MARGIN มากดดัน ช่วงที่TURNOVER ตลาด ต่ำ
SET INDEX วานนี้ปรับตัวลงแรง ซึ่งต้นเหตุประการสำคัญคาดว่ามาจากกลไกการ FORCE SELL ของบัญชีMARGIN ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่มี TURNOVER ต่ำกว่าปกติมาก และปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานมีน้ำหนักในทางลบ ทำให้ผลกระทบต่อ SET INDEXดูรุนแรง และอาจมีMOMENTUM เชิงลบต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้จากตัวเลขที่มีการเปิดเผยพบว่า ณ สิ้น พ.ย.67 มีมูลค่าหลักทรัพย์ที่ถูกวางประกัน MARGIN 2.51 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.4% ของ MARKET CAPตลาด ในเชิงกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยงการเลือกหุ้นที่มีสัดส่วนการวางประกัน MARGIN ต่ำก็น่าจะมีความปลอดภัยมากกว่า ส่วนประเด็นอื่นที่อยู่ในความสนใจคงเป็นเรื่องทิศทางดอกเบี้ยภาพที่เห็น FED น่าจะปรับลดดอกเบี้ยปี 2568 เพียง 1 ครั้งช่วงกลางปีกระแสกดดันจากกรณีMARGIN ยังคงมีอยู่ ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานก็ยังไม่มีแรงหนุนที่ชัดเจน คาดแนวรับ 1360 จุด ถัดไปที่ 1350 จุดแนวต้าน 1375 จุด TOP PICK เลือก INTUCH, MASTER และ OSP
ปัจจัยแวดล้อมยังวนเวียนอยู่กับเรื่องทิศทางดอกเบี้ย
รายงานล่าสุดของ FED เผยว่านโยบายการเงินจะพิจารณามาตรวัด “MARKETBASED INFLATION” มากขึ้น เนื่องจากเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ไม่รวมบริการที่ไม่
สามารถวัดราคาได้โดยตรงและต้องประมาณการแทน (ไม่มีข้อมูลที่แท้จริงจากผู้บริโภค) ทำให้สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจที่แท้จริงได้มากกว่า ขณะที่ “MARKETBASED INFLATION” ทรงตัวอยู่บริเวณ 2.4% ตั้งแต่เดือน พ.ค.67แล้ว
สำหรับมุมมองต่อทิศทางดอกเบี้ยสหัฐฯ ล่าสุดมีเจ้าหน้าที่ FED 2 ราย ออกมาให้ความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
• CHRISTOPHER WALLER (ผู้ว่าการ FED) สนับสนุน “การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม” ในปี 2568 พรอ้มทั้งชี้ว่า เงินเฟ้อในปี 2567 ส่วนใหญ่ “เพิ่มขึ้นจาก
ราคาประมาณการ” เช่น บริการที่อยู่อาศัย (โทนค่อนข้าง DOVISH)
• SUSAN COLLINS (ประธาน FED สาขาบอสตัน) สนับสนุน “การปรับลดดอกเบี้ยให้น้อยลง” ในปี 2568 และควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง เนื่องจาก
ข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งและเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ (โทนค่อนข้าง HAWKISH)
ส่วนในมุมของของนักลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คาด FED จะลดดอกเบี้ยครั้งแรกของปี2568 ในเดือน พ.ค. 68(เดิมคาดเดือน มิ.ย. 68) อย่างใรก็ตาม โดยรวมยังเชื่อปีนี้จะเห็นเกิดขึ้นการลดดอกเบี้ยแค่ 1 ครั้ง และอาจเกิดขึ้นในช่วง 2Q68
นอกจากนี้ ในฝั่งของจีนมีรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 67ขยายตัว +0.1% ตามคาด แต่ชะลอตัวลง 4 เดือนติดต่อกัน และทำจุดต่ำสุดในรอบ 9 เดือน สะท้อนภาคการบริโภคภายในประเทศอ่อนแอ สะท้อนถึงความจำเป็นกระตุ้น DEMAND เพิ่มขึ้นขณะที่ระยะถัดไป อาจสร้างความคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ การออกพันธบัตรรัฐบาลพิเศษ 3 ล้านล้านหยวน รวมถึงการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น โดยการปรับลดดอกเบี้ย และปรับลด RRRในปีนี้
สรุป FED เผยว่านโยบายการเงินจะพิจารณามาตรวัด “MARKET-BASED
INFLATION” มากขึ้น คาดสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจที่แท้จริงได้มากกว่า ขณะที่ในมุมมองของนักลงทุน ยังคงคาดว่า FED อาจเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วง 2Q68 ส่วนในฝั่งของจีนเห็นสัญญาณบริโภคภายในประเทศอ่อนแอ สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
TRUMP 2.0 กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทย
วันนี้นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (NONFARMPAYROLL) ของสหรัฐฯ เพื่อประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ FED ซึ่งการคาดการณ์จาก BLOOMBERG บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าว จะเพิ่มขึ้นเพียง 165,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค.67 หลังจากเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย.67 ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันให้ FED ส่งสัญญาณ HAWKISH น้อยลงก็เป็นได้
ขณะที่การกลับมาของ DONALD TRUMP มาพร้อมกับการผลักดันนโยบายAMERICAN FIRST ทำให้ทั่วโลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนที่รออยู่ข้างหน้า ซึ่งล่าสุด2-3 วันที่ผ่านมา TRUMP ประกาศว่าจะมีแผนประกาศภาวะฉุกเฉินเปิดทางใช้นโยบายตั้งกำแพงภาษีหลังเขาเข้ารับตำแหน่ง 20 ม.ค.68 ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีแนวทางเป็นเช่นไร เนื่องจากก่อนหน้านี้ TRUMP ได้กล่าวว่าเตรียมจะเพิ่มภาษีนำเข้าจากต่างประเทศ 10%-20% แคนนาดา-เม็กซิโก 25% และจากจีน 60% รวมถึงตั้งกำแพงภาษีกลุ่ม BRICS 100%
ในแง่มุมของประเทศจีน แม้จะมีการลดความเสี่ยงภาคการค้า โดยส่งออกไปหลากหลายประเทศทั่วโลก แทนการพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นหลัก ทำให้การขึ้นภาษีจีนรอบนี้ อาจจะไม่กระทบหนักทางตรงเฉกเช่นในอดีต แต่จะส่งผลกระทบทางอ้อม หากสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าทั่วโลก 10-20% ขณะที่ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในสัดส่วนสูง มีแนวโน้มเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแคนนาดา เม็กซิโก รวมถึงไทย
สรุป รัฐบาลยุค TRUMP 2.0 อาจส่งผลกระทบต่อการจัดระเบียบโลกใหม่ โดยการพึ่งพาการเติบโตภายในประเทศมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ เสี่ยงแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งไทยถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากสหรัฐฯขาดดุลทางการค้ากับไทยสูงสุดเป็นอันดับ 12 ดังนั้น ช่วงสั้นหุ้นไทยกลุ่มส่งออกจึงอาจโดนSENTIMENT เชิงลบดังกล่าวได้
มูลค่าซื้อขายเบา กังวล MARGIN กดดันตลาดผันผวน
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงสุดในรอบ 3 เดือน -24.75 จุด หรือ –1.78% โดยตลาดกังวลเรื่องมาร์จิ้น และ FORCE SELL ส่งผลให้ปีนี้ SET -37.24 จุด หรือ -2.66% โดยปัจจัยกดดันตลาดอื่นๆ เช่น GLOBAL MINIMUM TAX, ค่า ไฟฟ้า 3.7บาท/หุ้น, ไวรัส HMPV, คนจีนหายตัว, ส่งผลให้ FLOW ยังไม่ไหลเข้าในช่วงสั้น และมูลค่าซื้อขายที่เบาบางทำให้ตลาดหุ้นผันผวนเป็นพิเศษฝ่ายวิจัยฯ ทำการวิเคราะห์ MARGIN คงค้างทั้งหมดในระบบ มีไม่มาก 2.51 แสนล้าน
บาท คิดเป็นสัดส่วน 1.4% ของ MARKET CAP ตลาดฯ (ข้อมูล ณ พ.ย. 67)
และถ้าวิเคราะห์มูลค่า BLOCK TRADE คงค้างล่าสุด (10 ม.ค. 68) พบว่า มีมูลค่า2.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 58% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งหมดของตลาดในปีนี้
แม้สัดส่วนโดยรวมของหุ้นที่วางหลักประกัน กับมูลค่า BLOCK TRADE จะมีไม่เยอะแต่สภาวะตลาดที่มูลค่าซื้อขายเบาบาง อาจทำให้หุ้นที่มีจำนวนหุ้นที่วางMARGIN ต่อจำนวนหุ้นทั้งหมดในระดับสูง และมี BLOCK TRADE ในระดับสูงมีโอกาสที่จะผันผวนมากกว่าหุ้นตัวอื่นๆได้
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับฐานลงมาลึก แต่มีโอกาสถูกFORCE SELL ต่ำ คาดมีโอกาสฟื้นเร็วกว่าหุ้นตัวอื่นๆ ผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. เป็นหุ้นขนาดใหญ่ ลงมาเกิน -10% ในปีนี้
2. เป็นหุ้นที่มีปริมาณ BLOCK TRADE < มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน
3. เป็นหุ้นที่มีการวาง MARGIN ในสัดส่วนที่ต่ำ < 5% ของหุ้นจดทะเบียนทั้งหมด
แนะนำทยอยสะสม SJWD, TOP, CENTEL,SCGP, ERW, SCC
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์