Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

311

 


ดอกเบี้ย อยู่ใน ขาลง หรือ ขาทรง ?
ในส่วนของ FED ซึ่งเป็นหัวขบวนของทิศทางดอกเบี้ยโลก เริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นของการทรงตัวดอกเบี้ยนโยบาย เริ่มจากBOND YIELD 10 ปี ตัดทะลุอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา,FEDWATCHTOOL และ DOT POT ส่งสัญญาณว่าในปี 2568 อาจลงดอกเบี้ยแค่ 1ครั้ง, ความน่าจะเป็นที่จะเกิด RECESSION ในช่วง 12 เดือนข้าง ลดลงขณะที่ตลาดแรงงานอยู่ในภาวะแข็งแรง ย้อนกลับมาดูที่บ้านเรา ภาวะดังกล่าวทำให้โอกาสที่ กนง. จะปรับลดดอกเบั้ยลดลง และหากเป็นไปตามที่คิดก็จะทำให้ภาระการกระตุ้นเศรษฐกิจตกอยู่ที่นโยบายการคลังซึ่งเราก็มีข้อจำกัดทางการคลังจากหนี้สาธารณะที่สูง องค์ประกอบดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงที่จะเปิด DOWNSIDE ให้กับคาดการณ์ GDPGROWTH และ อาจจะรวมถึง EPS GROWTH ของบริษัทจดทะเบียนด้วยช่วง 2 วันทำการสุดท้ายจะเป็นการสู้กันระหว่างแรงซิ้อเพื่อทำ WINDOWDRESSING กับแรงขายทำกำไร ทำให้SET INDEX ผันผวน กรอบวันนี้1387-1405 จุด TOP PICK เลือก INTUCH, KTB และ PTTGC


ปัจจัยแวดล้อมยังดูทรงตัว
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวในกรอบแคบราว -0.05% ถึง +0.9% หลังปิดทำการในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ขณะที่สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ 219,000 ราย ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด 223,000 ราย และชะลอตัวลงจากสัปดาห์ก่อนที่ 220,000 ราย นอกจากนี้ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยปี 2019 ที่217,122 ราย สะท้อนภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ไม่น่าจะทรุดตัวลงแรงในระยะเวลาอันใกล้อาจทำให้ทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปี 2025 เกิดขึ้นแค่ 1 ครั้ง


ส่วนในฝั่งประเทศจีนWORLD BANK ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP GRWOTH จีน ในปี 2024F เป็น 4.9% (เดิม 4.8%) และปี 2025F เป็น 4.5% (เดิม 4.1%) หลังรัฐบาลจีนออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่นับแต่ช่วงปลาย ก.ย. และการส่งออกที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม WORLD BANK เตือนความเชื่อมั่นที่ถดถอยทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมถึงแรงกดดันในภาคอสังหาริมทรัพย์ จะยังคงฉุดรั้งเศรษฐกิจจีนในปี 2025

 

นโยบายการคลังกำลังตึงตัว หากมีนโยบายการเงินเข้ามาช่วยคงจะดีไม่น้อย
ภาพเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยที่ยังขับเคลื่อนได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งยังต้องการแรงกระตุ้นทั้งในส่วนของนโยบายการคลังที่เข้มข้น และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น

ขณะที่ทางฝั่งนโยบายการคลังยังเห็นมาตรการกระตุ้นเรื่อยๆ ผ่านการรวบรวมข้อมูลของฝ่ายวิจัยฯ ที่ว่ารัฐบาลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้-รายจ่าย/ GDP พบว่าในปี2567 สัดส่วนรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรร/GDP อยู่ที่ 15.1% ส่วนสัดส่วนงบประมาณรายจ่าย/GDP อยู่ที่ 18.9% ซึ่งปีหน้าตัวเลขยังสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 19.8%ตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ ประเทศไทยขาดดุลงบประมาณมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2568 มีการขาดดุลงบประมาณสูงถึง8.7 แสนล้านบาท


ซึ่งตามมาด้วยการอนุมัติ EASY E-RECEIPT, แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 และการเติมเม็ดเงินให้ชาวนาไร่ละ 1000 บาท ทำให้ของขวัญปีใหม่จากกระทรวงการคลัง ในช่วงเดือน ธ.ค. 67 – ก.พ. 68 (รวม 3 โครงการ) มีเม็ดเงินอีดฉัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจราว1.45 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.81% ของ GDP


อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะข้างหน้า อาจทำให้การคลังของไทยเผชิญกับความท้าทาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกรอบงบประมาณรายจ่ายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องท่ามกลาง GDP GROWTH ขยายตัวไม่สูงมาก เสี่ยงดันหนี้สาธารณะ/ GDP ปริ่มเพดาน 70% ในระยะถัดๆไป

 

ขณะที่ในมุมของนโยบายการเงินล่าสุด กนง.ให้ความเห็นว่า เราไม่ได้เหยียบเบรคและก็ไม่ได้ถึงกับกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ ซึ่งมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เป็นกลาง (NEUTRAL RATE) อย่างไรก็ตามในระยะถัดไป หาก กนง.เห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจแย่กว่าคาด ก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเสมอ ส่วนมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ เรามองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้งราว 0.25%หรือ 25 BPS. แต่น่าจะทิ้งช่วงไปเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือกลางปี 2568 ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้ง จะสามารถขยับดัชนีเป้าหมายขึ้นราว 70 จุด ตามกลไกของPE ที่ยกขึ้น 0.7 เท่า

 

สรุป เศรษฐกิจไทยถ้าจะฟื้นแรง ต้องการแรงผลักจากนโยบายการคลังเพิ่มเติม แต่ติดที่หนี้สาธารณะ/GDP ของไทยสูง ใกล้ชนเพดาน จึงทำให้อาจมีความเสี่ยงที่จะเกินกรอบทางวินัยได้ ดังนั้นหากได้แรงกระตุ้นจากนโยบายการเงินผ่านการลดดอกเบี้ยน่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยบได้ระดับหนึ่ง

วันนี้ ROLLOVER FUTURE แต่น่าจะผันผวนไม่มาก
วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่นักลงทุนต้อง ROLLOVER FUTURES ซีรีย์ “Z24” ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในก่อนวันทำการสุดท้ายตอนสิ้นไตรมาส ทำให้ตลาดหุ้นไทยมักจะผันผวนในช่วงท้ายๆ ก่อนตลาดปิดเสมออย่างไรก็ตามหากประเมินสัญญาคงค้างหรือ OI ของ S50Z24 พบว่า มีสัญญาคงค้างเหลือเพียง 1.58 แสนสัญญา น้อยกว่าช่วง ROLLOVER 4 ครั้งก่อนหน้า ที่มีสัญญาเฉลี่ย 2.42 แสนสัญญา ดังนั้นตลาดหุ้นไทยในช่วงท้ายของวัน อาจไม่ได้ผันผวนแรงเหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา


ต้นปี 2568 ประเมินตลาดอาจถูกกดจากการลด EPS เท่าไหร่?ปัจจุบัน ณ 26 ธ.ค. 24 ข้อมูลจาก BLOOMBERG ประเมิน EPS25F ที่ 98.5 บาท/หุ้น เทียบเท่ากำไร 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี เฉลี่ยต่อไตรมาสอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท ถือว่าเกิดขึ้นได้ยาก เพราะสูงกว่ากำไรระดับปกติต่ไตรมาสที่ 2.5 แสนล้านบาท


ทำให้ช่วงต้นปีน่าจะเห็นการทยอยปรับประมาณการกำไรลง ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการรวบรวมข้อมูลว่า ช่วงต้นปีนักวิเคราะห์สำนักต่างๆ ปรับประมาณกันอย่างไร?พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์สำนักต่างๆ ปรับประมาณการกำไรตลาดลงถึง 8 ใน 10 ปี และเฉลี่ยปรับ EPS ลงในเดือนแรกของปี -1.7 บาท/หุ้น และปรับลงในไตรมาสแรกของปีที่ -5.6 บาทต่อหุ้น อาจกดดัน SET INDEX ราว 30 ถึง 90 จุดได้(อิง P/E 16.5 เท่า)


แสดงว่าตลาดหุ้นไทยช่วงต้นปีหน้ายังมีแรงกดดันจากการปรับทยอยลด EPS68Fของ SET INDEX ลง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะสร้างความผันผวนได้

 

Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ประคับประคอง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทย คงประคับ ประคอง แกว่งตัวไปมา ท่ามกลาง บริษัทจดทะเบียนไทย...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้