Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

177



ภาพตลาดและแนวโน้ม

 


กระแสเงินทุนต่างชาติพลิกกลับมาไหลออกจากภูมิภาคอีกครั้ง คิดเป็นมูลค่า 2,795 ล้านเหรียญ หลังจากเพิ่งไหลเข้าเพียงช่วงสั้น ๆ ในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 68 ล้านเหรียญ โดยแรงขายกระจายตัวใน 4 จาก 5 ประเทศ

Volume Index ชี้ว่าเซกเตอร์เด่นของภูมิภาคยังไม่มีธีมที่ชัดเจนนัก โดยมีแรงซื้อเด่นใน ICT ของไทย และ Financials ของอินโดนีเซีย

SET Market-Timing: คาดยังต้องใช้เวลาในการสร้างฐาน


รายละเอียด:
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศมีทิศทางไหลออก โดยมียอดขายสุทธิรวม 2,795 ล้านเหรียญสหรัฐ พลิกกลับจากยอดซื้อสุทธิ 68 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีเงินทุนไหลออก 4 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน (-2,607 ล้านเหรียญ), เกาหลีใต้ (-228 ล้านเหรียญ), ไทย (-121 ล้านเหรียญ), และฟิลิปปินส์ (-34 ล้านเหรียญ) ขณะที่อินโดนีเซียมีแรงซื้อราว 196 ล้านเหรียญ


แรงขายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้ นับตั้งแต่ต้นปี 2025 ยอดขายสุทธิรวมใน 5 ประเทศถึง 25,327 ล้านเหรียญ โดยไต้หวันเป็นตลาดที่เผชิญแรงขายมากที่สุด (-18,246 ล้านเหรียญ) ตามมาด้วย เกาหลีใต้ (-3,934 ล้านเหรียญ) และอินโดนีเซีย (-1,795 ล้านเหรียญ)
จากสัญญาณ Volume Index ของเซกเตอร์ที่มีความโดดเด่นในภูมิภาค ได้แก่ ICT ในไทย และ Financials ในอินโดนีเซีย ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังไม่พบสัญญาณซื้อในเซกเตอร์ใดเป็นพิเศษ ส่งผลให้ในระยะนี้ยังไม่เห็น regional theme ที่ชัดเจน


แนวโน้มเซกเตอร์ไทย:
สำหรับสัปดาห์นี้ เราแนะนำให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน โดยเฉพาะในกลุ่ม Global Plays ซึ่งอาจเผชิญแรงกดดันจากความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่กลุ่ม Domestic Plays ที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันน้อยกว่า อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพจิตวิทยาตลาดที่ยังเปราะบาง แรงขายอาจกระจายตัวไปยังหุ้นหลากหลายกลุ่มได้เช่นกัน

อัปเดต Market-Timing Indicator:
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยเริ่มต้นด้วยการปรับตัวขึ้นราว 2% ก่อนเผชิญแรงกดดันในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา จนส่งผลให้ดัชนี SET อ่อนตัวลงมาทดสอบแนวรับบริเวณ 1,160 จุดอีกครั้ง
เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะหลุดแนวรับสำคัญข้างต้นได้ชั่วคราว เนื่องจาก market-timing indicators กำลังส่งสัญญาณดังนี้:

ดัชนี Composite Short-term ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มระยะสั้น แม้จะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวบางส่วน แต่แรงกดดันจากระดับ Overnight Volatility ที่ยังอยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยระยะยาว อาจเป็นปัจจัยถ่วงให้การฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง (uneven mean reversion) ส่งผลให้ดัชนี SET อาจกลับมาเผชิญกับแรงกดดันอีกครั้ง


นอกจากนี้ ดัชนี Composite Medium-term ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มระยะกลาง ยังคงสะท้อนภาพความอ่อนแอของตลาด แม้จะเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวเล็กน้อยจากดัชนี Medium-term Bull-to-Bear และ Volume Flow Index แต่ก็ถูกหักล้างด้วยการอ่อนตัวลงของ Momentum Strength Index ส่งผลให้ดัชนี Composite Medium-term ยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำต่อเนื่องนานกว่า 4 สัปดาห์ โดยไม่เกิดการฟื้นตัวในลักษณะ mean reversion ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มโดยรวมที่ยังเปราะบาง ทำให้ตลาดหุ้นไทยอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการสร้างฐาน ทั้งนี้ เราประเมินกรอบดัชนี SET ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้าไว้ ที่ 1,100–1,200 จุด

สรุปภาพตลาดวานนี้
เจอ After Shock ต่อวานนี้ หุ้นอสังหาฯ ปรับตัวลงแรง และธนาคาร ท่องเที่ยว คอมเมิร์ช การเงิน ปรับตัวลง นำ ขณะที่การเก็งกำไรไปอยู่ที่กลุ่มซ่อมแซม-ฟื้นฟู HMPRO SCC SCCC TOA DPAINT เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
รีบาวด์
คาดหุ้นไทยสะท้อนผลกระทบแผ่นดินไหวจบแล้ว(?) และ 1-2 วันนี้ จะมีลุ้นรีบาวด์ ก่อนความผันผวนใหม่จะมาหลังจาก ความชัดเจนภาษีตอบโต้การค้าที่ ปธน.ทรัมป์ กำหนดไว้ 2 เมย.นี้
ส่วนหุ้นที่พอจะฝากความหวังไว้ได้บ้างคงเป็นข่าวหุ้นรายตัวตามปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยพยุงราคาหุ้น เช่น การประกาศซื้อหุ้นคืน HMPRO PTT และแนวโน้ม บจ.ที่จะประกาศซื้อหุ้นคืน เช่น OR ฯลฯ, การรอขึ้นเครื่องหมาย XD รับปันผล
ไฮไลท์ของอาทิตย์นี้คงต้องรอดู ความชัดเจนของ ภาษีตอบโต้ฯจากทางอเมริกา และการเร่งประชุมเพื่อหาแนวทางรับมือของนานาชาติ, ราคาหุ้นไทยรายตัว รายกลุ่ม ว่าจะสะท้อนต่อผลพวงแผ่นดินไหว-กระทบบวก หรือ ลบ มากน้อยแค่ไหน ซึ่ง BLS Research มีสรุปมุมมองต่อรายหุ้นไว้ให้แล้วในรายงาน Tactical และ Fundamental เมื่อวานนี้
ส่วนแนวทางในการเลือกหุ้นถือตอนปรับฐานแรง เราเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลักมากกว่าการเล่นเกาะไปกับกระแส คือ 1. บจ.ที่มีพื้นฐานแกร่ง ส่องผ่านงบ, สถานะทางการเงิน ความสามารถในการซื้อหุ้นคืน 2. หากมีมาตรการตอบทางภาษี เกิดขึ้นกับไทย แล้วจะมีอุตสาหกรรมใดบ้างที่ ควรได้ประโยชน์ เช่น ต้นทุนอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มลดลงจากการนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลือง อเมริกาเพิ่ม เพื่อลดผลกระทบภาษีตอบโต้ฯ เป็นต้น

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล

 


วิเคราะห์ทางเทคนิค
ภาพรวมเดือนมี.ค. ดัชนีปิดที่ 1,158.09 จุด ผลตอบแทนรายเดือน -2.5% (ลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5) ขณะที่วอลุ่มซื้อขายเบาบางที่ 3.3 หมื่นล้านบาทต่อวัน โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 1,211 และจุดต่ำสุดที่ 1,155(ร่วง 45 จุด)หลุด low ในรอบ 4 ปี หลังผ่านช่วง covid
สถานการณ์ปัจจุบัน SET Index ภาพรายเดือนปิดต่ำ…ลงมาที่ Covid zone ขณะที่ดัชนี Drawdown -30% จากจุดยอดที่ 1,705 จุด โมเมนตัม RSI(month) บ่งชี้ภาวะ Bearish และเข้าใกล้เขตแดน oversold ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ(ไม่ได้เห็นบ่อย) ประเมินแนวรับแนวรับ base case 1,150 และ bear case 1,100 จุด

“Theme plays” Share buy back & Strong recovery….

 

กลยุทธ์เทคนิค:

วิธีสแกนหุ้นเลือกโดยใช้กราฟเดือน ถูก drawdown ปรับลงแรง แต่! Price pattern….เริ่มส่งสัญญาณกลับตัว พร้อมเงื่อนไขโมเมนตัมเด่น หุ้นแนะนำประจำเดือน… BUY “TRUE, HMPRO และ OR”

 

What to watch
ติดตามผลกระทบแผ่นดินไหวต่อพื้นฐานหุ้นรายตัวในรายงานพื้นฐาน
รัฐบาล ผ่าน พรก. เป็น กม.ให้อำนาจ กลต. ตรวจสอบรายการ Naked shorted ได้แล้ว หลังจากที่ผ่านมาขาดอำนวจในการตรวจสอบธุรกรรมต่างชาติ
สว.เรียก กลต. ตลท. ชี้แจง และทบทวนมาตรการ เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นหุ้นไทย
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เตรียมประกาศใช้ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ตามที่วางแผนไว้ในวันที่ 2 เม.ย. อย่างไรก็ดี สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า ภาษีศุลกากรซึ่งจะเรียกเก็บเป็นรายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์และเซมิคอนดักเตอร์นั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่ประกาศใช้ในเวลาเดียวกัน
ปธน.ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (21 มี.ค.) ว่าจะมีการใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ซึ่งสหรัฐฯ มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย. พร้อมกับกล่าวว่าเขามีแผนที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน หลังจากที่จีนประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
6 หน่วยงานถก ผลกระทบแผ่นดินไหวต่อภาพรวมตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ คาดผลเสียหายราว 2 หมื่นล้านบาท ด้านกระทรวงการคลังเตรียมออกมาตรการฟื้นฟู
เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด จะกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในการประชุมประจำปีของ Society for Advancing Business Editing and Writing (SABEW) ที่เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย วันศุกร์ที่ 4 เม.ย. เวลา 11.25 น.ตามเวลาสหรัฐฯ หรือตรงกับเวลา 22.25 น.ตามเวลาไทย
นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM), ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.พ., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมี.ค.จาก ADP และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นเพียง 139,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ในเดือนมี.ค.

หุ้นแนะนำวันนี้
HANA หนึ่งในหุ้นที่ BLS คาดมีโอกาส และมีศักยภาพจะซื้อหุ้นคืนได้
แนวรับ 15.5 แนวต้าน 18/19 ตัดขาดทุน 15

 

 

 

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

Quantitative Strategy
ดัชนี SET น่าจะยังผันผวนท่ามกลางสงครามการค้าที่ตึงเครียดขึ้น
ตลาดหุ้นไทยผันผวนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อ่อนแอ ท่ามกลางความตึงเครียดด้านสงครามการค้า และเหตุแผ่นดินไหวล่าสุดที่พม่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาฯประเภท High-rise ของไทย เราคาดว่าตลาดจะยังคงผันผวนต่อไปในระยะอันใกล้ ดัชนี Composite Short-term รีบาวด์ได้ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทั้งดัชนี Short-term Momentum Strength และดัชนี Short-term Bull-to-Bear ฟื้นตัวได้จากกรอบล่าง อย่างไรก็ตามภาวะ Mean-reversion ที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้จะยังคงไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่อ่อนแอและ ข่าวลบจากต่างประเทศ ขณะที่ดัชนี Composite Medium-term ค่อนข้างทรงตัวในช่วงสองสัปดาห์ ที่ผ่านมา เนื่องจากดัชนี Medium-term Bull-to-Bear และ ดัชนี Volume Flow ที่ปรับตัวขึ้น ถูกหักล้างจากดัชนี Medium-term Momentum Strength ที่อ่อนแอลง แม้ว่าล่าดัชนีดังกล่าวจะอยู่ใกล้ Lower bound แล้ว แต่โอกาสที่จะเกิดการกลับตัวเข้าหาค่าเฉลี่ยในระยะสั้นยังคงมีจำกัด เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนที่เปราะบาง เราประเมินกรอบดัชนี SET ในช่วงสองสัปดาห์ข้างหน้าไว้ที่ 1100-1200 จุด

 

 

Bank Sector
ทิศทางกำไร (ไม่รวมเครื่องมือทางการเงิน) ยังดีอยู่
เราคาดกำไรสุทธิ 1Q25 ของกลุ่มธนาคาร เท่ากับ 5.4 หมื่นล้านบาท ลดลง 2% YoY (สินเชื่อ, NIM และกำไรจากเครื่องทางการเงินที่ลดลง มีน้ำหนักมากกว่า credit cost ที่อ่อนตัวลง) แต่เพิ่มขึ้น 5% QoQ (ค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง)
ทั้งนี้ เราคาดกำไรที่ไม่รวมการกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน 1Q25 จะอยู่ที่ 4.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% YoY (credit cost ลดลง) และ 12% QoQ (ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและสำรองหนี้ฯ ลดลง) โดยกำไรที่เติบโต YoY นำโดย SCB, KTB และ TTB
แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ของกลุ่มธนาคารจะอ่อนแอลง QoQ ณ สิ้น 1Q25 กดดันจากแนวโน้ม NPLs/loans ratio ของ BBL, TTB, KTB และ TISCO ที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เรายังคาด loan-loss coverage ratio ของกลุ่มธนาคารก็จะปรับลดลงบ้าง ณ สิ้น 1Q25 แต่ก็คาดว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 186%
แนวโน้มกำไรที่ไม่รวมการกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน 2Q25 จะอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% YoY (credit cost อ่อนตัวลง) แต่ลดลง 5% QoQ (NIM ลดลง) โดยธนาคารที่คาดว่าจะรายงานกำไรเติบโต YoY ได้แก่ KKP, SCB และ TISCO

 

 

 

 

 


Weekly Commodities
ถ่านหินแกร่งสุดในสัปดาห์ที่แล้ว
ภาพรวม: ราคาถ่านหินฟื้นตัวแรงสุด WoW ตามด้วยน้ำมันดิบ ขณะที่ส่วนต่างเคมีและค่าการกลั่นปรับลง
น้ำมันดิบ: ราคาดูไบเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอีก $1.91 WoW สู่ $74.69/bbl จากความกังวลด้านอุปทาน จากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านและเวเนซุเอลา
ค่าการกลั่น: GRM อิงสิงคโปร์ลดลงเล็กน้อย $0.19 WoW เป็น $3.41/bbl จาก Crack spread น้ำมันเตา (-$1.78 เป็น -$2.15/bbl) และดีเซล (-$0.17 เป็น $11.65/bbl) ที่อ่อนลงตามอุปสงค์ที่ชะลอ ใน ASEAN และสต็อกที่สูง ส่วนเบนซินและ Jet ปรับขึ้นเล็กน้อยจากการส่งออกลดและการเดินทาง ทางอากาศที่เพิ่ม
เคมีภัณฑ์: ส่วนต่างเคมียังอ่อนตัวต่อเนื่อง โดย Ethylene (-$2 เป็น $179/t), Propylene (-$22 เป็น $144/t), HDPE (-$17 เป็น $334/t), PP (-$2 เป็น $369/t) จากราคาขายที่อ่อนตัวและต้นทุนน้ำมันแนฟทาที่สูงขึ้น
ถ่านหิน: ดัชนี NEX เพิ่มขึ้น $4.62 WoW เป็น $91.64/tonne จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค
ค่าระวางเรือ: BDI ลดลงเล็กน้อย 1% WoW เหลือ 1,630 จุด นำโดย Capesize (-4%) ขณะที่ Panamax และ Supramax ปรับขึ้น 5% และ 2% ตามลำดับ ส่วน Container Index ลดลงอีก 4% WoW เหลือ 2,168 จุด
Fundamental view: เรายังแนะนำ “ถือ” PTTEP จาก Valuation ที่ไม่แพง แต่กลุ่มที่เราชอบคือ “กลุ่มโรงกลั่น” โดยเฉพาะ TOP ที่กำลังเข้าสู่ High season ของ GRM และมี Valuation ถูก ขณะที่กลุ่มเคมี IVL ยังเป็นตัวเลือกหลักจากแนวโน้มกำไร 1H25 ที่ยังแข็งแกร่ง ส่วนกลุ่มเดินเรือยังต้องจับตา นโยบายภาษีสหรัฐฯ ที่อาจกดดันกิจกรรมการค้าและค่าระวางในระยะสั้น


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ผถห. SSP ผ่านฉลุย! จ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น

ผถห. SSP ผ่านฉลุย! จ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้