ปัจจัยภายนอกรุมเร้า กดดัน SET ผันผวน
TOP PICK BDMS / ADVANC / CPAXT
EXTERNAL FACTOR
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว 1.3%-2.0% จากหลายปัจจัยกดดัน เช่น สงครามการค้ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น, ความเสี่ยง GOVERNMENT SHUTDOWNสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น, สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่อแววยืดเยื้อ เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้
ตัวเลข PPI สหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำคาด และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า ทำให้ FED WATCHTOOL คาด FED จะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก ในการประชุมรอบวันที่ 18 มิ.ย. 68 ด้วยความน่าจะเป็น 71%(เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า) และอาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งในปีนี้ (เดิมคาด 1 ครั้ง)
INTERNAL FACTOR
นับถอยหลัง 19 วัน ก่อนสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะมีการบังคับใช้ภาษีตอบโต้ (RECIPROCALTARIFFS) จากทุกประเทศ ในวันที่ 2 เม.ย. 68
สภาหอการค้าไทยฯ คาดว่า สหรัฐฯ จะพิจารณาเป็นรายประเทศที่มีการเกิดดุลการค้าสหรัฐฯ พร้อมประเมินว่าจะมีราว 50 ประเทศ และอาจมีบ้านเราติดอยู่ด้วย
และเนื่องด้วยไทยพึ่งส่งออกสูงทำให้ “เศรษฐกิจไทย” มีความเสี่ยงมากขึ้น ในการหลีกเลี่ยงแรงกระแทกของ TRADE WAR 2 ด้าน ม.หอการค้าไทย คาดว่าจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงราว -0.30% ของ GDP
INVESTMENT STRATEGY
FUND FLOW ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกแห่งในเดือนนี้มีเพียงตลาดหุ้นฟิลิปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อย ส่วนตลาดหุ้นไทย แม้จะมีประเด็น THAIESG X ช่วยชะลอแรงขายจากกองทุน แต่ต่างชาติยังขายหุ้นไทยมา 4 วันทำการติดต่อกัน สูงถึง 8.2 พันล้านบาท กดดันให้ตลาดหุ้นไทยยังไม่ขยับขึ้นไปไหน
ตลาดหุ้นไทยยังโงหัวไม่ขึ้น ขาด FUND FLOW ไหลเข้า แต่ด้วย VALUATION ที่ถูก มี MEYG 5.7% แนะนำทยอยสะสมหุ้นปันผลสูง หวังผลระยะกลางยาว AP, SPALI, SCC, PTTEP
หวัง SET ตั้งแต่วันนี้จะผ่านพ้นจุดต่ำ เหมือน 5 ปีที่แล้ว 13 มี.ค. 20 ที่ SET INDEX ทำจุดต่ำสุดที่ 969 จุด
ปัจจัยภายนอกรุมเร้า กดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับลงต่อเนื่อง
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว 1.3%-2.0% จากหลายปัจจัยกดดัน อาทิ
สงครามการค้ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยก่อนหน้านี้สหภาพยุโรป (EU) ประกาศเรียกเก็บภาษีวิสกี้ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตรา 50% เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมจากยุโรป ซึ่งส่งผลให้TRUMP ขู่ผ่านทางแพลตฟอร์ม SOCIAL MEDIA ว่าจะเรียกเก็บภาษีผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์และไวน์นำเข้าจาก EU สูงถึง 200%(ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าวอยู่ที่ 17.5%) ส่งผลให้ภาคการค้าระหว่างประเทศมีโอกาสปั่นป่วนขึ้นเรื่อยๆ
ความเสี่ยง GOVERNMENT SHUTDOWN สหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น หลังเกิดความขัดแย้งในสภาเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของ ELON MUSK และการจัดการงบประมาณ โดยคุณ TRUMP มีกำหนดการลงนามเป็นกฎหมายภายในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค.68 ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง อาจกดดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงเฉกเช่น
สถิติในปี 2018
สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่อแววยืดเยื้อ หลังผู้ช่วยปูติน คัดค้านข้อเสนอของสหรัฐที่จะให้มีการหยุดยิงในยูเครนเป็นเวลา 30 วัน โดยกล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะทำให้ยูเครนได้เปรียบ ซึ่งก่อนหน้านี้TRUMPกล่าวว่า รัสเซียจะถูกคว่ำบาตรทางการค้าและทางเศรษฐกิจอย่างหนัก หากไม่รับข้อเสนอดังกล่าว
อย่างไรก็ตามยังพอมีปัจจัยกหนุนจากการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ของ FED ดูมีปัจจัยหนุนมากขึ้น หลังดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวขึ้น 3.2%YOY ชะลอตัวลงจากเดือนม.ค. และต่ำกว่าที่ตลาดคาด ขณะที่ดัชนี PPI พื้นฐาน(CORE PPI) ปรับตัวขึ้น 3.4%YOY ชะลอตัวลงจากเดือนม.ค. และต่ำกว่าที่ตลาดคาดเช่นกัน หนุนให้ความคาดหวังดอกเบี้ยขาลงมีมากขึ้น ขณะที่ FEDWATCH TOOL คาด FED จะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก ในการประชุมรอบวันที่ 18มิ.ย. 68 ด้วยความน่าจะเป็น 71%(เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า) และอาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งในปีนี้ (เดิมคาด 1 ครั้ง)
สงครามการค้าเข้าใกล้วันกระแทกไทย “โดยตรง”
นับถอยหลัง 19 วัน ก่อนสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะมีการบังคับใช้ภาษีตอบโต้ (RECIPROCAL TARIFFS) จากทุกประเทศ ในวันที่ 2 เม.ย. 68 โดยสภาหอการค้าไทยฯ คาดว่า สหรัฐฯ จะพิจารณาเป็นรายประเทศที่มีการเกิดดุลการค้าสหรัฐฯพร้อมประเมินว่าจะมีราว50 ประเทศ และอาจมีบ้านเราติดอยู่ด้วย เนื่องจากไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากขึ้น โดยในปี 2017 อยู่ลำดับที่ 14 (มูลค่า 2.01 หมื่นล้านเหรียญฯ) ส่วนปี 2024 อยู่ลำดับที่ 11 (มูลค่า 4.56 หมื่นล้านเหรียญฯ)
นอกจากนี้ไทยยังเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่สูงกว่า โดยล่าสุดรายงานของ USTR เผย อัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐที่อยู่ระดับสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ซึ่งของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 27% และสินค้าอื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.1%เทียบกับของสหรัฐในด้านสินค้าเกษตรอยู่ที่ 5% ส่วนสินค้าอื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 3.1% ขณะที่อัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยของสินค้าทั้งหมดอยู่ที่ 9.8% ซึ่งสูงกว่าสหรัฐฯ เกือบ 3 เท่า
และเนื่องด้วยไทยพึ่งส่งออกสูง โดยคิดเป็นสัดส่วน 64% ของ GDP และส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน17% ทำให้ “เศรษฐกิจไทย” มีความเสี่ยงมากขึ้น ในการหลีกเลี่ยงแรงกระแทกของTRADE WAR 2
สำหรับผลกระทบสงครามของการค้าต่อเศรษฐกิจไทย ศูนย์พยากรณ์ฯ คาดว่ามาตรการภาษีของรัฐบาล TRUMP2.0 จะมีผลทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงราว 56,067 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว -0.30% ของ GDP
FUND FLOW ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนี้
FUND FLOW ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกแห่งในเดือนนี้มีเพียงตลาดหุ้นฟิลิปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อย -33 ล้านเหรียญส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ถูกขายหนัก เช่น ตลาดหุ้นไต้หวัน -8.3 พันล้านเหรียญ, อินเดีย -2.1 พันล้านเหรียญ, ญี่ปุ่น -1.5 พันล้านเหรียญส่วนตลาดหุ้นไทย ถูกขายสุทธิ -374 ล้านเหรียญ แม้จะมีประเด็น THAIESG X ช่วยชะลอแรงขายจากกองทุน แต่ต่างชาติยังขายหุ้นไทยมา 4 วันทำการติดต่อกัน สูงถึง 8.2 พันล้านบาท กดดันให้ตลาดหุ้นไทยยังไม่ขยับขึ้นไปไหน
ส่วนในมุม VALUATION อิง MEYG25F พบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ในระดับที่ต่ำ 0.4% แต่ตลาดหุ้นในฝั่งเอเชียบางแห่งยังสูงอยู่ อาทิเกาหลีใต้ 8.0%, จีน 5.8%, ไทย 5.7%, ไต้หวัน 4.5% ดังนั้นช่วง FUND FLOW ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยน่าจะกดดันตลาดหุ้นที่มี VALUATION ถูกน้อยกว่า หรืออาจมีเม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้น VALUATION แพง มาตลาดหุ้นVALUATION ถูกได้
ตลาดหุ้นไทยยังโงหัวไม่ขึ้น ขาด FUND FLOW ไหลเข้า แต่ด้วย VALUATION ที่ถูก มี MEYG 5.7% แนะนำทยอยสะสมหุ้นปันผลสูงหวังผลระยะกลางยาว AP, SPALI, SCC, PTTEP
***สุดท้ายหวังว่า SET INDEX ตั้งแต่วันนี้ 13 มี.ค. 25 ไปจะผ่านพ้นจุดต่ำ เหมือนกับ 5 ปีที่แล้ว 13 มี.ค. 20 ที่ SET INDEX ทำจุดต่ำสุดที่ 969 จุด***
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์