Equality for All
SCC : บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย
4Q24 รายงนขาดทุน -512 ลบ. หดแรง -171% q-q จากทุกหน่วยหดตัวพร้อม ๆ กัน : สรุปได้ดังนี้
กลุ่มซีเมนต์ : ภาพรวมดีขึ้น y-y จากการเบิกจ่ายงบของรัฐ ขณะที่ราคาขายทรงตัว y-y ขณะที่ q-q ยอดขายอ่อนลงเล็กน้อย และในส่วน EBITDA margin ทรงตัว q-q และมีกำไร 238 ลบ. เพิ่ม 6% q-q
กลุ่มปิโตรเคมี : SCC เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ที่ LSP เมื่อ 30 ก.ย. 2024 แต่จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ต่ำทำให้ SCC มีการบริหารจัดการโดยนำมาผลิตที่โรงงานระยองโอเลฟินส์ (ROC) และมาบตาพุดโอเลฟินส์ (MOC) แทน ทำให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจากการรับรู้ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายที่โรงงาน LSP ทำให้ไตรมาสนี้ขาดทุน 3,403 ลบ. ขาดทุนเพิ่มจาก 1,480 ลบ. ใน 3Q24
กลุ่มบรรจุภัณฑ์ : การดำเนินงานพลิกขาดทุนเช่นกันจากรับรู้การดำเนินงานของ Fajar เต็มไตรมาส และยังมีรายการพิเศษเกิดขึ้นทำให้การดำเนินงานขาดทุน -57 ลบ. จาก 578 ลบ. ใน 3Q24
ได้รับเงินปันผลจากธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร และธุรกิจยานยนต์รวม 7,671 ลบ. และมีกำไรจากสต็อกราว 1,067 ลบ. ทำให้เข้ามาช่วยให้ขาดทุนไตรมาสนี้ลดลง
จ่ายเงินปันผลในอัตราที่เหนือความคาดหมาย : SCC ประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานปี 2024 ที่ 5.00 บาท/หุ้น คิดเป็น payout ratio 95% ของกำไรสุทธิ โดยครึ่งปีแรกจ่ายไปแล้ว 2.50 บาท คงเหลือ 2.50 สำหรับครึ่งปีหลัง
เราพบว่าเป็นการจ่ายที่มากกว่านโยบายบริษัท และสถิติข้อมูลในอดีตที่จ่ายราว 43-47% สะท้อนถึงอุตสาหกรรมที่ยังยากลำบากในการลงทุนใหม่ๆ SCC จึงเลือกคืนผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล
ยังไม่ต้องรีบช้อน
“แม้แนวโน้มการดำเนินงานปี 2025 จะฟื้นตัว แต่คาดจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า เพราะอุปสงค์ยังไม่กลับมาอย่างที่คาด คงรอดูสิ่งที่ SCC จะดำเนินการเพื่อช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ จะส่งผลได้เท่าไหร่ รวมถึงการดำเนินงานของ Fajar จะถึงจุดคุ้มทุนได้เมื่อไหร่ และรอผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนอีกทาง
แม้ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน P/BV ที่เพียง 0.50 เท่า สะท้อนปัจจัยลบของการดำเนินงานมาในระดับหนึ่งแล้ว แต่ทุกอย่างดูช้ากว่าที่คาดทำให้อาจไม่ใช่ตัวเลือกต้น ๆ ในมุมมองของหุ้น Turnaround ”
นารี อภิเศวตกานต์ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน #17971 naree.a@liberator.co.thจาก