ของถูกเต็มไปหมด เตรียมช้อป มันส์สนั่นเมือง
TOP PICK BDMS / SPALI / BJC
EXTERNAL FACTOR
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวราว +0.3% ถึง +1.2% โดยตลาดฯ ให้น้ำหนักกับประเด็นเศรษฐกิจสหัฐฯ ส่งสัญญาณแข็งแกร่ง หลังสหรัฐเผย RETAIL CONTROLเดือน ก.พ. 68 ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 1.0% ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดที่ 0.2%MOM
อย่างไรก็ตาม หากมองถึงความกังวลในระยะข้างหน้า คงหนีไม่พ้นความเสี่ยง TRADEWAR หลัง ปธน. TRUMP เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ และอาจกดดัน
ภาพรวมเศรษฐกิจตามมา พร้อมกับเงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น
ภาวะดังกล่าว อาจเพิ่มความเสี่ยง “STAGFLATION” ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามในระยะถัดไปอาจทำให้การคาดเดาทิศทางดอกเบี้ยยากขึ้น
INTERNAL FACTOR
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาแรง 11.87%YTD สาเหตุหนึ่งมาจากการโยกย้ายเม็ดเงินเข้าตลาดตราสารหนี้โดยปีล่าสุด MARKET CAP SET น้อยกว่ามูลค่าคงค้างตราสารหนี้ถึง 2.5 ล้านล้านบาท
ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวมีโอกาสโยกย้ายเข้าฝั่งตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไปโดยมี 3 เหตุผลสนับสนุน 1.อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกรวมถึงไทย2. การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวน้อยลง โดยเฉพาะ RATING ต่ำกว่า BBB 3.ระดับ MARKET EARNING YIELD GAP ของไทยดูโดดเด่น
INVESTMENT STRATEGY
SET INDEX ลงแรงทิ้งห่างเส้น SMA 125วัน มาแล้วกว่า 206 จุด ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่า -2SD แสดงให้เห็นว่าSET ลงมาเร็วและแรงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเกินกว่าปกติมาก หรือสะท้อนความกลัวต่างๆ ไประดับหนึ่งแล้ว
ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ SET50 FUTURES 3 วัน 42,790 สัญญา OI ยกขึ้น เชื่อแรงกดดันจาก FUND FLOWอาจลดลง กลยุทธ์แนะนำทยอยสะสมหุ้นถูก (PBV<1) และมีอัตราการทำกำไรที่ดี EARNING YIELD > 4%อย่าง BCP, TOP, AP, SPALI, SIRI, PTTEP, BBL, PTT, TU, LH, CPF, JMART, SCGP, SCC, STECON
“ทิศทางดอกเบี้ย” เสี่ยงคาดเดาได้ยากขึ้น
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคง REBOUND ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ปรับตัวราว +0.3% ถึง +1.2% โดยตลาดฯ ให้น้ำหนักกับประเด็นเศรษฐกิจสหัฐฯ ส่งสัญญาณแข็งแกร่ง หลังสหรัฐเผยตัวเลขค้าปลีกที่ไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร(RETAIL CONTROL) เดือน ก.พ. 68 ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 1.0% ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดที่ 0.2%MOMอีกทั้งยอดค้าปลีกรวมยังขยายตัว +0.2%MOM ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ -1.2%MOMขณะที่มุมมองทิศทางดอกเบี้ย FEDWATCH TOOL ให้น้ำหนักมากขึ้นคาด FED จะ “คง” ดอกเบี้ยในการประชุมอีก 2ครั้งถัดไป และมีโอกาสน้อยที่จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. 68 ด้วยความน่าจะเป็นแค่ 55.9% (เดิมคาดเกือบ70%)
อย่างไรก็ตาม หากมองถึงความกังวลในระยะข้างหน้า คงหนีไม่พ้นความเสี่ยง TRADE WAR หลัง ปธน. TRUMPเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ และอาจกดดันภาพรวมเศรษฐกิจตามมา โดยล่าสุด OECD ได้ประเมินผลกระทบ และปรับลดคาดการณ์GDP GROWTH โลกในปี 2568 ลดลงเหลือ +3.1% (เดิมคาด 3.3%) ส่วนสหรัฐฯ คาดเติบโต +2.2% (เดิมคาด 2.4%) ขณะที่แคนนาดาและเม็กซิโก เสี่ยงได้รับแรงกดดันมากกว่าประเทศอื่นๆส่วนในแง่มุมของเงินเฟ้อ OECD ได้ปปรับเพิ่มคาดการณ์ของโลกในปี 2568 สู่ระดับ +3.8% (เดิมคาด 3.5%) ส่วนสหรัฐฯ ขยายตัว +2.8% (เดิมคาด 2.1%)
แนวโน้มเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงชะลอตัว พร้อมกับเงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์ของ OECDค่อนข้างสอดคล้องกับการประเมินผลกระทบของ BLOOMBERG โดยมองว่าการตั้งกำแพงภาษีของปธน. TRUMPจะกระทบกับเศรษฐกิจสรัฐฯ ราว -2.7% และจะผลักเงินเฟ้อพุ่งขึ้นได้ราว 2.6%
ภาวะดังกล่าว อาจเพิ่มความเสี่ยง “STAGFLATION” ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามในระยะถัดไป อาจทำให้การคาดเดาทิศทางดอกเบี้ยยากขึ้น
ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสได้เม็ดเงินไหลเข้าจากฝั่งตราสารหนี้ในระยะถัดไป
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาแรง 11.87%YTD สาเหตุหนึ่งมาจากการโยกย้ายเม็ดเงินเข้าตลาดตราสารหนี้ โดยมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ไทยล่าสุดอยู่ที่ 17.1 ล้านล้านบาท ซึ่งสวนทางกับขนาด MARKET CAP ของ SET ที่ล่าสุดอยู่ระดับ 14.6 ล้านล้านบาท เท่านั้น ซึ่งหากสังเกตจากข้อมูลในอดีต มูลค่าตลาดหุ้นไทย(MARKET CAP) ไม่เคยน้อยกว่ามูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ตั้งแต่ปี 2009-2024 แต่ล่าสุดในปี 2025 น้อยกว่าถึง 2.5 ล้านล้านบาทซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวมีโอกาสโยกย้ายเข้าฝั่งตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป โดยมี 3 เหตุผลสนับสนุน ดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกรวมถึงไทย ที่ในปีนี้มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง เหลือ1.75% หากตัวเลขเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดังที่หวังไว้ (ตามการคาดการณ์ของ BLOOMBERG CONSENSUS)
2. ปัญหาธรรมมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในหลายบริษัทในช่วงก่อนหน้านี้ กดดันให้การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวน้อยลง โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มที่มี RATING น้อยกว่า BBB โดยทาง THAIBMAคาดการณ์ว่ามูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวปี 2025 จะอยู่ที่ 8.0-8.5 แสนล้านบาทเท่านั้น (ลดลง6.9%YOY -12.4%YOY)
3. ระดับ MARKET EARNING YIELD GAP ของไทยดูโดดเด่น โดย EYG ของ SET ที่ EPS 89 บาท/หุ้น ที่7.6% -> MEYG 5.6% ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯมี EYG 4.9% -> MEYG 0.4% ส่วนประเทศเพื่อนเราเรา ทั้งฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ก็มีระดับ MEYG ต่ำกว่าไทยทั้งสิ้น
หุ้นไทยสะท้อนความกลัวไปเยอะ แนะนำสะสมหุ้นถูก แนวโน้มกำไรดี
SET INDEX ลงมาอยู่ที่ระดับ 1170 จุด ซึ่งลงแรงทิ้งห่างเส้น SMA 125 วัน มาแล้วกว่า 206 จุด และอยู่ในระดับต่ำกว่า -2SD แสดงให้เห็นว่า SET ลงมาเร็วและแรงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเกินกว่าปกติมาก หรือสะท้อนความกลัวจากปัจจัยต่างๆ ไประดับหนึ่งแล้ว
ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ SET50FUTURES 3 วัน 42,790 สัญญา OI ยกขึ้น เชื่อแรงกดดันจาก FUND FLOW อาจลดลง
กลยุทธ์แนะนำทยอยสะสมหุ้นถูก (PBV<1) และมีอัตราการทำกำไรที่ดี EARNING YIELD > 4% อย่าง BCP, TOP,AP, SPALI, SIRI, PTTEP, BBL, PTT, TU, LH, CPF, JMART, SCGP, SCC, STECON และหุ้นอื่นๆ
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์