---เน้นหุ้นที่อิงกับการบริโภคขั้นพื้นฐาน---
ผลประกอบการ 1Q68 แข็งแกร่งเกินคาด แม้ว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมหภาคสำคัญๆ ใน 1Q68 จะอ่อนตัวลงจากทั้งปัจจัยภายในประเทศ (หนี้ครัวเรือนสูง, ปัญหานักท่องเที่ยวถูกมิจฉาชีพหลอกลวง, แผ่นดินไหว ฯลฯ) และปัจจัยภายนอกประเทศ (เศรษฐกิจโลกชะลอตัว, การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ) อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาคค้าปลีกยังคงมีผลดำเนินงานที่ดี
โดยหุ้นทั้งหมดในกลุ่มที่เราวิเคราะห์ (BJC, CRC, COM7, CPALL, HMPRO) สามารถเติบโตได้ทั้งในด้านรายได้และกำไรสุทธิ แม้เผชิญกับความผันผวนดังกล่าว ซึ่งการเติบโตมาจากการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง, ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่เป็นบวกในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และอัตรากำไรที่ปรับตัวสูงขึ้น
คาดหวังภาพรวมที่ดีขึ้นในไตรมาสต่อไป พร้อมปัจจัยบวกบางประการ หากไม่นับปัจจัยภายนอก เราคาดว่าผู้ค้าปลีกจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่กา ลังจะเกิดขึ้น เช่น โครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล, การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, ความพยายามของรัฐบาลในการลดค่าไฟฟ้า และการปรับลดอัตราดอกเบี้ย (คาดว่าจะมีการลดอีก 2 ครั้งในปี 2568) อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนที่ใหญ่ที่สุดคือผลกระทบจากการขึ้นภาษีตอบโต้ของสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลของมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลไทยเกิดประสิทธิผลน้อยกว่าปกติ ดังนั้น เรายังคงชื่นชอบผู้ค้าปลีกในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน (grocery retailers) มากกว่ากลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (consumer discretionary) เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและความเสี่ยงถูกกระทบจากภาษีศุลกากรสหรัฐต่ำกว่า
หุ้นเด่นที่เราเลือกคือ CPALL และ BJC โดยดัชนีหุ้นกลุ่มค้าปลีก (SETCOMM) ปัจจุบันซื้อขายมี Forward PE ที่ 18.0 เท่าเทียบกับ SET ที่ 14.2 เท่า ส่วนส่วนต่างของการซื้อขายระหว่าง SETCOMM กับ SET ปรับลดลงจากเฉลี่ย 1.7 เท่าในรอบ 5 ปี เหลือเพียง 1.3 เท่าในปีนี้ (YTD) ซึ่งเป็นผลจากความกังวลเรื่องการจัดสรรเงินทุนและกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออก เรามองว่าความกังวลเกี่ยวกับการจัดสรรเงินทุนได้ผ่านพ้นไปแล้ว และหากมีการไหลกลับของเงินทุนต่างชาติ ก็มีแนวโน้มจะช่วยให้มูลค่าหุ้นในกลุ่มค้าปลีกกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มกำไรที่มั่นคง
ปัจจุบันเราชอบ CPALL และ BJC เนื่องจากคาดว่าทั้งสองบริษัทจะมีกาไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 1Q68 และทั้งปี 2568 ขณะเดียวกันราคาหุ้นของทั้งคู่ยังซื้อขายต่ำกว่า PE เฉลี่ยในรอบ 5 ปี โดยอยู่ที่ระดับ -1.4 ถึง -1.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : นันทิกา เวียงเพิ่ม : nantikawiang@dbs.com