Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

459

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

สรุปภาพตลาดวานนี้
SET แกว่งตัวปิดลบเล็กน้อย แต่พบการหมุนกลุ่มเข้าธนาคารตามคาดทั้ง KTB BBL SCB KBANK โดยยังมีแรงซื้อของ นลท. สถาบันเป็นตัวหนุน และเห็น DELTA ลงแล้วขึ้นมาปิดบวกระหว่างวัน (วันที่ 11 นี้ลุ้นหลุดแคชตามกำหนด) ส่วนกลุ่มอื่นๆ พบ Flow การเก็งกำไรหุ้นกลางเล็กใน LTS MBK DPANIT เป็นต้น สำหรับแรงขายกลุ่มใหญ่ที่ถูกหมุนออก GULF INTUCH (ขายเบาๆ) CPALL BH BDMS OR และ SCC PTT PTTEP

แนวโน้มตลาดวันนี้
รัฐฯ ชวนคัท หนี้, บัวฯชวน คัท/คัด หุ้น
เราคงกรอบสัปดาห์นี้ตามเดิม คาดดัชนีหุ้นไทยยกสูงขึ้น ในกรอบ 1,440 ถึง 1,470 จุด และปริมาณการซื้อขายจะกลับมาคึกคักมากขึ้นหลังพ้น สัปดาห์วันหยุดฟันหลอ ของไทย
โดยวันนี้กระแสเด่นๆ คงหนีไม่พ้นเรื่อง แก้หนี้ แฮร์คัทหนี้ ซึ่งแน่นอนเรามองเป็นบวกหนุนหุ้นแบงก์ และเป็นกลุ่มเด่นของรอบนี้ที่เรา คาดว่าจะถูกหมุนเข้าเล่นขึ้นดีกว่าตลาด
ด้านราคาหุ้นรายตัวที่น่าสนใจวันนี้ จับตาว่า DELTA ที่โดนมาตรการกำกับซื้อขายจาก ตลท. หากหลุดกรง Cash balance อาจเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการเก็งกำไรขาขึ้นของหุ้นตัวอื่นๆ เพราะเรามองเป็นการส่งสัญญาณ มาตรการกำกับที่อะลุ่มอล่วยมากขึ้น (หลังเจอเคส MONO เตรียมฟ้องศาลร้องเรียน ตลาดฯ เป็นต้น)
ปัจจัยอื่นๆที่ต้องตาม เรายังมองเป็นบวก เช่น การเมืองในประเทศ จากประเด็นข้อเรียกร้อง MOU44 เรามองว่ายังมีทางให้ลง ซึ่งต้องรอดูการตอบสนองของรัฐหลังจากนี้ ปัจจัยต่างประเทศ ผลการประชุมเฟด 17-18 ธ.ค. หากเฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ย เราคาดจะกลายเป็นปัจจัยหนุนหุ้นไทย เพราะที่ผ่านมา หุ้นไทยลง บอนด์ยิลด์สหรัฐขึ้น บาทอ่อน ดอลล์แข็ง ล้วนเป็นผลที่สะท้อน FED Watch tool ก่อนหน้านี้ที่คาดกันว่า เฟดจะไม่ลดดอกเบี้ยในการประชุม เดือน ธ.ค. ขณะที่เรื่องการเมืองใน ตปท.เช่น การละเมิดสัญญาหยุดยิงของอิสราเอล, การยึดอำนาจในซีเรีย ก็ไม่ได้ส่งผลต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เหมือนเมื่อก่อน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกสะสมหุ้นกลุ่มเด่นที่เราคาดว่าจะมี Flows หมุนเข้ามาเล่น และหุ้นรายตัวที่มีประเด็นสนับสนุน

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นตามกระแสการลงทุน โดยเน้นไปที่หุ้นกลางเล็กรายตัว ที่มีปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นให้เก็งกำไรได้ในระยะสั้น รวมไปถึงกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งขึ้น หนุนผลประกอบการในอนาคตฟื้นตัวต่อเนื่อง

วิเคราะห์ทางเทคนิค ดัชนีขึ้นสลับพัก...ภายหลังทดสอบโซนต้านบริเวณ 1,450 จุด เป็นครั้งที่ 4 ขณะที่วอลุ่มเบาบางช่วงวันหยุด จับตา price pattern “Bullish Flag” รอจังหวะทะลุขึ้น (ผ่านได้จะส่งสัญญาณกลับตัว...ขาขึ้นรอบใหม่) ส่วนด้านล่างแนวรับ... 1,430 (แนวรับแข็งแกร่ง) โมเมนตัม RSI flat หลังทะลุเส้น signal line สำเร็จ! ส่วนมุมมองรายเดือนเป้าหมาย bull case 1,480-1,500 จุด (ลุ้นหลัง Fed meeting วันที่ 18 ธ.ค.) และมีโอกาสเกิด Santa rally! Week นี้จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
Note: หุ้นแนะนำแบงค์ BBL KBANK SCB และ TTB ถูกทางสะสมเพิ่ม ส่วนวันนี้เพิ่มเติมกลุ่มค้าปลีก ติดตามแผนเทรดในหน้าเลือกหุ้นเด่นประจำวันครับ

 

What to watch
การเมืองในประเทศ ยังไม่เข้าขั้นที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนหุ้นไทย
12 ธ.ค. แถลงผลงาน รัฐบาลในรอบ 14 เดือนที่ผ่านมา และ แผนงานในอนาคต
หุ้นเข้า ออก จากการคำนวณ SET50-100 รอบใหม่
ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค สัปดาห์นี้ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ (โค้งสุดท้ายก่อนการประชุมเฟด 17-18 ธ.ค.) และการประชุม ECB
ธปท.-คลัง เตรียมตกผลึก มาตรการปรับแก้หนี้ 11 ธ.ค. (SME-บ้าน-รถ)
GOOGLE เปิดตัว ชิพ ใหม่ ที่เพิ่มความเร็วในการคำนวณเป็นอย่างมาก พลิกหน้าประวัติศาสตร์

หุ้นแนะนำวันนี้
BBLหุ้นแบงก์เด่น รับมาตรการแก้หนี้ จากภาครัฐที่มาพร้อมนโยบายชดเชยให้กับกลุ่มธนาคารที่เข้าร่วม (S 152 R 155 SL 150)


รายงานพื้นฐานวันนี้

Thai Market Strategy
ถ้าเศรษฐกิจโลก 2025 ไม่ได้ดีแบบที่ตลาดคาด ตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร
เราศึกษาความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย และภาพกำไรของตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2009-ปัจจุบัน พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงก่อนโควิด การปรับประมาณการณ์ GDP ของโลกกับไทยไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉลี่ยในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว, GDP ไทยมักถูกปรับลงแรงกว่า 2-3 เท่า แต่ช่วงหลังโควิด การปรับประมาณการณ์ GDP ไทย เริ่มสวนทางกับ GDP โลก ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้ GDP โลกถูกปรับขึ้น แต่ไทยกลับยังถูกปรับลงต่อเนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างในประเทศ (หนี้ครัวเรือน และ FDI Net flow ยังหดตัวเทียบก่อนโควิดสวนทางกับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น)
กำไรตลาดหุ้นมีแนวโน้มชะลอตามไปด้วย ในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอช่วงปี 2015/2019 กำไรหุ้นไทยหดตัวราว 5%/10% เทียบกับเฉลี่ย 5 ปีก่อนโควิดที่โตได้ปีละ 5% และการปรับลด GDP ไทยลง 1% มักเห็นการปรับประมาณการณ์กำไรหุ้นไทยลงราว 4.4%
รายงานนี้เรามีศึกษาผลกระทบของเศรษฐกิจไทยต่อ Financial performance ของหุ้นไทยใน 5 ด้าน (อ่านในรายงาน) โดยสรุปกลุ่มที่เป็นผู้ชนะใน Global late cycle คือ หุ้น Defensive Big-caps ใน sector สินค้าจำเป็น, ICT, โรงไฟฟ้า, การแพทย์, อาหาร ส่วนกลุ่มที่แย่ คือ เคมีฯ, อสังหาฯ, วัสดุก่อสร้าง, Packaging, ยานยนต์
สำหรับกำไรหุ้นไทยปี 2025 เราคาด EPS อยู่ที่ 95, คาดต่ำกว่าตลาดคาดที่ 97 ราว 2% (เราเชื่อว่าตลาดทำสูงเกินไป) ประเมิน SET target ปี 2025 อยู่ที่ 1485 (25E EPS 95, growth 9%, PER 15.7, -0.5SD)
Strategist view: กลยุทธ์การลงทุน เน้น 1 Core theme + 3 Satellite themes
Core theme: Global late cycle winner ได้แก่ สินค้าจำเป็น, ICT, โรงไฟฟ้า, การแพทย์, อาหาร
Satellite theme: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่น Finance), หุ้นกำไรดี (ICT, F&B, Transport, Commerce) and ท่องเที่ยว (เช่น Transports), และกระแสย้ายฐานการผลิต (นิคมฯ, โรงไฟฟ้าในนิคม)
เรายังเน้น Selective play ประเมินหุ้นเด่นที่คาดกำไร 4Q24 โตดีทั้ง YoY และ QoQ, Valuations ไม่ตึงเกินไป, โอกาสปรับลดกำไรต่ำ, และตำแหน่งการวิเคราะห์เชิงปริมาณไม่มี extreme stretch ได้แก่ CPAXT CPALL MTC CBG AMATA และอีก 1 หุ้นปันผลสูง WHAUP


Commodities (Tactical)
โอกาสการลงทุนจากความหวังใหม่ในจีน
ข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ในจีนสร้างความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยการประชุม Politburo ของจีนล่าสุดส่งสัญญาณการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ ทั้งในด้านนโยบายการเงินที่ "ผ่อนคลายอย่างเหมาะสม" และนโยบายการคลังเชิงรุก โดยเน้นการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศเป็นลำดับแรกสำหรับปี 2025 พร้อมกับการเสริมสร้างนวัตกรรมและการยกระดับห่วงโซ่อุปทาน
หากมาตรการเหล่านี้ประสบความสำเร็จ เศรษฐกิจจีนจะเติบโตเร็วขึ้น จากการศึกษาในอดีต เราพบว่าดัชนี PMI ของจีนมีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นกลุ่ม Commodity ของไทย โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเคมีภัณฑ์ ตามมาด้วยกลุ่มการขนส่ง วัสดุก่อสร้าง และบรรจุภัณฑ์
Tactical view: เรามองว่าธีมนี้จะสร้างโอกาสการลงทุนระยะสั้นในกลุ่ม Commodity หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนส่งผลบวกตามที่คาดการณ์ หุ้นที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทน ได้แก่ IRPC, IVL, PTTGC, PSL, TTA, RCL, SCC, และ SCGP


Weekly Commodities
ค่าระวางตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้นสูงสุด
ภาพรวมกลุ่ม: สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าระวางตู้คอนเทนเนอร์ปรับตัวขึ้นมากที่สุด WoW ตามมาด้วยสเปรดเคมี ในทางกลับกัน Baltic Dry Index (BDI) และค่า
การกลั่น (GRM) ปรับตัวลดลง

น้ำมันดิบ: ราคาน้ำมันดิบดูไบทรงตัว WoW อยู่ที่ $72.24/bbl โดยมีประเด็นการขยายการลดกำลังการผลิตของ OPEC+ และความไม่แน่นอนในตะวันออกกลาง

ค่าการกลั่น: GRM สิงคโปร์ลดลง $0.20 WoW มาอยู่ที่ $6.08/bbl โดยลดลงจากทุกผลิตภัณฑ์

สเปรดเคมี: ส่วนต่างปิโตรเคมีส่วนใหญ่ขยายตัว WoW ทั้งกลุ่ม Ethylene, Propylene, HDPE และ PP

ถ่านหิน: ดัชนี Newcastle ลดลง 2% WoW มาอยู่ที่ $135.06/tonne จากอุปสงค์ที่อ่อนตัวในภูมิภาค

ค่าระวางเรือ: BDI ลดลง 18% WoW อยู่ที่ 1,208 โดย Capesize ลดลงสูงสุด 32% WoW ขณะที่ World Container Index เพิ่มขึ้น 6% WoW อยู่ที่ 3,533


Fundamental view: เรายังชอบ IVL มากสุดในกลุ่ม จากแนวโน้มกำไรที่แข็งแกร่งใน 4Q24 และคาดการณ์ความต้องการเคมีภัณฑ์ที่สูงขึ้นใน 1Q25
ขณะที่เรายังคงคำแนะนำ ถือ PTTEP เนื่องจากความเสี่ยงด้านอุปทานน้ำมันดิบ และแนะนำ ขายกลุ่มโรงกลั่นหลัง 4Q24 ซึ่งเป็นช่วง High Season ที่ใกล้สิ้นสุด

Tactical Stock
สรุปผลลัพธ์จากการมาเยือนของเจนเซน หวง
รายงาน Tactical Plays "Ahead of Jensen Huang’s Visit" ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 พ.ย. และ 2 ธ.ค. ผลลพธ์ออกมาประทับใจ โดยหุ้นเป้าหมาย 3 ใน 4 ตัวมีผลตอบแทนเฉลี่ย 18% ภายใน 7-11 วัน ซึ่งสูงกว่า SET ที่เพิ่มขึ้นเพียง 1% ในช่วงเวลาเดียวกัน
LTS: +41-52% (เทคนิคใหม่ มองต้านที่ 20 บาท, รับที่ 16-17 บาท)
JTS: +7-8% (ต้านที่ 74 บาท, รับที่ 65-66 บาท)
INSET: +8-16% (ต้านที่ 3.6 บาท, รับที่ 3.26 บาท)
PROEN: ทรงตัว (ต้านที่ 5-5.3 บาท, รับที่ 4.2-4.3 บาท)
สำหรับผู้ที่ล็อคกำไรไปแล้วถือว่าตัดสินใจถูกแล้วในระยะสั้น แต่จากแนวโน้มระยะยาวยังมีศักยภาพจากการเติบโตของ AI และ Data Centers ที่ยังผ่านจุดสูงสุด โดยไฮไลท์สำคัญจากการเยือนของ Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนา AI ในไทย โดยการสร้างความสามารถด้าน AI ที่เป็นอิสระผ่านโครงสร้างพื้นฐานล้ำสมัย และเป็นที่ชัดเจนว่า Siam AI Cloud ซึ่งเป็น NVIDIA Cloud Partner ได้รับบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงนี้ และหุ้นที่ได้ประโยชน์ต่อเนื่องเรามอง
1) กลุ่ม Siam AI Cloud Partners: LTS ที่ให้บริการติดตั้งและให้เช่า GPU
2) กลุ่ม Data Centers: เช่น GULF และ TRUE ที่จะได้รับประโยชน์จากการลงทุนระยะยาว
Tactical View: ติดตามพัฒนาการและผลประกอบการของหุ้นที่เกี่ยวข้อง หากตัวเลขกำไรเติบโตดี อาจมีโอกาสในการปรับมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น (Re-rating) ในอนาคต

 

Technology Sector
4 เทรนด์หลักขับเคลื่อนปี 2025
เรามองว่าในระยะสั้นอุปสงค์ของกลุ่มเทคโนโลยีอาจจะมีการชะลอตัวระยะสั้นโดยเฉพาะงานภาคเอกชน เนื่องจากหลายบริษัทรอดูทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งรอความชัดเจนของเทคโนโลยี AI ก่อนที่จะลงทุนครั้งใหญ่อีกครั้ง อย่างไรก็ตามคาดจะเห็นงานภาครัฐมีการออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานด้าน Cloud และ AI สำหรับ 4 เทรนด์หลักที่เราคาดจะเห็นในปีหน้า ประกอบด้วย
1) Data center ซึ่งจะเป็นเฟสของการเริ่มก่อสร้างและดำเนินการหลังจากที่มีการประกาศแผนการลงทุนไปในปี 2024 ซึ่งหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ประกอบด้วย GULF, TRUE, INSET, PROEN,
2) AI ซึ่งเฟสของ AI จะเป็นการลงทุนในส่วนของ GPU ซึ่งมี Siam AI Cloud เป็นหัวเรือหลัก และมี LTS เป็นพาร์ทเนอร์ในการขับเคลื่อนอุปสงค์ในส่วนนี้ เรายังมองว่าภาครัฐน่าจะเริ่มมีแผนงานในส่วน Cloud และ AI ออกมามากขึ้น ในด้านของ Application AI เรามองว่ายังไม่เกิดเร็ว เนื่องจาก Use case ที่ยังไม่ชัด และ ROI ที่ยังประเมินยาก,
3) Virtual Banking (BBIK) ช่วงกลางปีน่าจะมีการประกาศผู้ได้ใบอนุญาตและน่าจะเริ่มมีการวางแผนในการลงทุนด้านระบบ IT และ
4) Green Tech (DITTO, TEAMG NETBAY) ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนทางด้านกฏหมายออกมามากขึ้น

RATCH
(Visit Note)
ราช กรุ๊ป เร่งขยายการลงทุนเพื่อชดเชย IPP ที่จะหมดอายุ
แนวโน้มกำไรหลักในระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้น YoY ต่อ แต่ในระยะกลาง-ยาว RATCH อาจมีแนวโน้มกำไรที่ไม่น่าตื่นเต้นนัก หลังจากที่โรงไฟฟ้า IPP ทยอยหมดอายุสัญญา PPA เราจึงยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่ชัดเจน ในการเข้าลงทุน
RATCH มี IPP ที่จะหมดสัญญา PPA ในปี 2025-27 รวม 3.6GW โดย RATCH วางแผนจะใช้ที่ดินของ RATCHGEN ในการประมูลโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซ ตามแผน PDP ใหม่ (มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอยู่แล้ว) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากร่าง PDP ฉบับล่าสุด เราคาดว่าต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี จึงจะเห็นการประมูลโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ ตลาดจึงอาจจะยังไม่เก็กกำไรกับประเด็นดังกล่าวในเร็วๆนี้
Our view: หากมองหาปันผล แนะนำ WHAUP (แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 6.10 บาท) เพราะนอกเหนือจากอัตราผลตอบแทนจากปันผลจะใกล้เคียงกันแล้ว ยังมีประเด็นหนุนการเติบโตมากกว่า

ECON
VAT กับผลกระทบต่อคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม: มองให้ลึกกว่าตัวเลข
การประเมินผลกระทบของ VAT ที่มองเพียงสัดส่วนต่อรายได้อาจไม่สะท้อนความเป็นจริง เนื่องจากผู้มีรายได้น้อยแม้จะจ่าย VAT ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า แต่กลับได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่มากกว่า เพราะมีเงินเหลือน้อยและต้องใช้เงินส่วนใหญ่กับสินค้าจำเป็น
การประเมินผลกระทบควรพิจารณาครบทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ และความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้เข้าใจผลกระทบอย่างรอบด้านและนำไปสู่การออกแบบมาตรการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ
การปรับขึ้น VAT เป็น 15% ต้องมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนและการช่วยเหลือสำหรับผู้มีรายได้น้อย มิฉะนั้นอาจนำไปสู่การคัดค้านเป็นวงกว้างและส่งผลต่อความนิยมทางการเมือง
Our view: บริบทของสังคมไทยอาจยังไม่พร้อมสำหรับการปรับเพิ่ม VAT เป็น 15% หากรัฐบาลดำเนินการโดยไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจน

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

อ่อนตัว By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วันนี้ พรุ่งนี้ ประเทศไทย เข้าสู่ฤดูฝน ตอนนี้แถว รัชดาฯฝนตก อากาศเย็นสบาย นั่งมองหุ้นหลาย....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้