Today’s NEWS FEED

News Feed

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ สูงขึ้น หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ 5 พ.ย. นี้

650

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(1พฤศจิกายน 2567)--------การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พ.ย. 2567 เป็นตัวแปรที่กำหนดทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ในอีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ไม่ว่าพรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง ทั้งสองพรรคมีแนวโน้มที่จะยังคงสานต่อนโยบายการกีดกันการค้ากับจีนแต่ในระดับที่ต่างกัน อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการขาดดุลทางการคลังตามนโยบายการใช้จ่ายทางการคลังและภาษีที่แตกต่างกันออกไป ท่ามกลางความท้าทายทางการคลังของสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ต้องเผชิญจากระดับหนี้สาธารณะ การขาดดุลทางการคลัง และการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สะท้อนภาพชะลอตัวลง ขณะที่การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการคลังยังขี้นอยู่กับเสียงข้างมากในสภาคองเกรส ซึ่งผลการเลือกตั้งสามารถแบ่งได้ 3 กรณี ที่จะส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ค่าเงิน รวมถึงสถานะทางการคลังของสหรัฐฯ ที่แตกต่างกัน ดังนี้


1. กรณี 1 พรรครีพับลิกันนำโดย โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งและสามารถครองเสียงข้างมากทั้งสภาบนและสภาล่าง (Republican Sweep): มีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะเผชิญกับ Stagflation ในระยะยาวจากมาตรการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้า มาตรการกีดกันแรงงานอพยพ และมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและครัวเรือน ที่คาดว่าจะส่งผลให้การขาดดุลการคลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ ค่าเงินดอลลาร์ฯ มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะสั้น
2. กรณี 2 พรรคเดโมแครตนำโดย คามาลา แฮร์ริส ชนะการเลือกตั้งและสามารถครองเสียงข้างมากทั้งสภาบนและสภาล่าง (Democratic Sweep): เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยความเสี่ยงเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้ และการขาดดุลการคลังคาดว่าจะไม่สูงเท่ากรณี 1
3. กรณี 3 ไม่มีพรรคไหนครองเสียงข้างมากได้ทั้งสองสภา (Split Congress or Divided Government): ความเสี่ยง stagflation ยังมีอยู่ หากโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี ผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2025 ยังไม่แน่นอน เนื่องจากนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายทางการคลังอาจต้องใช้เวลากว่าจะผ่านมติสภา


กรณี 1: พรรครีพับลิกันนำโดยโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งและสามารถครองเสียงข้างมากทั้งสภาบนและสภาล่าง
(Republican Sweep) กรณี 2: พรรคเดโมแครตนำโดย คามาลา แฮร์ริส ชนะการเลือกตั้งและสามารถครองเสียงข้างมากทั้งสภาบนและสภาล่าง
(Democratic Sweep) กรณี 3: ไม่มีพรรคไหนครองเสียงข้างมากได้ทั้งสองสภา
(Split Congress or Divided Government)
เศรษฐกิจ - ความเสี่ยงเกิด stagflation ในระยะยาว
1) มาตรการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าคาดว่าจะสร้างผลกระทบต่อการใช้จ่ายครัวเรือนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2) มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและครัวเรือน ส่งผลต่อการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น
3) มาตรการกีดกันแรงงานอพยพคาดว่าจะส่งผลให้ค่าแรงปรับเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี คาดว่ามาตรการลดภาษีและมาตรการสนับสนุนการผลิตในประเทศอาจช่วยสนับสนุนการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ในระยะสั้น - เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยความเสี่ยงเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังสามารถดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่อง
- มาตรการปรับขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและครัวเรือนรายได้สูง ช่วยชดเชยรายจ่ายภาครัฐด้านสวัสดิการที่สูงขึ้น ดังนั้นการขาดดุลการคลังและแรงกดดันเงินเฟ้อคาดว่าจะไม่สูงเท่ากรณี 1
- ความเสี่ยง stagflation ยังมีอยู่ หาก โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถใช้อำนาจผ่าน “Executive Order” ในการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรส หากพบว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
- ผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2025 ยังไม่แน่นอน เนื่องจากนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายทางการคลังอาจต้องใช้เวลากว่าจะผ่านมติสภา

ค่าเงินดอลลาร์ฯ - ค่าเงินดอลลาร์ฯ มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะสั้น จากนโยบายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและเฟด อาจไม่สามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินได้เท่าที่ควร รวมถึงการขาดดุลทางการคลังที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มสูงขึ้น - ค่าเงินดอลลาร์ฯ มีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าในกรณี 1 เป็นผลมาจากแนวโน้มการขาดดุลการคลังของนโยบายของเดโมแครตที่น้อยกว่า และมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่รุนแรงเท่า - หาก โดนัลด์ ทรัมป์ กลับมาเป็นประธานาธิบดีฯ ค่าเงินดอลลาร์ฯ อาจผันผวนไปทางแข็งค่าในระยะสั้น แต่คงขึ้นอยู่กับการผ่านร่างกฎหมายและนโยบายต่างๆ เป็นสำคัญ

สถานะทางการคลัง และทิศทางผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ - แผนของ โดนัลด์ ทรัมป์ คาดว่าจะทำให้การขาดดุลงบประมาณสูงขึ้นโดยประมาณ 7.75 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้า (หรือคิดเป็น 9.7% ของ GDP ในปี 2035) สูงกว่าแผนของ คามาลา แฮร์ริส ที่คาดว่าจะทำให้การขาดดุลเพิ่มขึ้น 3.95 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยอ้างตามแบบจำลองของ Committee for a Responsible Federal Budget (CRFB) ณ เดือน ต.ค. 2024
- การขาดดุลทางการคลังที่สูงขึ้นคาดว่าจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลต่อความสามารถในการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลังในระยะข้างหน้า ท่ามกลางหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง - ความเสี่ยงทางการคลังจากการขาดดุลและหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น แต่น้อยกว่ากรณี 1 ตามแผนนโยบาย คามาลา แฮร์ริส แม้การใช้จ่ายทางการคลังมีแนวโน้มสูงกว่าแผนการใช้จ่ายของ โดนัลด์ ทรัมป์ จากการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางสำหรับที่อยู่อาศัยและการดูแลสุขภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ดี คาดการณ์รายได้รัฐบาลตามแผนของ คามาลา แฮร์ริส นั้นคาดว่าจะสูงกว่าแผนของ โดนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจากแผนของ โดนัลด์ ทรัมป์ มุ่งเน้นการลดภาษี ส่งผลให้การขาดดุลทางการคลังตามแผนของ คามาลา แฮร์ริส มีแนวโน้มต่ำกว่า - ความผันผวนของตลาดเงินโลกมีแนวโน้มสูงกว่ากรณี 1 และ 2 จากการเจรจาเรื่องเพดานหนี้อาจเผชิญความยากลำบากมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะผิดนัดชำระให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดการเงิน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีทิศทางสูงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์ฯ มีทิศทางอ่อนค่าลง และอาจเกิดกระแสเงินไหลออกจากตลาดทุนสหรัฐฯ



นโยบาย พรรครีพับลิกัน พรรคเดโมแครต
นโยบายการค้า - สานต่อสงครามการค้า (Trade war) รอบใหม่ โดยขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนแบบครอบคลุม ซึ่งตามแผนของ โดนัลด์ ทรัมป์ จะมีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนเป็น 60% และภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ เป็น 10% - สานต่อนโยบายกีดกันการค้ากับจีนในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน โดยเน้นการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนแบบเจาะจงในกลุ่มสินค้ายุทธศาสตร์ อาทิ เก็บภาษียานยนต์ไฟฟ้าจากจีนและกีดกันการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงไปจีน
นโยบายทางการคลัง - ขยายระยะเวลามาตรการลดภาษีที่ประกาศใช้ในปี 2017 ออกไปหรือทำให้เป็นมาตรการถาวร
- ปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 21% มาอยู่ที่ 15%
- ยกเลิกภาษีรายได้รัฐบาลกลางสำหรับ tips และรายได้ประกันสังคม (social security income)
- ปล่อยให้มาตรการลดภาษีที่ โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศใช้ในปี 2017 ทั้งหมดหมดอายุ ยกเว้นสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 400,000 ดอลลาร์ฯ
- ปรับเพิ่มภาษีนิติบุคคลจาก 21% ไปที่ 28%
- เพิ่มอัตราภาษีจากกำไรขายหุ้นจาก 20% เป็น 28% เป็นต้น
- ยกเลิกภาษีรายได้รัฐบาลกลางสำหรับ tips
สิ่งแวดล้อม - ยกเลิกหรือลดกฎหมายอุดหนุนที่ประธานาธิบดีไบเดนลงนามไว้เมื่อปี 2022
- เพิ่มการผลิตพลังงานฟอสซิล - สนับสนุนมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม
- ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทดแทน
สาธารณสุข - ยกเลิก Affordable Care Act หรือลดการสนับสนุนลง - ขยายระยะเวลามาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันสำหรับผู้มีรายได้สูงผ่าน Affordable Care Act
- ยกเลิกหนี้ที่เกิดจากค่ารักษาพยาบาลบางรายการ
นโยบายคนเข้าเมือง - สร้างกำแพงปิดพรมแดน และเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายในการจำกัดผู้อพยพ
- ส่งผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตกลับประเทศ - ควบคุมแนวชายแดนให้เข้มงวดขึ้น
- คัดค้านการแยกครอบครัวผู้อพยพ
ที่อยู่อาศัย - ลดกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ และเปิดให้มีการพัฒนาที่ดินรัฐ - ให้เงินสนับสนุน 25,000 ดอลลาร์ฯ สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านครั้งแรก
สงครามรัสเซีย-ยูเครน - พยายามหาข้อตกลงกับรัสเซีย
- หยุดหรือจำกัดความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ ในยูเครน - ยังคงสนับสนุนยูเครนทางการทหาร

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

อ่อนตัว By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วันนี้ พรุ่งนี้ ประเทศไทย เข้าสู่ฤดูฝน ตอนนี้แถว รัชดาฯฝนตก อากาศเย็นสบาย นั่งมองหุ้นหลาย....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้