AT THE OPEN (#ATO)
SET Index แกว่งตามกรอบ 1440-1460
กลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว
Market Strategy
SET Index แกว่งในกรอบ 1440-1460 จุด สภาพแวดล้อมต่างประเทศยังเป็นบวกจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ (ล่าสุดคือ FED และ PBOC) ที่ยังมีสัญญาณผ่อนคลายเป็นปัจจัยหนุนต่อ Fund Flow ต่างชาติที่ยังไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น ส่วนปัจจัยในประเทศเป็นการติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์ โดยมีปัจจัยบวกจากกระแสตอบรับของกองทุนวายุภักษ์และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่ทันเดือน ต.ค. วันนี้ชอบ CENTEL และ MOSHI
การรายงานตัวเลข PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯเดือน ก.ย. อยู่ที่ 47 ต่ำกว่าคาด 48.6 สวนทาง PMI ภาคบริการอยู่ที่ 54.4 ดีกว่าคาด 54.3 ตัวเลขที่ออกมาผสมผสานประกอบกับการออกมาให้ความเห็นของกรรมการ FED 3 ราย โทนโดยรวมตอนนี้ให้น้ำหนักกับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯมากกว่าเงินเฟ้อ ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงยังมีต่อ ส่วนขนาดการปรับลดขึ้นกับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจต่อไป สภาพแวดล้อมที่ตลาดยังตีความเศรษฐกิจยังไม่เข้าสู่ Recession และนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มผ่อนคลายช่วยหนุนต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ วานนี้ปรับขึ้นในช่วง 0.1–0.3% ส่วนจีนวานนี้ PBOC ประกาศลดดอกเบี้ยฯ Reverse Repo Rate อายุ 14 วัน ลง 10 bps มาที่ 1.85% ขณะที่วันนี้ Bloomberg รายงานว่า PBOC เตรียมออกแถลงซึ่งคาดว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม ซึ่งอาจสร้าง Sentiment บวกกลุ่ม China Play อย่างSCGP กลุ่มที่นำเข้าจากจีนจากประโยชน์ของเงินบาทแข็งค่าอย่าง MOSHI เป็นต้น
ปัจจัยในประเทศเป็นการติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์เริ่มจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท คาดว่าจะไม่ทันในเดือน ต.ค. และการประชุมของบอร์ดค่าจ้างถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากคณะกรรมการ 1 รายเกษียณอายุ ซึ่งเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มที่ Labour Intensive อย่างรับเหมา (ชอบ CK) อีกประเด็นคือกองทุนวายุภักษ์กระแสตอบรับดีซึ่งมีวงเงินจองซื้อ 1.9 แสนล้านบาทมากกว่าเสนอขาย 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งมองเป็น Sentiment บวก ทั้งนี้เม็ดเงินเตรียมเข้ามาหนุนตลาดหุ้นตั้งแต่ ต.ค. 67 เป็นต้นไป
Market Summary
SET Index ปรับลง -3.8 จุด โดยภาพรวมเป็นขายทำกำไรหุ้นที่ปรับขึ้นช่วงก่อนหน้าเช่น กลุ่มขนส่ง AOT -0.8% กลุ่มไฟแนนซ์ TIDLOR -2% SAWAD -2.3% และ SCC -2.5% จากความกังวลต่อเหตุการไฟไหม้ TPC ซึ่งเป็นบริษัทลูกแต่ปัจจุบันควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ส่วนกลุ่มบวกเด่นกว่าตลาดคือกลุ่มธนาคาร +0.6%กลุ่ม Defensive อย่างโรงพยาบาล BDMS +1.6% BH +0.7% และค้าปลีก CPALL +0.8% HMPRO +2%
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ CENTEL MOSHI
MOSHI กำไรฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q67 และได้ประโยชน์จากบาทแข็ง
ทิศทางกำไรในช่วง 3Q67 มีโอกาสฟื้นตัวได้ทั้ง QoQ และ YoY โดยการเติบโต QoQ จากบริษัทฯ ได้แก้ปัญหาเรื่องนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน ส่วนเติบโต YoY จาก SSSG ในช่วง ก.ค.-ส.ค. ที่กลับมาเป็นบวกระดับ Mid Single Digit และการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ 4Q67 กำไรมีแนวโน้มเร่งจะเร่งตัวต่อจากการเข้าสู่ช่วง High Season
ด้านกำไรทั้งปี 67/68E Bloomberg Consensus คาดเติบโตอยู่ที่ 22%/29% โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER68 23 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังมากกว่า – 1 S.D. ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่แพง
ทิศทางค่าเงินบาทเทียบหยวนในช่วง 3QTD แข็งค่า 7.9% จากนโยบายการเงินจีนที่มีการลดดอกเบี้ยฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสวนทางบ้านเราทีดอกเบี้ยฯยังคงทรงตัว ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อไป เป็นปัจจัยบวกต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้าและประสิทธิภาพการทำกำไร
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 49.00 บาท
CENTEL เก็ง Golden Week หนุนกระแสท่องเที่ยว
คาดกำไร 3Q67E จะเป็นจุดต่ำสุดของปี เนื่องจากบันทึกใช้จ่ายก่อนเปิดโรงแรมในมัลดีฟท์และการรีโนเวทโรงแรม (ซึ่งตลาดรับรู้ไปแล้ว) ก่อนที่จะเร่งตัวในช่วง 4Q67 จากการเข้าสู่ High Season ภาคการท่องเที่ยวไทย มัลดีฟท์และญี่ปุ่น โดยเราคาดกำไรปกติทั้งปี 67/68 ขยายตัว 51%/38% เด่นสุดในกลุ่มโรงแรม โดย PER68 ที่ 23 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย -0.3 S.D.
ด้านปัจจัยหนุนเพิ่มเติมระยะสั้นประเมินมี 3 ปัจจัย 1) คาดจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวตั้งแต่ ต.ค. ไปจนถึงสิ้นปี โดยวันที่ 1-7 ต.ค. จะได้แรงหนุนจากตัวเลขนักเที่ยวจีนที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ Golden Week 2) มาตรการกระตุ้นภาคท่องเที่ยวของรัฐฯ ที่ รมว. ท่องเที่ยวกำลังพิจารณาฟื้นกระตุ้นมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน 3) การปรับลดดอกเบี้ยฯของ FED ช่วยลดภาระดอกเบี้ยฯเงินกู้สกุล USD วงเงิน 5 พันล้านบาทที่คาดจะเกิดใน 3Q67
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 49.00 บาท
KEY FACTOR
ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศ 1) ดัชนี S&P Global PMI ของสหรัฐฯ ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ 47 ต่ำกว่าคาดที่ 48.6 ส่วนภาคบริการอยู่ที่ระดับ 55.4 ใกล้เคียงคาดที่ 55.2 2) ดัชนี HCOB PMI ของ Eurozone ภาคการผลิตอยู่ที่ 44.8 ต่ำกว่าคาดที่ 4.7 และภาคบริการอยู่ที่ระดับ 50.5 ต่ำกว่าคาดที่ 52.3 ซึ่งถือว่าสะท้อนภาพเชิงลบของภาคการผลิตทั่วโลก 3) จีนปรับลดอัตราดอกเบี้ย Repo 14 วัน ลงจาก 1.95% สู่ระดับ 1.85% นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณกำหนด Repo 14 วัน สูงกว่า 7 วัน ที่ส่วนต่าง 15 bps สะท้อนการจะใช้ดอกเบี้ยอ้างอิงที่สั้นลง คาดว่าจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริการสภาพคล่องในระบบ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจ
ทิศทางค่าเงินบาท (USDTHB) ที่แข็งค่าต่อเนื่องต่ำกว่าระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับที่แข็งที่สุดในรอบ 1 ปี ครึ่ง เริ่มเป็นประเด็นที่ภาคธุรกิจกังวลว่าจะกระทบต่อการส่งออก และมีกระแสกดดันการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. อีกระลอก
Eyes on
ในสัปดาห์ ส่งออกไทย เดือน ส.ค.
26 ก.ย. GDP 2Q67 (รายงานรอบที่ 3) ของสหรัฐฯ
27 ก.ย. ดัชนี PCE เดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Eurozone, กำไรภาคอุตสาหกรรมของจีน
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ