Today’s NEWS FEED

News Feed

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย การเมืองยุโรปมีผลต่อไทยจำกัด แต่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะส่งผลให้เกิดความปั่นป่วน

563

 สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(10 กรกฎาคม 2567)-------การเลือกตั้งในยุโรปและสหรัฐฯ ในปีนี้ เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลกให้สูงขึ้นในระยะข้างหน้า

ผลการเลือกตั้งทั้งในสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสะท้อนการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองไปเป็นฝ่ายซ้ายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้นโยบายทางการคลังมีทิศทางเพิ่มรายจ่ายภาครัฐบาลเพื่อสนับสนุนค่าครองชีพของครัวเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรายได้น้อย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางการคลังในระยะข้างหน้าได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
• สหราชอาณาจักร: ผลการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา พรรคแรงงาน (Labour Party) ภายใต้การนำของ เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์ (Keir Starmer)ชนะแลนด์สไลด์ ถือเป็นการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองจากพรรคอนุรักษนิยม (Conservative) ครั้งแรกในรอบ 14 ปี ซึ่งพรรคแรงงานมีจุดยืนทางการเมืองไปทาง “ซ้ายกลาง” และไม่สนับสนุนแผนการปรับลดรายจ่ายภาครัฐที่รัฐบาลเดิมเสนอไว้ โดยสรุปสาระสำคัญของนโยบายของพรรคแรงงาน ดังนี้
แนวนโยบายทางเศรษฐกิจและต่างประเทศ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ นโยบายการคลัง นโยบายต่างประเทศ
รายละเอียด - เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณสุข
- ปรับค่าแรงให้สอดคล้องกับค่าครองชีพของแรงงาน
- ไม่ปรับขึ้นภาษีเงินได้พลเมือง เงินสมทบประกันสังคม และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- สร้างบ้าน 1.5 ล้านหลังในระยะเวลา 5 ปี เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนบ้านในราคาที่ซื้อได้ - ลดการขาดดุลทางการคลังให้ไม่เกิน 3.0% ต่อ GDP ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (จากปัจจุบันที่ 4.4%) - ฟื้นความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป (EU) และจะลดการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน
- สนับสนุนยูเครนในการเข้าร่วมกลุ่มนาโต (NATO) สอดคล้องกับจุดยืนของ EU

อย่างไรก็ดี การปรับลดการขาดดุลการคลังโดยการมุ่งเน้นเพิ่มรายได้ภาครัฐจากการเลิกยกเว้นภาษีให้กับผู้มีถิ่นพำนักที่ไม่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร ลดการเลี่ยงภาษี รวมถึงเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมโรงเรียนเอกชนและบริษัทพลังงาน มีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal space) ได้เพียงในระยะสั้นเท่านั้น แต่คงไม่สอดคล้องต่อแผนการใช้จ่ายของรัฐบาลในระยะยาว ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางการคลังในระยะข้างหน้า
• ฝรั่งเศส: ผลการเลือกตั้งรัฐสภารอบที่ 2 ในวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ฝรั่งเศสเผชิญกับสภาวะ “รัฐสภาผสม” (Hung parliament) ขณะนี้การจัดตั้งรัฐบาลฝรั่งเศสยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากผลการเลือกตั้งที่ออกมาไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ ดังนั้น การจัดตั้งรัฐบาลผสม ท่ามกลางแนวนโยบายของแต่ละพรรคที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพและยากที่จะออกนโยบาย ขณะที่นโยบายทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่อาจนำมาซึ่งการขาดดุลงบประมาณที่มากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงทางการคลังในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ การใช้จ่ายทางการคลังที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่ได้ที่นั่งในสภาสูงสุดมีแผนเก็บภาษีในกลุ่มคนรวยมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนและภาคธุรกิจในฝรั่งเศสได้

พรรคการเมือง กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย
(New Popular Front: NPF) กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายกลางของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายขวา นำโดย
พรรคเนชั่นแนลแรลลี
(National Rally: NR)
คะแนนเสียง
(287 เสียงจึงจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก) 182 163 143
นโยบายสำคัญ - ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
- ปรับเงินเดือนและเงินบำนาญให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ
- ตรึงราคาอาหารและพลังงาน
- ยกเลิกการเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 ปีเป็น 64
- มีมาตรการช่วยเหลือผู้อพยพ
- สนับสนุน EU และสนับสนุนยูเครนทางทหาร - ปรับลดค่าไฟฟ้า
- ต่ออายุมาตรการเงินอุดหนุนภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนค่าจ้าง
- ไม่ปรับขึ้นภาษีต่างๆ
- เพิ่มสวัสดิการแก่ครัวเรือนยากจน
- ปฏิรูปนโยบายผู้อพยพให้เข้มงวดขึ้น
- สนับสนุน EU และสนับสนุนยูเครนทางทหาร - ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
- ปรับเงินบำนาญให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อ
- ลดภาษีพลังงาน
- ยกเลิกการเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 ปีเป็น 64
- ต่อต้านสหภาพยุโรปและต่อต้านผู้อพยพ

ขณะที่ ฝั่งสหรัฐฯ หลังการดีเบตรอบแรกผ่านไป ได้เกิดกระแสเรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ถอนตัวจากการเป็นตัวแทนพรรคเดโมเครต ขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกันยังคงมีคะแนนนิยมนำอยู่จากโพลล่าสุด (รูปที่ 1)


ทั้งนี้ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครตจะได้เสียงข้างมากในสภา ทั้งสองพรรคล้วนมีนโยบายกีดกันการค้ากับจีน อย่างไรก็ดี หากโดนัลด์ ทรัมป์ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี มีความเสี่ยงที่ภาษีนำเข้าต่อสินค้าจีนถูกขึ้นเป็น 60% รวมถึงการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ เป็น 10% นอกจากนี้ โดนัลด์ ทรัมป์มีจุดยืนไม่สนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ในด้านทางการทหาร โดนัลด์ ทรัมป์ มีนโยบายไม่สนับสนุนนาโต (NATO) และมีแนวโน้มตัดความช่วยเหลือทางการทหารต่อยูเครน ซึ่งอาจทำให้ประเด็นด้านสงครามคลี่คลายลง

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ยืน 1200 จุด By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ในท้องทุ่งสีเขียว หุ้นไทยบวกยืน 1200 จุดได้อีกครั้ง ...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้