---Wait & See---
SCC รายงานขาดทุนสุทธิ 4Q24 เท่ากับ -512 ล้านบาท ดีขึ้นจากขาดทุนสุทธิ 1.13 พันล้านบาทใน 4Q23 แต่แย่ลงจากกำไรสุทธิ 721 ล้านบาทใน 3Q24) เป็นไปตาม ที่เราคาดไว้ แต่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของ Bloomberg consensus
ปัจจัยกดดันมาจาก 1) ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น 1.0 พันล้านบาทหลังเปิดดำเนินการโครงการLSP ในเดือนต.ค.24, 2) ไม่มีกำไรพิเศษ, 3) อุปสงค์วัสดุก่อสร้างอ่อนแอ ราคาซีเมนต์ทรงตัว (สำหรับยอดขายซีเมนต์เทาในประเทศทรงตัวq/q แต่เพิ่ม y/y ซึ่งมาจากอุปสงค์โครงการลงทุนภาครัฐ ขณะที่ความต้องการซื้อภาคครัวเรือนลดลง ), 4) มาร์จิ้นปิโตรเคมีลดลง ทั้ง y/y และ q/q และ 5) อุปสงค์บรรจภัณฑ์ชะลอลง รวมทั้งรับรู้ผลขาดทุนจาก Fajar เพิ่มขึ้นหลังขยายสัดส่วนถือหุ้นเป็น 99 99% (จาก 55 55%) ไตรมาสนี้มีกำไรจากสต็อก 1.06 พันล้านบาท
ประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับ 2H24 เท่ากับ 2.5 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 2 เม.ย.2025
เราคาดการณ์ว่าภาพวมธุกิจปิโตเคมีจะยังคอยู่ในช่วงต่ำสุดยาวไปจนถึงปี 2026 2727F เนื่องจากยังมีกำลังการผลิตใหม่ที่ จะทยอยเข้ามาต่อเนื่อง
ผลประกอบการ 1Q25F ยังคงท้าทาย...อัตรากำไร PE ลดงสู่ระดับต่ำมากในรอบ 18 ปี แม้ในช่วงฤดูกาลที่ผู้ผลิตต้องสต็อกสินค้าเพื่อเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้ราคา PE ลดลงต่ำกว่า 900 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2019 และอัตรากำไร PE อยู่ต่ำกว่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2007 เพราะราคาผลิตภัณฑ์ลดลงแต่ต้นทุน Naphtha สูงขึ้น หากไม่มีนโยบายกระตุ้น โดยเฉพาะจากจีน ธุรกิจจะซบเซาไปอีกนาน
ใน ช่วง 1Q25-QTD ราคาของ HDPE เฉลี่ยอยู่ที่ 963 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (-7% y/y, -1% q/q) ส่วนสเปรดอยู่ที่ 290 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน -18 % y/y, -8 % q/q) ส่วนราคา PP เฉลี่ย อยู่ที่ 1,023 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(-2% y/y, +1% q/q) และ สเปรดอยู่ที่ 350 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (-2% y/y, -4% q/q)
คงคำแนะนำถือ ให้ราคาพื้นฐาน 177 บาท (วิธี SOTP) ทั้งนี้แนวโน้มธุรกิจปิโตรเคมียังคงเผชิญความท้าทาย โดยเราคาดว่าภาวะซบเซาจะยืดเยื้อจากปัญหาอุปทานส่วนเกิน ขณะที่อุปสงค์วัสดุก่อสร้างยังอ่อนแอ
นักวิเคราะห์ : ดุลเดช บิค : duladethbik@dbs.com : Tel. 02 857 7833