Today’s NEWS FEED

News Feed

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ส่องนโยบายด้านความยั่งยืนของงานประชุม COP29

420


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(11 พฤศจิกายน 2567)--------• การประชุม COP29 จะจัดขึ้นในเมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 โดยมีภาคีสมาชิกจำนวน 198 ภาคีเข้าร่วมประชุม
• ประเทศต่าง ๆ จะมีการอัพเดทแผน NDC ฉบับใหม่ พร้อมทั้งพิจารณาเป้าหมายทางการเงินใหม่ (NCQG) และข้อผลักดันอื่น ๆ ของประเทศเจ้าภาพเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานในการช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบ
• ประเทศไทยจะนำแผน NDC ใหม่ (NDC3.0) สำหรับการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกในช่วงก่อนปี 2035 และผลการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา เช่น พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, Thailand Taxonomy ระยะที่ 2 รวมถึงกลไกการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศไปเสนอที่ประชุม

 


จาก COP28 มาเป็น COP29

ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการผลักดันในประเด็นที่ต่อเนื่องจากการประชุม COP28 และครั้งก่อน ๆ เช่น ยกระดับเป้าหมาย Nationally Determined Contributions (NDCs) ให้เป็น NDC 3.0 เพื่อให้ยังคงอยู่ภายใต้แนวทาง 1.5 องศาเซลเซียส โดยกำหนดแผนงานการดำเนินการของประเทศจนถึงปี 2035 เช่น
• รายงานผลการประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST)
• เป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Global Goal on Adaptation: GGA)

นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาข้อกำหนดของกลไกคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานตาม Core Carbon Principles ในกรณีการวัดการนับซ้ำ (Double-Counting) ที่กลไกของ Article 6.4 ตามข้อตกลงปารีสที่ยังไม่ครอบคลุม

แต่ที่สำคัญคาดว่าจะกำหนดเป้าหมายทางการเงินใหม่ (New Collective Quantified Goal on Climate Finance: NCQG) ประมาณ 1.1 – 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส และให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศเหล่านั้น จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดเพียงจำนวน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

โดยเริ่มกองทุนใหม่ ได้แก่ Climate Finance Action Fund (CFAF) ซึ่งจะพิจารณาจัดสรรเงินทุนจากประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบ และ the Baku Initiative for Climate Finance Investment and Trade (BICFIT) เพื่อเชื่อมโยงความช่วยเหลือทางการเงินเข้ากับการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศต่าง ๆ


ประเด็นผลักดันในการประชุม COP29
การประชุม COP29 ครั้งนี้ ประธานการประชุม H.E. Mukhtar Babayev จะผลักดันอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ไฮโดรเจน การจัดการขยะและของเสีย และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้มีบทบาทด้านการช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น

 


Initiatives รายละเอียด
Energy Storage and Grids มีเป้าหมายสร้างปริมาณการกักเก็บพลังงาน ให้ได้ 6 เท่าของปริมาณในปี 2022 และเพิ่มเป็น 1,500 กิกะวัตต์ในปี 2030
Hydrogen Action สร้างตลาดการซื้อขายไฮโดรเจนจากพลังงานสะอาด และสินค้าที่เกี่ยวข้อง รวมถึงลดข้อจำกัดต่างๆ เช่น ข้อกำจัดทางการเงิน เทคโนโลยี กฎระเบียบ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
Methane Reduction from Organic Waste มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยมีเทนจากของเสียและอุตสาหกรรมอาหารเพื่อยังคงอยู่ภายใต้เป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส


Climate Action in Tourism สร้างความยั่งยืนให้กับภาคการท่องเที่ยวให้อยู่ในแผน NDCs ของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมแผนการดำเนินการลดการปล่อย GHG
ที่มา: COP 29 Presidential Action Agenda – Global Initiatives รวมรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย


การดำเนินการของประเทศไทย

ประเทศไทยจะนำผลการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 3 (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2024) ไปนำเสนอในการประชุมในฐานะที่เคยประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สิ่งที่ประเทศไทยได้ดำเนินการไปแล้ว
หรือกำลังจะทำ รายละเอียดสำคัญ
ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - กำหนดให้จัดทำฐานข้อมูล และรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- สร้างกลไกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ เช่น ระบบ Emission Trading Scheme และ Carbon Tax
- เชื่อมโยงคาร์บอนเครดิตกับตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นตลาดหลัก
Nationally Determined Contribution - กำหนดเป้าหมาย NDC3.0 ซึ่งเป็นเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ภายในปี 2035 เพิ่มเติมจากแผนเดิมที่กำหนดเป้าหมาย 30-40% ภายในปี 2030
- มีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละสาขา ได้แก่ พลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม ของเสีย เกษตร และการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CUCS) ในโครงการนำร่องแหล่งอาทิตย์
- กำหนดการส่งมอบเอกสารอย่างเป็นทางการแก่ UNFCCC ในช่วงต้นปี 2025
Internationally Transferred Mitigation Outcomes: ITMOs - นำเสนอผลการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยกับสภาพันธ์รัฐสวิส ซึ่งเป็นการดำเนินการได้เป็นครั้งแรกของโลก จำนวน 1,916 tCO2eq
the First Global Stockake - จะเสนอสถิติภัยพิบัติ และความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน ในช่วงปี พ.ศ. 2567 เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการเข้าถึงกองทุน Loss and Damage สำหรับไทยและประเทศในภูมิภาค
Thailand Taxonomy Phase II
(อยู่ระหว่างเปิดรับฟังข้อคิดเห็น) - ครอบคลุม 4 ภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ (1) ภาคเกษตร รวมถึงปศุสัตว์ ประมง
และป่าไม้ (2) ภาคอาคารและอสังหาริมทรัพย์ (3) ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
และ (4) ภาคการจัดการของเสีย เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปรับใช้
ที่มา: รวมรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าผลของการผลักดันการดำเนินด้านสิ่งแวดล้อมคงจะมาจากการปรับตัวของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะส่งผลไปสู่บริษัทขนาดเล็ก รวมถึง SMEs ที่จะเป็นความเสี่ยงให้ต้องเร่งปรับตัวตาม ทั้งนี้ การประชุม COP29 คงจะส่งผลให้ทิศทางของทุกภาคส่วนเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดที่จะมีการผลักดันการใช้พลังงานไฮโดรเจน และประเด็นการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการผลักดันในระดับภูมิภาคอาเซียน

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ความหวัง By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย เขียวสดใส แรงซื้อหุ้นบิ๊ก แคป หนุนนำ ท่ามกลางนักลงทุน ลุ้นผลเจรจาภาษีระหว่าง..

ATLAS โชว์ศักยภาพผู้นำตลาด LPG ร่วมเวทีเสวนาสร้างธุรกิจยั่งยืนก่อนเข้า SET

ATLAS โชว์ศักยภาพผู้นำตลาด LPG ร่วมเวทีเสวนาสร้างธุรกิจยั่งยืนก่อนเข้า SET

มัลติมีเดีย

TMILL วางกลยุทธ์ ขยายตลาดควบคู่เน้นบริหารต้นทุน ดันมาร์จิ้นสดใส

TMILL วางกลยุทธ์ ขยายตลาดควบคู่เน้นบริหารต้นทุน ดันมาร์จิ้นสดใส

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้