Today’s NEWS FEED

News Feed

BAY คาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.90-33.70 ผันผวนตามทองคำ

127

 

 


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(21 เมษายน 2568)---------กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.90-33.70 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 33.44 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 33.10-33.47 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 เดือนตามราคาทองคำตลาดโลกที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ทางด้านประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ให้ความเห็นว่าการที่รัฐบาลสหรัฐฯตั้งกำแพงภาษีศุลกากรต่อประเทศต่างๆในอัตราที่สูงเกินคาดอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและถ่วงเศรษฐกิจลง พร้อมกล่าวว่านโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์อาจทำให้ภารกิจของเฟดเผชิญความท้ายทายมากขึ้น ส่วนธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดดอกเบี้ย 25bps เป็น 2.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 7 ในวัฎจักรนี้ โดยอีซีบีระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนถูกผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้าที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 904 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรมากถึง 31,160 ล้านบาท

 

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะติดตามทิศทางนโยบายการค้าของสหรัฐฯและการเจรจากับประเทศคู่ค้า รวมถึงข้อมูล PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนเมษายนของยูโรโซนและสหรัฐฯ โดยนอกเหนือจากประเด็นภาษีศุลกากรของทรัมป์ซึ่งทำให้ตลาดการเงินระส่ำระสายแล้ว ท่าทีคุกคามครั้งล่าสุดของผู้นำสหรัฐฯต่อความเป็นอิสระของเฟดยังบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการในการถือครองสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ ทั้งนี้ วาระการดำรงตำแหน่งประธานเฟดของพาวเวลล์จะสิ้นสุดลงในปี 69 ขณะที่ทรัมป์ขู่จะปลดเขาออกเนื่องจากไม่ยอมลดดอกเบี้ย อนึ่ง ค่าเงินบาทจะยังคงได้รับอิทธิพลสูงจากราคาทองคำตลาดโลกในระยะนี้

 

สำหรับปัจจัยในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ประเมินผลของสงครามการค้าต่อไทยว่าความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าสหรัฐฯจะอยู่ในระดับสูงและยืดเยื้อ โดยผลกระทบจะส่งผ่านช่องทางหลัก ได้แก่ ตลาดการเงินผันผวนสูง การตัดสินใจลงทุนชะลอออกไป ส่งออกจะเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี สินค้าไทยจะเผชิญกับการแข่งขันรุนแรง และเศรษฐกิจโลกที่จะชะลอตัวลงจากปัจจัยด้านอุปทาน ความเห็นของทางการที่ว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นในบางภาคส่วน (Sector) และการเน้นย้ำปัญหาด้านอุปทานดังกล่าวสะท้อนแนวคิดที่ว่ามาตรการที่ตรงจุดอาจมีประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหามากกว่าการใช้เครื่องมือดอกเบี้ยนโยบาย

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้