Equality for All
IVL : บมจ. อินโดรามาเวนเจอร์ส
การตั้งด้อยค่าเงินลงทุนในปี 2024 จะส่งผลบวกในระยะสั้น และยาว : ในปี 2024 IVLตัดสินใจตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้นถึง 620 ล้านเหรียญ โดยการตั้งด้อยค่าดังกล่าวคาดส่งผลดีต่อ IVL ในระยะยาวจากประหยัดต้นทุนราว 180-190 ล้านเหรียญ/ ปี EBITDA เพิ่มขึ้น 130-140 ล้านเหรียญ/ ปี และอาจได้กระแสเงินสดกลับมาจากการยังมีสินทรัพย์รอขายมูลค่า 150-200 ล้านเหรียญ ซึ่งคาดจะเสร็จสิ้นช้าสุดปีหน้า
แนวโน้มการดำเนินงานปี 2025 พลิกมามีกำไร แต่ส่วนต่างราคาคาดจะลดลงจากอุปสงค์ที่ยังไม่ฟื้น : เราคาดการดำเนินงานอาจฟื้นตัวไม่มากจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังไม่ดี สรุปดังนี้
กลุ่ม CPET คาดปริมาณขายจะหดตัว -6% y-y ตามอุปสงค์ที่ยังไม่ดี และส่งผลให้ส่วนต่างผลิตภัณฑ์ยังไม่ดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เราคาดอุปทานส่วนเพิ่มในปี 2025 จะลดลงซึ่งจะช่วยทำให้เกิดภาวะสมดุลมากขึ้นในตลาด
กลุ่ม Indovinya เราคาดปริมาณขายหด -5% y-y อาจยังไม่ดี IVL มีตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ไปทั้งสิ้น 620 ล้านเหรียญซึ่งคาดจะส่งผลดีต่อในระยะยาวจากการประหยัดต้นทุนได้ราว 180-190 ล้านเหรียญ/ ปี EBITDA เพิ่มขึ้น 130-140 ล้านเหรียญ/ ปี และยังมีสินทรัพย์รอขายมูลค่า 150-200 ล้านเหรียญ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปีนี้ถึงปีหน้า
กลุ่ม Fibers เราคาดปริมาณขายจะลดลง -2% y-y จากอุปสงค์ที่ลดลง
แต่จากการปรับโครงสร้างสินทรัพย์ในปีก่อนหน้าจะช่วยลดต้นทุนและส่งผลให้ EBITDA เพิ่มขึ้น เราคาดกำไรก่อนรายการพิเศษ 7,940 ลบ. เพิ่มขึ้น +87.2% y-y
ยังคงนำ 2 บริษัทลูกเข้าตลาดฯ ตามแผนเดิม : IVL ยังคงตั้งใจนำ 2 บริษัทลูกคือ Indovinya และ Indovida เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นตามแผนเดิมที่เคยแจ้งไว้ คาดจะได้เงินมาราว 1 พันล้านเหรียญ โดย Indovida คาดจะเข้าจดทะเบียนในทวีปเอเชียและ Indovinya จะเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ฝั่งตะวันตกคาดจะเกิดขึ้นใน 1H2026
วางแผนเติบโตต่อในอนาคต : ในงาน capital markets dayผบห. พูดถึงโครงการที่จะรองรับการเติบโตในอนาคต ประกอบด้วย
โครงการแรกได้แจ้งตลาดฯ ไปแล้วถึงการลงทุนในบริษัท EPL ธุรกิจในอินเดียซึ่งดำเนินธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบหลอดบีบเพื่อจำหน่ายให้กลุ่ม FMCG และยา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีใน IVL และมี EBITDA margin ราว 19.5% ซึ่งจะรับรู้เป็นส่วนแบ่งกำไรตั้งแต่กลางปี 2025 เป็นต้นไป
โครงการ Horizon เป็นการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการเคมีครบวงจร และเน้นการนำมาใช้กับสินค้ากลุ่ม PET ของ IVL ซึ่งหากสำเร็จจะลดต้นทุนการผลิตให้ลดลง
โครงการ Valor เป็นโครงการในอินเดีย ช่วงเริ่มต้นของโครงการ ทางครอบครัวโลเฮียซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ IVL จะเป็นผู้ลงทุนก่อนแต่จะให้สิทธิกับ IVL ในการเข้าซื้อหุ้นที่ราคาต้นทุนในมูลค่า 500 ล้านเหรียญก่อนที่โครงการจะเริ่มดำเนินการซึ่งคาดจะเริ่มในปี 2029 ขณะที่ต้นทุนของโครงการคาดจะอยู่ที่ราว 5,000 ล้านเหรียญ
โดย 2 โครงการหลังจะดำเนินต่อได้นั้น IVL เผยว่าต้องลด Net Debt/EBITDA ให้น้อยกว่า 3 เท่าจากสิ้นปี 2024 ซึ่งอยู่ที่ 4.7 เท่าให้ได้ก่อน อย่างไรก็ตามหากภาพอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัว และส่วนต่างราคาดีขึ้นมาก ก็อาจตัดสินใจลงทุนได้
ตัวเลือกแรก กลุ่มปิโตรฯ
“ แม้ว่าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์อาจอ่อนตัวลงจากอุปสงค์ที่ยังอ่อนแอ แต่เราคาดว่าสิ่งที่ทำไปเกี่ยวกับการตัดจำหน่ายสินทรัพย์จะช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานดีขึ้น และส่งผลให้ EBITDA ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับอุปทานส่วนเพิ่มจากจีนชะลอลง ขณะที่ในส่วนนโยบายภาษีของทรัมป์คาดจะไม่ส่งผลกระทบต่อ IVL มากเพราะ IVL มีโรงงานในสหรัฐ และจะช่วยป้องกันการกีดกันการเข้าประเทศด้วย
เรายังชอบ IVL มากสุดแม้จะมีปัจจัยลบบ้างแต่อาจน้อยกว่าผู้ประกอบการในกลุ่มเดียวกัน จากการปรับส่วนต่างราคาลงทำให้ปรับราคาเหมาะสมลงด้วย ”
ESG Snapshot : IVL มีแผนที่จะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในห่วงโซ่การผลิตโดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน และการส่งเสริมการรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัสดุรีไซเคิลรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยมีการลงทุนในนวัตกรรมการรีไซเคิลและการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นารี อภิเศวตกานต์ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน #17971 naree.a@liberator.co.th