ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดตแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นเวียดนาม
ประเด็นสำคัญ:
ตลาดหุ้นเวียดนามฟื้นตัวตามแนวโน้มเชิงบวกของตลาดหุ้นโลกในเดือนที่ผ่านมา และแรงซื้อจากนักลงทุนรายย่อย หลังดัชนี VNI ทดสอบแนวรับสำคัญที่ระดับ 1180 จุด
ผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนเติบโตขึ้น 20.6% YoY หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและฐานกำไรที่ต่ำในปีที่แล้ว
กลุ่มที่มีการเติบโตสูง ได้แก่ Industrial Metals และ Retail โดยเฉพาะบริษัท MWG ในกลุ่มค้าปลีกที่มีกำไรฟื้นตัวแรง อย่างไรก็ตาม กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ยังคงฉุดการเติบโตของกำไรในตลาด แต่เห็นสัญญาณของการหดตัวที่ลดลง
ธนาคารกลางเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 6% เป็น 4.5% ในปี 2023 แต่การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในระยะสั้นอาจถูกจำกัดจากอัตราเงินเฟ้อและ interbank rate ที่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นเวียดนามยังมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกเนื่องจากผลประกอบการที่ดีและ valuation ที่ยังไม่แพง โดยคาดว่าดัชนี VNI มีโอกาสทดสอบโซน 1300-1330 จุดในเดือน ก.ย.
รายละเอียด:
ตลาดหุ้นเวียดนามรีบาวด์ในเดือน ส.ค. ตามจิตวิทยาเชิงบวกของตลาดหุ้นโลก หลังจากที่นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ยังเห็นแรงซื้อของนักลงทุนรายย่อยหลังจากที่ดัชนี VNI ลงไปทดสอบแนวรับสำคัญที่ระดับ 1180 จุด ส่งผลให้ดัชนีให้ผลตอบแทนเป็นบวกในเดือนที่ผ่านมา
สำหรับรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ล่าสุดยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการเชิงบวก เนื่องจากมีโมเมนตัมการเติบโตของกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกำไรรวมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั้งสามแห่ง (HOSE, HNX, UPCOM) ได้เพิ่มขึ้นถึง 20.6% YoY ใน 2Q24 สูงขึ้นจาก 12% YoY ใน 1Q24 เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นและจากฐานที่ต่ำของกำไรใน 2Q23
หุ้นที่เห็นการเติบโตของกำไรมากใน 2Q24 ได้แก่ กลุ่ม Industrial Metals และ Retail โดยกำไรของกลุ่มโลหะอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 437% YoY อันเป็นผลมาจากอัตรากำไรที่กว้างขึ้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ลดลงเร็วกว่าราคาขาย รวมถึงปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากฐานต่ำปีก่อน
ในส่วนของกลุ่มค้าปลีก มีกำไรเพิ่มขึ้น 379% YoY โดยเฉพาะร้านค้าปลีกอย่าง MWG ซึ่งรายงานการเติบโตของกำไรสุทธิฟื้นตัวจากฐานต่ำถึง 6,635% YoY เป็น 1.17 ล้านล้านดองเวียดนามใน 2Q24 โดยผลลัพธ์เชิงบวกนี้เกิดจากรายได้ต่อร้านที่ดีขึ้นจากการปรับโครงสร้างระบบการจัดจำหน่ายและการปิดร้านค้าที่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรต่ำ
นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Industrial, Construction & Materials และ Chemicals ก็เติบโตดีเช่นกัน โดยมีกำไรเติบโต 319% YoY, 71.3% และ 59.6% ตามลำดับ โดยการเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการภายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากการรีบาวด์ของภาคอุตสาหกรรมโลกตามวงจร manufacturing sub-cycle rebound
ส่วนเซคเตอร์ที่ฉุดการเติบโตของกำไรในตลาดหุ้นเวียดนามยังคงเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังประสบกับการลดลงของกำไรที่ 16.9% YoY แต่เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นจากการหดตัวของกำไรในอัตราที่ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับการลดลง 36.1% YoY ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และการลดลง 29.2% YoY ใน 1Q24 ซึ่งแสดงว่าภาคอสังหาริมทรัพย์กำลังเริ่มหาจุดต่ำสุดของกำไร แต่คงต้องใช้เวลาอีกหลายไตรมาสจนกว่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปได้
ในด้านเศรษฐกิจ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) รายงานยอดสินเชื่อสะสมในช่วง 6 เดือนแรกเติบโตราว 6.1% เทียบยอดรวมของปลายปี 2023 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โมเมนตัมการขยายตัวสินเชื่อยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลังจาก SBV ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย Refinancing Rate ลง 3 ครั้งในปี 2023 จาก 6.0% เป็น 4.5% อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังทรงตัวในระดับสูงที่ 4.36% และ interbank rate ได้เพิ่มขึ้นจาก 2.9% ในปลายเดือน มี.ค. เป็นมากกว่า 5% ใน ส.ค. จึงอาจเป็นปัจจัยกดดันทำให้ธนาคารกลางเวียดนามยังไม่สามารถปรับลดดอกเบี้ยลงในระยะอันใกล้นี้ กระนั้นก็ตาม แม้ interbank rate จะอยู่ในระดับสูง แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นจากการที่ตัวเลขค่อยๆปรับลดลงจากพีค 5.8% ในช่วงต้น ส.ค. ลงสู่ 4.95% ในปัจจุบัน
ตัดกลับมาที่ภาพแนวโน้มตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่าดัชนี VNI มีโอกาสขึ้นทดสอบโซน 1300-1330 จุดใน ก.ย. นี้ หนุนโดยผลประกอบการล่าสุดที่ออกมาดี รวมถึงการที่ดัชนียังมี valuation ที่ไม่แพง จากปัจจุบันเทรดอยู่ที่ Forward PE 12.1 เท่า เทียบกับ -1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 11.85 เท่า อีกทั้งยังไม่เห็นสัญญาณของ earnings downward revision อย่างมีนัยสำคัญในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมา จึงทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกต่อไปได้ ในระยะสั้น
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET กลับมาบวกแรง แต่ยังอยู่ในกรอบสัปดาห์ แรงซื้อกลับมาจากหุ้นกลุ่มคอมเมิร์ช CPAXT CRC ปิโตรเคมี IVL PTTGC และหุ้นลงแรงวันก่อน OSP AWC ส่วนหุ้นบวกแรง JMT PROEN W MAGURO CPR CPH CPL
แนวโน้มตลาดวันนี้
เริ่ม บททดสอบหุ้นไทย
“เราคงคาดหุ้นใหญ่ที่ผลักดันดัชนีฯขึ้นมารอบนี้จะเริ่มพัก และหุ้นกลางเล็ก จะกลับมา เทรดคึกคัก”
โดยวันนี้เราจะไม่ฝืนบอก ว่าดัชนีฯหุ้นไทยจะ ดีกว่า (หรือแย่กว่า) ตลาดหุ้นโลกที่ปรับฐานแรง เพราะเรามองว่า ครั้งนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าหุ้นไทย สมควรจะยืนหยัดและเล่นขึ้นแข็งแกร่งกว่าเดิมได้หรือไม่ หากหุ้นไทยสามารถผ่านบททดสอบ รับมือการปรับฐานของตลาดหุ้นโลกคราวนี้ไปได้ เราน่าจะได้เห็นหุ้นไทยกลับไปเล่นเหนือ 1,370 จุด ถึงโซน 1,400 จุด ถ้ายังไม่ผ่านบททดสอบ เราก็จะยังคงกลยุทธ์ เลือกเล่นหุ้นแถวสองแถวสามต่อไป...
คาดการณ์กรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ พักอยู่ในช่วง 1,350-1,375 จุด ให้น้ำหนักรอฝ่าแนวต้าน ขึ้นไปเล่นกรอบบน ส่วนกลยุทธ์ คงคำแนะนำ หยุดไล่ราคาหุ้นที่ราคาแรลรี่ดันดัชนีฯ หมุนมาเล่นหุ้นแถวสอง กลางเล็กที่มี พื้นฐานกำไรรองรับ Valuation ไม่แพง....
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ปรับฐานแล้วขึ้นต่อทันที! ยืนยันขาขึ้นยังไม่งบง่ายๆ จับตาโซนต้านเส้น EMA 200 วัน เคยขึ้นทดสอบ…ไม่ผ่าน แต่!รอบนี้หลังจากสะสมพลัง ปรับฐานย่อยมาแล้ว 5 วันทำการ...หากทะลุผ่านได้จะส่งผลบวกต่อโครงสร้างระยะยาว....ขาขึ้นของจริง!
Note: ระยะสั้นอาจผันผวนเนื่องจาก RSI ขยับขึ้นสู่แดน overbought อีกครั้ง! (เน้นไม่ใช่สัญญาณขาย) เป้าหมาย 1,380-1,400 จุด มีโอกาสขึ้นทดสอบไม่ยาก! Theme play เดือนก.ย. เน้นหุ้นใหญ่ PTT, AOT, KBANK และ GULF น่าจะมาถูกทาง
What to watch
ซาอุดีอาระเบียอาจปรับลดราคาน้ำมันดิบที่ขายให้กับภูมิภาคเอเชียในเดือนต.ค.นี้ หลังจากราคาน้ำมันดิบดูไบซึ่งเป็นราคาอ้างอิงในตะวันออกกลางลดลงเมื่อเดือนที่ผ่านมา สำหรับน้ำมันดิบ Arab Light ในเดือนต.ค. อาจลดลง 50-70 เซนต์ต่อบาร์เรล
ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนต.ค. เนื่องจากประเทศสมาชิก 8 ประเทศวางแผนเพิ่มการผลิตอีก 180,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนเริ่มยกเลิกการลดการผลิตครั้งล่าสุดจำนวน 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และยังคงลดกำลังการผลิตในส่วนอื่น ๆ ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2568
การจัดตั้ง รัฐบาลใหม่และ คาดแถลงนโยบาย ภายใน 15 ก.ย.
แบงก์ชาติเตรียมอนุญาตให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ร่วม ซื้อรถยนต์ได้ทั้งป้ายแดง และมือสอง เริ่มปลายปี
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 19 ก.ย. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 5.25% ธนาคารกลางยุโรป 12 ก.ย. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 3.50%
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5%
FTSE Rebalance: FTSE All World หุ้นออก BLA, และกลุ่มขยับจาก Large-Cap ไปเป็น Mid-Cap ได้แก่ OR MINT PTTGC EA CRC สำหรับกลุ่ม Small-Cap หุ้นเข้า BLA CPNREIT และหุ้นออก ITD NER ORI TPIPL (คาดมีผล 6 ก.ย.นี้)
ภาวะสงครามรัสเซีย ยูเครน ปะทุขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ตะวันออกกลางก็ยังไม่สงบ แต่คราวนี้ ไม่ได้ช่วย น้ำมัน ทอง ขึ้นเหมือนเมื่อก่อน
US ISM ภาคการผลิต 47.2 ต่ำกว่าคาด 47.5 ดีกว่าครั้งก่อนที่ 46.8 แต่สุดท้ายหุ้นสหรัฐฯปรับฐานแรง
หุ้นแนะนำวันนี้
DITTO หุ้น SMID Cap ที่ทางฝ่าย Research แนะนำเป็นตัว Catching up play(S 19 R 20.5 SL 18)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Economics
ตัวเลขส่งออกหนุนภาพรวม เดือน ก.ค. จะยั่งยืนแค่ไหน?
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ค. จากทุกตัวเลขพบว่าการเติบโตนำโดยการส่งออกที่โดดเด่น 15.2% YoY และ 3.7% MoM รวมทั้งจากการบริโภค โดยเฉพาที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวยังหนุนต่อ อย่างไรก็ตาม หากเจาะจงลงมาที่การบริโภคที่เกี่ยวข้องกับในประเทศโดดยตรงยังคงอ่อนแอ และยังไม่เห็นการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนแบบชัดเจน
ในส่วน GDP สำหรับ 3Q24 คาดเติบโต 3.4% YoY จากฐานที่ต่ำใน 3Q23 และแรงหนุนจากการส่งออกดังกล่าว แต่หากมองไปที่ 4Q24 เราเริ่มเห็นความเสี่ยงของภาคการส่งออกจาก 1) สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า และยังถูกกดดันจากโอกาสลดดอกเบี้ยเฟดอีก 2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก และ 3) ปัญหาน้ำท่วมที่กดดันผลผลิตภาคการเกษตร อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวใน 4Q24 และการใช้จ่ายของภาครัฐจะเป็นตัวหนุนการบริโภคกลับมาชดเชย ซึ่งเราคาด Digital wallet กลุ่มแรงบวกต่อ GDP ที่ 0.1-0.2% ให้ 4Q24 เติบโต และภาพรวมทั้งปี 2024 อยู่ที่ 2.6%
ส่วนประเด็นการลดดอกเบี้ยของ กนง. คาดจะเริ่มลดใน ธ.ค. ที่ 0.25% และอีก 2 ครั้งในปี 2025
Tactical Plays
ถึงเวลาต้องตั้งใจฟังสัญญาณบวก
ตั้งแต่งบฯ 2Q24 ออกครบ เราก็เห็นนักลงทุนเพิ่มความกล้าเก็งกำไรมากขึ้น นอกเหนือจากปัจจัยกดดันทางการเมืองคลี่คลายแล้ว ยังเป็นไตรมาส บจ. ส่วนใหญ่ให้มองธุรกิจตามความเป็นจริง และเป็นครั้งแรกตั้งแต่เก็บข้อมูลมา ที่เห็นผลลัพธ์ของ Guidance ออกมาเป็น Realistic แบบมีนัยฯ (ไม่มากไป-น้อยไป) โดย MGRI สูงถึงระดับ 70 (จาก 42 ในงวดก่อน) 2Q24 สะท้อนว่ามีการ Fine-tune ความคาดหวังให้อยู่ในระดับตรงไปตรงมา (ต่างจากรอบก่อน ที่มองแบบระมัดระวังมากจนเกินไป) โดยในภาพย่อยกลุ่มที่ MGRI สูง เช่น ธนาคาร การเงิน อาหาร ท่องเที่ยว ขนส่ง อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับกลุ่มที่มองสูงเกินไป (ผลออกมา Optimistic) เหลือเพียง 17% ของการสำรวจ โดยหลักๆ เป็นกลุ่มโตรเคมี รับเหมาฯ อสังหาฯ บางกลุ่ม เป็นหลัก แต่ความน่าสนใจ คือ กลุ่มที่พลิกจาก Optimistic มาเป็น Realistic/Pessimistic ได้ในรอบนี้ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ขนส่งสาธารณะ และค้าปลีกสินค้าฟุ่มเฟือย/ซ่อมแซมบ้านบางกลุ่ม
จากการให้มุมมองในไตรมาส 3 ก็ยังให้มุมมองที่ไม่ Aggressive เกินไปต่อคล้ายไตรมาสที่ผ่านมา โดยบจ. กว่า 53% มองเป็นกลาง และ 40% มองด้านบวก เช่น เกษตรฯ-อาหาร (เป็นตัวยืนต่อเนื่อง) CPF TU BTG GFPT ITC CBG COCOCO ค้าปลีก ซึ่งมีทั้งตัวหลัก CPALL-CPAXT และฝั่งมีความหวังฟื้นตัว COM7 DOHOME การเงิน MTC SAWAD JMT รพ. BDMS BH ขนส่งสาธารณะ BEM AAV
เราเชื่อว่า Guidance รอบนี้ รวมทั้งที่จะออกมาช่วง Preview จะมีน้ำหนักต่อการหาหุ้นเล่นรอบ เราจึงคัดหุ้นไว้ให้ทยอยสะสมใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อเล่นรอบ Preview ไปหรือน่าจะมีสัญญาณเชิงบวกในข้างหน้าหนุน ส่วนผสมระหว่าง 1) เล่นหลังช่วงน้ำท่วม HMPRO DOHOME, 2) กำไรดีต่อบวกปรับเป้าขึ้น CBG WHA, 3) รับอานิสงค์การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลใหม่ CPAXT DITTO
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน