FLOW ออก ... บาทอ่อน .. วัฎจักรกดดันตลาดฯ
ทิศทางของ FUND FLOW ที่ไหลเข้า USD ASSET หลังการเลือกตั้งปธน. มีส่วนอย่างสำคัญทำให้เงินบาทอ่อนค่าโดยล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 35บาท/USD แต่หากพิจารณาผ่านข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างBOND YIELD 10 ปี ของสหรัฐฯ-ไทย ซึ่งปัจจุบันมีส่วนต่าง 2.02% ถือเป็น NEW HIGH ของปีนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะยังเห็นเงินบาทอ่อนค่าได้ต่อเนื่อง สภาวะดังกล่าวทำให้ทิศทางของ FUND FLOW มีโอกาสไหลออกจากบ้านเราได้ต่อ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ล่าสุดตัวเลข PPIเดือน ต.ค. ออกมาสูงกว่าคาด ชี้นำว่าเงินเฟ้อจะยังไม่กลับเข้ามาในกรอบเป้าหมาย ทำให้FED มีท่าที่ไม่รีบลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นแรงหนุนให้USD แข็งค่าต่อ สำหรับในบ้านเรา รอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุด DIGITALWALLETเฟสต่อไป น่าจะจ่ายให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้ลงทะเบียนไว้แรงกดดันจาก FUND FLOW ที่ยังไหลออกได้ต่อ ขณะที่แรงหนุนจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานอ่อนแรง คาด SET INDEX ผัวผวนในกรอบ
1442 –1462 จุด TOP PICK เลือก CPALL, PLANB และ SCGP
FED เปลี่ยนมุมมองลดดอกเบี้ย ส่วนไทยเตรียมเฮ แจกเงินเฟส 2
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับทรงตัวในกรอบแคบราว -0.5% ถึง -0.7% ดัชนี PPI ทั่วไป(HEADLINE PPI) ปรับตัวขึ้น 2.4%YOY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 2.3%YOY และสูงกว่าเดือน ก.ย. 1.8%ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (CORE PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.1%YOY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 3.0% และสูงกว่าเดือนก.ย. 2.8% ซึ่งอาจหนุนให้ CPI ทยอยสูงขึ้นจากการส่งผ่านจากฝั่งผู้ผลิตส่วนอีก 1 ตัวเลข คือ จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (INITIAL JOBLESSCLAIM) ลดลง 4,000 ราย สู่ระดับ 217,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน และต่ำกว่าคาดที่ระดับ 220,000 ราย
ตัวเลขดังกล่าว ส่งผลให้วานนี้ประธาน FED กล่าวที่รัฐ TAXAS ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ซึ่งทำให้ FED ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ FED สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ (ลดความคาดหวังปรับลดดอกเบี้ยลงในปีนี้)ประเด็นดังกล่าวหนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยทั้ง DOLLAR INDEX และBOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ
ขณะที่ปัจจัยหนุนภายในประเทศ คือ ตัวเลขดัชนีเชื่อมั่น CCI ต.ค.67 อยู่ที่ 56 จุดปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ซึ่งมาจากการที่รัฐบาลแจกเงิน 10,000 บาทให้กลุ่มเปราะบาง สามารถจับจ่ายใช้สอยคล่องตัวขึ้น ส่งเสริมรัฐแจกดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ลุ้นสร้างพายุหมุนเศรษฐกิจ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด รมต.คลัง มีแผนที่จะเสนอนโยบายดังกล่าว ต่อ ครม. ซึ่งจะเป็นการจ่ายเงิน 1 หมื่นบาทให้กับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยยืนยันว่าไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มเปราะบางก้อนแรก
ประเด็นดังกล่าว คาดสร้าง SENTIMENT เชิงบวกต่อราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีก เช่าซื้อเกษตรอาหาร อาทิ
• กลุ่มเกษตร-อาหาร TU CPF CBG SAPPE SNNP ICHI NSL M
• กลุ่มค้าปลีก CPALL CRC BJC HMPRO COM7
• กลุ่มเช่าซื้อ MTC SAWAD TIDLOR BAM
ตลาดหุ้นเอเชียปั่นป่วน FUND FLOW ไหลออก และค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนต่อ
หลังจากทรัมป์ได้เป็น ปธน. คนที่ 47 ของสหรัฐ ถึงปัจจุบัน (วันที่ 6 พ.ย. –14 พ.ย.67)ตลาดหุ้นโลกผันผวนและปั่นป่วน จากการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปสู่สินทรัพย์ที่ได้SENTIMENT เชิงบวก จากนโยบายของพรรค REPUBLICAN โดยเฉพาะตลาดหุ้นNASDAQ สหรัฐ ปรับตัวขึ้นมาแรง 3.6% ในช่วงเวลาดังกล่าว ต่างกับตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลงแรงจากความกังวลเรื่องกำแพงภาษี โดย ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ -9.7%, ฮองกง -7.5%, เกาหลีใต้ -6.1%, อินโดนีเซีย -3.7%, อินเดีย -2.4% และไทย -2.1% เป็นต้น
และหากพิจารณา FUND FLOW พบว่า มีการไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ ขายสุทธิตลาดหุ้นไต้หวัน -3.2 พันล้านเหรียญ, เกาหลีใต้ -1.2 พันล้านเหรียญ, อินเดีย -1.4 พันล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ -205 ล้านเหรียญ และไทย -244 ล้านเหรียญ หรือ -8.4 พันล้านบาท
ในมุมค่าเงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ถ้าดูจากส่วนต่าง BOND YIELD 10Y สหรัฐกับไทย ที่มักจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันเสมอ โดยล่าสุด BOND YIELD 10Yสหรัฐ (4.45%) ที่ทิ้งห่าง BOND YIELD 10Y ไทย (2.43%) กว้างขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2.02% ความกว้างระดับนี้ปกติค่าเงินบาทจะสูงระดับ 37 บาท/เหรียญแต่ปัจุบันค่าเงินบาทอยู่ที่ 35 บาท/เหรียญ
แสดงว่าค่าเงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าเพิ่มขึ้นในช่วงต่อจากนี้ได้ อีกทั้งสัปดาห์หน้ายังมีประเด็นเสี่ยงการรายงานตัวเลข GDP 3Q67 และประเด็นรอดูศาล รธน. จะรับหรือไม่คำร้องตรวจสอบพฤติกรรมของอดีตนายกฯ ทักษิณ กดดันให้ FUND FLOW มีโอกาสชะลอไหลเข้า และตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะผันผวนอยู่
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์