Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews: BM ส่งสัญญาณล่วงหน้างบQ3/60 สวย- จ่อเคาะแผนร่วมมือพาสเนอร์ญี่ปุ่น CHO คาดตั้งระบบฯ E-Ticket 2,600 คันเสร็จ Q1/61 เร็วกว่ากำหนด

1,211

 


 
HotNews: BM ส่งสัญญาณล่วงหน้างบQ3/60 สวย- จ่อเคาะแผนร่วมมือพาสเนอร์ญี่ปุ่น 
 CHO คาดตั้งระบบฯ E-Ticket  2,600 คันเสร็จ Q1/61 เร็วกว่ากำหนด
 
 
 
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(  29 กันยายน  2560 ) --------BM  เผย 4 ต.ค.นี้ นัดประชุมร่วม FA-พาสเนอร์ญี่ปุ่น เพื่อหาแนวทางการลงทุนร่วมกันในเมียนมา คาดรายได้Q3/60โตกว่าQ2/60 หลังงัดแผนกระตุ้นยอดขาย-ออกผลิตภัณฑ์ใหม่หนุน  คาดรายได้ปี 61 โต 10-20% ตามภาวะเศรษฐกิจฟื้นหนุนกำลังซื้อขยายตัว   คาดตั้ง รง.ในเมียนมา  ต้นปี61 กำลังการผลิตเบื้องต้น 3-5พันตันต่อปี 
 CHO คาดตั้งระบบฯ E-Ticket  2,600 คันเสร็จ Q1/61 เร็วกว่ากำหนด    หนุนรายได้ปีหน้าโตอย่างมีนัยสำคัญ   พร้อมตุน Backlog 2.7 พันลบ. รอรับรู้รายได้เตรียมเซ็นรับงาน รถลำลียงอาหารให้การบินไทย มูลค่า 170 ลบ. เริ่มรับรู้รายได้ Q2/61  เตรียมเข้าประมูลงานทั้งใน-ตปท. มูลค่าราว 4.4 พันลบ.

  นายธีรวัต อมรธาตรี กรรมการผู้จัดการ บมจ.บางกอกชีทเม็ททัล (BM)  เปิดเผยว่า  ในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ บริษัทจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างที่ปรึกษาทางการเงิน(FA)  ได้แก่ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์  จำกัด หรือ APM รวมถึงพันธมิตรที่กำลังจะมีการลงทุนร่วมกัน คือพันธมิตรชาวญี่ปุ่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาแนวทางการลงทุนร่วมกัน  โดยเบื้องต้นพันธมิตรญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะเข้าถือหุ้น BM ในสัดส่วนมากกว่า 10% แต่ด้วยกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถให้ผู้ประกอบการชาวต่างชาติเข้าถือหุ้นได้เกินสัดส่วน 10% ของบริษัที่จดทะเบียน จึงทำให้บริษัทต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหากันต่อไป   แต่ในปัจจุบันนั้นทางบริษัทได้เตรียมหุ้นเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด (PP)ไว้เรียบร้อยแล้ว 10% หรือคิดเป็น 40 ล้านหุ้น    
 พร้อมกันนี้ทางพันธมิตรญี่ปุ่น ได้มีข้อเสนออีกกรณีคือการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา เพื่อจัดทำการร่วมทุนในบริษัทใหม่ดังกล่าว แต่  BM จะสามารถถือหุ้นได้เพียง 20% เท่านั้น ซึ่งหากมากกว่านั้นจะผิดกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ แต่พันธมิตรยังมีความต้องการให้ถือมากกว่าหรือในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน  ซึ่งในกรณีนี้ทางบริษัทอาจจะยังไม่มีมติหรือรายละเอียดแต่อย่างใด  แต่มั่นใจว่าภายในก่อนสิ้นปีนี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนทุกอย่างของการลงทุน เพื่อที่จะเริ่มดำเนินการธุรกิจได้ในปี 2561 อย่างเป็นทางการ โดยเบื้องต้นคาดช่วงเดือน มกราคม 2561 จะเริ่มแผนได้ทันทีทั้งในแง่ของการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่และสัดส่วนการลงทุนทุกกรณีของการลงทุนร่วมกัน   ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานั้นทางบริษัทก็ได้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันบ้างแล้ว ซึ่งทำให้ฐานลูกค้าทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นรวมถึงมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นมาซึ่งได้ผ่านมาทดสอบมาเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะจัดจำหน่ายได้ทันที   
  " เดิมทีเขาขอซื้อPPเรา 10% ซึ่งทางเราได้เตรียมไว้ให้แล้ว แต่ในระยะต่อมา หลังจากการทำธุรกิจร่วมกันบ้างแล้วพบว่าธุรกิจมีการเติบโตได้อย่างดี เขาจึงสนใจที่จะเข้าถือในสัดส่วน 20% แต่ผิดกฎตลาดฯ ที่ห้ามให้ผู้ประกอบการต่างชาติถือเกินสัดส่วน 10% ซึ่งพาสเนอร์ชาวญี่ปุ่นบอกเราว่า เรามาไกลมากแล้ว ยังไงก็อยากมีการลงทุนร่วมกันกับBM โดยข้อสรุปการหาแนวทางนั้นจะมีการประชุมในวันที่ 4 ต.ค.60 นี้ ซึ่งจะมีFAเข้าหารือด้วย  และเราจะมีการแถลงข่าวต่อไปหากมีความคืบหน้า  " นายธีรวัต กล่าว 
 สำหรับแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 3/20 ในเชิงของยอดขายนั้นเชื่อว่าจะสามารถเติบโตได้ เป็นตัวเลข 2 หลัก เมื่อเทียบกับยอดขายช่วงไตรมาส 2/2560  ซึ่งถือว่าน่าพอใจ ถึงแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมานั้นอาจจะชะลอตัวและมีกำลังซื้อที่อ่อนตัว รวมไปจนถึงการแข่งขันที่อยู่ในระดับสูง แต่บริษัทยังสามารถสร้างการเติบโตได้ โดยมีกลยุทธ์กระตุ้นยอดขายจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หวังมาตอบสนองลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลปรากฎว่าลูกค้าให้ผลตอบรับเป็อย่างดี ขณะเดียวกันยังสามารถควบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เป็นอย่างดีถึงแม้ว่าราคาวัตถุดิบจะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม 
 ขณะที่ บริษัทคาดรายได้ปี 61 จะสามารถเติบโตราว 10-20% จากปีนี้ที่มั่นใจว่ารายได้จะเติบโตได้ตามเป้า 10% โดยปี59 ที่มีรายได้ 850.86   ล้านบาท  เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว อีกทั้งบริษัทยังมีฐานลูกค้าใหม่เพิ่มรวมถึงสินค้ารูปแบบใหม่ และยังมีกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย 
  " เป้าหมาย 10-20% เราได้ตั้งมาตั้งแต่ปีก่อน แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่มีสะดุดในบางเดือน จึงทำให้ยอดขายหายไป แต่เชื่อว่าในปีหน้าภาพรวมเศรษฐกิจจะไม่มีการสะดุดแต่อย่างใด ซึ่งการเติบโต 10-20% นั้นจะเป็นการเติบโตจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทเพียงอย่างเดียว ซึ่งยังไม่รวมการจับมือกับพาสเนอร์ชาวญี่ปุ่นแต่อย่างใด " นายธีรวัต กล่าว 
 นายธีรวัต กล่าวถึงแผนก่อตั้งโรงงานในประเทศเมียนมาร์ ร่วมกับพาสเนอร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ช่วงต้นปี 2561 โดยมีกำลังการผลิตเบื้องต้นราว 3,000-5,000 ตันต่อปี ซึ่งจะทำให้สัดส่วนรายได้ต่างประเทศของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในส่วนของงบลงทุนนั้นยังไม่สามารถระบุได้ ซึ่งต้องรอการสรุปแผนการลงทุนทั้งหมดหลังจากช่วง วันที่ 4 ต.ค.60 ก่อน   
  "เดิมทีการขายสินค้าในต่างประเทศนั้น เราจะเป็นการขายสินค้าให้แก่ดีลเลอร์เพื่อนำสินค้าเราไปขายต่อ จึงทำให้สัดส่วนยอดขายต่างประเทศเรายังน้อย แต่เมื่อหากก่อตั้งโรงงานในเมียนมาร์แล้ว เราจะเป็นการขายสินค้าโดยตรงให้แก่ลูกค้าต่างประเทศผ่านการขายด้วยตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าจะได้มาร์จิ้นสินค้าที่ดีขึ้น และสะดวกในการขนส่งมากขึ้น  โดยโรงงานดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตเบื้องต้นราว 3000-5000 ตันต่อปี" นายธีรวัต กล่าว  


 นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด  (มหาชน) หรือ CHO  เปิดเผยว่าบริษัทประเมินรายได้ในปี61จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ(Backlog)อยู่ราว 2.7 พันล้านบาท ซึ่งจะรับในปีนี้ราว 800 -900 ล้านบาท และในส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้ในปีถัดไป ประกอบกับบริษัทได้รับงานงานสัญญาเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-Ticket)  จํานวน 2,600 คัน จากทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  มูลค่าโครงการ 1,665 ล้านบาทนั้น บริษัทจะสามารถรับรู้เป็นรายได้ราว 300 ล้านบาทต่อปี โดยจะเริ่มรับรู้รายได้ค่าเช่าตั้งแต่ไตรมาส 2/2561เป็นต้นไป ระยะเวลา 5 ปี  
 ขณะที่บริษัทมีแผนขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ภายในปีหน้า(61) โดยบริษัทประเมินว่าในเบื้องต้นจะเข้าไปเจรจราก่อน 6 ราย ซึ่งจะนำสินค้าประเภทรถลำเรียงอาหารในสนามบิน เข้าแข่งขันในตลาด โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างทำการสำรวจรวมถึงเจรจากับสถานฑูต เพื่อต้องการทำธุรกิจ  
   สำหรับรายได้ในปีนี้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือจะเติบโตเพิ่มขึ้น 10%จากปีก่อนที่มีรายได้  1.07 พันล้านบาท   และคาดปีนี้บริษัทจะสามารถพลิกมามีกำไรได้จากปีก่อนที่ขาดทุนราว 91 ล้านบาท โดยปัจจัยที่สนับสนุนมาจากการเติบโตของธุรกิจและมูลค่างานที่มีอยู่ในมือ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถล้างขาดทุนสะสมที่เหลือราว 55 ล้านบาท ได้ทั้งหมด โดยจะนำกำไรจาการดำเนินงานมาล้างขาดทุนสะสม 
  นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมเซ็นสัญญารับงานรถลำเลียงของการบินไทยมูลค่า 170 ล้านบาท จำนวน 21 คัน ซึ่งจะเริ่มส่งมอบรถดังกล่าวได้ในไตรมาส 2/61 และจะรับรู้รายได้ทันทีหลังจากส่งมอบงานดังกล่าว 
 พร้อมกันนี้บริษัทยังเตรียมประมูลงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันบริษัทเตรียมเข้าประมูลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มูลค่าราว 4.4 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นงานประมูลรถเมล์เอ็นจีวี(NGV)ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ราว 4 พันล้านบาท จำนวน 489 คัน ที่จะเปิดซองประมูลในเดือนตุลาคมปีนี้และคาดว่าจะได้ข้อสรุปได้ภายในปีนี้,งานซ่อมบำรุงในกองทัพบก 300 ล้านบาทซึ่งปัจจุบันต้องรองบประมาณปี 61จากทางภาครัฐก่อนถึงจะได้ความชัดเจน และอีกราว 100 ล้านบาทเป็นงานอื่นๆจากต่างประเทศ
 นายสุรเดช   กล่าวเพิ่มเติมว่าบริษัท ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องอ่านบัตร e-Ticket ในรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  ไปแล้วจำนวน 200 คัน และจะทยอยติดตั้งจนครบ 800 คันภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 เพื่อรองรับการใช้งานบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลัง และสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มสวัสดิการในเรื่องของการลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน
 ส่วนเครื่องเก็บเงินสดค่าโดยสารหรือ Cash box  ล็อตแรกจำนวน 100 คัน บริษัทฯ จะทยอยติดตั้งและส่งมอบตาม TOR ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2560 นี้ และส่งมอบงานล็อตที่สองจำนวน 700 คัน ภายใน 13 ธันวาคม 2560 และล็อตที่ 3 จำนวน 1,800 คัน ภายใน 10 มิถุนายน 2561
 “ขณะเดียวกัน ตาม TOR นั้น การติดตั้งระบบ E-Ticket ทั้งหมดต้องเสร็จภายใน 10 มิถุนายน 2561  แต่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายทยอยติดตั้งจนครบ 2,600 คัน ภายในเดือนมีนาคม 2561 หรือไตรมาส 1/2561 เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางมากขึ้น  และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากยิ่งขึ้น โดย CHO จะเริ่มรับรู้รายได้ค่าเช่าตั้งแต่ไตรมาส 2/2561เป็นต้นไป ระยะเวลา 5 ปี”  นายสุรเดช กล่าว
 ทั้งนี้ ระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-Ticket)  เป็นไปตามแผนงานในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าโดยสาร ควบคู่กับการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามแผนฟื้นฟูกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรองรับกับการให้บริการบัตรสวัสดิการของกระทรวงการคลัง  ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะมีรถโดยสารของขสมก. ที่พร้อมอ่านบัตร E-Ticket โดยจะติดสติ๊กเกอร์สีเขียวข้อความ “รถคันนี้ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ” จำนวน 200 คัน  และอีก 600 คัน จะใช้เป็นสมาร์ทโฟน  ที่ถือโดยพนักงาน  เพื่อเก็บค่าโดยสารด้วยวิธีการอ่านบัตรเช่นเดียวกับเครื่องอ่านบัตรไปก่อน ระหว่างรอการทยอยติดตั้งเครื่องอ่านบัตรล็อตแรกนี้ 
 และในช่วงระยะ 2 ปีแรก ขสมก. ยังคงให้พนักงานเก็บค่าโดยสารปฏิบัติหน้าที่บนรถ  เพื่อแนะนำการใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้โดยสาร  และในช่วงปีต่อไปจะมีการปรับลดจำนวนลง  โดย      ขสมก. มีโครงการปรับเปลี่ยนหน้าที่เป็นพนักงานขับรถโดยสาร  หรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง อื่น  ซึ่งพิจารณาจากความรู้ความสามารถของพนักงานโดยไม่มีการให้ออกจากงานแต่อย่างใด 

 
----จบ---

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้