Today’s NEWS FEED

News Feed

AIS และ True ชนะประมูลคลื่นเดิมที่เช่าจาก NT

154

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 11 กรกฎาคม 2568 )----- การประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2025 AIS และ True ต่างชนะการประมูลคลื่นความถี่เดิมที่เช่าจาก NT ทำให้สามารถคงคุณภาพการให้บริการในปัจจุบัน โดย กสทช. ได้จัดประมูลคลื่นความถี่ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในปีนี้ ได้แก่ 850 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz และ 1500 MHz ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 2 ราย คือ 1) True ที่ได้รับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ขนาด 70 MHz ซึ่งเดิมเช่าจาก NT และคลื่นความถี่ 1500 MHz ขนาด 20 MHz และ 2) AIS ซึ่งชนะการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz ขนาด 30 MHz ที่เดิมเช่าใช้จาก NT โดยผลการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้ ทำให้ผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย สามารถคงคุณภาพการให้บริการในปัจจุบัน โดยเปลี่ยนจากการเช่า NT มาเป็นการถือครองสัมปทานโดยตรง


การเปลี่ยนจากเช่ามาถือครองสัมปทาน จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว และเพิ่มโอกาสลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ
การได้รับสัมปทานคลื่นความถี่ในครั้งนี้ ผู้ให้บริการจะสามารถลดภาระต้นทุนคลื่นความถี่จากการชำระค่าเช่ารายปีที่สูงถึง 3,900-4,500 ล้านบาทต่อปี เป็นค่าใบอนุญาตตลอดอายุ 15 ปีเฉลี่ยที่ 990-1,700 ล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับราคาที่ชนะการประมูล ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการลงทุนเพื่อยกระดับการบริการตามแผนของผู้ให้บริการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพโครงข่ายเดิม อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยี AI บนโครงข่ายอัจฉริยะ การขยายโครงข่าย 5G-Advanced ที่ช่วยให้การใช้งานมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาบริการดิจิทัลในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีโลกเสมือน (AR/VR) และอุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 6G ในระยะข้างหน้า


ผู้บริโภคอาจเสียโอกาสรับบริการที่ดีกว่า และรายได้ประมูลที่ไม่สูงอาจกระทบแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคอาจเสียโอกาสในการได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากคลื่นความถี่ที่ไม่มีผู้ประมูล ขณะที่รายได้จากราคาประมูลที่ไม่สูงมากอาจกระทบต่อแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ การที่คลื่นความถี่ 850 MHz และ 1500 MHz บางส่วนยังไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้อาจทำให้ผู้บริโภคเสียโอกาสจากการได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นผ่านคุณสมบัติเฉพาะของย่านคลื่นความถี่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นบนโครงข่าย 5G และการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลที่มีความเสถียรมากขึ้น นอกจากนี้ รายได้ที่นำเข้ารัฐจากราคาประมูลที่ไม่สูงมากนักอาจกระทบต่อแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ เนื่องจากรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ถือเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ


นโยบายรัฐที่ส่งเสริมการแข่งขันช่วยให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ และหนุนการพัฒนาเทคโนโลยีระยะยาว
โครงสร้างตลาดโทรคมนาคมของไทยในปัจจุบันที่มีผู้ให้บริการหลักเพียง 2 ราย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จำกัดและการแข่งขันด้านราคามีความเข้มข้นลดลง ดังนั้น การออกแบบนโยบายที่ช่วยเพิ่มกลไกการแข่งขันในตลาด จึงเป็นความท้าทายสำคัญของภาครัฐ อาทิ 1) การสนับสนุนผู้ให้บริการแบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) ให้มีโอกาสเข้ามาแข่งขันในตลาดมากขึ้น 2) การกำกับดูแลด้านราคาและคุณภาพบริการที่เป็นธรรม อาทิ การกำหนดแพ็กเกจการบริการขั้นต่ำทั้งด้านราคา ปริมาณการใช้งาน และความเร็ว ให้สอดคล้องกับต้นทุนของผู้ให้บริการและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการได้รับ และ 3) การทบทวนย่านคลื่นความถี่ ปริมาณ และราคาขั้นต่ำในการจัดสรรคลื่นความถี่ในครั้งต่อไปให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด แผนพัฒนาโครงข่ายของผู้ให้บริการ และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

บิ๊กแคป ป๋าดัน By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ หุ้นไทยวันศุกร์ มีความสดใส ตามเซนติเมนต์หุ้นนอก ผสานหุ้นใหญ่บิ๊กแคป ....

เลือกตัวเล่น By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง วันนี้ นักลงทุน คงเลือกตัวเล่น ตัวหุ้นที่จะเข้าไปเก็งกำไร ตลาดหุ้นรอบนี้ ต้องกล้าเสี่ยง....

มัลติมีเดีย

CRD ครึ่งปีหลัง68 เร่งเครื่องสร้างผลงาน ชูBacklog กว่า700 ลบ. #งานmaiforum2025

CRD ครึ่งปีหลัง68 เร่งเครื่องสร้างผลงาน ชูBacklog กว่า700 ลบ. #งานmaiforum2025

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้