Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : ผ่าแผนครึ่งปีหลัง PTG รุกนอนออยล์ ไม่ยั้ง / EPG ย้ำปีนี้รายได้โต 15% ตามเป้า

2,989

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(14 สิงหาคม 2561)

PTG เปิดแผนครึ่งปีหลัง เน้นขยายสาขาเฉพาะในพื้นที่ที่ ศก. โตสูง -เติมเต็มการให้บริการด้วยธุรกิจนอนออยล์ครบวงจร ปรับคาดการณ์ปริมาณขายปีนี้เป็น 15-20% จากปีที่แล้ว พร้อมปรับเป้า EBITDA ปีนี้เป็นโต 15-20% จากเดิมคาดโต 40-45% หลังคาดราคาน้ำมันในตลาดโลกยังผันผวน ระบุมุ่งเน้นรุกขยายธุรกิจ F&B และ Services ให้มากขึ้น ที่สร้างกระแสเงินสดมั่นคง-สม่ำเสมอในระยะยาว พร้อมเปิดทางหาพันธมิตร ย้ำดันกำไรขั้นต้นจากธุรกิจนอนออยล์เป็น 60% ภายในปี 65


บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) PTG เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีการปรับประมาณการปริมาณการจำหน่ายน้ำมัน เป็นเติบโต 15-20% (ปรับจาก +20-25%) พร้อมปรับ EBITDA Growth เป็นเติบโต 15-20% (ปรับจาก +40-45%) ส่วนจำนวนสาขา ในส่วนของ Oil และ LPG ปรับเป้าเป็น 1,900 สาขา (ปรับจาก 2,000 สาขา) และ Non-oil (F&B, CVS, Services) ปรับเป็น 500 สาขา (ปรับจาก 700 สาขา) เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคที่ยังไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของเกษตรกร พีทีจีจึงหันมาเน้นการขยายสาขาเฉพาะในพื้นที่ที่ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึง และเติมเต็มการให้บริการด้วยธุรกิจนอนออยล์ครบวงจร เพื่อกระจายความเสี่ยงต่อการกระจุกตัวของรายได้ ทาให้พีทีจีปรับประมาณการ การขยายจำนวนสถานีบริการให้อยู่ที่ 1,900 สาขา และจำนวนสาขาของธุรกิจ F&B, CVS และ Services อยู่ที่ 500 สาขา ในส่วนของปริมาณการขาย พีทีจีปรับคาดการณ์การเติบโตของปริมาณการขายอยู่ที่ +15-20% จากปีที่แล้ว โดยจะมุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณการขายน้ำมันผ่านระบบบัตรสมาชิกให้สูงขึ้นจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น

 

 

ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกคาดว่าจะยังคงมีความผันผวน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการปรับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ทำให้พีทีจีปรับประมาณการการเติบโตของ EBITDA อยู่ที่ +15-20% ทั้งนี้ พีทีจีจะมุ่งเน้นการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจ F&B และ Services ให้มากขึ้น เพื่อการสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคงและสม่ำเสมอในระยะยาว ด้วยการหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง และสามารถเติมเต็มความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร

 

PTG ระบุว่า การขยายสาขาทั้งในธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจนอนออยล์ จะเน้นขยายเฉพาะในพื้นที่ที่ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยปรับคาดการณ์จานวนสาขาของสถานีบริการน้ามันและแก๊สแอลพีจีอยู่ที่ 1,900 สาขา และจำนวนสาขาของธุรกิจ non-oil อยู่ที่ 500 สาขา ซึ่งรวมร้านสะดวกซื้อ Max Mart, ร้านกาแฟพันธุ์ไทย, ร้านคอฟฟี่เวิร์ลด, ร้านข้าวแกงครัวบ้านจิตร, ร้านซ่อมบำรุงสาหรับรถบรรทุก Pro Truck และสาหรับรถยนต์ Autobacs โดยพีทีจีจะยังขยายสาขาด้วยการเช่าพื้นที่ของสถานีบริการเดิม และเติมเต็มการให้บริการด้วยธุรกิจนอนออยล์ครบวงจร เพื่อบริหารพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

เศรษฐกิจในต่างจังหวัด นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจส่งผลต่อการเติบโตของปริมาณการจำหน่ายน้ามัน โดยปรับคาดการณ์การเติบโตอยู่ที่ +15-20% เนื่องจากราคาผลผลิตทางการเกษตรยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ราคาผลผลิตทางการเกษตรเริ่มฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการรักษาเสถียรภาพของราคา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งนี้ พีทีจีจะยังคงสร้างความสัมพันธ์ ผ่านการบริการที่ดี และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบสมาชิกบัตร PT Max Card นอกจากนี้ พีทีจีจะขยายสาขาในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลในการกระจายตัวของสถานีบริการ และเพื่อสนับสนุนการต่อยอดในธุรกิจนอนออยล์ได้อย่างเต็มที่

 

 

การปรับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนของตลาดโลก ยังคงเป็นความท้าทายในครึ่งปีหลัง ทำให้มีการปรับคาดการณ์การเติบโตของ EBITDA อยู่ที่ +15-20% อย่างไรก็ตาม พีทีจีมีเป้าหมายในการมุ่งไปสู่ธุรกิจ non-oil เพื่อการสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคงและสม่าเสมอในระยะยาว ปัจจุบัน สัดส่วนกาไรขั้นต้นที่มาจากธุรกิจ non-oil เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 2/61 มีสัดส่วนอยู่ที่ 10% จาก 6% ในปีที่แล้ว พีทีจีจะยังคงขยายพันธมิตรในการทำธุรกิจ เพื่อสามารถเติมเต็มความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร

 


สำหรับในไตรมาส 2/2561 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการ เท่ากับ 27,089 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากรายได้จากการขายและบริการในส่วนของธุรกิจน้ำมัน เพิ่มขึ้น 26% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาสก่อน และรายได้จากธุรกิจนอนออยล์ ในส่วนธุรกิจแอลพีจี ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจการให้บริการพื้นที่เชิงพาณิชย์ และธุรกิจอื่น ๆ มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 54% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสก่อน การเพิ่มขึ้นของรายได้เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ 1. ปริมาณการจาหน่ายน้ามันเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 985 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้น 12% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ซึ่งปริมาณการจำหน่ายน้ามันเพิ่มขึ้นตามการขยายสาขาในส่วนธุรกิจน้ำมัน 2. ราคาขายปลีกน้ำมันต่อลิตรเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 4% จากไตรมาสก่อน ทั้งนี้รายได้จากธุรกิจน้ามัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97% ของรายได้จากการขายและบริการทั้งหมด

 

 

ต้นทุนการขายและบริการ เท่ากับ 25,271 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11% จากไตรมาสก่อน การเพิ่มขึ้นของต้นทุนเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ 1. ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันที่เพิ่มขึ้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น 2. ราคาต้นทุนน้ำมันต่อลิตรที่เพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ การปรับราคาขายปลีกน้ามันเป็นไปได้ช้ากว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้กาไรขั้นต้นเท่ากับ 1,818 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 5% จากไตรมาสก่อน

 

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เท่ากับ 1,628 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการขยายสาขาในส่วนของธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจนอนออยล์ตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าเช่าและสิทธิการเช่า รวมถึงค่าเสื่อมราคา และค่าโฆษณาและค่าส่งเสริมการขาย เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของสาขาดังกล่าว

 


EBITDA และกำไรสุทธิ ตามที่ได้อธิบายแล้วข้างต้นถึงปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรายได้ และต้นทุน รวมถึงการขยายสาขาในส่วนธุรกิจน้ามัน และธุรกิจนอนออยล์ ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารนั้น ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ EBITDA เท่ากับ 885 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 7% จากไตรมาสก่อน และกำไรสุทธิ เท่ากับ 177 ล้านบาท ลดลง 33% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 34% จากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ในส่วนต้นทุนทางการเงิน เท่ากับ 70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท จากไตรมาสที่แล้ว ปัจจัยหลักมาจากเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก ทั้งนี้ พีทีจีพิจารณาธุรกิจที่เข้าลงทุนอย่างระมัดระวังและรอบคอบ และเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายเพื่อการจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของบริษัท

 

 

อย่างไรก็ตาม จากการขยายสถานีบริการน้ำมันพีทีและการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในไตรมาส 2/2561 พีทีจีมีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเท่ากับ 985 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสที่แล้ว โดยปริมาณการจำหน่ายน้ำมันผ่านช่องทางสถานีบริการ (ค้าปลีก) เท่ากับ 926 ล้านลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 94% ของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันทั้งหมด โดยเติบโต 14% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และเติบโต 4% จากไตรมาสที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันของพีทีจียังคงเติบโตได้ดีกว่าการปริมาณการใช้น้ามันผ่านสถานีบริการของประเทศ

 

ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 2/2561 พีทีจีมีจำนวนสถานีบริการน้ำมันและแก๊สแอลพีจีรวมทั้งสิ้น 1,803 สถานี โดยแบ่งออกเป็นสถานีบริการน้ำมัน 1,692 สถานี สถานีบริการแก๊สแอลพีจี 44 สถานี และสถานีบริการแบบผสม 67 สถานี้ นอกจากการขยายจานวนสถานีบริการอย่างต่อเนื่องแล้ว พีทีจียังขยายการให้บริการธุรกิจนอนออยล์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้รอบด้านมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนของกำไรขั้นต้นของบริษัทจากธุรกิจนอนออยล์เป็น 60% ภายในปี 2565 ตามเป้าหมาย โดยปัจจุบันมีร้านกาแฟพันธุ์ไทยมีจำนวน 155 สาขา ร้าน Coffee World และแบรนด์อื่นๆ ภายใต้ GFA จำนวน 85 สาขา และร้านสะดวกซื้อ Max Mart จำนวน 123 สาขา นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้บริการซ่อมบารุงและซ่อมแซมสำหรับรถบรรทุก Pro Truck จำนวน 5 สาขา ศูนย์ให้บริการซ่อมบำรุงและซ่อมแซมสำหรับรถยนต์ Autobacs จำนวน 11 สาขา และร้านข้าวแกงครัวบ้านจิตร จำนวน 1 สาขา

 

 

 

 

 

EPG ย้ำปีนี้รายได้โต 15% ตามเป้า หลังไตรมาสแรกปี 61/62 (เม.ย.61 – มิ.ย.61) กำไรเพิ่ม 6% - ชี้จากนี้ไปธุรกิจ EPG โตต่อเนื่อง "รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์" บอสใหญ่ EPG ชี้ แนวโน้มธุรกิจต่อจากนี้ สร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาคุณภาพของสินค้าและเร่งขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศทุกช่องทาง


ด้าน รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) EPG ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 61/62 (เม.ย.61 – มิ.ย.61) บริษัทมีรายได้จากการขาย 2,623 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 2,382 ล้านบาท จำนวน 241 ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 10% ส่งผลให้ EPG มีกำไรสุทธิ 305 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 287 ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 6%โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 29% ซึ่งบริษัทสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

ทั้งนี้เป็นผลจาก 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ Aeroflex มียอดขายรวม 733 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดขายของบริษัทเติบโตจากตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หากไลน์การผลิตใหม่ใน สหรัฐอเมริกาสามารถเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตได้จะส่งผลให้กำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นตาม

 

ขณะที่ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeoroklas เติบโตได้ดี มียอดขายรวม 1,282 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากผลิตภัณฑ์ประเภท พื้นปูกระบะ (Bed Liner) หลังคาครอบกระบะ (Canopy) และบันไดข้างรถกระบะ (Sidestep) รวมถึงรายได้จากธุรกิจในต่างประเทศ ได้แก่ TJM Products Pty.Ltd และ Flexiglass Challenge Pty.Ltd ซึ่งเป็นช่องทางจัดจำหน่ายที่สำคัญของ แอร์โรคลาส ในประเทศออสเตรเลีย

 

 

สำหรับพื้นปูกระบะ (Bed Liner) นั้น แอร์โรคลาส เริ่มขยายตลาดไปต่างประเทศมากขึ้น ทั้งในประเทศมาเลเซีย และประเทศจีน นอกจากนี้ แอร์โรคลาส มีผลิตภัณฑ์ใหม่หลายชนิดที่จะทยอยสู่ตลาดได้แก่

 

1.ผลิตภัณฑ์บันไดข้างรถกระบะ (Side Step) ซึ่งออกแบบใหม่ให้กับบริษัทรถยนต์

2.ผลิตภัณฑ์เดิมของ แอร์โรคลาส แต่ออกรุ่นใหม่ๆ เพิ่มเติม

3. E-Z Up and down ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้การเปิดปิดท้ายรถกระบะง่ายขึ้นเมื่อเปิดจะไม่กระแทกและเมื่อปิดสามารถผ่อนแรง เป็นต้น

 

สำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP มียอดขายรวม 608 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดขายได้ปรับตัวขึ้นถึงแม้ว่าการบริโภคภายในประเทศยังเติบโตได้ช้ากว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม อีสเทิร์น โพลีแพค มีการลงทุนด้านเครื่องจักรอัตโนมัติความเร็วสูง มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ และได้รับการรับรองมาตรฐานความสะอาด ความปลอดภัยทางด้านอาหารจากองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก จึงได้นำจุดแข็งเหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องมือผลักดันธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย โดยภายในปีนี้จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ประมาณ 4 - 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์อาหาร (Food Packaging) แบบใหม่ๆ จำนวนมาก

 

“แนวโน้มธุรกิจของ EPG ในช่วงต่อจากนี้ คาดว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาคุณภาพของสินค้าและเร่งขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศทุกช่องทาง ซึ่งบริษัทฯ มีเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก และธุรกิจร่วมทุน หากธุรกิจในกลุ่มใดชะลอตัว ยังมีกลุ่มอื่นๆ ช่วยสนับสนุน ดังนั้น การเติบโตในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้มีรายได้เติบโตประมาณ 15%” รศ.ดร.เฉลียว กล่าว

 

 


บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า กำไรสุทธิ 1Q19 (เม.ย.-มิ.ย. 2018) ทำได้ 304.9 ล้านบาท เป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 31.3 ล้านบาทเพราะเงินบาทที่อ่อนค่า ตรงข้ามกับปีก่อนที่เงินบาทแข็งค่าตลอดทั้งปีทำให้บริษัทมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทุกไตรมาส หากตัดรายการดังกล่าวออก จะเป็นกำไรปกติ 273.7 ล้านบาท +0.3% Q-Q, -8.0% Y-Y ต่ำกว่าที่เราคาดเล็กน้อย แต่ภาพโดยรวมยังเป็นการฟื้นตัวทั้ง 3 ธุรกิจ ทั้งยอดขายของ Aeroklas - ชิ้นส่วนยานยนต์ (+8% Q-Q, +22% Y-Y) ซึ่งได้แรงหนุนจาก Flexiglass (ร้านขายสินค้าตกแต่งรถกระบะในออสเตรเลียที่ซื้อมาตั้งแต่ปลาย ม.ค. 2018) เข้ามาช่วยเต็มไตรมาส และ Aeroflex - ฉนวนยาง (+13% Q-Q, +1% Y-Y) รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ (+3% Q-Q, +1% Y-Y) ตามกำลังซื้อในต่างจังหวัดขณะที่ Gross margin ของ Aeroklas และ Aeroflex ปรับตัวดีขึ้น แต่ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกยังมี Gross margin ชะลอเป็น 17.9% จาก 19.3% ในไตรมาสก่อนและ 21.1% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพราะยังถูกกระทบจากการตัดราคาอยู่บ้าง ส่งผลให้ Gross margin โดยรวมยังฟื้นไม่เต็มที่จากไตรมาสก่อนที่ทำได้ 28.2% เป็น 28.8% ในไตรมาสนี้

 

แม้ว่ากำไรใน 1Q19 (เม.ย.-มิ.ย. 2018) จะคิดเป็นเพียง 22% ของประมาณการทั้งปีที่เราคาด 1,251 ล้านบาท +26.3% Y-Y แต่เนื่องจากไตรมาสแรกของบริษัทเป็น low season จึงเชื่อว่าประมาณการดังกล่าวยังมีความเป็นไปได้เพราะแนวโน้มธุรกิจที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง ราคาหุ้นปัจจุบันมี EV/EBITDA เพียง 14.9 เท่า PBV 2.3 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่เข้าตลาดฯที่ 17 เท่า ยังแนะนำซื้อ คงราคาเป้าหมาย 12 บาท ความเสี่ยง - ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การชะลอของเศรษฐกิจโลก การปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศที่ชะลอ

 

PTG     EPG

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้