยเพิ่ม 0.61% แต่ยังต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ธปท. หนุนให้หลายฝ่ายคาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ตามในเชิงกลยุทธ์แนะนำหุ้นรับแรงคาดหวังมาตรการกระตุ้นการคลัง BJC CAPLL CPAXT CRCCBG AOT CENTEL มาตรการกระตุ้นการเงิน MTC SAWAD AP SPALI SC เป็นต้น
ค่าเงินบาทอ่อนค่าแรง แต่SET ไม่ลง ใครพยุงไว้
สภาวะปกติของตลาดหุ้นไทย CORRELATION ระหว่าง FLOW ต่างชาติ กับค่าเงินบาท มีทิศทางสวนกันเสมอ โดยหากใช้ข้อมูลตั้งแต่ต้นปี 2023-ปัจจุบัน มีค่าCORRELATION -0.50
ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะล่าสุดที่ตั้งแต่ต้นเดือน MTD ต่างชาติขายสุทธิ หุ้นไทย 1.1หมื่นล้านบาท และ ขายสุทธิตราสารหนี้ไทย 1.9 หมื่นล้านบาท กดดันค่าเงินบาทอ่อน
ค่าแรง 3.8%MTD อย่างไรก็ตาม SET ปรับตัวลงเพียง 0.3% เท่านั้น เนื่องจากมีแรงพยุงจากฝั่งสถาบัน 1.5 หมื่นล้านบาท(วายุภักษ์เริ่มซื้อหุ้นไทยตั้งแต่ 1 ต.ค.67) และมีมาตการดูแลจากทางตลาดหลักทรัพธ์ที่เข้มข้นขึ้น(รายละเอียดเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ MARKET TALK วานนี้)
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ จึงขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. หุ้นในวายุภักษ์ ที่มี ESG RATING A ขึ้นไป และราคาหุ้นสวนทาง SETกล่าวคือ MTD ปรับตัวลง > -2% ขณะที่ SET -0.3% เท่านั้น อาทิ TTB, IVL
CENTEL, OR, AWC, BGRIM, LH, OSP, KKP
2. หุ้นได้ประโยชน์บาทอ่อนค่า อาทิ HANA, DELTA, KCE, TU, ITC, CPF,GPFT, STA, NER, STGT, SCC AOT, AAV, MINT, CENTEL, ERW ,BH,BDMS, PR9, BCH
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์