THEME ดอกเบี้ยขาลง + EARNING HIGH SEASON
แม้จะยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาผลักดัน แต่ก็เชื่ออย่างหนึ่งว่า SETINDEX อยู่ในภาวะที่มี DOWNSIDE จำกัด จากการที่มีเม็ดเงินลงทุนจากสถาบันในประเทศ (วายุภักษ์ + THAILAND ESG FUND) เป็นแรงสนับสนุน ทั้งนี้หากมีแรงหนุนเพิ่มไม่ว่าจะเป็น FUND FLOW จากต่างชาติที่ไหลกลับ หรือ ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน SET INDEX ก็พร้อมที่จะปรับขึ้นรอบใหม่ได้ ส่วนความเสี่ยงยังอยู่ที่สถานการณ์ตะวันออกกลาง และการเมือง ในเชิงกลยุทธ์แนะนำสะสมหุ้นรอบใหม่ INVESTMENT THEMEกำหนดเป็น หุ้นที่ได้ประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อย่าง อสังหาฯและFINACE ตามด้วยหุ้นที่อยู่ในช่วง EARNING HIGH SEASON อย่างท่องเที่ยว-โรงแรม, กลุ่มค้าปลีก และ สินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลSET INDEX อยู่ในช่วงของการพักฐานภายใต้DOWNSIDE จำกัด รอแรงหนุนเพิ่มจาก FUND FLOW ต่างชาติ และ ปัจจัยพื้นฐานใหม่ๆ คาดกรอบวันนี้ 1440 –1457 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BDMS, CPALLและ GPSC
น้ำมันชะลอตัว ลดแรงกระแทรกต่อการเปลี่ยนทิศทางดอกเบี้ย
วานนี้ ราคาน้ำมับดิบโลกร่วงลงมากกว่า 4% ทำให้ BRENT แตะ 77 เหรียญฯ/บาเรลและ WTI หลุด 74 เหรียญฯ/บาเรล โดยมีแรงกดดัน 2 ส่วนหลักๆ คือ
1. ผิดหวัง “จีน” ไร้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพิ่มเติม ซึ่งยังไม่เห็นสัญญาณการอัดฉีดเม็ดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง
2. ความตึงเครียดตะวันออกลางมีท่าทีอ่อนลง หลังมีกระแสข่าวว่ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์-อิสราเอลอาจจะทำข้อตกลงหยุดยิง ขณะที่รองหัวหน้าเฮซบอลลาห์ยอมรับสนับสนุนแผนหยุดยิงกับอิสราเอล
ผลพวงที่ตามของราคาน้ำมันชะลอตัวลง มักจะกดดันให้เงินเฟ้อทยอยปรับตัวลดลงตามไปด้วย แต่ในทางกลับกันหากราคาน้ำมันพุ่งขึ้น จะหนุนให้เงินเฟ้อขยับขึ้น เช่นกันอย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจยฯ ประเมินราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะกระทบต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่มากนัก เนื่องจากโครงสร้างเงินเฟ้อสหรัฐฯ สินค้ากลุ่ม ENERGY COMMODITY มีน้ำหนักราว 3.8% เบื้อต้นประเมินราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1%จะผลักให้ดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.04% ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ เชื่อว่า ROADMAP วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง จะมีมุมมองที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นอกจากนี้ หากพิจารณาจาก BLOOMBERG MODEL ภายใต้สมมติฐานเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน (SHOCK) เกิดขึ้นใน 4Q67 โดยราคาน้ำมีบดิบ BRENTเพิ่มขึ้น 20 $/BARREL และ DOLLAR แข็งค่าขึ้น 5% พบว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสถานการปกติ จาก +3%YOY ขยับขึ้นเป็น 3.23%YOYก่อนที่จะค่อยๆ ทยอยปรับตัวลดลงในท้ายที่สุด
สรุป ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินราคาน้ำมันที่ไม่ได้สูงขึ้นอย่างมีนัยฯ จะกระทบต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่มากนัก หนุนให้ ROADMAP วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงเดินหน้า และมีมุมมองที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
WORLD BANK ให้ GDP GROWTH ไทยคงเดิมที่ 2.40%
WORLD BANK คงประมาณการสำหรับ GDP GROWTH ไทยที่ระดับ+2.40%YOY(คงเดิมจากรอบก่อนหน้า) โดยได้รับการสนับสนุนจากการเร่งดำเนินการงบประมาณและการส่งออกสินค้า การท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ที่ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักในปีนี้ส่วนปี 2568WORLD BANK คาดGDP GROWTH ไทยที่ระดับ +3.0%YOY(เพิ่มขึ้นจากรอบก่อน 2.8%YOY) ซึ่งใกล้เคียงกับ มุมมองของหลายสำนักเศรษฐกิจที่ประมาณการไว้ซึ่งมีค่าเฉลี่ย GDP
GROWTH อยู่ที่ +2.6%YOY
ซึ่งแม้จะนำการคาดการณ์ GDP GRWOTH ไทยปีนี้ที่น้อยสุดอย่างสำนัก ADB ซึ่งอยู่ระดับ +2.3%YOY ซึ่งหาก GDP GROWTH ปีนี้โต 2.3% จริง GDP GROWTH ไตรมาส 3 และ 4 จะต้องเติบโต 2.7%YOY ซึ่งถือว่าสูงกว่าช่วง 1H67 อยู่ดี
ซึ่งเหตุผลสนับสนุนคาดมาจากการมีเม็ดเงินที่สามารถนำมากระตุ้นช่วยเศรษฐกิจได้ทันที จากเม็ดเงินคงเหลือของงบประมาณปี 2567 + เม็ดเงินใหม่จากการอนุมัติงบประมาณปี 2568 เพื่อทยอยขับเคลื่อน GDP GROWTH ไทยในช่วง 4Q67-2568โดยเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยของภาครัฐฯ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การใช้จ่ายภาครัฐ (G) และการบริโภคภาคครัวเรือน (C) เป็นหลัก โดยข้อมูลล่าสุด การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนปี 2567ใช้ไปเพียง 63.3% ของงบประมาณปี 2567(สิ้นสุด ณ 30 ก.ย.67) ส่วนการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนปี 2568 เริ่มต้นสัปดาห์แรกที่ 1.85% หรือตีเป็นมูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาทแล้ว
สรุป WORLD BANK คงประมาณการ GDP ไทยเท่าเดิมที่ 2.4%YOY ซึ่งเห็นความโดดเด่นในช่วง 2H67-2567 จากการเบิกจ่ายของภาครัฐฯ (G) และการบริโภคภาคครัวเรือน (C) เป็นหลัก คาดหวังการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ปัจจัยแวดล้อมกด กองทุนวายุภักษ์พยุง
ตลาดหุ้นไทยเริ่มถูกปัจจัยแวดล้อมเข้ามาปกคลุมบ้าง กดดันให้ SET INDEX มีโอกาสแกว่งตัวออกข้างด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ราคาน้ำมันดิบวานนี้ย่อตัวแรง -5% จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนน้อยกว่าที่ตลาดคลาด และความรุนแรงในตะวันออกกลางชะลอลง กดดันตลาดหุ้นไทย
ที่มีหุ้นอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ถึง 1 ใน 3
2. WORLD BANK ปรับลด GDP ไทยปี 2024 ลงเหลือ 2.4% (จาก 2.8% ในเดือน เม.ย.) ถือว่าเติบโตน้อยกว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกอื่นๆ ที่คาดว่า
จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 4.8% (จาก 4.5% ในเดือน เม.ย.) และยังถือว่าเป็นกรอบล่างเมื่อเทียบกับสำนักเศรษฐกิจอื่นๆ
3. ติดตามความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยพรุงนี้ 10 ต.ค. ทางแกนนำพรรคพลังประชารัฐนัดแถลงประเด็นเหตุที่จะนำไปสู่จุดจบพรรคแกนนำรัฐบาล ถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่นักลงทุนคอยจับตา เพราะปกตินักลงทุนต่างชาติไม่ชอบประเด็นความไม่แน่นอนอยู่แล้ว
แม้จะมีถึง 3 ประเด็นที่อาจกดดันให้ FUND FLOW อาจชะลอในช่วงนี้ แต่เม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ที่ทยอยเข้ามา (1 – 8 ต.ค. สถาบันฯ ซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.9 หมื่นล้านบาท) น่าจะเป็นส่วนช่วยพยุงให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนน้อยลง โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEX วันนี้ที่ 1448 – 1468 จุด แนะนำหุ้นได้ประโยชน์จากเหตุการณ์ตะวันออกกลางผ่อนคลายลง คือ หุ้นอิงการท่องเที่ยว อย่าง BDMS, BH,AOT, CENTELและหุ้น ANTI-OIL อย่าง BA, AAV, GPSC, BGRIM
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์