Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.กรุงศรี พัฒนสิน : KSS Daily Strategy

603

 


"Big Cap Play"

 

KSS Daily Strategy : : คาด SET วันนี้ "Sideways/Up" ต้าน 1330/1335 จุด รับ 1315/1311 จุด ดัชนี S&P500 ยังแกว่งเล็กๆ +0.1% ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ต่อ โมเมนตัมหนุนยังมาจากหุ้นเทคโนโลยีแรงหนุนความคาดหวังต่อดอกเบี้ยขาลง ระหว่างรอปัจจัยใหม่ อาทิ การแถลงต่อสภาของคุณ Powell 9-10 ก.ค. และเงินเฟ้อ CPI 11 ก.ค. มองปัจจัยต่างประเทศเป็นกลาง ส่วนภายในเป็นบวก โดยเฉพาะ Upside ต่อ GDP และกำไรหุ้น Domestic ในกลุ่มค้าปลีก เครื่องดื่ม ธนาคาร จากโครงการ Digital Wallet เริ่มมีกรอบเวลาชัดเจน นายกเตรียมแถลง 24 ก.ค. 30 ก.ค. เสนอ ครม. ขณะที่การ Cover Short วานนี้เริ่มเห็นภาพเร่งหุ้นที่มีสถานะ Short ทั้งหมด 403 บริษัท แทบทั้งหมดเป็นภาพ Short น้อยลง/เท่าเดิม เป็นกลุ่มที่ Short ลดลงเพิ่มสู่ 204 บริษัท (prev. 80 บริษัท) กลุ่มที่ Short เท่าเดิม 179 บริษัท (prev. 261 บริษัท) สะท้อนมุมมองเชิงบวกตลาด ทำให้ยังเชื่อว่าจะหนุน SET แกว่งขึ้นได้ต่อ มองหุ้นนำกลุ่ม Domestic ค้าปลีก ท่องเที่ยว กลุ่มจิตวิทยา Yield หนุน (โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วน เช่าซื้อ) กลุ่มเกษตร (ราคาข้าวโพดต่ำสุดใน 4ปี +ข้าวสาลี ต่ำสุดใน 2 เดือน) วันนี้แนะ CPALL, CPAXT, DELTA

 

Daily outlook: "Sideways/Up" ต้าน 1330/1335 จุด รับ 1315/1311 จุด

What happened around the world ?

•(*) US Stocks : ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 และ Nasdaq ยังทำ All time high ต่อได้ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แรงหนุนจากมุมมองทิศทางดอกเบี้ยขาลง Dow jones -0.08% (กลุ่ม real sector กด อาทิ Coca-cola -1.25%, Nike -3.5% แต่หุ้น tech พยุงไว้ อาทิ Intel +6%) S&P500 +0.54%, Nasdaq +0.9% โดยดัชนี S&P Sector ที่ปรับขึ้นหลักคือกลุ่ม IT,Materials, Real estate ฯลฯ โดย Sector ที่ปรับลงหลักๆ คือ ICT, Energy ฯลฯ

• (*/+) Japan Econ : ตัวเลขค่าจ้าง(Wage Growth) ของญี่ปุ่น เดือน พ.ค.ขยายตัวขึ้น +1.9% ทำระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน (ค่าจ้างตามสัญญาจ้าง +2.5% ทำ New High,รายได้ในส่วน OT +2.3% ในขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ +2.5% ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

•(+) Delta : ราคาหุ้น 2308 TT (DELTA ไต้หวัน) วันนี้ปรับตัวขึ้น +3.9% ตอบรับรายงานเดือน มิ.ย. 2024 (รายงาน 15:00 เวลาไทย) หนุนยอดขายทั้งงวด 2Q24 ที่รายงานออกมาเติบโต 12%q-q, 2.9% y-y มองจิตวิทยาบวกต่อ DELTA ไทย

• (*) US Bond Yields & Dollar : Bond yield สหรัฐแนวโน้มเป็นขาลงชัดเจนหลังตัวเลขแรงงาน่าสุดออกมาชะลอ แม้ระยะสั้นจะฟื้นแต่มองเป็น Technical rebound อิงอายุ 2 ปี +3 bps อยู่ที่ 4.63% (แนวต้านระยสั้นคือโซน 4.66% +- หากไม่ผ่านยังบ่งชี้เป็นขาลง) ส่วนอายุ 10 ปี -1 bps อยู่ที่ 4.27% ระดับต่ำสุดในเดือน ก.ค.24 มองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มชิ้นส่วน อาทิ DELTA, KCE, HANA กลุ่มการเงิน MTC กลุ่มโรงไฟฟ้า อาทิ GULF, CKP กลุ่มหนี้สูง CPAXT MINT ส่วน Dollar Index ระยะสั้นแนวโน้มยังอ่อนค่า ล่าสุดบริเวณ 104.68+/- จุด

• (*) To monitor : 9 ก.ค. ไต้หวัน Export และ Import เดือน มิ.ย. มีผลต่อจิตวิทยาการลงทุนของหุ้นกลุ่มอิเล็กฯ สหรัฐ-ประธานเฟดกล่าวสุนทรพจน์10 ก.ค. จีนรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 11 ก.ค. จีน- ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่เดือน มิ.ย., สหรัฐ ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI เดือน มิ.ย. 12 ก.ค.: จีนรายงาน Export/Import เดือน มิ.ย.

•(*/-) Oil : น้ำมันดิบ Brent -0.91%DoD ปิดที่ US$ 85.75/barrel. น้ำมันดิบ West Texas -1.00%d-d ปิดที่ US$ 82.33/barrel

• (+) Corn : ราคาข้าวโพดปรับลงแรง - 6.95%d-d. ระดับ 3.95$/บุชเชล จากภาวะ Over supply โดยมีสต๊อกคงค้างจำนวนมากในสหรัฐและยุโรป ขณะที่ผลผลิตใหม่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ USDA เปิดเผยว่าในปีนี้สหรัฐมีปริมาณการปลูกข้าวโพดมากกว่า 91.5 ล้านเอเคอร์ ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้า, ในขณะเดียวกันราคาข้าวสาลีลดลงแตะระดับ 5.7$/บุชเชล ลดลง 3.43% ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน มีปัจจัยกดดันจากภาวะ Over supply คล้ายกับตลาดข้าวโพด ราคาข้าวโพดและข้าวสาลีที่ลดลงส่งผลบวกโดยตรงต่อกลุ่มธุรกิจเลี้ยงสัตว์และส่งออกอาหารเนื่องจากข้าวโพดและข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบของอาหารสัตว์ เรายังให้น้ำหนัก Overweight กับหุ้นในกลุ่มส่งออกอาหาร Top Pick คือ CPF เป้าหมาย ปี 2025 ที่ 25.50 บาท และ GFPT เป้าหมาย 15.10 บาท และอีกกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหารที่ใช้แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบในการผลิต อาทิ SNNP, NSL, และ RBF

 

What happened in Thailand ?

• (+) SET: SET Index ปรับตัวขึ้น +10.51 จุด หรือ +0.8% ปิดที่ 1322.5 จุด กลุ่มหนุน คือ กลุ่มค้าปลีก (CPAXT, CPALL) มองความคืบหน้านโยบาย Digital Wallet เป็นแรงหนุน กลุ่มพลังงาน (GULF) หนุนหลักจาก US Bond Yield 10ปีที่ปรับตัวลดลง -9 bps หลังภาคแรงงานสหรัฐฯส่งสัญญาณอ่อนตัวลง ผสาน แรงหนุนเงินบาทแข็งค่าสู่ 36.5 +/- บาท ช่วยให้มีโอกาสรับรู้กำไร FX กลุ่มถ่วง คือ กลุ่มบริการเฉพาะ (SISB) มองเป็นการลดสถานะหุ้น Outperform เปลี่ยนมาลงทุนหุ้นกลุ่มอื่น กลุ่มแพ็คเกจจิ้ง (SCGP) ยังเผชิญแรงขายความกังวลซัพพลายที่กลับมาเพิ่มขึ้นในจีนอีกครั้ง

• (+) Flow : เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า ซื้อหุ้น +10.5 ล้านเหรียญฯ ขายพันธบัตร -2.6 ล้านเหรียญฯ TFEX Net Short -1,969 สัญญา เงินบาทแข็งค่าสู่ 36.4 +/- บาท

•(*/+) Digital Wallet: ความชัดเจนนโยบาย Digital Wallet เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดรมช. คลังให้ข่าวกำหนดกรอบเวลาต่างๆ ดังนี้ 10 ก.ค. ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายฯ 15 ก.ค. ประชุมคณะกรรมการ Digital Wallet ชุดใหญ่ 24 ก.ค. นายกฯ แถลงรายละเอียดของโครงการทั้งหมด 30 ก.ค. คณะกรรมการนโยบายนำข้อเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ทั้งหมด 4Q24 คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายเงินได้จริง ทั้งนี้ รายละเอียดอื่นๆ คือ วงเงินดำเนินการคงเดิมที่ 5.0 แสนล้านบาท ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ใช้สิทธิ์ได้ เบื้องต้นสินค้าที่เป็นมือถือและอิเลคทรอนิกส์มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกตัดออก

แม้ยังต้องติดตามกรณีที่กฤษฏีกาอาจจะต้องตีความแหล่งเงินทุนของในส่วนที่จะมาจาก ธ.ก.ส. (อีก 2 ส่วนมาจากงบประมาณส่วนเพิ่มปี 2024 (2567) งบประมาณปี 2025 (2568)) แต่ความคืบหน้าดังกล่าวเป็นบวก โดยถือ Upside ต่อ GDP และกำไรกลุ่ม Domestic ที่ตลาดยังไม่รวมในประมาณการ มองหุ้นกลุ่ม Domestic ที่มีโอกาสได้ประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL, CPAXT, BJC, TNP ที่มีสัดส่วนยอดขายในพื้นที่ต่างจังหวัดสูงๆ (ดังตารางแนบ) กลุ่มเครื่องดื่ม OSP, CBG, ICHI กลุ่มเช่าซื้อ MTC กลุ่มธนาคาร KTB, KBANK ทั้งนี้ ระยะสั้นแนะนำ เน้น CPALL, CPAXT, BJC, OSP, KBANK

• (*/-) SSO : กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอ ครม. ปรับลดค่าเงอนสมทบประกันสังคมมาตรา 33 เหลือ 3% จาก 5% มองจิตวิทยาบวกกลุ่มอิงกำลังซื้อในประเทศ อาทิ ค้าปลีก CPALL CPAXT แต่จิตวิทยาลบ ร.พ. ประกันสังคม อาทิ BCH CHG

• (+) TH Tourism: ยอดผู้ใช้บริการสนามบิน AOT เดินทาง ตปท. 1-6 ก.ค. เร่งสู่ 92.3% vs นักท่องเที่ยวต่างชาติ 1H24 ที่อยู่ 88.4% ของ Pre-COVID ยืนยัน 1.) ภาพผลบวกมาตรการฟรี วีซ่า และ 2.) การผ่านพ้นจุดต่ำสุดภาคท่องเที่ยวในแต่ละปี (ช่วง พ.ค.) มองหุ้นท่องเที่ยว+การบินที่ยัง Underperform SET ตลาดมีโอกาสค่อยๆฟื้นตัว ทั้งนี้ ปัจจุบันนับจากช่วงฤดูกาล สิ้นสุด 1Q24 SET ปรับตัวลดลง -3.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มการบิน AOT -12.3%, AAV -16.4% มีเพียง BA ที่ Outperform +33.8% ส่วนท่องเที่ยว ERW -9.8%, CENTEL -6.9%, MINT -9.9% เชิงกลยุทธ์ ยังคงมุมมองหุ้นในกลุ่ม อาทิ AOT, ERW, MINT น่าสนใจ รวมถึงหนุนหุ้นอิงภาคบริการ อาทิ CPALL, CPAXT, BJC ที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์ทางอ้อมด้วยเช่นกัน

• (+) Short Sales: หลังจากมาตรการ Uptick Rule มีผลวันที่ 5 วานนี้ในส่วนจำนวนหุ้นที่มียอด Short คงค้างอยู่ที่ 403 บริษัท (vs วานนี้ 405 บริษัท) พบว่า ส่วนใหญ่ยอด Short ลดลง/เท่าเดิม โดยกลุ่มที่ลดลงจากวันทำการก่อนหน้าเพิ่มเป็น 204 บริษัท (วานนี้ 80 บริษัท) ส่วนหุ้นที่ Short เท่าเดิมอยู่ที่ 179 บริษัท (วานนี้ 261บริษัท) ขณะที่หุ้นที่ Short เพิ่มขึ้นมี 20 บริษัท (วานนี้ 64 บริษัท) จิตวิทยาบวกต่อ SET

• (*) To Monitor: 1.) 9ก.ค. ติดตามการประชุม ครม. คาดมีโอกาสที่กระทรวงการคลังนำกองทุน ThaiESG เข้าพิจารณา หลัง รมว. คลังส่งสัญญาณช่วงปลายสัปดาห์ก่อน 2.) 10 ก.ค. การพิจารณาคดีคุณสมบัตินายกฯ คาดว่าศาลยังไม่น่าจะมีการวินิจฉัย ทำให้ไม่มีน่าจะมีประเด็นที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดเพิ่มเติม ขณะที่หากกำหนดวันวินิจฉัย ถ้าเร็วกว่า ก.ย. 24 ที่เป็นช่วงเวลาตลาดคาดหวังล่าสุดจะเป็นบวก จากความชัดเจนที่จะเกิดขึ้นเร็ว 3.) การพิจารณานำกองทุนวายุภักษ์กลับมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยขับเคลื่อนตลาดหุ้น มองจิตวิทยาบวกต่อหุ้นที่กองทุนถือสัดส่วนสูงในปัจจุบัน อาทิ PTT, AOT, SCB, KTB, TTB, ADVANC, BSRC 5.) การทยอย Preview กำไรงวด 2Q24F กลุ่ม Real Sector จะออกมาเพิ่มขึ้น มองกลุ่มกำไรเด่น y-y, q-q อาทิ สื่อสาร (ADVANC, TRUE) ค้าปลีก (CPALL, CPAXT) เครื่องดื่ม (ICHI, OSP, SAPPE) ชิ้นส่วน (KCE) เกษตร (GFPT, CPF) ท่องเที่ยว (MINT) โรงไฟฟ้า (CKP, GULF, GPSC) ความงาม (MASTER, KLINIQ)

 

 

Daily Strategy : CPALL, CPAXT, DELTA เด่น

ระยะสั้น วันนี้มองภาพตลาด "Sideways/Up" มองจิตวิทยาบวก US Bond Yield ที่แกว่งทรงตัวต่ำระหว่างรอข้อมูลใหม่ๆ อาทิ การแถลงประธาน Fed วันที่ 9-10 ก.ค. และรายงานเงินเฟ้อ CPI 11 ก.ค. ยังน่าจะหนุนสินทรัพย์เสี่ยง ส่วนภายในเป็นบวก นโยบาย Digital Wallet ที่จะเปิด Upside ของทั้ง GDP และกำไรกลุ่ม Domestic ชัดเจนขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์การ Short ที่มีจำนวนหุ้น Short ลดลง/คงที่ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อตลาด มองหุ้นนำวันนี้ 1) หุ้นได้ประโยชน์ Yield พีค อาทิ โรงไฟฟ้า หนี้สูง เช่าซื้อ และ High Growth 2) หุ้นอิง Domestic อาทิ ค้าปลีก ท่องเที่ยว และ 3) หุ้นที่มีแรงหนุนเฉพาะตัวในส่วนกลุ่มเกษตร ต้นทุนฝั่งราคาข้าวโพด+ข้าวสาลีดิ่งลง

 

หุ้นได้ประโยชน์ภาคผลิตโลกผ่านจุดต่ำสุด + เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหนุนอุตสาหกรรมทยอยเข้าสู่ Upgrade Cycle (HANA, KCE)
กลุ่มภาคผลิตไทย PMI ภาคผลิตไทยอยู่ในระดับขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือนหนุน (GFPT, TU, CBG, OSP, ICHI, SAPPE IVL, STA, NER)
หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรการท่องเที่ยวชุดใหญ่ของรัฐฯ หนุน บริโภค ท่องเที่ยว โรงแรม ร.พ. (CPALL, ICHI, AOT, MINT, ERW)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2024 (GULF, GPSC, CPALL, TRUE, MINT, WARRIX, MTC, MOSHI, KLINIQ)
กลุ่มได้ประโยชน์ Microsoft ลงทุน Data Center ในไทย (ADVANC, TRUE, INSET, GULF, WHA)

• JULY24 Best Picks: TRUE, CPAXT, GULF, KCE, WHA, MINT, OSP

• 3Q24Stock Picks : CPALL, GFPT, HANA, KCE, MINT, MTC, OSP, TRUE, TU, WHA Mid-Small Cap Play : CKP, DOHOME, INSET, TNP

 

Tactical & Investment Idea

 

Research Highlight

 

• Strategy Update : US Election (The first debate)

Debate รอบแรก Biden และ Trump ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมา คือ ประเด็นการทำแท้ง, ผู้อพยพต่างชาติและผู้ก่อการร้าย และชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก US-Mexico Broader ฯลฯ ทั้งนี้ ประเด็นทางเศรษฐกิจสำคัญไม่ได้ลงรายละเอียดมาก Trump พูดเน้นเดินหน้าไปที่การลดการขาดดุลค้าและเน้นการขึ้นภาษีกับประเทศอื่นๆ ฯลฯ Biden เน้นประเด็นการขึ้นภาษีผู้ที่มีรายได้สูงและมหาเศรษฐี

กลยุทธ์ KSS ประเมินแนวโนบายคล้ายกับในอดีตยังไม่มีประเด็นใหม่ และยังเหลือระยะเวลาพอสมควรก่อนการ Debate รอบถัดไป 10 ก.ย. 24 รายละเอียดนโยบายต่างๆหรือนโยบายสร้างจุดเปลี่ยนจึงยังสามารถเกิดขึ้นได้เพิ่มเติม ทำให้ยังมีความไม่แน่นอนจากประเด็นการเลือกตั้งใหญ่สหรัฐฯ กอปรกับ เศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มอ่อนลง และ Valuation สหรัฐฯที่ตึงตัว ประเมินงวด 3Q24 ก่อนเลือกตั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบรอความชัดเจน

ส่วนกระแสเชิงบวกต่อหุ้นต่างๆ เราคาดตลาดให้น้ำหนัก ดังนี้ การเดินหน้าสงครามการค้าและเทคโนโลยีกับจีน ทำให้ยังคงมุมมองบวกกระแสในประเด็นดังกล่าวก่อนการเลือกตั้ง จะหนุนตลาดเก็งหุ้นกลุ่มนิคมในระยะกลาง – ยาว เน้น WHA กลุ่มส่งออกชิ้นส่วน เน้น KCE, HANA อาหาร เน้น CPF, GFPT ทั้งนี้ หาก Trump ชนะการเลือกตั้งมองหุ้นที่ได้ผลประโยชน์บวกจากเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น อาทิ จากมาตรการลด Corporate Tax บวกต่อ IVL PTTGC ระยะสั้นก่อนจะเห็นภาพว่าผู้สมัครจะมีโอกาสชนะเลือกตั้งสูง ยังให้เน้นกลุ่มที่เกาะกระแสนโยบายทั้งสองฝ่ายในส่วนสงครามการค้าและเทคโนโลยี เน้น WHA, KCE, HANA, CPF, GFPT

• Strategy Update : ThaiESG 2024 ต่อ SET Index

รัฐบาลมีแผนปรับเงื่อนไขสิทธิประโยชน์จากกองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG ใหม่ โดยปรับเงื่อนไขให้สิทธิซื้อเพิ่มลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นทั้งเม็ดเงิน และสัดส่วนเทียบกับฐานรายได้ ผสาน ระยะเวลาลงทุนสั้นลง KSS คาดว่าฐานเม็ดเงินที่เข้าสู่กองทุน ThaiESG รอบนี้ จะสูงราว 7.8 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่ SET ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ใน Value Zone น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนเชิงบวกตลาดหุ้นไทยนับจากนี้.

เชิงกลยุทธ์ : โดยรวม KSS ประเมินเป็น "บวก" ต่อตลาดหุ้นไทยคล้ายสมัยมาตรการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน LTF ในอดีต เนื่องจากเป็นการเสริมสภาพคล่องของเงินลงทุนระยะยาวในประเทศให้กลับมาแข็งแรงขึ้น กลยุทธ์แนะลงทุนในหุ้นใน SETESG ที่มีคุณสมบัติราคาลงแรงกว่า SET -6.6%YTD ได้แก่ BTS SCC, CRC, IVL, PTTGC, CPN, BBL, HMPRO และกลุ่มที่มีน้ำหนัก (Weight) ใน ESG สูง ได้แก่ GULF AOT, MTC, CPALL, GPSC

• Strategy Update : Time to Invest

ทีมกลยุทธ์ออกรายงาน Strategy Update "Time to invest" มอง SET Index โซนปัจจุบันให้ Current ERP ที่ 3.6% เป็นโซนลงทุน และมองใกล้ระดับจุดกลับตัว มองหุ้นน่าลงทุน 1) กลุ่มให้ Dividend สูง 2) กลุ่มที่ Underperform และมีส่วนลดทางพื้นฐานสูง

Key Ideas:

• SET Index ในปี 2024 ยัง "Underperform" ตลาดหุ้นโลกต่อเนื่องจากปี 2023 โดย YTD ปรับตัวลดลง -8.6% โดยการปรับตัวลดลงเร่งขึ้นในระยะหลังจากปัญหาความไม่ชัดเจนการเมือง

• อิงกลไก Equity Risk Premium (ERP) คือ ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่าง Earnings Yield และ Bond Yield อิงระดับ Current EPS ปัจจุบันที่ราว 83 บาทต่อหุ้น และ Forward EPS ที่ 92 บาท ที่ระดับ Index โซน 1350-1300 จุด ถือเป็นจุดน่าสนใจสำหรับการวางสถานะลงทุนระยะกลาง-ยาว อิงระดับดัชนีปัจจุบัน Current และ Forward ERP นั้นสูงในระดับ 3.6%-4.22% สูงกว่า Avg 3.09% ขณะที่หาก Current ERP สูงเกินกว่าระดับ + 1 S.D. (4.09%) vs ปัจจุบันอยู่ที่ 3.6% ใกล้ระดับ +1 S.D. ที่เป็นจุดกลับตัวของตลาด

• จากการศึกษา Back test ย้อนหลัง 20 ปี พบว่า Current ERP แตะระดับดังกล่าว 7 ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า SET จะกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ยทุกครั้งในระยะกลาง กล่าวคือ จากนั้น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี SET ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.7%, 4.4% 9.9% และ 20.6% ด้วยความน่าจะเป็น 57%, 43%, 72% และ 86% ตามลำดับ

• มุมมองเม็ดเงินลงทุนระยะสั้นนักลงทุนต่างชาติ รอบล่าสุดที่เข้ามาคือ เริ่มตั้งแต่ช่วง เม.ย. 21 ซึ่งซื้อสะสมรวมถึงจุดสูงสุดช่วงราว มี.ค. 23 ด้วยเม็ดเงินรวม 2.85 แสนล้านบาท ขณะที่หลังจากนั้นเป็นการขายต่อเนื่องถึงปัจจุบัน นับถึงวานนี้ พบว่า เม็ดเงินดังกล่าวไหลออกจาก SET ไปกว่า 3แสนล้านบาทแล้ว บ่งชี้แรงขาย ของนักลงทุนต่างชาติจากจุดนี้น่าจะลดลงเป็นลำดับ

• มาตรการ Uptick ใกล้มีผล เดือน กค 2024 น่าจะลดความผันผวนฝั่ง "Short Sell" ได้บ้าง

กลยุทธ์ คำแนะนำสำหรับผู้ลงทุนระยะกลาง-ยาว ทยอยสะสมหุ้นในจุดที่มี Margin of Safety สูง ใน 2 Theme เด่น

1.) Dividend Plays ที่ธุรกิจมีความมั่นคง ให้ผลตอบแทน Div. Yield มากกว่าปีละ 4% (vs Policy Rate 2.5%) ได้แก่ SCB AP ICHI PTT BBL INTUCH ADVANC HMPRO BJC WHA TU

2.) หุ้นในกลุ่มที่ Underperform กว่าตลาด (SET YTD ปรับตัวลดลง -8.6%) แต่พื้นฐานระยะกลาง-ยาวยังแข็งแกร่ง Valuation มีส่วนลด PBV24F ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย >20% ได้แก่ BTS IVL LH HMPRO KCE PTTGC GPSC HANA GULF

 

 

•ICHI (Buy, TP22): In 2Q24, we project core profit to grow 38% yoy but down 2% qoq to Bt353m. The yoy growth was underpinned by the rising popularity of its value-for-money green tea (main segment) while the drop qoq was caused by the higher promotional spending (in SG&A) for the summer campaign despite the strong revenue growth qoq (7% to Bt2.3b). There could also be a gain on asset disposal of Bt40m (packaging equipment), making the net profit of Bt393m (+10% qoq, +54% yoy). We believe the promotional spending will be relatively tamed in 2H24, post-summer and hence, we maintain all estimates, our BUY rating and TP Bt22.

•CPALL (Buy, TP80): มอง slightly positive ต่อแนวโน้มกำไรปกติ 2Q24F ของ CPALL ที่ 5.75 พันลบ. ดีกว่าช่วงก่อนโควิด (2Q19) แล้ว โดยกำไรโตเด่น +28%y-y ตาม SSSG และ Margin ของร้านเซเว่นและโลตัสส์ ในขณะที่ช่วงที่เหลือคาดมีแรงหนุนเพิ่มจากการเติบโตของ CPAXT ที่จะเร่งขึ้น ดังนั้น เรายังคงกำไรปี 24F ที่ 2.33 หมื่นลบ. โต +28% สูงสุดในกลุ่มผู้ขายสินค้าในชีวิตประจำวันและประเมินกำไรอาจมี upside +2-3% หาก GPM ร้านสะดวกซื้อ 2H24F ปรับขึ้นใกล้ 1H24F (+50bps) เรายังคงเลือก CPALL เป็นหุ้นเด่นกลุ่มฯ จาก ประเด็นการลงทุน คือ คาดกำไรปีนี้จะเหนือกว่าช่วงก่อนโควิดทุกไตรมาส

•CPAXT (Buy, TP39): มอง NEUTRAL ต่อแนวโน้มกำไรปกติ 2Q24F ของ CPAXT ที่ 2.08 พันลบ.(+38%y-y แต่ -16%q-q) กำไรโตดี y-y สอดคล้องกับที่เคยไว้ก่อนหน้าตามผลการดำเนินงานของธุรกิจโลตัสส์ที่จะฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ GPM โลตัสส์ที่คาดจะปรับขึ้น y-y ครั้งแรกนับจาก 4Q21 ทั้งนี้ เราแนะนำ BUY ชอบที่ i) ธุรกิจโลตัสส์ที่อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวการเติบโตรอบใหม่ , ii) แนวโน้มกำไรปี 24F จะเติบโต +26% (ดีกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม +20%) ผสานกับ iii) ระยะยาวมีผลบวกการปรับโครงสร้าง เลือกเป็นหุ้นเด่นกลุ่มฯคู่กับ CPALL (TP80)

•TAN (Buy, TP19.8): TAN ประกอบธุรกิจค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นจากต่างประเทศ โดยมีสินค้าหลักเจาะกลุ่มลูกค้า Premium-Mass จุดเริ่มต้นมาจากการเป็น Distributor แบรนด์ Pandora ไทยในปี 2010 และอาศัยความชำนาญด้านการปั้นแบรนด์ทยอยเพิ่มแบรนด์ใน Portfolio ได้แก่แบรนด์ Marimekko ในปี 2015, Cath Kidston ในปี 2017 รวมถึงมีการซื้อแบรนด์สปา Luxury อย่าง HARNN เข้ามาในปี 2018 โดยรวมบริษัทมี Track Record ในการปั้นแบรนด์ในไทยที่ดี และปัจจุบัน TAN กำลังรุกขยายด้วย New S-curve ใหม่ผ่านการเพิ่มแบรนด์ GANNI, United Arrow รวมถึงต่อยอดแบรนด์ร้านอาหาร Breadstreet และ Street Pizza ของ Gordon Ramsey อิงสิ้นปี 2023 TAN มีสาขาทั้งหมด 144 สาขา (135 สาขาและ 9 สาขา Franchise สปา) แบ่งเป็น Pandora 46 สาขา, Marimekko 16 สาขา, Cath Kidston 40 สาขา, HARNN 40 สาขา, Gordon Ramsey 1 สาขา และ GANNI 1 สาขา

คาดผลการดำเนินงานปี 24F จะมีกำไรสุทธิ 220 ล้านบาท ส่วนปี 25F-26F คาดกำไรสุทธิ 283 และ 340 ล้านบาท ตามลำดับ เติบโตต่อปี 27% CAGR 24F-26F ภายใต้จุดเด่น ได้แก่ i) SSSG เติบโตดีที่ราว 7% YTD เหนือกว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกที่ -1% แม้ในสภาวะที่กำลังซื้อตกต่ำ ii) การเพิ่ม Brand แฟชั่นใหม่อย่าง GANNI และ United Arrows iii) ธุรกิจ F&B และ Beauty & Wellness ที่จะช่วยปรับระดับ Gross Margin จาก 64% ในปี 2023 สู่ 66.3% และ 66.7% ในปี 2024F และ 2026F ตามลำดับ iv) สัดส่วน IBD/E ต่ำเพียง 0.25 เท่ายังมีโอกาสให้ขยายธุรกิจได้อีกมาก

แนะนำ "Buy" ประเมินมูลค่าพื้นฐานของ TAN ที่ 19.8 บาทต่อหุ้นด้วย PER24F 27 เท่า อิง i) ค่าเฉลี่ย PE ย้อนหลังของ 4 อุตสาหกรรมตามสัดส่วนรายได้ของ TAN ในกลุ่ม Fashion, Lifestyle, F&B, Beauty & Wellness ii) ค่าเฉลี่ย PE Global Peers กลุ่ม Fashion และ สินค้า Luxury iii) ค่าเฉลี่ย PE กลุ่ม Retail Commerce ระดับ Global โดยเรามองว่าบริษัทมีความน่าสนใจจากเทรนด์การบริโภคสินค้าและบริการไลฟ์สไตล์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อ SSSG ยังโดดเด่นกว่ากลุ่มฯ, ขณะที่ยังเปิดสาขาเชิงรุกและมีการเพิ่ม Brand ใหม่ และการรุกเข้าอุตสาหกรรมที่ Margin สูง โดยยังมี Upside Risk จาก HARNN Greater China ที่จะเข้ามาใน 2H24F

 

3Q24F Equity Outlook : The strong get stronger, the weak get less weak

Stock Best Picks : CPALL, GFPT, HANA, KCE, MINT, MTC, OSP, TRUE, TU, WHA

Mid-Small Cap Play : CKP, DOHOME, INSET, TNP

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้