----แนวโน้มธุรกิจยังไปได้ดี แต่ยังกังวลเรื่องสภาพคล่องของ KP----
AOT กำลังศึกษาแนวทางการปรับขึ้นค่าบริการผู้โดยสาร (PSC) และการเก็บค่าธรรมเนียม transfer คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือนก.ค.25 หลังจากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการการบินพลเรือนและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
กังวลกับการชำระเงินของ King Power ทั้งนี้ใน 1Q25 (ต.ค.-ธ.ค.24) ลูกหนี้การค้าระยะยาวของ AOT เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 2 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2024 เป็น 5.7 พันล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการที่ King Power ขอเลื่อนการชำระค่ารายได้จากสัมปทานเป็นเวลา 18 เดือน สำหรับช่วงเดือนส.ค.24 ถึงก.พ.25 โดยคิดอัตราเบี้ยปรับ 18% ต่อปี อย่างไรก็ตาม AOT กำลังพิจารณาปรับลดอัตราเบี้ยปรับลงมาเป็นอย่างน้อย MLR+2% (ประมาณ 9%) ซึ่งยังคงสูงกว่าต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของ AOT ที่ประมาณ 3%
AOT ยังไม่มีการตั้งสำรองลูกหนี้การค้า King Power เพราะว่ามีแบงค์การันตี ซึ่งรายได้สัมปทานจาก King Power คิดเป็น 74% ของรายได้สัมปทานทั้งหมดของบริษัทในปี 25F โดยการตั้งสำรองสัมปทาน King Power ทุกๆ 5% จะทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 25F-26F ลดลง 3% และทำให้ราคาพื้นฐานลดลง 0.40 บาท/หุ้น
อย่างไรก็ดี เราคาดว่า King Power น่าจะสามารถดำเนินสัญญาสัมปทานเดิมต่อไปได้ ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2033 แต่หลังหมดสัญญา เราคาดว่าสัญญาสัมปทานใหม่สำหรับผู้ให้บริการรายใหม่จะกลับไปใช้รูปแบบการแบ่งรายได้ 20% ของรายได้จริง โดยที่ Minimum Guarantee (MG) อาจเท่ากับหรือต่ำกว่ารูปแบบแบ่งรายได้ 20% สำหรับกรณีที่แย่ คือ King Power ตัดสินใจยกเลิกสัญญาทันที (มีผลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2025F) จะทำให้กำไรสุทธิลดลง 20% ในปี 25F-26F และกระทบต่อราคาพื้นฐาน (TP) ลดลง 3.1 บาทต่อหุ้น
แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 60 บาท (DCF) ซึ่งสะท้อนต้นทุนพนักงานที่สูงกว่าคาดและรายได้จากสัมปทาน (ยกเว้น King Power) ที่ต่ำกว่าคาดไปแล้ว และเราปรับสมมติรายได้จากสัมปทานดิวตี้ฟรีที่สนามบินสุวรรณภูมิ (BKK) สนามบินภูมิภาค 3 แห่ง รายได้จากสัมปทานเชิงพาณิชย์เป็นรูปแบบแบ่งรายได้ 20% หลังจากสัญญาปัจจุบันกับ King Power หมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2033 ปัจจัยกดดันระยะสั้น คือ กังวลว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสัมปทานที่ให้กับ King Power แล้วส่งผลกระทบทางลบกับบริษัทอีก
นักวิเคราะห์ : นันทิกา เวียงเพิ่ม : nantikaw@th.dbs.com