Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : CMC ฝ่ากระแส มั่นใจเทรดเหนือจองที่ 3 บ. โบรกฯเคาะเป้า 3.72-4.30 บ.

2,018

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (16 พฤศจิกายน  2561)

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง กุนซือ CMC มั่นใจเทรดวันแรก 19 พ.ย. นี้หุ้น CMC  ฝ่ากระแสตลาดฯ เหนือจองที่ 3  บ. ชูเป็นหุ้น VI กำไรโตแรงต่อเนื่อง โบรกฯเคาะเป้า 3.72-4.30 บ. 

บมจ. เจ้าพระยามหานคร (CMC) โชว์ฟอร์มหรู กำไร 9 เดือนเติบโตถึง 165% รายได้เพิ่มขึ้น 43% พร้อมจ่ายปันผล 7 สตางค์ พร้อมคาดผลงานปี 62 เติบโตต่อเนื่อง หลังรับรู้ฯโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนฯ แย้มมีแผนเปิด-พัฒนาโครงการใหม่ มูลค่า 1.6 หมื่นลบ. ด้านบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง กุนซือ การเงินมั่นใจ ฝ่ากระแสตลาดฯ เทรดเหนือจอง ชูเป็นหุ้น VI กำไรโตแรงต่อเนื่อง แถมราคาต่ำกว่าบุ๊คที่ปรับปรุงด้วยราคาประเมินทรัพย์สินค่อนข้างมาก

 

นายแพทย์วิเชียร แพทยานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC กล่าวว่า “บริษัทฯมีความยินดีที่จะรายงานผลประกอบการ 9 เดือน ปี 2561 เป็นที่น่าพอใจ โดยบริษัทฯมีรายได้รวม 1,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่ 1,058 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้น 633 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึงเท่ากับ 42% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่ 439 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 186 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 165% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่ 70 ล้านบาท ยิ่งกว่านั้นอัตรากำไรสุทธิ (เน็ตมาร์จิ้น) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ คือ เพิ่มกว่าเท่าตัวเป็น 12.03% จาก 5.83% ทั้งนี้บริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่าผลประกอบการในปีนี้จะเติบโตตามเป้าหมาย และเพื่อเป็นของขวัญต้อนรับผู้ถือหุ้นใหม่ที่ ให้ความเชื่อมั่นลงทุนในหุ้นไอพีโอของ CMC คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลประกอบการในรอบ 9 เดือนแรกและกำไรสะสม จำนวน 7 สตางค์ต่อหุ้น ให้กับผู้ถือหุ้นทุกราย โดยวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับเงินปันผล (Record Date) คือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561”

 

นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายร่วม หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ CMC กล่าวว่า “ผมเชื่อมั่นว่าหุ้น CMC จะสามารถเทรดเหนือราคาจองที่ 3 บาทได้ไม่ยาก เพราะเป็นหุ้นคุณค่า (Value Stock) ที่ทั้งคุ้มค่าและเติบโตสูง ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างมากตลอด 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ณ 30 กันยายน 2561 CMC มีโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนและโครงการระหว่างก่อสร้างสามารถรับรู้เป็นรายได้อีกกว่า 5,500 ล้านบาท ซึ่งหากโอนได้มาก รายได้และกำไรในปีหน้าจะเติบโตอย่างมาก และยังมีโครงการใหม่ที่มีศักยภาพและจุดเด่นรอเปิดตัวระหว่างปีหน้าอีก 10 โครงการ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตในอีก 2 ปีถัดไป ราคาไอพีโอ 3.00 บาท คิดเป็นค่า P/E จากการคาดการณ์กำไรของนักวิเคราะห์ในปีหน้าเพียง 7 เท่า ในขณะที่ P/E ของตลาด MAI สูงกว่านี้ค่อนข้างมาก และเป็นราคาที่ตั้งไว้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีหลังปรับปรุงราคาตลาดล่าสุดของสินทรัพย์ที่ 4.68 บาทมาก คิดเป็นอัพไซด์กว่า 50%

 


นอกจากนี้ หุ้น CMC ยังมีมูลค่าที่ซุกซ่อนอยู่ (Hidden Value) ในรูปของที่ดินเปล่ารอการพัฒนาในทำเลที่มีศักยภาพซึ่งบริษัทเป็นเจ้าของแล้วอีก 7 แห่ง มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 1,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าต่อหุ้นประมาณ 1.30 บาท ยิ่งกว่านั้น ด้วยสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียน และหนี้สินที่ลดลงจากการชำระคืนเงินกู้บางส่วนจากเงินที่ระดมทุนได้ จะทำให้บริษัทลดต้นทุนทางการเงินไปได้มาก คาดปีหน้าแนวโน้มผลประกอบการน่าจะสดใสมาก”

 

นายแพทย์วิเชียร แพทยานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC กล่าวเสริมว่า “บริษัทฯมั่นใจว่าในปีหน้า คาดว่าเราจะมีผลประกอบการที่เติบโตจากการรับรู้ รายได้ของโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนและโครงการระหว่างก่อสร้างมูลค่ากว่า 5,538 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯกำลังออกโปรโมชั่นกระตุ้นการขายอย่างแรง และคาดว่ายอดขายปีนี้และปีหน้าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ CMC ไม่ได้ผลกระทบจากนโยบาย LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากบริษัทฯ มุ่งเน้นลูกค้าที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง ซึ่งนักลงทุนหรือเก็งกำไรเป็นส่วนน้อย และราคาขายส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 2-4 ล้านบาท ซึ่งลูกค้ามักจะซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังแรก ตรงกันข้าม จากกระแสดังกล่าวคาดว่า อาจทำให้ลูกค้ารีบทำการโอนคอนโดมีเนียมเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยภาพรวม CMC มีมูลค่าโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการระหว่างก่อสร้าง และโครงการที่มีแผนจะเปิดขายและพัฒนาใหม่ รวมประมาณ 16,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 10 เท่าของรายได้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะสร้างการเติบโตอย่างสูงและต่อเนื่องใน 3 ปีข้างหน้า

 

อนึ่ง CMC ประสบความสำเร็จในการระดมทุน ขายหุ้นไอพีโอได้เงิน 750 ล้านบาท โดย CMC จะนำเงินจำนวน 400 ล้านบาทไปคืนสถาบันการเงิน ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในปีหน้าได้อย่างมีนัยยะ นอกจากนี้ จะใช้เงิน 250 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงการและซื้อที่ดินเพิ่ม และใช้เงิน 63 ล้านบาทเพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ทางบริษัทฯคาดว่าภายหลังไอพีโอ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (IBD/E) จากปัจจุบันที่ประมาณ 1.6 เท่า จะลดลงเหลือเพียง 1 เท่า โดยหลังจากการเพิ่มทุนกลุ่ม แพทยานันท์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจะถือหุ้น 75% ( CMC ขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนซึ่งเป็นหุ้นใหม่ทั้งหมด 250 ล้านหุ้น หรือ 25% ของทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 3 บาท ราคาพาร์ 1 บาท) CMC ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการที่พักอาศัยมากว่า 24 ปี มีการดำเนินการที่ครบวงจรครอบคลุมถึงงานก่อสร้าง การผลิตวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ อาทิ แผ่นอาคารสำเร็จรูปภายนอก เฟรมกระจกและประตูอลูมิเนียม และผนังอาคารภายใน EPS การผลิตเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน และการจัดหาอุปกรณ์เพื่อใช้และสร้างมูลค่าเพิ่มในโครงการ ทำให้สามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับประมาณ 40% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง
ให้ราคาเป้าหมาย CMC ที่ 4 บ.

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) ให้ราคาเป้าหมายของ CMC ในปี 2562 บนสมมุติฐานของ PER ที่ 9 เท่าจากการ เปรียบเทียบกับกลุ่มและได้ราคาเป้าหมายที่ 4.00 บาท/หุ้น CMC เป็นบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่มีความเชี่ยวชาญการพัฒนาโครงการประเภทคอนโดมิเนียมโดยมี ประสบการณ์ยาวนานกว่า 24 ปี และคาดว่าในช่วง 3 ปีข้างหน้ากําไรสุทธิจะเติบโต โดดเด่น และหากมอง CAGR ในช่วง 6 ปีคือ 2558 - 2563 คาดว่าจะสูงถึง 59% การ ทํา IPO ครั้งนี้จะกระจายหุ้นสามัญเพิ่ม 250 ล้านหุ้นที่ราคาพาร์ 1 บาท/หุ้น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายเล็กที่อยู่ในธุรกิจมานาน มี Gross Margin สูงและ แนวโน้มในการเติบโตเด่น CMC หรือ บมจ.เจ้าพระยามหานคร เป็นผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เน้น การพัฒนาโครงการประเภทคอนโดมิเนียมเป็นหลักและเชี่ยวชาญทั้งประเภทอาคารสูง และอาคารเตีย โดยมีประสบการณ์ในธุรกิจมากว่า 24 ปี สัดส่วนรายได้ประมาณ 95%+/- มาจากคอนโดมิเนียมและส่วนที่เหลือ 5%+/- มาจากบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ โดยพัฒนาโครงการมาแล้วกว่า 45 โครงการมูลค่ากว่า 20,400 ล้านบาทและมี โครงการในอนาคตที่รอการเปิดขาย 10 โครงการมูลค่ากว่า 10,300 ล้านบาท

 

ซึ่งจะ เป็นปัจจัยที่หนุนการเติบโตในอนาคต เสนอขาย IPO 250 ล้านหุ้น การขาย IPO ในครั้งนี้ CMC จะขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจํานวน 250 ล้านหุ้นที่ราคาพาร์ 1 บาท/หุ้น ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เข้าจดทะเบียนในตลาด mai โดย เงินทุนใหม่จากการขาย IPO จะถูกนําไปเป็นเงินทุนสําหรับการพัฒนาโครงการใหม่ จ่ายคืนหนี้ และเป็นทุนสํารอง และหลังจาก IPO แล้วผู้ถือหุ้นกลุ่ม แพทยานันท์ ยังคง เป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 75% คาดช่วง 3 ปีนี้เติบโตก้าวกระโดดและ CAGR 6 ปีคาด 59% ด้วย Backlog ในมือประมาณ 1,015 ล้านบาทและ Inventory พร้อมขายประมาณ 4,141 ล้านบาทโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 2 โครงการประมาณ 1,900 ล้านบาท และโครงการในอนาคต 10 โครงการประมาณ 10,338 ล้านบาท คาดจะเป็นปัจจัยหนุน รายได้ให้เติบโตโดดเด่นในปี 2561 ถึง 2563 ที่ 39% , 49% และ 65% ตามลําดับการ บริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ ทําได้ดีและดอกเบี้ยที่ลดลงจากการจ่ายคืนเงินกู้ ทําให้คาดว่า กําไรสุทธิในช่วง 3 ปีนี้จะเติบโต 68% , 107% และ 72% ตามลําดับ โดยเรามอง CAGR ของกําไรสุทธิช่วง 6 ปีคือในปี 2558 - 2563 ที่ 59%
ความเสี่ยง : การแข่งขันในกลุ่มคอนโดมิเนียมที่เริ่มรุนแรงจากอุปสงค์ที่เริ่มอ่อนตัว

***บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจําหน่ายหุ้นเพิ่มทุน บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) ***

 

KTBST ประเมินราคาเป้าหมาย
CMC ที่ 3.80 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) ทิศทางผลการดําเนินงานในอดีตที่ผ่านมายังมีความผันผวน ตามแผนการโอนโครงการคอนโดใหม่ใน แต่ละปีที่ยังไม่ต่อเนื่อง โดยในปี 2016 CMC มีกําไรสุทธิ 156 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 231% YoY เนื่องจากปลายปี 2015 มีคอนโดใหม่สร้างเสร็จเริ่มโอนค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการ รับรู้รายได้ในปี 2016 และในปี 2016 ยังมีคอนโดใหม่สร้างเสร็จเริ่มโอนอีกถึง 4 โครงการ แต่ในปี 2017 กําไรสุทธิกลับมาลดลง 19% YoY เป็น 127 ล้านบาท เนื่องจากมีโครงการ คอนโดใหม่เริ่มโอนเหลือเพียง 2 โครงการ และส่วนใหญ่เริ่มโอนช่วงปลายปี 2017 สําหรับ 1H18 กําไรสุทธิกลับมาดีขึ้นมากที่ 123 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130% YoY เพราะใน 2Q18 มี โครงการใหม่เริ่มโอน 1 โครงการ และโครงการเดิมที่เริ่มโอนปลายปี 2017 มีการโอนที่ เพิ่มขึ้น

 

สําหรับอัตรากําไรขั้นต้นในช่วงเวลาดังกล่าวทําได้โดดเด่น 41.6% - 42% 0 คาดกําไรสุทธิปี 2018 - 2020 จะเติบโตโดดเด่น จากแผนขยายตลาดเชิงรุก เราประเมินกําไรสุทธิในปี 2018 – 2020 มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นต่อเนื่องเฉลี่ย 49% ต่อปี จากโครงการใหม่ที่ทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จเริ่มโอนมากขึ้น และแผนขยายตลาดเชิงรุก โดย ในปี 2018 กําไรสุทธิจะทําสถิติสูงสุดใหม่ที่ 219 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73% YoY โดยคาดกําไร สุทธิ 2H18 จะยังคงเติบโต YoY ได้ต่อเนื่อง จากยอด Backlog ณ สิ้น 2Q18 ที่สามารถโอน ในปีนี้ไม่ต่ํากว่า 700 ล้านบาท โดยในงวด 4Q18 ยังมีคอนโดใหม่เริ่มโอนเพิ่มอีก 1 โครงการ ขณะที่อัตรากําไรขั้นต้นคาดว่ายังทําได้ดีใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 41.6%

 

สําหรับกําไรสุทธิในปี 2019 - 2020 คาดกําไรสุทธิจะยังคงเติบโตโดดเด่นต่อเนื่อง จากแผนขยายตลาดเชิงรุกมาก ขึ้น โดย CMC มีแผนที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ใน 2H18 มากถึง 10 โครงการ จากในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมามีการเปิดขายคอนโดใหม่เพียง 2 โครงการ โดยโครงการที่เปิดตัวในปีนี้จะเริ่ม ทยอยรับรู้เป็นรายได้ตั้งแต่ปลายปี 2019 ถึงปี 2021 ทั้งนี้ เราประเมินกําไรสุทธิปี 2019 ยังคงโดดเด่นต่อเนื่องที่ 350 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% YoY โดยจะมีคอนโดใหม่เริ่มโอน 5 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มโอนในช่วงปลายปี 2019 และมีแผนการตลาดเพื่อเร่งขาย Inventory เดิมให้มากขึ้นทั้งกลุ่มนักลงทุนและชาวต่างชาติ

 

ประเมินราคาเหมาะสมปี 2019 ที่ 3.80 บาท เราทําการประเมินมูลค่า CMC ด้วยวิธี Relative PER โดยเทียบค่าเฉลี่ย PER ในอดีต 5 ปี ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เน้นธุรกิจคอนโดเป็นหลัก ได้แก่ ANAN, CHEWA, LPN, ORI, RICHY, SENA ซึ่งมี PER เฉลี่ยอยู่ที่ 11 เท่า ได้ราคาเหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานปี 2019 ที่ 3.80 บาท


บล.คันทรี่ กรุ๊ป ส่องเป้า CMC ที่ 4 บาทต่อหุ้น

บล.คันทรี่ กรุ๊ป ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า ประเมินมูลค่าเหมาะสม บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) ที่ 4.0 บาทต่อหุ้น ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยระหว่าง PE และ PBV multiple ปี 19 โดยอิงกับ เป้าหมาย PE และ PBV ที่ 8.4 เท่า และ 1.3 เท่าตามลําดับ ซึ่ง เป็นค่าเฉลี่ยกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกับ บริษัท และคาดการณ์กําไรสุทธิต่อหุ้นและมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นปี 19 ที่ระดับ 0.45 และ 3.17 บาทตามลําดับมีแผนเปิด 10 โครงการใหม่มูลค่ากว่า 1 หมื่นลบ. ในปี 18-19 ทางบริษัทมีแผนที่เปิด 10 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียมและแนวราบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยในกทม.และปริมณฑล โดยมีบริษัทย่อย ดําเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างให้

 

อีกทั้งยังยลิต เฟอร์นิเจอร์ เช่น ชุดครัว บานประตู โรงงานผนังพรีแคส โรงงาน ผนัง EPS(ผนังที่ใช้ภายในตึก) เพื่อช่วยในการควบคุมต้นทุนใน การก่อสร้างและการตกแต่งภายในอาคาร ส่งผลให้อัตรากําไร ขั้นต้นสูงถึงมากกว่า 40% คาดกําไรสุทธิปี 18-20 เติบโต 69% ต่อปี ผลักดันโดยสมมติฐาน 1) ยอดขายที่เติบโตปีละ 44% ตามการ เพิ่มขึ้นของโครงการที่จะรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 18 เป็นต้นไปทั้งหมด 12 โครงการ อีกทั้ง i) อัตรากําไรขั้นต้นขยายตัวสู่ 42-44% ในปี 2018-19E จาก 42% ในปี เนื่องจากโครงการใหม่ๆนั้นเน้นไป ทางคอนโดมิเนียมที่มีอัตรากําไรที่สูงกว่าแนวราบเงิน IPO จะใช้ในชําระหนี้และเป็นเงินทุนหมุนเวียน เงินที่ได้จากการขายหุ้น IPO คราวนี้ บริษัทมีแผนนําไปใช้ในการ ขยายธุรกิจ, ชําระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็น เงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

 

บล.เออีซี ตีมูลค่า CMC ที่ 3.72 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) ปี 2561-2562 คาดกําไรปกติโตเด่นเฉลี่ยปีละ 219.3% จากยอดขายคอนโดที่เพิ่มขึ้น ปี 2561 คาด CMC มีกําไรปกติ 215 ล้านบาท โต 507.9%YoY แต่หากคิดเป็น Fully Dilute Norm EPS จะอยู่ที่ 0.22 บาท โต 355.9%YoY เพราะหลังขายหุ้น IPO จะมีจํานวนหุ้นเรียกชําระแล้วเพิ่มอีก 250 ล้านหุ้น (Dilution Effect 25.00%) และคาดปี 2562 จะโตต่อ 67.7%YoY จากการรับรู้รายได้จากโครงการ ใหม่ที่เริ่มโอนในปี 2562 บวกกับจากการทําโปรโมชั่นส่งเสริมการขายเพื่อทยอยเคลียร์โครงการเก่าในมือมีทําเลที่ตั้งโครงการที่หลากหลาย บวกกับมีศักยภาพทํากําไรที่ดี พร้อมฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ช่วง 2Q61 CMC มี Interest Bearing Debt to Equity ที่ 1.81x และหลังเสนอขาย IPO คาด Leverage Ratio จะลดลงไป ทําให้ฐานะการเงินยิ่งแข็งแกร่งขึ้น เมื่อบวกกับ ปี 2561-2563 คาดมี CFO เฉลี่ยปีละ 212 ล้านบาท จึงเพียงพอรองรับแผนลงทุนในปี 2561-2563 เฉลี่ยปีละ 100 ล้านบาท

 

อีกทั้งยังพร้อม จ่ายเงินปันผลได้สม่ําเสมอตามนโยบายบริษัทที่กําหนด Div. Payout Ratio ไม่ต่ํากว่า 40% ของกําไรสุทธิ ซึ่งเราคาดปี 2561, 2562 และ 2563 จะมีเงินปันผลจ่ายราวหุ้นละ 0.09, 0.14 และ 0.18 บาท ตามลําดับมูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสมปี 2562 อยู่ที่ 3.72 บาท เรามอง CMC มีจุดเด่นสําคัญ ดังนี้

1) มีทําเลที่ตั้งของโครงการที่หลากหลาย เน้นการเดินทางที่สะดวก เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเป้าหมายในหลายระดับ

2) มีศักยภาพทํากําไรที่ดีและฐานะการเงินแกร่ง

3) ปี 2561 คาด Norm EPS โต 355.9%YoY และโตต่อ 67.7%YoY ในปี 2562 ทั้งนี้เราประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 2562 อยู่ที่ 3.72 บาท โดยอิงวิธี PER ที่ 10.3x (เป็นค่าเฉลี่ย PER ปัจจุบันของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่มี รายได้มาจากการขายคอนโด)

 

บล.อาร์เอชบี ให้เป้า CMC ที่ 4.0 บาท
อิงจาก 2019F P/E (x) ที่ 9.3 เท่า


บริษัท หลักทรัพย์อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) เป็นผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเสนอขายหุ้นเพิ่ม ทุนต่อประชาชนจํานวน 250 ล้านหุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน โดยมีจุดประสงค์ที่จะนําเงินทุนไปชําระเงินกู้จากสถาบันการเงินและขยายการ ลงทุน ซึ่งจะทําให้รายได้และกําไรของบริษัทฯมีโอกาสในการเติบโตเฉลี่ย 3-year CAGR (2018F-20F) สูงถึงร้อยละ 39 และ68 เราประเมินมูลค่าบริษัทฯที่ 4.0 บาทต่อหุ้น โดยอิงจาก 2019 F P/E (x) ที่ 9.3 เท่

 

ปัจจัยการเติบโตในอนาคต
ภาพรวมทางเศรษฐกิจเที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นบวกต่อภาค อสังหาริมทรัพย์อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากรถไฟฟ้าสายใหม่ที่ขยายไปแถบชานเมือง โดยในครึ่งปีแรกยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อน 26.3% และคาดว่าทั้งปี 2561 จะมีการเติบโต 8-10% จากปีก่อน ปัจจุบันบริษัทฯมี โครงการในมือมีมูลค่าสูงถึง 1.6หมื่นล้าน (รวมโครงการที่กาลังจะเปิดใหม่ในปี61-62 มูลค่าใหมื่นล้าน) ซึ่งจะสามารถรับรู้เป็นรายได้ใน 2-3 ปีข้างหน้า

 

คาดการณ์ผลประกอบการ จะเติบโตอย่างโดดเด่นในอีกสามปีข้างหน้า โดยเรามอง การเติบโตด้านรายได้และก่าไรต่อปีเฉลี่ยทบต้น3ปี (3-year CAGR) ในอนาคตที่39% และ 68% ตามลําดับ จากการขายคอนโดที่สร้างเสร็จพร้อมส่งมอบและโครงการเปิดใหม่ อัตรากําไรขั้นต้นที่สูง การลดลงของดอกเบี้ยจ่ายหลังสามารถชําระคืนเงินกู้จากเงินที่ระดม ทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

ความเสี่ยงที่สําคัญ

1) ด้านการแข่งขันที่รุนแรง,

2) ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว,

3) ความเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นสภาพเศรษฐกิจ ความล่าช้าของโครงการขนส่ง มวลชนขนาดใหญ่ นโยบายการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินเข้มงวด เฉพาะกับลูกค้าระดับกลางถึงล่าง นโยบายปรับเพิ่มดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้,

4) การมี ยูนิตเหลือขายมาก,

5) บริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ อาจขายหุ้นสามัญภายหลัง จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนครั้งนี้

 

บล.ทิสโก้ ให้มูลค่าที่เหมาะสม CMC
ที่ 4.30 บาท คิดจาก PER 2019F ที่ 10.5 เท่า


บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า บมจ.เจ้าพระยามหานคร (CMC) คาดกําไรสุทธิ 3-year Cagr (2018-21F) เติบโต เฉลี่ยปีละ 59% เราคาดกําไรสุทธิ 3-year Cagr (2018-21F) ของ CMC จะเติบโตอยู่ที่ 59% จากการเติบโตของรายได้จากการขายที่เรา คาด 3-year Cagr (2018-21F) อยู่ที่ 40% จากโครงการที่คาดว่าจะสร้างเสร็จและโอนตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป ซึ่งมี มากถึง 12 โครงการ ประกอบไปด้วยโครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน ไลท์ เพชรเกษม 48 โครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน ติวานนท์ โครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน สุขสวัสดิ์ โครงการแบงค์คอก ฮอไรซอนนวมินทร์-ศรีบูรพา โครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน ไลท์ แอท ราม แคมปัส โครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน ไลท์ แอท บางนา 36 โครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน วงศ์สว่าง โครงการชาโตว์ อินทาวน์ ปิ่นเกล้า โครงการชาโตว์ อินทาวน์ เกษตร แคมปัส โครงการชาโตว์ อินทาวน์ แอท เสนา สเตชั่น โครงการชาโตว์ อินทาวน์ รัชดา 36-2 และโครงการคาซ่า ดีว่า เฟส 2 รวมมูลค่าโครงการทั้งหมดกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท

 

คาดรายได้จากการขายจะมี 3-year Cagr (2018-21F) อยู่ที่ 40% จากการที่บริษัทมี Backlogs หรือโครงการที่สร้างเสร็จแล้วรอโอนมูลค่ากว่า 4.1 พันล้านบาทคาดว่าจะรับรู้ในช่วงปี 2018- 19F และโครงการที่คาดว่าจะสร้างเสร็จและโอนในช่วงปี 2018-21F เราคาดว่า CMC จะมีการรับรู้รายได้ในปี 2018F อยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตของรายได้อยู่ที่ 37% YoY และยังมีการเติบโต 5 1 % YoY ในปี 2019F อยู่ที่ 3.2 พันล้านบาท และ 65% YoY ในปี 2020F อยู่ที่ 5.2 พันล้านบาท คิดเป็นการเติบโตของรายได้จาก การขาย 3-year Cagr (2018-21F) อยู่ที่ 40% เราคาดอัตรากําไรขั้นต้นจะอยู่ที่ 40% ในปี 2018F และ 39% ในปี 20 19F conservative จากผู้บริหารคาดการณ์ที่ 42% และจาก 41.5% ในปี 2017

 


มูลค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ 4.30 บาท คิดจาก PER 2019F ที่ 10.5 เท่า เราประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ CMC โดยวิธี PER คิตจากค่าเฉลี่ย PER 2019F ของ Property Sector (ไม่รวม LH, QH, CPN และ SF) ที่อยู่ที่ 10.5 เท่า และ EPS 2019F ที่ 0.41 บาท เราจึงได้มูลค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ 4.30 บาทต่อหุ้น ที่ มูลค่าที่เหมาะสมคิดเป็น Forward PER อยู่ที่ 10.5 เท่าในปี 2019F และ 5.5 เท่าในปี 2020F ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย อุตสาหกรรมในปี 2019F และยังต่ํากว่าค่าเฉลี่ยหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเน้นทําโครงการคอนโดมิเนียมและมีรายได้ หลักจากการขายอาคารชุดในปี 2020F ค่อนข้างมีนัยยะ นอกจากนี้ CMC ยังมีการเติบโต 3-year (2018-21F) Cagr ของ EPs (Recuring) ที่สูงมากอยู่ที่ 59% ซึ่งสูงกว่าทุกตัวใน Peer ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทมี backlogs รอโอนจากโครงการ คอนโดมิเนียมที่จะสร้างเสร็จอยู่เป็นจํานวนที่ค่อนข้างสูง ที่จะรับรู้เข้ามาเป็นรายได้จากการขายของบริษัท มีอัตรา ผลตอบแทนเงินปันผลในปี 2019F ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมและสูงกว่าในปี 2020F รวมถึงมี RoE ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย อุตสาหกรรม และ P/BV ต่ํากว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมทั้งสองปี 2019-20F)

 


ปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญ

1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงรายได้จากการขายโครงการคอนโดมิเนียมในสัดส่วนที่สูง

2. ความเสี่ยงจากการที่กลุ่มบริษัทประกอบธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง

3. ความเสี่ยงจากการจัดหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต

4. ความเสี่ยงจากแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างและต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น

5. ความเสี่ยงจากการที่ผลประกอบการในอนาคตขึ้นอยู่กับความสําเร็จของโครงการที่จะพัฒนา

6. ความเสี่ยงด้านนโยบายการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน

7. ความเสี่ยงด้านการยกเลิกการจองหรือยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายของลูกค้า

8. ความเสี่ยงจากการมียูนิตคงเหลือขายค่อนข้างมากเนื่องจากโครงการไม่สามารถขายได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

9. ความเสี่ยงจากธุรกิจก่อสร้างของ TSN

10. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงความช่วยเหลือทางการเงินจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

11. ความเสี่ยงด้านการเงินจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

12. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอานาจควบคุมการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

13. ความเสี่ยงจากการนําหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 


มูลค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ 4.30 บาท คิดจาก PER 2019F ที่ 10.5 เท่า เราประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ CMC โดยวิธี PER คิดจากค่าเฉลี่ย PER 2019F ของ Property Sector (ไม่รวม LH, QH, CPN และ SF) ที่อยู่ที่ 10.5 เท่า และ EPs 2019F ที่ 0.41 บาท เราจึงได้มูลค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ 4.30 บาทต่อหุ้น ที่ มูลค่าที่เหมาะสมคิดเป็น Forward PER อยู่ที่ 10.5 เท่าในปี 2019F และ 5.5 เท่าในปี 2020F ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย อุตสาหกรรมในปี 2019F และยังต่ํากว่าค่าเฉลี่ยหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเน้นทําโครงการคอนโดมิเนียมและมีรายได้ หลักจากการขายอาคารชุดในปี 2020F ค่อนข้างมีนัยยะ

 

นอกจากนี้ CMC ยังมีการเติบโต 3-year (2018-21F) Cagr ของ EPS (Recurring) ที่สูงมากอยู่ที่ 59% ซึ่งสูงกว่าทุกตัวใน Peer ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทมี backlogs รอโอนจากโครงการ คอนโดมิเนียมที่จะสร้างเสร็จอยู่เป็นจํานวนที่ค่อนข้างสูง ที่จะรับรู้เข้ามาเป็นรายได้จากการขายของบริษัท มีอัตรา ผลตอบแทนเงินปันผลในปี 2019F ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมและสูงกว่าในปี 2020F รวมถึงมี RoE ที่สูงกว่า ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และ P/BV ต่ํากว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมทั้งสองปี 2019-20F)

 

CMC

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้