SENTIMENT ไม่ดี ... ไม่ใช่เพราะภาษีส่วนเพิ่ม
SET INDEX ที่ปรับลดลงแรงในวันทำการแรกของปี 2568 เรามองว่าเป็นเพราะความกังวลตัวเลข PMI เฉพาะอย่างยิ่งจีน และ ยุโรป ที่ออกมาไม่ดีซึ่งเมื่อนำไปรวมกับการที่ต้องเจอกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของปธน.ท่านใหม่ของสหรัฐฯ ก็ทำให้เกิด SENTIMENT เชิงลบที่มีน้ำหนักมากขึ้น ส่วนประเด็นเรื่อง พรก.ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ที่มีผลบังคับใช้1 ม.ค.68 น่าจะมีผลต่อตัวเลขการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนไม่มากเพราะจากข้อมูลที่พบ บริษัทที่มีรายได้เกิน 750 ล้านยูโร ,มีการลงทุนอยู่ในกลุ่มประเทศ OECD และมีEFFECTIVE TAX RATE ต่ ากว่า 15%ส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจในประเทศไทยที่ได้รับ BOI ซึ่งน่าจะมีกลไกในการคุ้มครอง หรือได้รับการชดเชยด้วยมาตรการบางอย่าง และหากจะมีผลจริงก็น่าจะเป็นการยื่นของ BOI ในโครงการใหม่ๆ ในอนาคตหลังการปรับลดแรงวานนี้ เป็นไปได้ที่จะเห็น TECHNICAL REBOUNDแต่อยู่ในกรอบจำกัด เพราะไม่มีปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเป็นแรงหนุน
กรอบ 1370 –1387 จุด TOP PICK เลือก BBL, PLANB และ PTTGC
สัญญาณเศรษฐกิจอ่อนแอดูชัดเจนขึ้น
วานนี้ หลายประเทศเผยตัวดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือน ธ.ค. 67 รายละเอียดดังนี้
- จีน แตะระดับ 50.1 จุด แม้ภาคการผลิตจีนจะอยู่ในโซนขยายตัว50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 (PMI > 50) แต่ล่าสุดยังต่ ากว่าตลาดคาดและชะลอตัวจาก
เดือน พ.ย. ที่ระดับ 50.3
- ยุโรป แตะระดับ 45.1 จุด ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาดและชะลอตัวจากเดือน พ.ย. ที่ระดับ 45.2 จุด อีกทั้งภาคการผลิตยุโรปอยู่ในโซนหดตัวต่อเนื่องราว 2 ปีครึ่ง(PMI < 50)
-สหรัฐฯ แตะระดับ 49.4จุด ชะลอตัวจากเดือน พ.ย. ที่ระดับ 49.7 จุด ซึ่งภาคการผลิตสหรัฐฯ อยู่ในโซนหดตัวติดต่อกันเดือนที่ 6แล้ว (PMI < 50)
ภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง กำลังสะท้อน DEMAND ซบเซา ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2567 ได้
สัญญาณเศรษฐกิจอ่อนแอมากขึ้น อาจส่งผ่านต่อการตีความทิศทางดอกเบี้ย โดยล่าสุด FEDWATCH TOOL คาด FED มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง1Q68 (จาก 4.5% สู่ระดับ 4.25%) ขณะที่ ECB อาจลดดอกเบี ยต่อเนื่องมากถึง 4ครั ง ในปีนี้นับตั งแต่การประชุมรอบแรกเดือน ม.ค. – มิ.ย. (จาก 3.0% สู่ระดับ 2.0%)ซึ่งในกรณีที่ ECB ลดดอกเบี้ยเร็วและมากกว่า FED อาจกดดันค่าเงินยูโรอ่อนค่า (EUR มีสัดส่วนในตะกร้าเงินดอลลาร์ 57%) และทำให้ DOLLAR แข็งค่าขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ
DOWNSIDE กำไรตลาดมากน้อยเพียงใด และหุ้นใดน่าทยอยสะสม
ข้อมูลจาก BLOOMBERG ล่าสุดประเมิน EPS25F ที่ 98.3 บาท/หุ้น มี EPSGROWTH +12.3%YOY ซึ่งถือว่าเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตาม หากแปลง EPS ดังกล่าวเป็นกำไรสุทธิปี 2568จะเทียบเท่าระดับ 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี เฉลี่ยต่อไตรมาสอยู่ที่ 3แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นได้ยาก เพราะสูงกว่ากำไรระดับปกติต่อไตรมาสที่ระดับ2.5 แสนล้านบาท
ทำให้ช่วงต้นปีน่าจะเห็นการทยอยปรับประมาณการกำไรลงได้ดังนั นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการรวบรวมข้อมูลว่า ช่วงต้นปีนักวิเคราะห์สำนักต่างๆ ปรับประมาณกันอย่างไร?พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์สำนักต่างๆ ปรับประมาณการกำไรตลาดลงถึง 8 ใน 10 ปี และเฉลี่ยปรับ EPS ลงในเดือนแรกของปี -1.7 บาท/หุ้น และปรับลงในไตรมาสแรกของปีที่ -5.6 บาทต่อหุ้น ดังนั้น EPS 2568 อาจถูกปรับลงเหลือ 92.7-96.5บาท/หุ้นได้ในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้าและหากตีเป็น IMPACT ต่อ SET อาจกดดัน SETINDEX ราว 30 ถึง 90 จุด
เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ DOWNSIDE EPS25F จะอยู่ระดับ 92.7-96.5 บาท/หุ้น และทำSENSITIVITY ของเป้าหมายดัชนีปี 2568 อิง MEYG ที่ 3.8% ดอกเบี้ยนโยบาย2.25% ได้ P/E ที่เหมาะสม 16.5 เท่าเมื่อคูณกับ EPS68F ที่ระดับต่างๆที่กล่าวไป จะได้เป้าหมายดัชนีปลายปี2568 ที่ระดับ 1521-1587 จุด ซึ่งยังมี UPSIDE จากดัชนีปัจจุบันราว 10%-15%
ขณะที่ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นที่ DOWNSIDE ค่อนข้างจำกัด หรือ ถือยาวรอการเติบโต โดยใช้เงื่อนไข ดังนี้
1. ราคาเป้าหมายปี 2025 และ ราคาหุ้นปรับตัวลง สอดคล้องกันในช่วง 2สัปดาห์ที่ผ่านมา
2. EPS GROWTH25F ยังเติบโต >0%
3. ราคาหุ้นปัจจุบัน ยังมี UPSIDE ให้ทยอยสะสม
GLOBAL MINIMUM TAX กระทบกับหุ้นไทยอย่างไรบ้าง
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปภาษีนิติบุคคลในไทย เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ขององค์กรเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ด้วยมาตรการPILLAR 2 จัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรการต้องเสียภาษี้นต่ำ(GLOBAL MINIMUM TAX) ในอัตรา 15% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค.2568 เป็นต้นไป ฝ่ายวิจัยสรุปบริษัทที่จดทะเบียนในตลท.ที่ศึกษา และมีฐานรายได้เข้าเกณฑ์มากกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีบริษัทที่อาจจะได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่ที่ EFFECTIVE TAX RATE ต่ ากว่า 15% เป็นเพราะการได้รับ BOIของธุรกิจในประเทศ ซึ่งน่าจะมีแนวทางแก้ไข หรือ ลดผลกระทบ
DELTA - ในช่วง 9M67 ที่ผ่านมา DELTA มีรายได้รวม 1.6 แสนล้านบาท และจ่ายภาษีที่อัตรา 2.4% เพราะได้รับการสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOI และมีโรงงานหลักอยู่ในไทยที่กำลังจะเข้า OECD ซึ่งหากต้องปรับไปใช้ภาษี 15% ตามเกณฑ์ของ OECD จะทำให้ภาษีจ่ายจะเพิ่มขึ้น 12% - 13% อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะได้รับการเยียวยา BOI
นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยได้ประเมินผลการดำเนินงานและมูลค่าหุ้น DELTA อย่างอนุรักษ์นิยม โดยกำหนดให้จ่ายอัตราภาษีที่ 15% ตั งแต่ปี 2568 เป็นต้นไปในประมาณการแล้ว
TU - ปี 2566 รายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่ 1.36 แสนล้านบาท และ 9M67 รวม 1.03 แสนล้านบาท ขณะที่ทั งกลุ่มเสียภาษี หรือ (EFFECTIVE TAX RATE) 9M67 อยู่ที่ 7.6% ต่่ำกว่าGMT ที่ 15% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้สิทธิทางภาษีBOI ในไทย ทำให้ภาษีธุรกิจในไทยอยู่ระดับต่่ำ ทั้งนี้ จากการสอบถามข้อมูลกับทางบริษัทเบื้องต้น แจ้งว่าตอนนี้ อยู่ระหว่างประเมินผลกระทบ และรอความชัดเจนของภาครัฐ รวมถึงแนวทางการช่วยเหลือของBOI ก่อน อย่างไรก็ดีหากประเมินผลกระทบภายใต้กรณีภาษีขึ้นเป็น 15% และองค์ประกอบอื่นคงที่ในปี 2568 (จากสมมติฐานของฝ่ายวิจัยกำาหนดอัตราภาษีในประมาณการระดับ 7%) คาดส่งผลให้กำไรปี 2568 ลดลงราว 10%
GULF - มีการลงทุนในกลุ่มประเทศ OECD คือสหรัฐฯ และ เยอรมนีในปี 2566 โดยในงวด 9M67 มี EFFECTIVE TAX RATE ที่ 3.1% และ 2.6% ตามลำดับ ซึ่งต่่ำกว่า GMTที่ 15% เบื้องต้นหากปรับปรุงอัตราภาษีใหม่ในปี 2568 ขึ้นมาอยู่ที่ 15% จากประมาณการเดิมที่ 1.3% คาดจะส่งผลให้กำไรสุทธิปี2568 ลดลงจากเดิมราว 13.4% มาอยู่ที่1.9 หมื่นล้านบาท
BPP - มีการลงทุนในกลุ่มประเทศ OECD คือสหรัฐฯ โดยปี 2566 และ 9M67 มีEFFECTIVE TAX RATE ที่ 5.9% และ 9.5% ตามลำดับ ซึ่งต่่ำกว่า GMT ที่ 15%เบื้องต้นหากปรับปรุงอัตราภาษีใหม่ในปี 2568 ขึ นมาอยู่ที่ 15% จากประมาณการเดิมที่ 6.6% คาดจะส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2568 ลดลงจากเดิมราว 9.0% มาอยู่ที่ 3.0พันล้านบาท
EGCO - มีการลงทุนในกลุ่ม OECD คือสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย โดยปี 2566 และ9M67 มี EFFECTIVE TAX RATE ที่ 8.3% และ 14.1% ตามลำดับ เบื้องต้นหากปรับปรุงอัตราภาษีใหม่ในปี 2568 ขึ นมาอยู่ที่ 15% จากประมาณการเดิมที่ 11.4%คาดจะส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2568 ลดลงจากเดิมราว 4.1% มาอยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท
BGRIM - มีการรับรู้รายได้รวมจากในประเทศไทย และต่างประเทศ เข้าเกณฑ์เกิน 2.6หมื่นล้านบาท/ปี และมีการลงทุนในประเทศสมาชิก OECD เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เป็นต้นโดยในปี 2566 และ 9M67 มี EFFECTIVE TAX RATE ที่ 8.1% และ 16.0% ตามลำดับแต่อย่างไรก็ตาม ในประมาณการปี 2568 ของฝ่ายวิจัย เบื้องต้นกำหนดสมมติฐานอัตราภาษีของ BGRIM ที่ 7.3% ซึ่งหากปรับปรุงอัตราภาษีใหม่ที่ 15% คาดจะส่งผลกระทบต่อกำไรปี 2568 ให้ลดลง 8.3% จากเดิมมาอยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท
GPSC - มี EFFECTIVE TAX RATE ปี 2566 และ 9M67 ที่ 9.5% และ 1.4%ตามลำดับแต่อย่างไรก็ตามในประมารการปี 2568 ของฝ่ายวิจัย ได้กำหนดให้มีEFFECTIVE TAXRATE เกินเกณฑ์ 15% แล้ว จึงคาดจะมีผลกระทบจำกัดต่อประมาณการก าไรในปัจจุบันของ GPSC
RATCH - มี EFFECTIVE TAX RATE ปี 2566 และ 9M67 ที่ 13.6% และ 11.6%ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามในประมารการปี 2568 ของฝ่ายวิจัย ได้กำหนดให้มีEFFECTIVE TAX RATE เกินเกณฑ์ 15% แล้ว จึงคาดจะมีผลกระทบจำกัดต่อประมาณการกำไรในปัจจุบัน
RCL - มีการลงทุนในกลุ่มประเทศ OECD คือ มีสำนักงานตัวแทนในเกาหลีใต้ , ปี 2566และ 9M67 มี EFFECTIVE TAX RATE ที่ 7% และ 1.5% ตามลำดับ ซึ่งต่่ำกว่า GMT ที่15%, เบื้องต้นหากปรับปรุงอัตราภาษีใหม่ในปี 2568 ขึ้นมา อยู่ที่ 15% คาดจะส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2568 ลดลงจากเดิมราว 5.5% มาอยู่ที่ 2.69 พันล้านบาท
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์