หวังพึ่ง ดอกเบี้ยของFED และ มาตรการรัฐ
เห็นพัฒนาการเชิงบวกของ SET INDEX เล็กน้อยจากการที่ดัชนีค่อยๆขยับตัวสูงขึ้น+แรงขายสุทธิของต่างชาติลดลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการซื้อขายที่ยังไม่มากพอทำให้เรายังไม่พ้นจากภาวะความผันผวน ส่วนแรงขับเคลี่อนที่น่าจะพอทำให้เราหลุดออกจากภาวะผันผวนได้ น่าจะมีอยู่ 2ส่วนคือ ความคาดหวังว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปี2567 ซึ่งภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้เงินบาทแข็งค่าและดึงดูดเม็ดเงินให้ไหลเข้ามาได้บางส่วน อีก เรื่องหนึ่งคือมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลของบ้านเรา ซึ่งน่าจะมีทั้ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง DIGITAL WALLETรวมถึงมาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมต่าง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นตลาดหุ้น ซึ่งรอกรอบเวลาที่ชัดเจน ทั้ง TESG และวายุภักษ์ ซึ่งหากทุกส่วนที่กล่าวถึงเกิดขึ้น SET INDEX ก็จะมีแนวโน้มที่ดีประเมินว่า SET INDEX วันนี้มีโอกาสปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือ 1330 จุดได้ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกทาง TECHNICAL ประเมินกรอบ 1323 – 1335
จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือก CENTEL, CPN และ GPSC
หวังดอกเบี้ยขาลง หนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง
วานนี้มีรายงานตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจสหรัฐ ดังนี้
• เงินเฟ้อเดือน มิ.ย. +3.0%YOY ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด +3.1%YOY และชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ +3.3%YOY รวมถึงเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี
• ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานล่าสุด 222,000 ราย ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่ 230,000 ราย
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมิ.ย. ที่ชะลอตัวลงมากกว่าคาด บวกกับตลาดแรงงานสหรัฐฯส่งสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยที่ FED นำไปพิจารณาผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดคาดว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยมากถึง 3 ครั้งในปีนี้ (เดิมคาด 1-2 ครั้ง) โดยครั้งแรกเป็นเดือน ก.ย. มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 84.6%
ภาวะดังกล่าวทำให้ยังเห็นภาพของเม็ดเงินมีแนวโน้มออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย และไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดย DOLLAR INDEX อ่อนค่าลงเหลือ 104.44 จุดขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้นมา 85.4 เหรียญฯ อีกทั้งตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่ปิดตัวในแดนบวก ส่วน BOND YIELD 10 ปีสหรัฐฯ ร่วงลงมาอยู่ที่ 4.2% (-4.2%MTDหรือลดลง27 BPS.) ส่งผลให้ส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ –ไทย มี GAP ที่แคบลงมาอยู่ที่ 1.59% หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 36.37 บาท/USD
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่ม หวังรีบาวน์ รับกระแส BOND YIELD สหรัฐปรับลง ดังนี้
1. หุ้นปันผลสูง อาทิSIRI, TTB, PTTEP
2. หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง GULF, BGRIM, GPSC
3. หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง JMT, MTC, SAWAD,TIDLOR
สรุป ความคาดหวัง FED ลดดอกเบี้ยจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวลง ทำให้ยังเห็นภาพของเม็ดเงินมีแนวโน้มออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย และไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น หวัง FUND FLOWเข้าเอเชียและไทยระยะถัดไป
วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น อาจทำให้เห็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเชียหรือตลาดหุ้นกำลังพัฒนาในระยะถัดไปมากขึ้นจาก 3 เหตุผลดังนี้
1. หุ้นในฝั่งประเทศเกิดใหม่มักจะปรับตัวขึ้นได้ดี เวลา FED เร่งใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย หรือ ใช้ QE ช่วงนั้นเม็ดเงินมีการเอนเอียงไหลมาเข้าหุ้น
เทคฯ และหุ้นประเทศกำลังพัฒนา มากกว่าหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งในช่วงQE1 –3 ที่ MSCI EMERGING +134% มากกว่า MSCI WORLD +116%
และช่วง QE COVID ที่ MSCI EMERGING +89% มากกว่า MSCI WORLD+75%
2. P/E67F MSCI WORLD (ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว) 20.4 เท่า เร่งตัวสูงขึ้นกว่าMSCI EMERGING (ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา) ที่ 13.4 เท่า โดยเฉพาะตลาดหุ้น NASDAQ มี P/E 44.2 เท่า (P/E67F 35.6 เท่า) น่าจะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักในตลาดหุ้นกำลังพัฒนามากขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสได้กำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม
3. ค่าเงินเอเชียหรือค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น จากส่วนต่างผลตอบแทนดอกเบี้ยไทยสหรัฐที่แคบลง และเริ่มเห็นสัญญาณค่าเงินบาทเร่งตัวแข็งค่าขึ้น
ในช่วงนี้ โดย 2 สัปดาห์ ค่าเงินบาทแข็งลงมาเกือบ 1บาท จาก 37 บาท/เหรียญ เหลือ 36 บาท/เหรียญ
สรุป FUND FLOW มีโอกาสเอนเอียงมาที่ตลาดหุ้นเอเชีย และไทยมากขึ้น ช่วยหนุนให้SET INDEX ยืนเหนือ 1300 จุด และน่าจะเดินหน้าสู่ 1400 จุดในช่วงถัดไปได้มาตรการภาครัฐฯ เตรียมเข้ามาในช่วงที่เหลือของปี ลุ้นพยุงSET ยืนเหนือ 1350 จุดหลังกระทรวงการคลังมีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการ DIGITALWALLET(รายละเอียดเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ MARKET TALK วันที่ 11 ก.ค.67)
ต่อมาวานนี้ รมช.คลัง กล่าวในแง่ของผลต่อเศรษฐกิจ ว่าตัวเลขคาดการณ์ผู้มาใช้สิทธิในโครงการดังกล่าวราว 40 กว่าล้านคน ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้น GDP GROWTH ได้ราว 1.3-1.8% แต่หากท้ายสุด มีผู้มาใช้สิทธิมากกว่าที่ประเมินไว้ ก็เชื่อว่าจะมีผลดีกับเศรษฐกิจมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้ง WORLD BANK และ สศช. ที่คาดว่า DIGITAL WALLET จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 0.5-1.0% และ 0.25% ตามลำดับ ซึ่งหากโครงการ DIGITAL WALLET กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง และหนุนให้เงินเฟ้อขยับขึ้นตามที่ ธปท. คาด อาจจะทำให้ประเทศไทยยังไม่เห็นการปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ดังประเทศสหรัฐฯ และหนุนค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้นขณะที่ประเด็นบวกถัดมา คือ ความคาดหวังเม็ดเงินจาก THAIESG เงื่อนไขใหม่ ที่คาดจะมีเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาหนุนตลาดหุ้น 6 –7 หมื่นล้านบาท/ปีและหนุนให้กองทุนลดสถานะเงินสดและซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นในพอร์ตช่วงเวลาที่เหลือของปี(ซึ่งมีกระแสข่าวว่าอาจนำเข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า) อีกทั้งมีกระแสการฟื้นกองทุนรวมวายุภักษ์ แบบการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำเพื่อพยุงตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 2 โครงการหากเกิดขึ้นจริง และมีผลบังคับใช้เร็ว ก็จะยิ่งเป็นแรงพยุงให้SET สามารถขยับขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุป มาตรการภาครัฐฯ เตรียมเข้ามาในช่วงที่เหลือของปี ทั้งโครงการ DIGITALWALLET และกองทุน THAIESG / วายุภักษ์ ลุ้นเป็นปัจจัยเร่งให้เม็ดเงินทยอยไหลเข้าหุ้นไทยระยะถัดไป และพยุง SET ยืนเหนือ 1350 จุดได้ไม่ยาก ส่วนวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET 1323-1333 จุด
กกพ.เตรียมนำเสนอแนวทางค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค.2567 วันนี้
แนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น 20-40 สตางค์...หนุนกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP
บอร์ด กกพ. เตรียมนำเสนอทางเลือกค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) สำหรับงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2567 ในวันนี้ (12 ก.ค. 2567ช่วงเวลาประมาณ 10:00 น.) ซึ่งแนวโน้มค่า FTดังกล่าวคาดจะปรับขึ้นราว 20-40 สตางค์/หน่วย มาอยู่ราว 59.72-79.72 สตางค์ต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันที่ 39.72 สตางค์/หน่วย ซึ่งเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่3.78 บาท/หน่วย จะส่งผลให้แนวโน้มค่าไฟงวดใหม่คาดจะปรับขึ้นมาอยู่ในกรอบ 4.38-4.58 บาท/หน่วย จากเดิม 4.18 บาท/หน่วย
โดยปัจจัยการปรับขึ้นค่าไฟมาจาก
▪ การทยอยชำระหนี้คืนให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
▪ หนี้ค่าเชื้อเพลิงที่ต้องทยอยจ่ายคืนให้แก่ PTT ที่รับภาระให้แก่ประชาชนในงวดก่อนหน้า
▪ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเหมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และแนวโน้มความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวหนุนให้ราคาก๊าซฯปรับตัวสูงขึ้นซึ่งหลังจากที่มีการนำเสนอ 3 แนวทางเรียบร้อยแล้ว ทางกกพ.จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นแก่ประชาช และทุกฝ่าย ก่อนจะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
ประเด็นดังกล่าวถือเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าทั้งกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนการขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง อาทิ GPSC (สัดส่วนราว 30-35% ของรายได้รวม),BGRIM (สัดส่วนราว 25-27% ของรายได้รวม), และ GULF (สัดส่วนราว 10% ของรายได้รวม) ที่จะส่งผลให้มีรายได้จากการขายไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ในเชิงของอัตรากำไร ส่วนหนึ่งถือเป็นกลไกค่าไฟฟ้าที่มีการปรับเพิ่มตามต้นทุน แต่อาจได้รับประโยชน์จากส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้าสำหรับการทยอยชำระคืนหนี้ให้แก่ภาครัฐ (EGAT) ซึ่งยังถือเป็นประเด็นที่ยังต้องติดตามว่าจะมีการทยอยชำระคืนหนี้ดังกล่าวในสัดส่วนเท่าใด
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยเลือก GPSC (FV@55B) และ BGRIM (FV@34B) สำหรับการหาจังหวะเข้าลงทุนในประเด็นข่าวดังกล่าว และ GULF (FV@56B) สำหรับการทยอยสะสมลงทุนในระยะยาว
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์