AT THE OPEN (#ATO)
SET Index แกว่งตามกรอบ 1440-1460
กลยุทธ์เลือกหุ้นกำไร 3Q67 เติบโตดี
Market Strategy
SET Index แกว่งในกรอบ 1440-1460 จุด การประชุมธนาคารกลางหลักๆของโลกในช่วงเดือนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มดอกเบี้ยของโลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่ทิศทางขาลง (มีเพียง BOJ ที่แนวโน้มปรับขึ้น) ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจยังถูกตีความเติบโตช้าแบบ Soft landing สภาพแวดล้อมข้างต้นทำให้แนวโน้ม Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงและหุ้นเราต่อไป กลยุทธ์วันนี้เลือก BCPG และ CK
การประชุม BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยฯ 0.25% ตามตลาดคาด แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณเร่งการขึ้นดอกเบี้ยฯ แต่อย่างใด มองการส่งสัญญาณข้างต้นลดความเสี่ยงของการเร่ง Unwind Position จาก Yen Carry Trade ซึ่งมองดีต่อทิศทาง Fund Flow ที่ยังมีแนวโน้มไหลเข้ามายังตลาดหุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม TIP ที่วันศุกร์ที่ผ่านมามีสัญญาณบวกจากต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดประกอบด้วยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 23 ล้านเหรียญฯ อินโดนิเซีย 34.5 ล้านเหรียญฯ และไทย 42.5 ล้านเหรียญฯ
ด้านดอกเบี้ยฯบ้านเราอิงความเห็นของผู้ว่า ธปท. ต่อการนโยบายการลดดอกเบี้ยของไทยไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยฯตาม FED และยังประเมินเงินเฟ้อและแนวโน้มเศรษฐกิจยังเป็นไปตามคาด เรามองเป็นกลางต่อการส่งสัญญาณข้างต้นเพราะยังอยู่ในคาดหมายของเราที่คาด กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยฯใน 1H68 แต่หากปรับลดเร็วกว่าคาดจะถือเป็นบวกต่อ SET Index จากภาวะ PER Expansion ที่การลดดอกเบี้ยฯทุก 25 bps หนุน SET Index ถูกซื้อขายบน PER สูงขึ้น 0.8 เท่าหรือคิดเป็นผลต่อดัชนีราว 70 จุด
ส่วนประเด็นอื่นๆ การประชุมบอร์ดค่าจ้างสำหรับปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท วันศุกร์ที่ผ่านมาเลื่อนออกไปเนื่องจากผู้ประชุมไม่ครบองค์ประชุมและจะกลับมาประชุมอีกรอบในวันที่ 24 ก.ย. ทั้งนี้หากมีการปรับขึ้น มองผลต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนยังจำกัด เนื่องจากคาดรัฐบาลมีมาตรการชดเชยทางภาษีเพื่อลดผลกระทบ ส่วนกลุ่มที่คาดประโยชน์คือกลุ่ม Domestic Consumption อย่างค้าปลีก กลุ่มไฟแนนซ์ (CPALL BJC MTC SAK AEONTS)
Market Summary
SET Index ติดลบ 3.15 จุด กลุ่มที่กดดันจากกลุ่มอิเล็คฯ -1.2% จากเงินบาทแข็งค่า ส่วนกลุ่มบวกเด่นคือ กลุ่มเดินเรือตามดัชนี BDI ปรับขึ้น 4.5% หนุน PSL +6.4% TTA +5.8% กลุ่มโทรศัพท์ตามกระแสขาย IPHONE 16 วันแรกในไทยหนุน ADVICE +5% COM7 +1.2% กลุ่มพลังงาน BCP +2% BSRC +5.3% และ BANPU +13% จากการนำบริษัทลูก BKV เข้าจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ ต่างชาติซื้อสุทธิ 1.4 พันบ้านบาท
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ BCPG CK
CK กำไร 3Q67
ยังคาดเติบโตได้โดดเด่น
คาดกำไรปี 2567/68/69E จะเติบโตโดดเด่น 30% / 15% / 24% YoY ตามลำดับ โดยเฉพาะปี 2569 กำไรจะทำสถิติสูงสุดใหม่ 2,711 ล้านบาท แนวโน้มคาดจะได้งานเพิ่มจากโครงการของบริษัทลูกเพิ่ม ทำให้ Backlog เข้าสู่ New S-Curve ช่วยเพิ่มอัพไซด์ต่อประมาณการ
กำไร 3Q67 คาดขึ้นทำจุดสูงสุดของปีหนุนจากส่วนแบ่งกำไรของบริษัทลูกอย่าง CKP และ BEM ราคาหุ้นซื้อขายบน PER 17.7 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี -1.4 S.D.
Catalyst หนุนราคาระยะสั้นคือการเร่งประมูลงานของภาครัฐฯ ซึ่งเราให้น้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เริ่ม ต.ค. ที่เบื้องต้นคาดกระทบกำไรปี 68 ราว 6% แต่ในทางปฏิบัติเชื่อว่าบริษัทจะมีการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ทั้งนี้ติดตามข้อสรุปการประชุมบอร์ดค่าจ้างในวันที่ 24 ก.ย.ต่อไป
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 27.50 บาท
BCPG เปลี่ยนจากความกังวล เป็นความหวัง
ความกังวลต่อแนวโน้มผลประกอบการ BCPG จากผลของ ADDER โครงการ Solar ที่ทยอยหมดอายุลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยหลักที่กดดันราคาหุ้น BCPG ในช่วง 3 ปีย้อนหลังติดลบเกือบ 50% จนปัจจุบันซื้อขายบน PBV ต่ำเพียง 0.7 เท่า
อย่างไรก็ตาม Adder โครงการสุดท้ายของโรงไฟฟ้า Solar ที่ 8 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง หมดอายุในไตรมาส 2Q67 ทำให้ฐานกำไรตั้งแต่ 3Q67 เป็นต้นไป หากเปรียบเทียบในมุม QoQ จะไม่มีผลของ ADDER เข้ามาเกี่ยวข้องและผลประกอบจากนี้จะขึ้นกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่และการ M&A โรงไฟฟ้าใหม่ในอนาคต
โดยกำไรปกติ 3Q67 เราคาดจะเติบโตทั้ง QoQ และ YoY ทำจุดสูงสุดของปี หนุนหลักจากโครงการ CCGT (โรงไฟฟ้าสหรัฐฯ) จาก High Season ฤดูร้อนในสหรัฐฯ หนุนราคาหุ้น นอกจากนี้ BCPG ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยฯที่ลดลงโดยทุก 25 bps ลดลงหนุนกำไรปี 68 เพิ่ม 4.1%
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 11.10 บาท
KEY FACTOR
Risk Sentiment เป็นบวกหลังการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งในช่วง 19 – 20 ก.ย. 1) ดัชนี MSCI World +1.3% นำโดยตลาดสหรัฐฯ S&P500 +1.5%, Nasdaq +2.13% ในขณะที่ภูมิภาคเอเชีย MSCI Asia ex Japan +2.21%, Nikkei +3.69% ส่วน MSCI AC ASEAN +1.5% ใกล้เคียงกับดัชนี SET index ที่ +1.11% 2) ค่าเงินบาท (USDTHB) แข็งค่า 0.63% ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ที่แข็งค่า ช่วง 0.10% - 1.24% สะท้อนภาพตลาดหุ้นไทยที่กลับมาให้น้ำหนักปัจจัยขับเคลื่อนในภาพรวม มากกว่าปัจจัยเฉพาะตัวและไม่ได้ Outperform เหมือนในช่วงก่อนหน้า
ในสัปดาห์นี้ตลาดการเงินโลกน่าจะให้น้ำหนักดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้แก่ S&P Global PMI ภาคการผลิต (Consensus คาดที่ 48.6 แม้จะยังต่ำกว่า 50 แต่ฟื้นจาก 47.9 ในเดือนก่อน) และบริการ (Consensus คาดที่ 55.3 ยังยืนสูงเหนือ 50 อย่างมีนัยสำคัญ) คาดว่าจะเป็นตัวแปรที่ช่วยยืนยันมุมมองตลาดว่าจะไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้จะมีการรายงานตัวเลขส่งออกไทย ซึ่ง Consensus คาดว่าจะบวกได้ต่อเนื่อง 6% YoY
EYES ON
ในสัปดาห์ ส่งออกไทย เดือน ส.ค.
23 ก.ย. S&P Global PMI ภาคการผลิตและบริการ, ดัชนี HCOB PMI ภาคการผลิตและภาคบริการของ Eurozone
26 ก.ย. GDP 2Q67 (รายงานรอบที่ 3) ของสหรัฐฯ
27 ก.ย. ดัชนี PCE เดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Eurozone, กำไรภาคอุตสาหกรรมของจีน
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ