ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ
“ไฮไลต์ในสัปดาห์ก่อน”
สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี MSCI All-Country World Equity เคลื่อนไหวในกรอบแคบปิดบวกเพียง 0.09% WoW สอดคล้องกับที่เราคาด ในขณะที่ SET ยังปรับตัวลงสวนทางอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 6 สัปดาห์แล้ว ทำให้ผลตอบแทนสะสมของตลาดหุ้นไทย underperform ตลาดหุ้นโลกในปีนี้แล้ว -18% โดย program trading นับว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างแรงกดดันต่อ SET ในสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากมี net sale รวมกัน 5,882 ล้านบาท หรือคิดเป็น 67% ของ foreign net sale
สำหรับพัฒนาการที่สำคัญอื่นๆในสัปดาห์ที่แล้วมีดังต่อไปนี้
1 เงินเฟ้อ PCE สหรัฐออกมาสอดคล้องกับที่ consensus คาด โดย Core PCE ลดลงจาก 2.8% ในเดือน เม.ย. สู่ 2.6% YoY ในเดือน พ.ค. ช่วยลดแรงกดดันต่อเฟด
2 ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นโดดเด่นในเดือน มิ.ย. แต่มีสัญญาณลบดังนี้ (1)อัตราส่วนของ Equal-Weighted Index to Market Cap-Weighted Index ไดัปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2008 จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าการปรับตัวขึ้นของดัชนีกระจุกตัวในหุ้น mega cap มากเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงด้าน concentration risk (2) Momentum Tracker ของดัชนี S&P500 เกิดภาพ bearish divergence เป็นครั้งที่สองในรอบปี และ Nasdaq100 ก็มีภาพ negative divergence ที่คล้ายคลึงกัน
3 เห็นสัญญาณ trend exhuastion ของ SET เนื่องจาก Momentum Tracker ได้ปรับตัวลงสู่เขต deeply oversold พร้อมกับภาพ bullish divergence เป็นครั้งที่สองในรอบหกเดือน
“ปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันจันทร์: (1) CN Ciaxin Manufacturing PMI (consensus คาดดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมจีนเดือน มิ.ย. จะขยายตัวที่ 51.2) และ (2) US ISM Manufacturing PMI (consensus คาดดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมสหรัฐเดือน มิ.ย. จะหดตัวที่ 49)
วันอังคาร: US JOLTs Job Openings (consensus คาดตัวเลขเดือน พ.ค. 7.85 ล้านตำแหน่ง ลดลงจาก 8.06 ล้านตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า)
วันพฤหัสบดี: US FOMC Minites
วันศุกร์: (1) US Nonfarm Payrolls (consensus คาดตัวเลขเดือน มิ.ย. ไว้ที่ 180,000 ตำแหน่ง ชะลอตัวลงจาก 272,000 ตำแหน่ง) และ (2) US Unemployment Rate (consensus คาดอัตราการว่างงานเดือน มิ.ย.ไว้ที่ 4% ทรงตัวจากเดือนก่อน)
“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในระยะสั้น”
1 สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น หลังจากที่ Momentum Tracker ได้เข้าสู่โซน overbought พร้อมกับเกิดภาพ bearish divergence โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นขนาดใหญ่อย่างสหรัฐซึ่งมี valuation แพงและกำลังเข้าใกล้ฤดูประกาศงบ เราจึงแนะนำให้ใช้โอกาสนี้ในการขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง
2 Gold Spot ยังประคองตัวเหนือแนวรับสำคัญที่ 2,290 เหรียญ และ Momentum Tracker ได้ลดความร้อนแรงจากภาวะ overbought แล้ว ทำให้ราคามีโอกาสรีบาวด์ในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก net speculative long position ในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงเกินไป จึงแนะนำให้ใช้โอกาสนี้ในการลดสัดส่วนการลงทุนมากกว่าการซื้อเพิ่ม
ส่วนเงิน (Silver) สัญญาณยังไม่ได้คอนเฟิร์มขาลง เนื่องจากราคายังไม่หลุดแนวรับหลัก (major support) ที่ 28.5 เหรียญ โดยหากราคาปรับตัวขึ้นยืนเหนือ 31.5 เหรียญได้ในสัปดาห์นี้ก็จะทำให้วงจรกระทิงยังคงดำเนินต่อไปในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า แต่หากราคาปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับหลัก ก็จะเป็นสัญญาณเชิงลบ จึงแนะนำให้ใช้ 28.5 เหรียญเป็นตำแหน่ง stop loss
3 ราคาน้ำมัน WTI สัปดาห์ที่แล้วเคลื่อนไหวออกข้างสอดคล้องกับที่เราคาด สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้มองราคามีโอกาสพักตัวต่ออีก 1 สัปดาห์ เพื่อสร้างแรงส่งของโมเมนตัมในระยะถัดไป โดยคาดว่าราคาจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบระดับ 85-87 เหรียญใน 1-2 เดือนข้างหน้า หนุนโดยดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล
4 ยีลด์พันธบัตร 10 ปีสหรัฐรีบาวด์จากเส้นค่าเฉลี่ย ema200 วันในสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตามคาดว่ายีลด์จะติดแนวต้านที่ 4.55% และจะกลับมาปรับตัวลงอีกครั้งในอนาคตอันใกล้ จึงแนะนำให้ใช้จังหวะการอ่อนตัวของราคาในการทยอยสะสม โดยเรายังคงมุมมองเช่นเดิมว่าเฟดจะปรับดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้และเริ่มลดในเดือน ก.ย.
สรุปภาพตลาดวานนี้
ดัชนีดิ่งส่งท้ายไตรมาส กดดันโดยหุ้น EA (ลงแรงต่อ) และแรงขายทำกำไรกลุ่มไอซีที และ รพ. แต่พบว่าหุ้นกลุ่ม Infra-fund ยังบวกต่อ และเห็นการรีบาวน์ของ KTB COM7 (ข่าวโครงการซื้อหุ้นคืน) TLI SCC SCGP และ SCC บวกต่อ
แนวโน้มตลาดวันนี้
Sideways รอความชัดเจน...
ดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้ว แกว่งตัวผันผวน แต่ยังไม่หลุดกรอบล่าง 1,280 จุด ขณะที่หุ้นโดนทุบราคาร่วงแรง รายล่าสุด คือกลุ่ม EA และต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิตลอดสัปดาห์ โดยยังไม่เห็นวี่แววของการ Cover short อย่างที่หลายคนคิด
คาดแนวโน้มสัปดาห์นี้ แกว่งออกข้าง ในกรอบ 1,280 ถึง 1,325 จุด โดยอาจจะมีข้ออ้างให้นักลงทุนชะลอลงทุน กับปัจจัยการเมืองในประเทศที่หลายคนรอความชัดเจน “คดีถอดถอนนายกฯ” หลังวันที่ 10 กค. ซึ่งอาจสร้างความกังวลต่อนโยบายรัฐบาลสะดุดลงหากเกิดอุบัติเหตุการเมือง
ส่วนความหวังที่จะเห็น การ Cover short เนื่องจากเป็นวันแรกของการใช้มาตรการ Uptick Short sell ซึ่งควรจะทำชอร์ตได้ยากขึ้น และไม่น่าจะมีปริมาณขาย Short sell สะสมที่เพิ่มขึ้น และเรายังหวังว่าเมื่อสถานการณ์กำไร บจ. ที่ดีขึ้นตาม เศรษฐกิจไทยที่ควรจะดีขึ้นเทียบรายไตรมาส จะช่วยหนุนให้ หุ้นที่ขาย Short sell ไว้ ในท้ายที่สุดต่างชาติจะมีการทยอยซื้อเพื่อนำหุ้นไปคืน ตามมุมมองเดิม
กลยุทธ์แนะนำ เลือกเล่นหุ้น Global play หลบกลุ่มบริโภคในประเทศ (Domestic play) ในระหว่างสัปดาห์ เพื่อรอความชัดเจนจากประเด็นการเมือง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุการเมืองจริง จะส่งผลต่อความต่อเนื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นกลุ่มเด่นระหว่างสัปดาห์
เราคาดว่าจะเป็นกลุ่ม พลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ ตลอดจนหุ้นเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก อย่าง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์...
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
ภาพรวมเดือนมิ.ย. ดัชนีปิดที่ 1,300 จุด ผลตอบแทนรายเดือน -2.7% ขณะที่วอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน)ที่ 5.5 หมื่นล้านบาทต่อวัน โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 1,354.44 และจุดต่ำสุดที่ 1,281.....“ปิดตำ ปิดไม่สวย”
สถานการณ์ปัจจุบัน SET Index ภาพรายเดือนปิดต่ำ…ลงมาสู้ที่ low โซนตัวเลข Fibonacci retracement 38.2% จับตา RSI เข้าใกล้เขตแดน oversold ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงโควิดปี 2020 (ไม่ได้เห็นบ่อย) บริเวณแนวรับ 1,280-1,290 ลุ้นฟื้นตัวกลับขึ้นสู่โซนต้าน 1,340 และ 1,370 จุด
“Theme plays” Cover short & Earning play….เราคาดว่า SET Index อยู่ในโซนถูก! จับตามาตรการจากตลท (Uptick rule) จะช่วยลดความผันผวนของตลาด…Theme cover short & momentum play…..
กลยุทธ์เทคนิค: วิธีสแกนหุ้น เลือกโดยใช้กราฟสัปดาห์ & เดือน ราคายังไม่ขึ้นมากนัก ขณะที่ Price pattern….เริ่มส่งสัญญาณกลับตัว ขาขึ้นนับ 1 พร้อมเงื่อนไขโมเมนตัม ดูจากวอลุ่มเข้า! + Momentum EMA บ่งชี้รูปแบบกระทิง หุ้นแนะนำประจำเดือน… BUY “HANA, VGI, GULF และ TOP”
What to watch
ไทม์ไลน์คดี และการเมือง: (1) คดีอดีตนายกฯ ทักษิณ: ศาลรับฟ้อง ม.112 แล้ว แต่ได้ประกันตัว เดินหน้าสู้คดีต่อในชั้นศาล, (2) คดียุบพรรคก้าวไกล ศาลนัดพิจารณาต่อวันที่ 3 ก.ค. และให้คู่กรณีเข้าตรวจพยานหลักฐาน 9 ก.ค. (3) กรณีร้องถอดถอน นายกฯ เศรษฐา ศาลฯนัดพิจารณาครั้งต่อไป 10 ก.ค. (4) กกต. ขยับประกาศผลเลือก สว. เป็น 3 ก.ค.
รายงานการประชุมเฟด FOMC Minutes และดัชนี ISM ภาคการผลิต
SET เริ่มใช้มาตรการ Uptick Rule วันที่ 1 ก.ค.67 และคุมโรบอทเทรด โดยรอง ผจก.ตลาด ระบุหากมาตรการ Uptick Rule ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อาจใช้ไม้แข็งของมาตรการ Daily Short Selling Limit ที่จะกำหนดการ Short Sale เป็นแบบรายวัน
พื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจีน เผชิญกับฝนตกหนักในสัปดาห์นี้ โดยภัยคุกคามจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการผลิตอาหารของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพแห้งแล้งได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ผลิตธัญพืชทางตอนเหนือแล้วในขณะนี้ (คาดหุ้น Soft commodity ไทย มีลุ้นผลลัพธ์เชิงบวกจาก อากาศที่แปรปรวนในจีน “ผลผลิตลด-ต้นุทนขึ้น-ราคาขายสินค้าเพิ่ม-หนุนการนำเข้า...CPF GFPT TVO)
จีนจะจัดประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ 15-18 ก.ค. ตลาดจับตาการกำหนดแผนรับมือกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และมาตรการกระตุ้นรอบใหญ่
หุ้นแนะนำวันนี้
PTTEP คาดราคาหุ้นกลุ่ม Global play จะ Outperform ตลาดในช่วงรอความชัดเจนการเมืองในประเทศ (S 151 R 155 SL 150)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Econ
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค. ส่วนใหญ่ดีขึ้น
เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค. ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ฟื้นตัวนะครับ หนุนจาก การส่งออก การบริโภค และการใช้จ่ายภาครัฐ
การส่งออกเติบโตจากอุปสงค์ที่ดีในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐและจีน
การใช้จ่ายภาครัฐ หลังการผ่านงบประมาณในช่วงปลายเดือน เม.ย. หนุนให้การเบิกจ่ายลงทุนเร่งตัวขึ้นได้ดี โดยการเบิกจ่ายลงทุนอยู่ที่ 32% แม้ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 46% แต่ถือว่าเร่งตัวขึ้นมากจากเดือนเม.ย. ซึ่งมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นต่อ แต่ไม่น่าจะจบปีในระดับเดียวกับปีก่อนที่ 72%
การบริโภคเห็นการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน จากค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงการเป็นช่วง Low Season ของการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นหลังผ่านไตรมาส 2
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวในเดือนนี้ โดยหลักจากการนำเข้าสินค้าประเภททุนและยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่ชะลอตัว แต่หากมองไปข้างหน้า มีแนวโน้มที่จะติดลบน้อยลงหรือกลับมาเป็นบวกได้ สังเกตจากรายได้เกษตรกรที่เป็นบวกมาอย่างต่อเนื่อง
Bank Sector
หากไม่รวมกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน กำไรจะเติบโต YoY
เราคาดกำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร 2Q24 จะอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท ลดลง 4% YoY และ 9% QoQ สาเหตุหลักจากคาดการณ์กำไรจากเครื่องมือทางการเงินลดลงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น ทั้งนี้ หากไม่รวมกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน พบว่าแนวโน้มกำไรปกติของกลุ่มธนาคารใน 2Q24 อยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% YoY (NIM สูงขึ้น และ credit cost ลดลง) แต่ลดลง 6% QoQ (NIM อ่อนตัวลงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น)
โดยเราคาดกำไรปกติของกลุ่มธนาคารที่เติบโต YoY ใน 2Q24 นำโดย KBANK, TTB, BBL และ SCB
Fundamental view: ในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า เราจึงเน้นเลือกหุ้นที่มีความเสี่ยง downside ของกำไรในปี 2024 น้อย, valuations ถูก และปันผลสูง ทำให้เราเลือก KTB และ TTB เป็น Top picks โดยเราเห็น upside ของกำไรปีนี้ของ KTB ประมาณ 3-5% จาก credit cost ที่มีแนวโน้มต่ำกว่าคาด ส่วน TTB ก็มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาช่วยบริหารกำไรได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเราเห็น downside ของกำไรของ SCB ราว 3-5% จากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าคาด
M
(Visit Note)
เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป
กำไร 2Q24 จะยังถูกกดดันจากรายได้ที่ลดลง
ตัวเลขยอดขายต่อร้านอาหารเดิม (SSSG) ลดลงอย่างมีนัยยะในเดือนเม.ย.-พ.ค. 2024 ถึง -13% YoY เราคาดรายได้รวม 2Q24 ลดลง 10% YoY และเพิ่ม 1% QoQ สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นจะยังอยู่ในระดับเดียวกับ 1Q24 ที่ 67.7% เนื่องจากราคาวัตถุดิบไม่ได้มีการขึ้นราคามากนัก สำหรับกำไรสุทธิ 2Q24 เราคาดว่า M จะรายงานกำไรที่ 353 ล้านบาท ลดลง 23% YoY และเพิ่ม 2% QoQ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะปกติกำไร 2Q จะเป็นไตรมาสที่โดดเด่นของปี เนื่องจากมีเทศกาลและวันหยุดยาว
Bloomberg consensus ประมาณการกำไร M ปี 2024 ที่ 1.68 พันล้านบาท และ Dividend yield 5.5% ต่อปี ปัจจุบัน M เทรด PE2024 ที่ 16.5 เท่า (อดีตเทรด PER ที่ 21 เท่า) อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์กำไรสุทธิ 2Q24 ทำให้เราคาดว่าประมาณการของตลาดจะมี downside risk
ทั้งนี้ ธุรกิจอาหารที่เรามีบทวิเคราะห์ CENTEL และ MINT ยังมี SSSG ที่เป็นบวกอยู่ในเดือน เม.ย.-พ.ค.
สรุปประเด็นจาก Quick take
AOT
ท่าอากาศยานไทย
คลังสรุปผลศึกษายุบร้าน Duty Free ขาเข้า
สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า กระทรวงการคลัง ได้จัดทำแนวทางการหยุดการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ร้านค้า Duty Free ขาเข้า ของผู้ประกอบการเป็นที่เรียบร้อย และคาดหวังการกระตุ้น GDP
View From Fundamental: เราคาดการณ์พื้นที่ duty free ขาเข้า คือ 10% ของพื้นที่ duty free ทั้งหมด ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ต้องลดรายได้จาก minimum guaranteed ที่คิงพาวเวอร์จะต้องจ่ายให้ AOT
เราคาดจะกระทบกำไร 5% ในปี 2025 เรามองเป็นข่าวร้าย แต่ถือว่าน่าจะปลดความกังวลออกไปจาก AOT ได้อีกประเด็น
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน