สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(8 กรกฎาคม 2568)--------• ธุรกิจ SMEs ของไทย ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1 ใน 3 หรือประมาณ 35% ของ GDP กำลังเผชิญหลายปัจจัยกดดัน โดยเฉพาะผลของสงครามการค้ารอบใหม่ และการแข่งขันกับสินค้านำเข้า ท่ามกลางตลาดในประเทศที่เติบโตต่ำ ส่งผลให้ยังเสี่ยงขาดทุนหรือปิดตัวต่อ จากที่ก่อนหน้านี้ ถูกกระทบจากปัญหาโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ทำให้มีการปิดตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7% ต่อปี
• ธุรกิจ SMEs ที่ยังคงยากลำบากในการแข่งขัน และเสี่ยงขาดทุน/ปิดกิจการต่อ ได้แก่ ก่อสร้าง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงภาคการผลิตอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก
• นอกจากความสำคัญของการรักษายอดขายและอัตรากำไร (Bottom line) ของธุรกิจแล้ว SMEs ต้องไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาและหาโอกาสให้เจออยู่เสมอท่ามกลางโจทย์ที่นับวันจะยากขึ้น ๆ
-------------
ธุรกิจ SMEs มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร?
ธุรกิจ SMEs เป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคการผลิต การค้า และการบริการ รวมถึงมีความเชื่อมโยงทางซัพพลายเชนกับธุรกิจขนาดใหญ่
ธุรกิจ SMEs ของไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 6.5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 35% ของ GDP และเป็นแหล่งการจ้างงานกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมด (รูปที่ 1) โดยผู้ประกอบการไทยกว่า 3.2 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งหมด เป็น SMEs ที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น SMEs จึงมีบทบาทสำคัญในการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด
แม้ธุรกิจ SMEs จะมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย แต่เป็นแรงขับเคลื่อน GDP เพียง 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น
1. ผลิตภาพและมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการต่ำ โดยธุรกิจ SMEs ในภาคการค้าและบริการของไทยที่พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก ยังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดซัพพลายเชน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุนและการตั้งราคาได้ดีกว่า รวมถึงช่องทางการทำตลาด/การเข้าถึงลูกค้าหลากหลายกว่า
ขณะที่ ธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิต ก็มีบทบาทเป็นเพียง Subcontractors หรือ Distributors ของธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้การมีส่วนร่วมและการสร้างมูลค่าเพิ่มใน Global supply chain น้อย สะท้อนจากธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิตของไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกอยู่เพียง 7% ของการส่งออกรวมในภาคการผลิตทั้งหมด
2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำได้จำกัด ถึงแม้ไทยจะมีธุรกิจที่เป็น SMEs จำนวนมาก หรือคิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมด แต่ด้วยสายป่านสั้น ความยืดหยุ่นในการปรับตัวมีจำกัด และกว่า 70% อยู่นอกระบบและเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ดังนั้น เมื่อเผชิญกับปัญหาหรือปัจจัยกดดันต่าง ๆ จึงทำให้ความสามารถในการแข่งขันหรือทำกำไรของ SMEs มีความเสี่ยง และส่งผลต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สะท้อนจากการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs คิดเป็นเพียง 1 ใน 5 ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความอยู่รอดยังน้อย เนื่องจากธุรกิจ SMEs มีข้อจำกัดทางด้านเงินทุน องค์ความรู้ และแรงงานทักษะสูงมีอยู่น้อย สะท้อนจากกว่า 70% ของธุรกิจ SMEs ไทย ยังคงใช้เทคโนโลยีในระดับ 2.0 (เช่น การสั่งซื้อออนไลน์ ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์) ทำให้เสียเปรียบจากการแข่งขันทั้งในประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงการแข่งขันกับต่างประเทศยังทำได้ยาก
ปัญหาเชิงโครงสร้างข้างต้น ส่งผลให้สัดส่วนการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของ SMEs ไทยยังอยู่ในระดับต่ำ และกระทบต่อประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในเวทีภูมิภาคให้ยังเป็นรองคู่แข่งสำคัญในอาเซียน
สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ SMEs เป็นอย่างไร?
ธุรกิจ SMEs ของไทยมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น จากปัจจัยท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ต้นทุนการดำเนินธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันรุนแรงต่อเนื่องกับสินค้านำเข้าและแพลตฟอร์ม E-commerce ต่างชาติ ส่งผลกดดันต่อการสร้างรายได้และการรักษาอัตรากำไรของธุรกิจ
สะท้อนจากในช่วงปี 2563-2566 แม้ผู้ประกอบการ SMEs บางส่วนยังสามารถประคองและรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ได้ แต่ก็มี SMEs ขนาดเล็กและรายย่อยอีกกว่า 26% ที่ต้องเผชิญภาวะผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน (รูปที่ 3) สอดรับไปกับจำนวนการปิดกิจการที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 มีธุรกิจที่ทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 100 ล้านบาท ปิดกิจการอยู่ที่ 23,551 ราย หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% (CAGR ปี 2564-2567)
ธุรกิจ SMEs เป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคการผลิต การค้า และการบริการ รวมถึงมีความเชื่อมโยงทางซัพพลายเชนกับธุรกิจขนาดใหญ่
ธุรกิจ SMEs ของไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 6.5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 35% ของ GDP และเป็นแหล่งการจ้างงานกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมด โดยผู้ประกอบการไทยกว่า 3.2 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งหมด เป็น SMEs ที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น SMEs จึงมีบทบาทสำคัญในการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด
แม้ธุรกิจ SMEs จะมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย แต่เป็นแรงขับเคลื่อน GDP เพียง 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น
1. ผลิตภาพและมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการต่ำ โดยธุรกิจ SMEs ในภาคการค้าและบริการของไทยที่พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก ยังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดซัพพลายเชน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุนและการตั้งราคาได้ดีกว่า รวมถึงช่องทางการทำตลาด/การเข้าถึงลูกค้าหลากหลายกว่า
ขณะที่ ธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิต ก็มีบทบาทเป็นเพียง Subcontractors หรือ Distributors ของธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้การมีส่วนร่วมและการสร้างมูลค่าเพิ่มใน Global supply chain น้อย สะท้อนจากธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิตของไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกอยู่เพียง 7% ของการส่งออกรวมในภาคการผลิตทั้งหมด
2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำได้จำกัด ถึงแม้ไทยจะมีธุรกิจที่เป็น SMEs จำนวนมาก หรือคิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมด แต่ด้วยสายป่านสั้น ความยืดหยุ่นในการปรับตัวมีจำกัด และกว่า 70% อยู่นอกระบบและเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ดังนั้น เมื่อเผชิญกับปัญหาหรือปัจจัยกดดันต่าง ๆ จึงทำให้ความสามารถในการแข่งขันหรือทำกำไรของ SMEs มีความเสี่ยง และส่งผลต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สะท้อนจากการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs คิดเป็นเพียง 1 ใน 5 ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความอยู่รอดยังน้อย เนื่องจากธุรกิจ SMEs มีข้อจำกัดทางด้านเงินทุน องค์ความรู้ และแรงงานทักษะสูงมีอยู่น้อย สะท้อนจากกว่า 70% ของธุรกิจ SMEs ไทย ยังคงใช้เทคโนโลยีในระดับ 2.0 (เช่น การสั่งซื้อออนไลน์ ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์) ทำให้เสียเปรียบจากการแข่งขันทั้งในประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงการแข่งขันกับต่างประเทศยังทำได้ยาก
ปัญหาเชิงโครงสร้างข้างต้น ส่งผลให้สัดส่วนการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของ SMEs ไทยยังอยู่ในระดับต่ำ และกระทบต่อประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในเวทีภูมิภาคให้ยังเป็นรองคู่แข่งสำคัญในอาเซียน
ธุรกิจ SMEs ของไทยมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น จากปัจจัยท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ต้นทุนการดำเนินธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันรุนแรงต่อเนื่องกับสินค้านำเข้าและแพลตฟอร์ม E-commerce ต่างชาติ ส่งผลกดดันต่อการสร้างรายได้และการรักษาอัตรากำไรของธุรกิจ
สะท้อนจากในช่วงปี 2563-2566 แม้ผู้ประกอบการ SMEs บางส่วนยังสามารถประคองและรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ได้ แต่ก็มี SMEs ขนาดเล็กและรายย่อยอีกกว่า 26% ที่ต้องเผชิญภาวะผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน สอดรับไปกับจำนวนการปิดกิจการที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 มีธุรกิจที่ทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 100 ล้านบาท ปิดกิจการอยู่ที่ 23,551 ราย หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% (CAGR ปี 2564-2567)
ขณะเดียวกัน แม้ว่าในแต่ละปีจะมีธุรกิจ SMEs ที่จัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% เช่นกัน (CAGR ปี 2564-2567) แต่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่รอดในช่วงหลัง Early stage หรืออยู่รอดหลังจัดตั้งกิจการไปแล้ว 3 ปี กลับมีทิศทางลดลง (รูปที่ 5) สะท้อนว่า ในภาวะการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน ผู้ประกอบการที่เริ่มทำธุรกิจใหม่มีแนวโน้มอยู่รอดยากขึ้น เนื่องจากยังไม่มีฐานลูกค้าประจำ และขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ปัจจัยแวดล้อมและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
ธุรกิจ SMEs เสี่ยงขาดทุน/ปิดกิจการต่อ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจ SMEs ยังมีแนวโน้มขาดทุนหรือปิดกิจการต่อในแทบทุกอุตสาหกรรม แต่คาดว่าเป็นทิศที่ชะลอลง เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการปิดไปพอสมควรแล้ว
ภาคการผลิต นอกจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกแล้ว ผลจากสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง เป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมตลาดส่งออก ทั้งนี้ ปัจจุบัน SMEs ในภาคการผลิตของไทยมีมูลค่าส่งออกไปยังสหรัฐฯ 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 7% ของมูลค่าส่งออกในภาคการผลิตทั้งหมดของไทยไปยังสหรัฐฯ
ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ โดยมีความเสี่ยงส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้น้อยลง จากทั้งอัตราภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) และสินค้าเฉพาะภายใต้มาตรา 232 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ Global supply chain สะท้อนจากธุรกิจเหล่านี้มีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สูง และมีสัดส่วนพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ มากกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล่านี้ของธุรกิจ SMEs ไปยังโลก (รูปที่ 6) แม้ยังไม่แน่ชัดว่าท้ายที่สุด ไทยจะโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เท่าใด แต่ภาษีจะเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ และจะยิ่งกระทบมากขึ้นหากไทยโดนภาษีในอัตราที่สูงกว่าคู่แข่ง
ขณะเดียวกัน ตลาดในประเทศยังต้องเผชิญการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นกับสินค้านำเข้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ อาทิ ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ รวมถึงธุรกิจการเกษตร หากไทยต้องเปิดตลาดให้กับสหรัฐฯ มากขึ้น ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตและความสามารถในการแข่งขันที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น สวนทางกับดัชนีภาคการผลิตที่ยังมีแนวโน้มหดตัว โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลังที่ผลจากสงครามการค้ารอบใหม่มีความชัดเจนมากขึ้น (รูปที่ 7)
นอกจากนี้ ยังไม่นับรวมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ SMEs อีกจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจส่งออกรายใหญ่ ซึ่งมีความเสี่ยงจากผลของสงครามการค้า เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง สภาวะการณ์ดังกล่าวจึงอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังยอดคำสั่งซื้อของ SMEs ภายในห่วงโซ่การผลิตให้ลดลงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในจังหวะที่ผู้ประกอบการใหญ่ระมัดระวังการลงทุน
ภาคการค้าและบริการ ที่มีสัดส่วนผู้ประกอบการ SMEs มากกว่า 80% อีกทั้งพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก (รูปที่ 8) ยังถูกกดดันจากกำลังซื้อในประเทศลดลง ตามภาวะค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น และแรงงานเสี่ยงถูกกระทบการปิดตัวของโรงงานหรือกิจการ ทำให้ผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย อีกทั้งยังมีประเด็นการเมือง ตลอดจน SMEs ต้องแข่งขันกับรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบในการบริหารจัดการต้นทุนที่ผันผวน
ขณะที่ ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของภาคการค้าและบริการ และมีการใช้จ่ายไปยังสินค้าอุปโภคบริโภคคิดเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด ก็คาดหวังได้น้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ เช่น แผ่นดินไหว ข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ความไม่สงบในหลายพื้นที่ของโลก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มหดตัว ประกอบกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป โดยมีการลดสัดส่วนการช้อปปิ้งลงกว่าในอดีต กระทบต่อยอดขายในบางธุรกิจของ SMEs ที่พึ่งพากำลังซื้อของลูกค้ากลุ่มนี้
ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหลัก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ขนส่งสินค้า/คน ร้านค้าปลีกอินเทอร์เน็ต และร้านค้าปลีกสินค้าทั่วไป สะท้อนจากตัวเลขการปิดกิจการของธุรกิจเหล่านี้ ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 9) และคาดว่าจะยังปิดเพิ่มขึ้นจากความไม่สมดุลของผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากเมื่อเทียบกับอุปสงค์ที่มีแนวโน้มชะลอลง ทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ายังรุนแรง
ผลกระทบต่อการจ้างงานของธุรกิจ SMEs
นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ SMEs แล้ว การขาดทุน/ปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อเนื่องมายังการจ้างงาน แม้การจ้างงานสุทธิของธุรกิจ SMEs ยังเป็นบวก จากจำนวนธุรกิจที่เปิดใหม่ยังมากกว่าธุรกิจที่ปิดกิจการ แต่ตัวเลขอัตราการเติบโตกลับลดลงในช่วงปี 2565-2567
สะท้อนว่า ไปข้างหน้าจำนวนธุรกิจที่เปิดใหม่อาจสามารถดูดซับแรงงานในตลาดได้น้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะภาคการค้าและการผลิตที่มีอัตราการเติบโตของการจ้างงานเฉลี่ยต่อปีเพียง 2.1% และ 0.7% ชะลอลงจากในช่วงปี 2562-2564 ที่เคยโต 3.4% และ 2.0% (รูปที่ 10) สอดคล้องไปกับการจ้างงานในภาพรวม ณ ไตรมาสแรกปี 2568 ของภาคการค้าและการผลิตที่หดตัว -3.1% และ -0.5% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ท้ายที่สุดแล้ว โจทย์ข้างหน้าที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ทำให้เสี่ยงที่มูลค่าทางเศรษฐกิจของ SMEs จะไม่เพิ่มขึ้นและอาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่
อย่างไรก็ตาม ด้วยความหลากหลายของ SMEs ทั้งในแง่จำนวน ประเภทกิจการ และเงื่อนไขทางธุรกิจที่ต่างกัน ทำให้คงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวของความอยู่รอด
สิ่งที่ SMEs ต้องทำคือ การปรับตัว และการพึ่งพาตนเองให้ได้ในทุกสถานการณ์ ซึ่งความสามารถในการทำกำไร (Bottom line) ยอดขายและสภาพคล่องของธุรกิจ เป็นเรื่องที่สำคัญ ขณะเดียวกัน การไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนา มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และพยายามหาโอกาสท่ามกลางวิกฤตอยู่เสมอ ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่อง