Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : RATCH โปรยเงินลงทุนปีหมู 2 หมื่นลบ. ดันกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 8,960 MW

3,791

HotNews : RATCH โปรยเงินลงทุนปีหมู 2 หมื่นลบ.
ดันกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 8,960 MW

 

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) RATCH เปิดเผยว่า ในปี 2562 บริษัทฯ ตั้งเป้าการลงทุนให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 8,960 เมกะวัตต์หรือเทียบเท่า โดยจัดเตรียมสำรองเงินลงทุนจำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าพัฒนาและก่อสร้างโครงการใหม่ในปีนี้ โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีกำลังผลิตติดตั้งตามการลงทุนรวม 7,639.12 เมกะวัตต์หรือเทียบเท่า

 

ทั้งนี้บริษัทฯ ยังคงเน้นเป้าหมายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งในแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าฉบับใหม่ จะเปิดให้มีการประมูลโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตกทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุสัญญา ซึ่งบริษัทฯ มีความพร้อมและมุ่งมั่นเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้อย่างแน่นอน สำหรับ การลงทุนต่างประเทศ ก็ยังเดินหน้าทั้งโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลัก และพลังงานทดแทน ประเภท Greenfield หรือ Brownfield หรือโครงการที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว เช่นเดียวกับโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งมีโอกาสทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็เป็นเป้าหมายที่บริษัทฯ ให้น้ำหนักมากขึ้นในปี 2562

 

 

สำหรับในปี 2562 บริษัทฯ เตรียมเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ 3 โครงการ ขนาดกำลังผลิตรวมกว่า 179.73 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โครงการพลังงานแสงอาทิตย์คอลลินส์วิลล์ ขนาดกำลังผลิต 42.5 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทมีสัดส่วนถือหุ้น 100% โดยปัจจุบันมีการขายไฟฟ้าแล้ว 100% ซึ่งกว่า 70% ได้ขายให้กับทาง Breamer Power Project เป็นระยะเวลา 12 ปี ส่วน 30% ที่เหลือขายในตลาดซื้อขายไฟฟ้าออสเตรเลีย คาด COD ภายในไตรมาส 1/2562

 


ขณะที่ โครงการโรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น ขนาดกำลังผลิต 34.73 เมกะวัตต์ ที่บริษัทฯ ถือหุ้น 35% ปัจจุบันได้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ. ) แล้ว คาดจะสามารถCOD ได้ในช่วงไตรมาส 2/62 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียนเซน้ำน้อย ขนาดกำลังผลิต 102.5 เมกะวัตต์ ที่บริษัทมีสัดส่วนถือหุ้น 25% คาดจะสามารถ COD ได้ในช่วงครึ่งหลังปีนี้

 

 

นายกิจจา กล่าวเพิ่มเติมว่าภายในปี 2563 จะมีการ COD โครงการโรงไฟฟ้านวนครส่วนขยาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะ COD ได้ในเดือนสิงหาคม 2563 ขยายกำลังการผลิต 60 MW และไอน้ำ 10 ตันต่อชั่วโมง ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 40% และในปี 2564 จะมีการ COD โครงการใหม่ จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟังเซงกัง กำลังการผลิต 236 MW มีสัดส่วนถือหุ้น 10%, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเรียว อินโดนีเซีย 145.15 MW มีสัดส่วนถือหุ้น 59%, โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ โรงไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นอย่างละ 10%


นอกจากนี้ บริษัทฯ สนใจในการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทจะเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลัก และพลังงานทดแทน ประเภท Greenfield หรือ Brownfield หรือ โครงการที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรหลายรายในกลุ่มโรงไฟฟ้าฟอสซิล และพลังงานทดแทน ในกลุ่มประเทศอาเซียน และในประเทศออสเตรเลีย เบื้องต้นอาจเห็นในลักษณะของการร่วมลงทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นที่มีศักยภาพ (JV) ซึ่งคาดว่าจะได้รับความชัดเจนภายในไตรมาส 2/2562 อย่างน้อย 1-2 ราย วงเงินลงทุนในการขยายธุรกิจใหม่รวมประมาณ 14,000 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ จากการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตมากกว่า 10,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2566

 


สำหรับผลการดำเนินงานปี 2561 บริษัทฯ รับรู้กำไรก่อนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 6,452.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.5% สำหรับรายได้รวม มีจำนวน 45,083.54 ล้านบาท ซึ่งโครงสร้างรายได้ของบริษัทมาจาก 3 แหล่งที่สำคัญ คือ รายได้จากการขายและบริการและรายได้ตามสัญญาเช่าการเงิน 62.4% ส่วนแบ่งจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันและเงินปันผล 33.3% และรายได้จากดอกเบี้ยและอื่นๆ 4.3% ในปี 2561 รายได้ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมทุนที่มาจากโรงไฟฟ้าหงสาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

ฐานะการเงินของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 101,251.90 ล้านบาท หนี้สินจำนวน 41,315.88 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 59,936.02 ล้านบาท เงินสดและเงินลงทุน รวมจำนวน 13,924.34 ล้านบาท และกำไรสะสมจำนวน 49,952.77 ล้านบาท

 

 

 

 

 

 


2 เซียนหุ้น แนะซื้อ RATCH
มองมี Upside อีก 13.5%


บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ แนะนำซื้อ RATCH ราคาพื้นฐาน ที่ 63.00 บาท โดยกำไรจากธุรกิจหลักของ RATCH ใน 4Q61 อยู่ที่ 1.23 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.0% YoY แต่ลดลง 36.3% QoQ เป็นไปตามประมาณการของเรา และ Bloomberg consensus ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น YoY เป็นผลมาจาก i) รับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้ าหงสาเพิ่มขึ้น ii) รับรู้กำไรจากโครงการ NN2เพิ่มขึ้น และ iii) ค่าใช้จ่าย SG&A ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานที่ลดลง QoQ เป็นเพราะเป็นช่วง low seasonของ weight factor ของโครงการ RG และ TECO และค่าใช้จ่าย SG&A ที่สูงขึ้น กำไรจากธุรกิจหลักในปี 2561 ทรงตัวอยู่ที่ 6.44 พันล้านบาท ถึงแม้ว่าโครงการหงสา และ NN2จะจ่ายกระแสไฟฟ้ าได้มากขึ้น แต่ก็หักล้างไปกับค่าความพร้อมจ่ายที่ลดลงของโครงการ RG และ TECO



กำไรจากธุรกิจหลักของ RATCH ใน 4Q61 อยู่ที่ 1.23 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.0% YoY แต่ลดลง 36.3%QoQ เป็นไปตามประมาณการของเรา และ Bloomberg consensus โดยกำไรจากธุรกิจหลักในปี 2561ทรงตัวอยู่ที่ 6.44 พันล้านบาท แต่หากรวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่ได้รับรู้ 270 ล้านบาทกำไรสุทธิใน 4Q61 จะอยู่ที่ 965 ล้านบาท (+56.0% YoY, -42.6% QoQ) ในขณะเดียวกัน กำไรสุทธิในปีFY61 ก็อยู่ที่ 5.59 พันล้านบาท ลดลง 7.5% เนื่องจากมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้เพิ่มขึ้นเป็น 852 ล้านบาท จาก 408 ล้านบาทในปี 2560

 

 


กำไรจากธุรกิจหลักใน 4Q61 เพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลง QoQ
ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น YoY เป็นผลมาจาก i) รับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้ าหงสาเพิ่มขึ้น ii) รับรู้กำไรจากโครงการ NN2 เพิ่มขึ้น และ iii) ค่าใช้จ่าย SG&A ลดลง ทั้งนี้ ใน 4Q61 อัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ าหงสาเพิ่มขึ้นเป็น 85% จาก 83% ใน 4Q60 ในขณะที่โครงการ NN2 ก็จ่ายไฟฟ้ าได้เพิ่มขึ้นตามกระแสน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนมากกว่าปีก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานที่ลดลง QoQ เป็นเพราะเป็นช่วง low season ของ weight factor ของโครงการ RG และ TECO และค่าใช้จ่าย SG&A ที่สูงขึ้นตามฤดูกาล
กำไรจากธุรกิจหลักใน FY61 ทรงตัว YoY

 

ถึงแม้ว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ าหงสาจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 85% จากปีก่อนหน้าที่ 81% และค่าใช้จ่าย SG&A จะลดลง 5.5% แต่ค่าความพร้อมจ่ายที่ลดลงของโครงการ RG และ TECO ตามสัญญา PPA ก็ฉุดให้ผลประกอบการทรงตัว YoY
อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลงวดท้ายของปี FY61 อยู่ที่ 2.25%

 

บริษัทประกาศจ่ายปันผลงวดสุดท้ายของปี 2561 ที่ 1.25 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 2.25% โดยกำหนดขึ้น XD วันที่ 4 มีนาคม 2562 และจะจ่ายปันผลในวันที่ 26 เมษายน 2562
Valuation & Action เรายังคงแนะนำให้ซื้อ และให้ราคาเป้าหมาย DCF ปี 2562 ที่ 63.00 บาท ซึ่งยังเหลือ upside อีก 13.5%ในขณะที่ RATCH ก็มีโอกาสสูงในการเข้าประมูลโครงการ IPP ในภาคตะวันตก ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป (มีการตั้งเป้ าหมายว่าโรงไฟฟ้ า IPP ใหม่ในภาคตะวันตกจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2566-67) นอกจากนี้ เรายังคาดว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลปี 2562 จะอยู่ที่ 4.4%ซึ่งสูงเป็นอันกับที่สองของกลุ่ม

 

Risks ความล่าช้าในการจัดสรรกำลังการผลิตใหม่, มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของทางการ, โรงไฟฟ้าหยุดผลิตไฟ,และความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการใหม่


สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ แนะนำซื้อ RATCH ราคาเป้าหมาย 65 บาท/หุ้น โดยRATCH รายงานผลประกอบการ 4Q18 ตามคาดที่ 649 ล้านบาท ลดลง 61% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 8% YoY โดยที่ผลประกอบการอยู่ที่ 5.6 พันล้านบาท ลดลง 7% YoY หากไม่รวมกำไรจากค่าเงินและอื่นๆ กำไรจากการดำเนินงานจะอยู่ที่ 744 ล้านบาท ลดลง 62% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 1% YoY ทำให้กำไรปกติในปี 2018 อยู่ที่ 6.1 พันล้านบาท ลดลง 4% YoY

 



การปิดโรงงาน RG ชดเชยด้วยหงสา และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคาด
โรงไฟฟ้า RG กำลังการผลิต 3.6 GW IPP มีการปิดปรับปรุง CCGT 2 - 3 ทำให้ต้องหยุดดำเนินงาน 52 วันในเดือน ต.ค. - พ.ย. ทำให้การจ่ายไฟลดลง 25% YoY ในไตรมาส 4 ในขณะที่การดำเนินงานของหงสา (ถือหุ้น 40% กำลังการผลิต 1.9 GW ใช้ถ่านลิกไนต์ในลาว) ที่มีการดำเนินงานดีขึ้น 12% YoY ใน 4Q18 จากอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้น YoY และต้นทุนทางการเงินลดลง 10% YoY จากการรีไฟแนนซ์การดำเนินงานที่ออสเตรเลีย แต่ลดลงจากปัจจัยทางฤดูกาล



การดำเนินงานดีขึ้นใน 1Q19
การดำเนินงานของ RATCH เพิ่มขึ้นใน 1Q19 ทั้ง YoY และ QoQ หนุนโดยปัจจัยทางฤดูกาล และการกลับมาดำเนินงานของ RG ที่เพิ่มขึ้น QoQ และ YoY ที่เพิ่มขึ้นจากหงสา และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง อีกทั้งจะมีการเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ออสเตรเลีย 180 MW และโซลาร์ฟาร์ม 43 MW



แนะนำ "ซื้อ" เราปรับประมาณการเล็กน้อยเพื่อสะท้อนผลประกอบการปี 2018 โดยเราเลือก RATCH เป็นหุ้นแนะนำกลุ่มโรงไฟฟ้าโดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 65 บาท อ้างอิง DCF โดยมีความเสี่ยงคือ ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า, ความล่าช้าในการก่อสร้าง และต้นทุนในการพัฒนา

 

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า แม้ RATCH ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้กำไรสุทธิปี 2018 ต่ำคาด แต่กำไรปกติปี 2018 เป็นไปตามคาดการณ์ของเรา ส่วนแนวโน้มกำไรปกติปี 2019E คาดจะเติบโต แต่ในอัตราที่ไม่โดดเดนนัก จากการรับรู้กำไรจากโครงการใหม่เข้ามา อย่างไรก็ตาม เราคาดกำไรปกติ/เมกะวัตต์ ของบริษัทจะอยู่ในระดับต่ำราว 0.9 ล้านบาท/เมกะวัตต์ (เทียบกับค่าเฉลี่ยของบริษัทไฟฟ้าอื่นในประเทศที่ 2 ล้านบาท/เมกะวัตต์) นอกจากนี้ upside gain ที่จำกัด ทำให้เราปรับลดคำแนะนำลงเป็น "Underperform" (จาก "Outperform") โดยยังคงราคาเป้าหมาย SOTP ปี 2019E ที่ 59 บาท

 

RATCH

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

HotNews: IND เตรียมศึกษาธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานสะอาด

IND เตรียมศึกษาธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานสะอาด ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ไม่ต่ำกว่า 15%

สถานบันเทิงครบวงจร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ยินดี สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ลงมติ รายงานผลการศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร...

มัลติมีเดีย

QTCG กระแสตอบรับดี/เปิดพื้นฐานก่อนเทรดวันที่ 4 เม.ย. - สายตรงอินไซด์ - 29 มี.ค.67

QTCG กระแสตอบรับดี/เปิดพื้นฐานก่อนเทรดวันที่ 4 เม.ย. - สายตรงอินไซด์ - 29 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้