Today’s NEWS FEED

News Feed

เคทีซีแนะ 4 วิธีไม่เป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ตรวจสอบข้อมูลทุกครั้ง โอนอย่างมีสติ สอบถามก่อนคลิก อย่าตื่นตระหนก

73

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (19 พฤษภาคม )-------ในยุคที่การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกรวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ความเสี่ยงที่มาพร้อมความสะดวกนั้นก็เพิ่มสูงขึ้นไม่แพ้กัน "ภัยไซเบอร์" หรือการหลอกลวงผ่านช่องทางดิจิทัล กลายเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่คนไทยต้องเผชิญทุกวันไม่เว้นแม้กระทั่งเด็ก เยาวชน คนทำงาน และผู้สูงอายุ ที่ล้วนตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพที่พัฒนากลโกงหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง


นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิต ผู้บริหารสูงสุดสายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เคทีซี ในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลสมาชิกเป็นสำคัญ พร้อมระบุว่ากลโกงในปัจจุบันไม่ได้อาศัยเพียงเทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้น แต่ใช้อารมณ์ของเหยื่อเป็นเครื่องมือสำคัญโดยกลโกงที่พบบ่อย ได้แก่

    เว็บไซต์ปลอม (Phishing): หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น บัญชีธนาคาร รหัส OTP (One Time Password) หรือข้อมูลบัตรเครดิต โดยอ้างว่าเป็นหน่วยงานรัฐ ธนาคาร หรือแพลตฟอร์มยอดนิยม
    ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่: โทรมาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐ แจ้งบัญชีผิดปกติ หรือ มีปัญหา พร้อมเร่งให้โอนเงินเพื่อเคลียร์ปัญหา
    ลิงก์หลอกให้โอน: ส่งข้อความแจ้งปัญหาให้ผู้เสียหายกดลิงก์เข้าไปแก้ไข แต่กลายเป็นการกรอกข้อมูลให้มิจฉาชีพไปใช้ต่อ

ยกตัวอย่าง เคสผู้สูงอายุได้รับข้อความมีพัสดุตกค้าง และต้องกดลิงก์เพื่อตรวจสอบจากนั้นถูกหลอกให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต และรหัส OTP เพียงไม่กี่นาทีเงินในบัญชีถูกดูดออกไปทันทีเกือบ 50,000 บาท
นายไรวินทร์ ย้ำว่า ปัจจุบันรหัส OTP นอกจากตัวเลข 6 หลักแล้วยังมีรายละเอียดอื่นๆเช่น การบอกที่มาว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไร เรียกเก็บจากร้านค้าที่ไหน และราคาเท่าไหร่ ดังนั้นอยากให้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องก่อนกรอกรหัส OTP ทุกครั้ง และหากพบข้อความหรือรายการที่น่าสงสัยไม่ควรรีบโอนเงินหรือกดลิงก์ใดๆ และติดต่อกลับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันทีเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน
อีกกรณีที่พบคือ ผู้ใช้งานรายหนึ่งทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ไม่รู้จัก ปลายทางส่งลิงก์อ้างว่าเป็นสลิปโอนเงิน เมื่อกดลิงก์กลับเป็นเว็บไซต์ปลอมที่หลอกขอข้อมูลบัญชีทำให้เงินหายไปกว่า100,000 บาทภายในไม่กี่นาที ดังนั้นสิ่งที่อยากเน้นย้ำและแนะนำให้ทุกคนปฏิบัติตาม 4 วิธีดังนี้

    อย่ากรอกข้อมูลใดๆ ผ่านลิงก์ที่ส่งมาทาง SMS หรือ LINE
    หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ที่แนบมาในข้อความหรือทางแชทโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจหรืออ้างเป็นธนาคาร หน่วยงานราชการ เพราะอาจนำไปสู่การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน


    ตรวจสอบชื่อบัญชีปลายทางก่อนโอนเสมอ
    ทุกครั้งที่ทำการโอนเงิน ควรตรวจสอบชื่อบัญชีปลายทางว่าตรงกับหน่วยงาน หรือ บุคคลที่เชื่อถือได้หรือไม่ หากชื่อแปลก ไม่คุ้น ต้องหยุดและพิจารณาทันทีก่อนกดโอน


    โทรหาหน่วยงานโดยตรงเพื่อยืนยันข้อมูล
    หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัญชีหรือการทำธุรกรรม อย่าตอบกลับหรือโทรกลับเบอร์โทรศัพท์ที่ผู้หลอกส่งมา แต่ให้ติดต่อสถาบันการเงินหรือหน่วยงานต้นทางโดยตรงเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง


    อย่าตื่นตระหนก อย่าทำอะไรเร็วเกินไป
    ความเร่งรีบและความตกใจเป็นจุดอ่อนที่มิจฉาชีพใช้เป็นเครื่องมือ ดังนั้นต้องตั้งสติ และตรวจสอบก่อนตัดสินใจอย่างสม่ำเสมอ

การรู้เท่าทัน และมีสติทุกครั้งในการทำธุรกรรมถือเป็นเกราะชั้นแรกที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากกลโกงของมิจฉาชีพ เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพไม่ได้ใช้เทคโนโลยีหลอกลวงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอาศัยความเร่งรีบ และความกลัวของเหยื่อเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงด้วย ดังนั้นการมีสติอยู่กับตัวเสมอ คิดให้รอบคอบ และตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนดำเนินการทุกครั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ


"อย่าให้เพียงเสี้ยววินาทีของความใจร้อน กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหายที่ต้องใช้เวลานับเดือนในการแก้ไข"หากพบข้อสงสัยเกี่ยวกับบัตรเครดิตเคทีซี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีสามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก "เคทีซี ทัช" ทุกสาขาทั่วประเทศ  หมายเหตุ : บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ขุดหุ้น มาเก็งกำไร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย เช้าวันนี้ ปรับตัวลดลง ตามตลาดต่างประเทศ ด้วยมูดี้ส์.....

LEO จับมือพันธมิตรจีน พัฒนาระบบโลจิสติกส์ส่งออกทุเรียนไทย

LEO จับมือพันธมิตรจีน พัฒนาระบบโลจิสติกส์ส่งออกทุเรียนไทย

SNNP รับประกาศนียบัตรรับรองจาก CAC ครั้งแรก ตอกย้ำองค์กรโปร่งใส

SNNP รับประกาศนียบัตรรับรองจาก CAC ครั้งแรก ตอกย้ำองค์กรโปร่งใส

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้