Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

Hotnews : เจาะโค้ง 2 กลุ่มแบงก์ โตน้อยแต่โตนะ

3,235

Hotnews: เจาะโค้ง 2 กลุ่มแบงก์ โตน้อยแต่โตนะ

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (19 กรกฎาคม 2562 ) เข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบไตรมาส 2/2562 กันแล้ว แน่นอนว่ากลุ่มแบงก์คือกลุ่มแรกที่เริ่มทยอยส่งงบมาก่อนใครเพื่อน ซึ่งผลงานโค้ง 2 นี้  ค่อนข้างอืดจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย แต่อย่างไรก็ตามถือว่ายังเก่งที่สามารถรักษาการเติบโตได้อยู่ แบงก์ที่ครองตำแหน่งกำไรเติบโตอันดับ 1 คือ BAY โชว์กำไร Q2 โต 8.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนแบงก์ใหญ่ BBL กำไรโต 1.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าโตน้อยแต่โตนะ ด้าน SCB ทำกำไรหดหาย 1.2%....รายละเอียดตามตารางประกอบข่าว...... 

ขณะที่กลุ่มนอนแบงก์อย่าง KTC มีกำไรสุทธิ 1.3 พันลบ. ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและ THANI กำไรสุทธิ โต 22.41% หลัง หนี้สูญลดลง-ลูกหนี้จ่ายหนี้ดีขึ้น

 

 

 

 

 

**KTB โชว์กำไร Q2/62 โต 6 % เหตุ สินเชื่อขยายตัวต่อเนื่อง**

 

ผลประกอบการธนาคารกรุงไทยไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร จำนวน 8,170 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ส่วนงวดครึ่งปีแรก มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร 15,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เป็นผลมาจากสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ช่วงครึ่งแรกของปี 2562 NIM ที่ไม่รวมรายได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนองในไตรมาสที่ 1/2562 เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้ง Coverage Ratio ของงบการเงินรวม ณ 30 มิถุนายน 2562 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 132.83 จากสิ้นปี 2561

 

 

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ส่วนที่เป็นของธนาคาร จำนวน 8,170 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.24 จากร้อยละ 3.10 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการลดลงของต้นทุนทางการเงิน

 

 

ครึ่งแรกของปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 15,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้รวมจากการดำเนินงาน 63,635 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 2 จากสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนองในไตรมาสแรกของปี NIM ที่ไม่รวมรายได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนองดังกล่าว เป็นร้อยละ 3.24 ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 3.09 รายได้จากการดำเนินการอื่นๆ เติบโตร้อยละ 5.5 จากการขายทรัพย์สินรอการขายและกำไรสุทธิจากเงินลงทุน

 

 

รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิลดลงร้อยละ 2.3 โดยรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลง จากการยกเว้น ค่าธรรมเนียมการโอนเงินรายย่อยผ่านช่องทางดิจิทัลและค่าธรรมเนียม Bancassurance ที่ลดลง ค่าใช้จ่ายการดำเนิน งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 จากสำรองการด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายตามเกณฑ์ระยะเวลาการถือครองของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ผ่านมา มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เท่ากับร้อยละ 46.76 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.64 ในช่วงเดียวกันของปี 2561

 

 

นายผยง ศรีวณิช กล่าวต่อไปว่า จากนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามหลักความระมัดระวัง ธนาคารทยอยเพิ่มระดับของอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ณ 30 มิถุนายน 2562 เป็นร้อยละ 132.83 (งบการเงินรวม) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 125.74 ณ 31 ธันวาคม 2561 มี NPLs Ratio-Gross เท่ากับร้อยละ 4.68 และมี NPLs Ratio-Net อยู่ที่ 1.93 ทั้งนี้ ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง เท่ากับร้อยละ 14.34 และ ร้อยละ 18.14 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

อนึ่ง ธนาคารได้ร่วมทุนกับบมจ.บัตรกรุงไทย จัดตั้ง บริษัท เคทีซี นาโน จำกัด และ บริษัท เคทีซี พิโก (กรุงเทพฯ) จำกัด เพื่อขยายการให้บริการสินเชื่อรายย่อย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยต่อหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

**BAY แจง Q2/62 กำไรหด 30.8% QoQ เหตุ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดหลังไร้บันทึกกำไรพิเศษ**

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY เปิดเผยว่า ในไตรมาส 2/2562 กําไรจากการดําเนินงานอยู่ที่ 15,580 ล้านบาท ลดลงจํานวน 6,944 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.8 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เนื่องจากไม่มีการบันทึกกําไรพิเศษจากการขายหุ้นของบริษัท เงินติดล้อ จํากัด ในไตรมาส 1/2562 ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานลดลง ร้อยละ 12.4 หรือจํานวน 1,762 ล้านบาท

 

 

เนื่องจากไม่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับประมาณการหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จากการชดเชยกรณีพนักงานเกษียณและเลิกจ้างตามการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่รับรู้ ในไตรมาส 1/2562กําไรสุทธิในไตรมาส 2/2562 อยู่ที่ 7,010 ล้านบาท ลดลงจํานวน 5,727 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.0 เมื่อเทียบ กับไตรมาส 1/2562 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากไม่มีการบันทึกรายการพิเศษในไตรมาสนี้หากไม่รวมรายการพิเศษในไตรมาส 1/2562 กําไรสุทธิจากการดําเนินธุรกิจตามปกติในไตรมาส 2/2562 เพิ่มขึ้น จํานวน 81 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 จากไตรมาส 1/2562

 

 

เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2561 กําไรจากการดําเนินงานเพิ่มขึ้นจํานวน 1,242 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

 

ทั้งนี้ กําไรสุทธิเพิ่มขึ้นจํานวน 737 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2561 โดยส่วนใหญ่เป็นผล จากการเพิ่มขึ้นของกําไรจากการดําเนินงานสําหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2562

 

 

อย่างไรก็ตาม ในครึ่งแรกของปี 2562 กําไรจากการดําเนินงานอยู่ที่ 38,105 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 9,279 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 32.2 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อที่แข็งแกร่งกําไรสุทธิอยู่ที่จํานวน 19,747 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 7,259 ล้านบาท หรือร้อยละ 58.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกําไรจากการดําเนินงาน- หากไม่รวมรายการพิเศษในไตรมาส 1/2562 กําไรสุทธิจากการดําเนินธุรกิจตามปกติในครึ่งแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นจํานวน 1,451 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 

 

 

**SCB แจงงบรวมไตรมาส 2 รายได้จากการดำเนินงานโต 4.9% เหตุรายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวอย่างต่อเนื่อง-กำไรจากการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้น**

 

รายงานข่าวจากธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)SCB เปิดเผยว่า ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีรายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 2 ของปี 2562 จำนวน 36,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กำไรจากการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ธนาคารมีกำไรสุทธิ (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) จำนวน 10,976 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.9% จากไตรมาสก่อน และลดลง 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2562 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 20,132 ล้านบาท

 

 

ในไตรมาส 2 ของปี 2562 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 25,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นผลจากการปรับพอร์ตสินเชื่อของธนาคารด้วยการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัวประมาณ 3% จากปีก่อน

 

 

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 10,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าธุรกิจประกันชีวิตของ SCB Life ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 6.6% จากการฟื้นตัวของรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมสุทธิ (recurring fee) การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศและกำไรจากเงินลงทุนในไตรมาสนี้ การเติบโตของค่าใช้จ่ายชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน โดยไม่มีผลกระทบของค่าใช้จ่ายครั้งเดียวในการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานจากกฎหมายแรงงานใหม่

 

 

นอกจากนี้การดำเนินงานของโครงการ Transformation กำลังอยู่ในช่วงสุดท้ายและส่งผลให้ค่าใช้จ่ายจากการลงทุนในโครงการที่อยู่ในระดับสูงกำลังสิ้นสุดลงเช่นกัน ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน จาก 51.6% ในไตรมาส 1 ของปี 2562 เป็น 46.2% ในไตรมาส 2 ของปี 2562

 

 

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ทรงตัวที่ 2.77% และในไตรมาส 2 ของปี 2562 ธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรวม 5,909 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนค่าใช้จ่ายหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ 1.10% ส่งผลให้อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับที่ 153% ในขณะที่เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 17.1%

 

 

 

**BBL แจงไตรมาส2กำไรเพิ่มขึ้น 1.7% เหตุรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ-ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ เพิ่มขึ้น**

 


รายงานข่าวจากธนาคาร กรุงเทพ จำกัด(มหาชน) BBLในปี 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากผลพวงของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศหลัก รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง กอปรกับแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนที่น่าจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จลุล่วง โดยความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และความชัดเจนของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

 

 

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2562 ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารจำนวน 9,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากไตรมาส 2 ปี 2561 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.36 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 1.0 สาเหตุหลักจากกำไรสุทธิจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงเล็กน้อยจากค่าธรรมเนียมธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งลดลงตามสภาวะตลาดทุน ขณะที่ค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวมเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและสัดส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้จากการดำเนินงานยังคงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 57 และร้อยละ 43 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความตั้งใจในการกระจายแหล่งที่มาของรายได้ สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 45.3

 

 

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,017,314 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน เป็นการลดลงของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจและสินเชื่อกิจการต่างประเทศ สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 อยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลกระบวนการอำนวยการสินเชื่อ พร้อมทั้งบริหารคุณภาพสินเชื่อควบคู่กับการดำรงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 185.8

 

 

ธนาคารยังคงรักษาสภาพคล่องและเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่สามารถรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 เงินรับฝากมีจำนวน 2,352,679 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 85.7 ด้านเงินกองทุน หากนับกำไรสุทธิสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 รวมเข้าเป็นเงินกองทุน อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 19.1 ร้อยละ 17.6 และร้อยละ 17.6 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

 

 



**CIMBT แจงครึ่งปีแรกปีนี้ กำไรโต19.4% เหตุรายได้ดอกเบี้ยสุทธิหนุน - สำรองหนี้สงสัยลดลง**

 


นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จํากัด (มหาชน) CIMBT เปิดเผยว่า ธนาคาร ขอรายงานผลการดําเนินงาน สําหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 สรุปสาระสําคัญดังนี้

 

 

ผลการดําเนินงานของกลุ่มธนาคาร สําหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีกําไรสุทธิจํานวน 429.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 69.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.4 เมื่อเปรียบเทียบผลกําไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2561 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดําเนินงานร้อยละ 1.2 และการลดลงของสํารองหนี้สงสัยจะสูญร้อยละ 31.0 สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานร้อยละ 16.9

 

 

รายได้จากการดําเนินงาน สําหรับงวดหกเดือนปี 2562 มีจํานวน 6,875.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 80.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2561เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ 3.8 เป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุน สุทธิกับการลดลงของรายได้ ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจํานวน 40.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.1 รายได้อื่นลดลงจํานวน 77.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.5 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของขาดทุนสุทธิจากหนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม

 

 

ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานสําหรับงวดหกเดือนปี 2562 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2561 เพิ่มขึ้นจํานวน 653.3 ล้านบาทหรือร้อยละ 16.9 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเนื่องจากกลยุทธ์การขยาย งานของธนาคารภายใต้โครงการ Fast Forward และการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งกําหนดให้จ่าย ค่าชดเชยเพิ่มขึ้นสําหรับพนักงานที่เกษียณอายุและมีอายุงานมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี ประกอบกับขาดทุนจากการขาย ทรัพย์สินรอการขายเพิ่มขึ้นเป็นผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน ต่อรายได้จากการดําเนินงานงวดหกเดือนปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 65.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ ร้อยละ 57.0

 

 

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin - NIM) สําหรับงวดหกเดือนปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 3.30 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2561อยู่ที่ร้อยละ 3.87 เป็นผลจากต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ําประกันโดยธนาคารอื่น และเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 237.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับ เงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน บางประเภท) จํานวน 235.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากสิ้นปี 2561 ซึ่งมีจํานวน 234.3 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100.9 จากร้อย ละ 97.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561

 

 

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อยู่ที่ 10.7 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินให้ สินเชื่อทั้งสิ้น (NPL ratio) อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เป็นผลจาก ความสามารถในการชําระหนี้ลดลงซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากลูกหนี้ภาคธุรกิจและรายย่อย อย่างไรก็ตาม ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่ม ประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดําเนินการดูแลและการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

 

 

อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อต้อยคุณภาพ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 106.5 ลดลงจากสิ้นปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 107.0 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 เงินสํารองของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จํานวน 11.3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสํารองส่วนเกินจากเงินสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจํานวน 5.2 พันล้านบาท

 

 

เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจํานวน 48.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วน เงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสียงร้อยละ 18.7 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 13.7

 

 

 

**KBANK เผยโค้ง2 กำไรหด 1.15% เหตุตั้งสำรองเกษียณอายุของพนักงาน-มีค่าใช้จ่ายทางการตลาด**

 


นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2562 ยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก เมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.80 ในไตรมาส 1 ปี 2562 เนื่องจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวยังคงเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยืดเยื้อของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี ภาพรวมการบริโภคภาคเอกชนยังสามารถประคองทิศทางการเติบโตไว้ได้ต่อเนื่อง แต่คงต้องติดตามสถานการณ์หนี้และการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือน รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี

 

 

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับครึ่งปีแรกปี 2562 จำนวน 19,973 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2 ปี 2562 จำนวน 9,929 ล้านบาท

 

 

ผลการดำเนินงานสำหรับครึ่งปีแรกปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกปี 2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 19,973 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1,709 ล้านบาท หรือ 7.88% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 2,960 ล้านบาท หรือ 6.16% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.30% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 5,475 ล้านบาท หรือ 17.46%

 

 

ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยและรายได้จากผลิตภัณฑ์ตลาดทุนลดลง รวมทั้งการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล นอกจากนี้ ภายใต้การชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งมีผลต่อรายได้ของธนาคาร ธนาคารจึงพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,087 ล้านบาท หรือ 3.33% แม้ว่าจะมีการตั้งสำรองเกษียณอายุของพนักงานเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ของพนักงานตามนโยบายการจ้างงานเฉพาะของธนาคารที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน มีผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 43.89%

 

 

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 9,929 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนจำนวน 115 ล้านบาท หรือ 1.15% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 518 ล้านบาท หรือ 2.05% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.34%

 

 

นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 1,392 ล้านบาท หรือ 11.38% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัย และรายได้จากผลิตภัณฑ์ตลาดทุน รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,731 ล้านบาท หรือ 10.81% ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายทางการตลาด และการตั้งสำรองเกษียณอายุของพนักงาน

 

 

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ธนาคารและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,256,294 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2561 จำนวน 101,203 ล้านบาท หรือ 3.21% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 3.40% ขณะที่สิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 3.34% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 157.95%

 

 

โดยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 160.60% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 อยู่ที่ 18.55% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.19%

 

 

 

 

**TISCO เผยกำไรไตรมาส2/62 โต 5.2% หลังตั้งสำรองหนี้สูญลดลง**

 


กลุ่มทิสโก้รายงานผลประกอบการงวดครึ่งแรกของปี 2562 มีกำไรสุทธิจำนวน 3,528 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.5% ขณะที่กำไรสุทธิไตรมาส 2/2562 มีจำนวน 1,798 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.2%

 

นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ (Mr.Suthas Ruangmanamongkol, Group Chief Executive) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 มีกำไรสุทธิ 3,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 53 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.5% ขณะที่ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ของปี 2562 มีกำไรสุทธิ 1,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.2% เนื่องจากภาระการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง ตามระดับสำรองส่วนเกินที่มีเพียงพอ ส่วนรายได้จากธุรกิจหลักชะลอตัวลง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการขายธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกิจเช่าซื้อที่เข้มงวดขึ้น และสภาวะตลาดทุนที่ผันผวน อย่างไรก็ตาม กลุ่มทิสโก้ยังสามารถรักษาระดับอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ให้อยู่ในระดับสูงที่ 19% ขณะที่ยังมีระดับฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง ด้วยอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) สูงถึง 23.4%

 

 

สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่มทิสโก้ในช่วงที่เหลือของปี 2562 ยังคงเดินหน้าขยายการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ ภายใต้การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เน้นตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ผ่านความร่วมมือระหว่างสายงาน และความร่วมมือระหว่างบริษัทในเครือ (Cross-selling) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจประกันภัยที่จากนี้จะเห็นความชัดเจนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

“กลุ่มทิสโก้ยังคงดำเนินการตามเป้าหมายที่วางไว้ ในการเป็นผู้ให้คำแนะนำทางการเงินที่ดีแก่ลูกค้าอย่างครอบคลุม ทั้งด้านการเงินการลงทุน การประกันชีวิตและสุขภาพ รวมถึงคุณภาพชีวิตหลังเกษียณ เพราะตอนนี้โจทย์ความต้องการของลูกค้ามีมากขึ้น ไม่ใช่แค่การสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนเท่านั้น แต่ยังต้องการดูแลเรื่องการบริหารควาามเสี่ยงในทุกช่วงของชีวิตด้วย ที่ผ่านมาทิสโก้มีแนวทางที่ชัดเจนในการทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดี มีความหลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด และเรายังเน้นการฝึกอบรมให้ความรู้พนักงานอย่างเข้มข้นให้สามารถแนะนำลูกค้าได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ นอกเหนือจากความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นธรรม ตามหลัก Market Conduct ของทางการ ซึ่งในครึ่งปีหลังก็จะมีผลิตภัณฑ์ดีๆ ทยอยออกมาแนะนำลูกค้าอย่างต่อเนื่อง” นายสุทัศน์ กล่าว

 

 

สรุปผลประกอบการงานงวดไตรมาส 2/2562 และงวดครึ่งปี 2562

 

ผลการดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้งวดไตรมาส 2 ของปี 2562 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2561 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 1,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.2% จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง โดยในไตรมาสนี้ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวลดลงจากการโอนขายสินเชื่อส่วนบุคคล และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยชะลอตัวลง ทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับธุรกิจเช่าซื้อและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับธุรกิจตลาดทุนตามสภาวะตลาดทุนที่ผันผวน ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งตามกลยุทธ์ Cross-selling และการมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายสำรองผลประโยชน์ของพนักงานที่เพิ่มขึ้นและค่าบริจาคเงินการกุศล ทั้งนี้ บริษัทตั้งสำรองหนี้สูญลดลงตามคุณภาพของสินเชื่อ และระดับสำรองส่วนเกินที่เพียงพอ

 

 

สำหรับผลการดำเนินงานงวดครึ่งปีแรกของปี 2562 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2561 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นจำนวน 3,528 ล้านบาท จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจตลาดทุนชะลอตัวลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น จากค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเกษียณอายุตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่เมื่อไตรมาส 1 ปี 2562

 

 

สำหรับเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มทิสโก้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจำนวน 241,215 ล้านบาท อ่อนตัวลง 0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างไรก็ดี ธุรกิจหลักของกลุ่มทิสโก้ยังคงสามารถเติบโตได้ดี ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งขยายตัว 0.7% ตามอุปสงค์ในประเทศที่เติบโต ประกอบกับสินเชื่อจำนำทะเบียน ภายใต้แบรนด์ “สมหวัง เงินสั่งได้” ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 4.9% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามแผนการขยายธุรกิจและการขยายสาขาสำนักอำนวยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ในส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเป็นผลตามฤดูกาล ในขณะที่บริษัทยังคงรักษาระดับเงินสำรองหนี้สูญที่เพียงพอ โดยอัตราส่วนของเงินสำรองรวมของธนาคารต่อสำรองพึงกันตามเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงสูงถึง 209%

 

 

ธนาคารทิสโก้ยังคงรักษาระดับฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งมาโดยตลอดทั้งปี โดยมีประมาณการอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 23.4% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำ 11.0% ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 18.5% และ 5.0% ตามลำดับ

 

 

 


**THANI เผยงบเดี่ยวQ2/62 กำไรโต 22.41% หลัง หนี้สูญลดลง-ลูกหนี้จ่ายหนี้ดีขึ้น**

 


นายโกวิท รุ่งวัฒนโสภณ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI เปิดเผยว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสที่สองของปี 2562 จำนวน 510.97 ล้านบาท โดยมีรายได้รวมจานวน 1,063.06 ล้านบาท ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายทางการเงินมีจานวน 247.17 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมีจำนวน 139.38 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญมีจานวน 40.81 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม จำนวน 50,047.26 ล้านบาท หนี้สินรวมจานวน 42,720.92 ล้านบาทและส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจานวน 7,326.34 ล้านบาท จากการขยายสินเชื่อเช่าซื้อและบริการที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความมั่นคงในการดาเนินธุรกิจและความแข็งแกร่งของฐานะการเงินของกลุ่มบริษัท

 

 

สำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัทมีกาไรสุทธิสำหรับไตรมาสที่สองของปี 2562 จำนวน 479.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 87.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.41 โดยมีรายได้รวมจำนวน 1,021.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.81 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.25 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการเงินมี จำนวน 247.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.97 จากการจัดหาแหล่งเงินกู้ยืมเพื่อรองรับสินเชื่อที่ขยายตัวค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญมีจานวน 40.81 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจานวน 73.26 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 64.22 เนื่องจากการติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น ส่งผลให้คุณภาพของลูกหนี้โดยรวมดีขึ้น

 

 

ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปี 2562 บริษัทมีสินทรัพย์รวมจำนวน 49,930.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน จานวน 5,896.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.39 จากการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มรถบรรทุก โดยบริษัทมีลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อและเช่าทางการเงิน สุทธิ จานวน 48,975.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน จานวน 5,844.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.55 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.09 ของสินทรัพย์รวม

 

 

ในขณะที่หนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทมีจานวน 42,654.66 ล้านบาท และ 7,276.26 ล้านบาท ตามลำดับ

 

 

เมื่อทำการเปรียบเทียบฐานะการเงินของบริษัท ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปี 2562 กับไตรมาสแรกของ ปี 2562 บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่อยู่ในภาวะผันผวน โดยบริษัทมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจานวน 1,065.43 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.18 โดยมีลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อ สุทธิ เพิ่มขึ้น 1,114.01 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.33 ในขณะที่หนี้สินรวมเพิ่มขึ้นจำนวน 1,461.66 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.55 และส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงจำนวน 396.23 ล้านบาทหรือร้อยละ 5.16 ตามลำดับ

 

 

 

**KTC แจง กำไรH1/62 โต 16% จากปีก่อน หลังรายได้ดอกเบี้ยธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล-รายได้ค่าธรรมเนียมโต พร้อมคาดทั้งปีผลงานแจ่มกว่าเป้า**

 

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในไตรมาสสองชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ชะลอตัว อีกทั้งยังมีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ จากการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรงมากขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าพอร์ตลูกหนี้รวม จะเติบโตในลักษณะชะลอตัว เป็นผลให้รายได้รวมของบริษัทเพิ่มขึ้นเพียง 7% แต่การที่บริษัทยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้เพิ่มขึ้นไม่สูง ประกอบกับความสามารถในการคงมูลค่าต้นทุนเงินทุนให้อยู่ในระดับเดิม

 

 

ขณะที่หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญมีจํานวนสูงขึ้นตามมูลหนี้ ที่เพิ่มขึ้น และเนื่องจากใตรมาสนี้มีวันทําการน้อยกว่าไตรมาสอื่นๆ ทําให้การติดตามหนี้คืนมีความยากขึ้น จํานวนหนี้สูญได้รับคืนมีอัตรา ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงสามารถทํากําไรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ บริษัทยังสามารถคง สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิม โดยมีภาพรวมผลการดําเนินงานในครึ่งแรกของปี 2562 ดังนี้

 

 

สำหรับ ภาพรวมกําไรครึ่งปี 2562 มีจํานวนทั้งสิ้น 2,913 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 16% yoy) เป็นผลจากรายได้โต 7% (yoy) ในขณะที่ค่าใช้จ่าย รวมโตที่ 3%yoy) โดยมีกําไรในไตรมาสสองเป็นจํานวนทั้งสิ้น 1,323 ล้านบาท รายได้รวมครึ่งปีเท่ากับ 11,102 ล้านบาท เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่เติบโตที่ 7%(yoy) และ 8%(yoy) ตามลําดับ พร้อมกับการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) เพิ่ม 5%yoy) และหนี้สูญได้รับคืน เพิ่มขึ้นที่ 3% (yoy)

 

 


-บริษัทมีกําไรสุทธิ 2,913 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีกําไรเท่ากับ 2,515 ล้านบาท

 


-ค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) เท่ากับ 33.8% ลดลงจาก 35.2% ณ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 


-ในรอบห้าเดือนปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรของบริษัทขยายตัวที่ 10.6% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโตที่ 8.7%

 


- ยอดลูกหนี้รวมเท่ากับ 77,121 ล้านบาท ขยายตัวที่ 7% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นลูกหนี้บัตรเครดิตรวมเพิ่มจาก 46,251 ล้านบาทเป็น 49,658 ล้านบาท และลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวมจาก 25,423 ล้านบาทเป็น 27,177 ล้านบาท

 


-ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสําหรับครึ่งปีเท่ากับ 15.39% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 15.26% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยรับเฉลี่ย เพิ่มจาก 18.23% เป็น 18.26% และต้นทุนเงินทุนลดลงจาก 2.97% เหลือ 2.87%

 


-ควบคุมคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ดีต่อเนื่อง NPL ลูกหนี้รวมของบริษัทอยู่ที่ 1.13% ลดลงจาก 1.14% ณ สิ้นปี 2561 อีกทั้งลดลงจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาที่อยู่ที่ 1.27% และ 1.18% ตามลําดับ บริษัทคาดว่าจะยังสามารถรักษาระดับ NPL ให้อยู่ใน ระดับต่ําได้อย่างต่อเนื่อง

 


- บริษัทได้จัดตั้งบริษัท เคทีซี นาโน จํากัด และบริษัท เคทีซี พิโก กรุงเทพ จํากัด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เพื่อประกอบธุรกิจสินเชื่อ รายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (Pico Finance) และธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (Nano Finance) โดยบริษัท ถือหุ้นแต่ละบริษัทในสัดส่วน 75.05% และได้นํารวมรายการทางการเงินที่เกิดขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินรวมของบริษัท ทั้งนี้ทั้งสองบริษัท ยังอยู่ในระหว่างดําเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ซึ่งบริษัทคาดว่าจะเริ่มประกอบธุรกิจได้ในไตรมาสสามปีนี้

 

 

 

สำหรับแนวทางการเติบโตในปี 2562 ครึ่งแรกของปี บริษัทมีอัตราการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้กว่าประมาณการที่ได้ตัง้ ไว้ อย่างไรก็ตามด้านการสร้างรายได้ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรและจากยอดลูกหนีข้ องสินเชื่อบุคคลที่ขยายตัวเพิ่มขึน้ และเนื่องจากมีการควบคุมคุณภาพพอร์ตได้เป็นอย่างดี มีอัตราหนี้เสียที่ต่า ทำให้ผลประกอบการของบริษัทสูงขึ่้น

 

 

อย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่รุนแรงมากขึน้ การเข้าสู่ธุรกิจใหม่ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจนาโน – พิโกไฟแนนซ์ รวมทั้ง ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน จึงเป็นโอกาสสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้แก่บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนของธุรกิจใหม่ได้ภายใน 18-24 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างผลดำนินงานของทั้ง ปี 2562 ได้ดีกว่า ประมาณการเดิมที่เคยเปิดเผยไว้

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้