Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

439


ภาพตลาดและแนวโน้ม

Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
คุยกันเรื่องเมกะเทรนด์
BLS Wealth Research
Key Takeaways:

โลกกำลังเผชิญความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนี Geopolitical Risk Index (GPR) ที่พุ่งสูงขึ้น และการใช้จ่ายทางการทหารทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.7% ต่อปีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แตะระดับสูงสุดที่ 2.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

การป้องกันประเทศได้เปลี่ยนจาก Traditional Defense สู่ Defense Technology โดยเทคโนโลยีสำคัญประกอบด้วย AI, ระบบอัตโนมัติ, เทคโนโลยีอากาศยานและอวกาศ, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์

แนวโน้มการเข้าสู่ Multipolar World จะหนุนให้การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ NATO ที่คาดว่าจะเพิ่มงบกลาโหมเป็น 2.5% ของ GDP หรือเพิ่มขึ้น 3.07 แสนล้านเหรียญในช่วง 5 ปีข้างหน้า คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 4.1% ต่อปี ซึ่งจะส่งผลดีต่อบริษัทในอุตสาหกรรม Defense Technology เราแนะนำการลงทุนในกองทุน Invesco Aerospace & Defense ETF (PPA)

รายละเอียด:
โลกกำลังเผชิญความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนี Geopolitical Risk Index (GPR) ที่พุ่งสูงขึ้นจากความขัดแย้งในหลายภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิก ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายทางการทหารทั่วโลกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.7% แตะระดับ 2.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2023 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามเย็น หรือคิดเป็น 2.3% ของ GDP โลก
แนวโน้มการเข้าสู่ Multipolar World จะหนุนให้การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จะมีความต้องการยุติสงครามในหลายจุด แต่ความเสี่ยงจากภัยสงครามที่ยังคงมีอยู่ จะทำให้ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อป้องกันภัยคุกคามในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศในกลุ่ม NATO

ปัจจุบันงบกลาโหมของประเทศกลุ่มสมาชิก NATO เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 1.95% ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในยุคสงครามเย็นที่ 3.75% และต่ำกว่าระดับสูงสุดในยุคสงครามเย็นที่ 6.4% มาก เรามองว่าสมาชิกกลุ่มประเทศดังกล่าวมีแนวโน้มจะเพิ่มงบกลาโหมอย่างค่อยเป็นค่อยไป สู่ระดับขั้นต่ำที่ 2.5% ของ GDP ในช่วง 5 ปีถัดจากนี้ ส่งผลให้งบกลาโหมของประเทศสมาชิก NATO จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.1% ต่อปีสู่ระดับ 1.68 ล้านล้านเหรียญในปี 2028 โดยโปแลนด์เป็นประเทศที่มีโอกาสเพิ่มสูงที่สุดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามจากรัสเซียโดยตรง แม้ว่าปัจจุบันใช้งบสูงอยู่แล้ว คือ 3.83% ของ GDP ก็ตาม ขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสก็มีแนวโน้มเพิ่มงบจากระดับ 2.26% และ 2.06% ตามลำดับ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากนี้ฟินแลนด์และสวีเดนซึ่งเพิ่งเข้าเป็นสมาชิก NATO ก็เป็นอีกสองประเทศที่มีแรงจูงใจในการเพิ่มงบฯ เพื่อรับมือกับรัสเซีย ขณะที่เยอรมันถูกกดดันจาก NATO ให้เพิ่มงบจาก 1.52% เป็น 2% แต่ก็ต้องเผชิญกับแรงต้านทางการเมืองในระดับสูง
การเพิ่มงบประมาณกลาโหมของหลายประเทศทั่วโลกส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม Defense Technology เนื่องจากการป้องกันประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากในอดีตที่มุ่งเน้นการเพิ่มกำลังพลและจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แบบดั้งเดิม มาสู่ยุคมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี โดย Defense Technology นั้นมีความเชื่อมโยงไป ในหลายภาคส่วน ได้แก่
1) เทคโนโลยีอากาศยานและอวกาศ (การพัฒนาเครื่องบินรบ อากาศยานไร้คนขับ และระบบดาวเทียม)
2) ระบบขีปนาวุธและอาวุธ (การพัฒนาอาวุธพลังงานสูงและขีปนาวุธ)
3) Cybersecurity (การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร)
4) AI และระบบอัตโนมัติ (การเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองและการวางแผนการรบ) 5) สงครามอิเล็กทรอนิกส์ (การป้องกันระบบสื่อสารและอุปกรณ์ทางการทหารจากการก่อกวนและการโจมตี)

เราแนะนำการลงทุนในกองทุน Invesco Aerospace & Defense ETF (PPA) ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของงบประมาณกลาโหมในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวเน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมที่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศขั้นสูง เช่น Lockheed Martin ผู้ผลิต F-35 Lightning II และระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD, RTX Corp (Raytheon Technologies) ผู้ผลิตระบบ Patriot Missile Defense, Northrop Grumman ผู้พัฒนาโดรนอัตโนมัติและระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น



สรุปภาพตลาดวานนี้
ดัชนีแกว่งตัวลงก่อน แล้วกลับมาปิดเสมอตัววานนี้ หุ้นกดดันตลาดแต่เช้า DELTA CCET (จากกรณี DeepSeek ต่อ) ถัดมา SCGP งบออกมาแย่ซ้ำๆ และช่วงบ่ายแก่ๆ มี OSP-CBG กอดคอกันลงคู่ (เพราะ OSP มีประชุมนักวิเคราะห์ แล้วพูดถึงเรื่องการกลับมาลุยทำตลาดเอา Market Share กลับ) ส่วนหุ้นกลุ่มคอมเมิร์ช พลังงาน ธนาคาร ไฟแนนซ์ เป็นกลุ่มที่ดันตลาดไว้ ส่วนหุ้นกลาง-เล็ก จำนวนมากอยู่ในธีมเกือบหลับ แต่กลับมาได้ เช่น COCOCO LTS OKJ AU SAV

แนวโน้มตลาดวันนี้
กลัวฟองสบู่ AI, หุ้น(ไทย)โลกเก่ากลับมาเป็นหลุมหลบภัย
ตามมุมมองกลยุทธ์ประจำสัปดาห์ ที่เราคาดดัชนีหุ้นไทยจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ 1,330-1,370 จุด แม้ตลาดจะยังไม่หลุดลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ราคาหุ้นรายตัว จะมีความผันผวนสูงมากขึ้น ที่ลบแดงเข้ม เมื่อวานเช่น OSP CBG CCET DELTA ฯลฯ

ขณะที่หุ้นเทคเชื่อมโยงธีม AI ทั้งในและต่างประเทศที่ราคาหุ้นเคยบวกร้อนแรง และราคาหุ้นที่แพง พอเจอข่าวกระทบด้านลบเช่น “Deep Seek” แล้วหุ้นดิ่งลงรุนแรง ทำให้กระแสเริ่มตีกลับ-การเตือนถึงการปรับฐานครั้งใหญ่ของหุ้นเทค PE แพง เริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้น

กลายเป็นโอกาส?...เราเริ่มเห็นแรงขายหุ้นอย่าง DETLA CCET และพบเงินเริ่มกระจายลงไปยังหุ้นอื่นๆ โดยเฉพาะหุ้นธุรกิจดั่งเดิม อย่าง รพ. ธนาคาร ค้าปลีก ขนส่ง แถมอาจจะกลายเป็นหุ้นที่ได้อานิสงส์บวก ถ้าต้นทุนในการใช้เทคฯ AI เพื่อพัฒนาธุรกิจถูกลงในอนาคต เลยเห็นราคาหุ้นไทยกลุ่มดังกล่าวบวกแข็งกว่าภาพรวมตลาดฯ และคาดว่าจะแข็งกว่าตลาดในรอบนี้ต่อไป

สำหรับประเด็นอื่นที่น่าติดตามวันนี้ คือการประชุมเฟดรอบนี้ที่จะคงดอกเบี้ยในระดับสูง เราคาดอาจมีแรงขาย Sell on fact ในสินทรัพย์ที่ตอบรับข่าวนี้ไปมาก เช่น ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่พุ่งขึ้นขานรับ รวมไปถึงค่าเงินดอลล์ที่แข็งค่า ในช่วงก่อนหน้า และคาดว่าจะส่งผลบวกต่อบรรยากาศในการเก็งกำไรตลาดหุ้นเกิดใหม่ในรอบนี้เช่นกัน

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์คงคำแนะนำ เลือกสะสมหุ้นรายตัว รายกลุ่ม ในจังหวะที่ราคาหุ้นตก หรือพักฐาน ด้วยเรามองว่าหุ้นที่เราเลือกแนะนำ ได้พิจารณาแล้วว่าควรจะขึ้นแข็งกว่าตลาด เพราะ 1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought 2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands 3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง 4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25 5) มีปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
DELTA ร่วงต่อ แต่! SET ยืนบวกได้ จับตาสัญญาณ sector rotation เงินโยกย้ายออกจากหุ้น DELTA & CCET มาสู่กลุ่มอื่นๆ ส่วนดัชนีทำ low ที่ 1334 จุด เท่ากับครั้งที่แล้ว ลักษณะ “Double bottom” โดยเปิดต่ำแล้วดึงกลับปิดสูง บ่งชี้สัญญาณกลับตัวระยะสั้น นอกจากนี้ตลาดยังคงสู้ที่ฐาน Consolidate zone และ จุด lowest point ปี 2024… ได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ RSI ยังส่งสัญญาณ “Bullish divergence pattern” เตือนปลายทางขาลง สำหรับมุมมองตลาด week นี้ น่าจะเริ่มเห็นการสร้างฐานออกข้างและมีลุ้นรีบาวด์ โดยมีเงื่อนไขหากทะลุ 1,350 จุดขึ้นไปให้ได้...จะส่งผลให้โครงสร้างกลับทิศเป็นขาขึ้น
สรุป: โมเมนตัมหลายอย่างเริ่มเกิดสัญญาณกลับตัว เหลือแค่เพียงวอลุ่ม ลุ้น Fund flow ไหลเข้าครับ… (อ่านต่อหน้า 12)

What to watch
ประเด็น DeepSeek คู่แข่งด้าน AI ใหม่จากจีน ที่ทำได้ต้นทุนการเทรนด์ต่ำมาก และประสิทธิภาพดี กลายมาเป็นแรงกดดันหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ รวมทั้งหุ้นบลูชิปที่เกี่ยวของของไทยอย่าง DELTA // ติดตามการโต้กลับของเทคฯ สหรัฐฯ
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ 28-29 ม.ค.นี้คาดคงดอกเบี้ยที่ 4.25-4.5% ตามผลสำรวจ FedWatch Tool 100% ยังคงมองดอกเบี้ยไม่ลด แม้ ปธน.ทรัมป์ จะออกตัว กดดันดอกเบี้ยนโยบาย แล้วก็ตาม
การประชุม ธนาคารกลางยุโรป ECB มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม 30 ม.ค.นี้ และธ.กลางอังกฤษ มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25% ในวันที่ 6 ก.พ.
Earnings Previews และ Earnings result ของกลุ่ม Non-Bank
ติดตามถ้อยแถลงจาก ปธน.ทรัมป์ ในวาระต่างๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบรรยากาศลงทุนได้ทั้งบวกและลบ
ประชุมโอเปก 3 ก.พ. มีแนวโน้มเพิ่มกำลังการผลิตรอบใหม่ เมย.นี้ ด้าน รมต.เศรษฐกิจซาอุฯ เผยการเพิ่มกำลังการผลิตเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับความเห็นของ ปธน.ทรัมป์ ที่อยากเห็นราคาพลังงานปรับลดลง

หุ้นแนะนำวันนี้

TTB ผ่านช่วงผลประกอบการ ทางสะดวกเข้าช่วงปันผลให้ Div. Yields ราว 3.7% พร้อม Flow หนุนจากแผนการซื้อหุ้นคืน
(S 1.89 R 2 SL 1.84)

Tactical port ถอด VGI เพิ่ม TTB BCP

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

Thai Market Strategy
สรุปงาน Thai Corporate Day: เสียงจริงจากภาคธุรกิจ (Real sector) ... เศรษฐกิจไทยฟื้นจริงมั้ย? กลุ่มไหนดี? กลุ่มไหนแย่?
กลางเดือนที่ผ่านมา เรามีจัดงาน Thai Corporate Day เชิญผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทฯ ชั้นนำ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐฯ ในหลากหลายอุตสาหกรรม สรุปประเด็นดังนี้
มุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย: ส่วนใหญ่ มี "มุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง (cautious optimism)" การฟื้นตัวพึ่งพาการบริโภคในประเทศ การกระตุ้น การท่องเที่ยว แต่เริ่มเห็นปัจจัยกดดันต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ: คาดทยอยออกต่อเนื่อง หนุนการบริโภคได้บ้าง แต่หลายอย่างต้องใช้เวลา เช่นลดค่าไฟ ขณะที่ภาพหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงทำให้การบริโภคขยายตัวไม่ทั่วถึง โดยกลุ่มที่ดียังเป็นค้าปลีกของใช้จำเป็น และแยกเพิ่มเติมรายพื้นที่ กทม. และจังหวัดท่องเที่ยว ยังดีกว่าต่างจังหวัดอื่นๆ
ภาคการท่องเที่ยว: ระยะสั้นยังคงโดนกดดันจากจีนชะลอตัว (กำลังซื้อที่ลดลง, เที่ยวบินที่น้อยลง, และความกังวลความปลอดภัย) อย่างไรก็ตาม คาดเห็นการฟื้นตัวกลับมา และไทยยังคงเป็นจุดหมายยอดนิยม

การลงทุนจากต่างชาติ: เช่น Data center คาดกระแสการลงทุนจาก Tech ระดับโลกต่อ หนุนกลุ่มนิคมและกลุ่มโรงไฟฟ้าในนิคมในระยะยาว หลังซื้อที่ดินโดยปกติจะใช้เวลาก่อสร้าง และคาดจะหนุนยอดขายน้ำ/ไฟฟ้าในนิคมภายใน 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงผลกระทบจาก Global minimum tax และยังมีความไม่ชัดเจน BOI ที่จะมีมาตรการอุดหนุนลดผลกระทบ (น่าจะเห็นช่วง มี.ค.-เม.ย.) ซึ่งเบื้องต้นคาดจะอิง พรบ. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ ช่วยเหลืออุตสาหกรรมเป้าหมาย/ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น EV, smart electronics, เทคโนโลยีชีวภาพ

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์: มีแนวโน้มการขยายตัวไม่ทั่วถึง โดยแนวโน้มอุปสงค์ของสินค้าที่เกี่ยวกับ AI และ Data center ยังน่าจะเติบโตได้ดี และมี New product สำหรับลูกค้ากลุ่ม Cloud จะ mass production มากขึ้น ในขณะที่สินค้าที่เกี่ยวกับยานยนต์ยังอยู่ในช่วงวัฎจักรชะลอตัว
Transformation ของ AI: คาดยังต้องใช้เวลา แม้ว่าความตระหนักรู้ (Awareness) เกี่ยวกับ AI ในไทยจะสูง แต่การนำไปใช้จริง (Adoption) ยังต่ำ แต่ที่เริ่มเห็นแล้ว เช่น การพยากรณ์ความต้องการ การแนะนำสินค้าใหม่ การจัดการคลังสินค้า เส้นทางการขนส่ง การตรวจจับการทุจริต และการแพทย์ โดยอุตสาหกรรมหลักที่คาดเห็นการนำ AI ไปใช้ก่อน (Early adoption) ได้แก่ ธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล ICT และการผลิต

Strategist’s view: การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ไม่ได้เป็นวงกว้าง ทำให้ยังเน้น “selective buy” กลุ่มกำไรโตเด่น ในกลุ่มค้าปลีกของใช้จำเป็น (CPALL CPAXT), กลุ่มเชื่อมโยงกับท่องเที่ยว เช่น ขนส่ง โรงแรม และกลุ่มปันผลสูงในกลุ่มธนาคาร (เช่น KTB, TTB, KBANK)

 

 

 



รายงานผลประกอบการวันนี้

 

 

(-) SCGP รายงานขาดทุนสุทธิ 4Q24 ที่ 57 ล้านบาท พลิกกลับจากการรายงานกำไรสุทธิใน 4Q23 และ 3Q24 และรายงานกำไรหลักที่ 321 ล้านบาท ลดลง 76% YoY และ 53% QoQ ผลประกอบการต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดว่าจะมีกำไรบางๆ เนื่องจากผลขาดทุนพิเศษที่สูงกว่าคาด ทั้งนี้ SCGP ประกาศจ่ายเงินปันผลอีก 0.30 บาท คิดเป็น Div. Yields 1.8% ขึ้น XD 1 เม.ย. ส่วนแนวโน้ม 1Q25 คาดกำไรหลักจะลดลง YoY (จากราคาขายและอัตรากำไรลด) แต่เพิ่มขึ้น QoQ (จากทั้ง Fajar และธุรกิจเยื่อกระดาษ) เรายังคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 22 บาท

(0) SCGD รายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 80 ล้านบาท หักรายการพิเศษ กำไรหลักอยู่ที่ 180 ล้านบาท ลดลง 8% YoY และ 5% QoQ โดยผลประกอบการหลักเป็นไปตามที่คาด (แต่กำไรสุทธิต่ำกว่าคาด) ทั้งนี้ SCGD ประกาศจ่ายปันผลอีก 0.10 บาท คิดเป็น Div. Yields 2.2% ขึ้น XD วันที่ 31 มี.ค. แนวโน้ม 1Q25 คาดกำไรหลักลดลง YoY จากปริมาณขายลด แต่เพิ่มขึ้น QoQ จากทั้งธุรกิจเซรามิก และสุขภัณฑ์ รวมทั้ง GM ขยายตัว เรายังคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 9 บาท

 


สรุปประเด็นจาก Quick take

COCOCO
ไทย โคโคนัท
ขยายโรงงานกะทิใหม่ที่ฟิลิปปินส์
บริษัทเตรียมลงทุน 430 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตกะทิที่ฟิลิปปินส์ เปิดดำเนินงาน 1Q26
View from fundamental: ตลาดอาจจะสงสัยประเด็นฟิลิปปินส์ แต่เรามองบวก เพราะ COCOCO มีประสบการณ์หาวัตถุดิบจากประเทศนี้มานาน และมองว่ากระจายฐานการส่งออกกะทิไป US หรือ EU ได้ อย่างไรก็ตาม แม้ราคาลงมามากแล้ว แต่ตลาดอาจรอฟังแผนฯ กับรองบฯ 4Q24 ก่อน เรายังคงแนะ wait-and-see

Beverage
การแข่งขันด้านราคาดุเดือด
OSP เตรียมออกผลิตภัณฑ์ M-150 รสชาตดั้งเดิมราคา 10 บาท บุกตลาดร้านโชวห่วย (TT) สะท้อนการแข่งขันรุนแรง อาจกระทบมาร์จิ้นและค่าใช้จ่ายการตลาดของอุตสาหกรรม
View from fundamental: เรามองว่าสงครามราคาจะรุนแรงในปี 2025 กดดันผู้เล่นรายใหญ่ทั้ง CBG และ OSP

MINT
ไมเนอร์
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราคาดกำไรหลัก 4Q24 ที่ 2.7 พันล้านบาท ดีกว่าที่เราเคยคาดไว้ 2.2 พันล้านบาท จากการลดหนี้
View from fundamental: เราเห็น upside จากประมาณการปี 2024 ที่ 6% และ upside ปี 2025 อาจมาจากการลดหนี้ที่เร็วกว่าคาดได้ ทั้งนี้ เราคาดผลการดำเนินงาน 1Q25 จะอ่อนตัวตามปัจจัยฤดูกาลในยุโรป ก่อนจะเข้าสู่ high season ใน 2Q25

 


OSP
โอสถสภา
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราคาดกำไรหลัก 4Q24 ที่ 638 ล้านบาท อ่อนกว่าที่เราคาดไว้ 748 ล้านบาท เนื่องจากรายได้เครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไม่เติบโตและรายได้ผลิตขวดแก้ว OEM ลดลงจากการปรับโครงสร้างธุรกิจและ SG&A สูงขึ้นกว่าคาด
View from fundamental: เราเห็น downside จากประมาณการปี2024 ที่ 3% และเรามองความเสี่ยงสำหรับปี 2025 จากกลยุทธ์การปรับพอร์ตสินค้าอาจกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้นและค่าใช้จ่ายในการขายสูงขึ้นจากการทำการตลาด

WHA
ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
ปี 2024 น่าจะรายงาน new recorded core profit ตั้งเป้ายอดขายที่ดินปี 2025 ที่ 2,350 ไร่ (เพิ่มจากเป้าเริ่มต้นปี 2024 ที่ 2,275 ไร่ แต่ต่ำกว่ายอดขายจริงในปี 2024 ที่ 2,565 ไร่

View from fundamental: เราเชื่อว่า WHA จะมีการปรับเป้ายอดขายที่ดินเพิ่มในภายหลัง อย่างไร ก็ตาม ยอดโอนในปี 2025 และราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ WHA รายงานกำไรปี 2025 new high อีกครั้ง

 


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้