Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

597

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ
“ไฮไลต์ในสัปดาห์ก่อน”
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาสินทรัพย์ต่างๆเคลื่อนไหวหลายทิศทาง โดย MSCI All-Country World Equity +1.1%, US 7-10Y Treasury +0.2% ในขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์หลายๆชนิดเผชิญกับแรงกดดัน เช่น WTI Crude -1.9% ทองคำ -2.6% และเงิน (Silver) -4.1% WoW
“ปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันพุธ: (1) CN Inflation (consensus คาดเงินเฟ้อจีนเดือน พ.ค. ทรงตัวที่ 0.3% YoY ในระดับเดียวกันกับเดือน เม.ย.) และ (2) US Core Inflation (consensus คาดเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐเดือน พ.ค. จะชะลอตัวลงสู่ 3.5% YoY จาก 3.6% ในเดือนก่อนหน้า) (3) Fed Interest Rate Decision (consensus คาดเฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5%)
วันศุกร์: (1) BoJ Interest Rate Decision (consensus คาดธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.1%)
“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆในสัปดาห์นี้”
1 ดัชนี MSCI All-Country World Equity มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในลักษณะ range-bound คล้ายกับสัปดาห์ก่อน โดยปัจจัยที่เป็นไฮไลต์ของสัปดาห์นี้น่าจะอยู่ที่คืนวันพุธ เรื่องการให้สัมภาษณ์มุมมองของประธานเฟดและสรุปการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐ
สำหรับ Momentum Tracker ของตลาดหุ้นโลกล่าสุดนั้น อยู่ในเขต overbought ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 12 สัปดาห์แล้ว แต่เป็นภาพปกติที่มักเกิดขึ้นในวงจร bull market อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้ระมัดระวังกับความผันผวนและความเสี่ยงของการกลับทิศที่อาจมีมากขึ้นในฤดูกาลประกาศงบรอบถัดไป ซึ่งแม้ว่าโดยสถิติแล้ว S&P500 มักจะให้ผลตอบแทนดีในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ในปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ในปีนี้ภาพอาจแตกต่างออกไป เนื่องจากอาจเกิด negative earnings surprise ขึ้นพร้อมๆกับภาวะ Bearish Divergence ของ Momentum Tracker
นอกจากนี้แม้ว่า Nonfarm Payrolls ที่เพิ่งประกาศออกมาดีกว่าคาดในวันศุกร์ จะทำให้นักลงทุนรู้สึกว่า การบริโภคใน 2H24 จะยังคงแข็งแกร่ง แต่เรามองว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีตัวเลขอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคในอนาคตส่งสัญญาณแย่ลง เช่น ผู้บริโภคมี saving rate ที่ต่ำมาก ใกล้เคียงกับตอนเกิด technical recession ในปี 2022 อีกทั้งยังมีอัตราการผิดนัดชำระบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี ดังนั้นเศรษฐกิจสหรัฐจึงมีโอกาสถูกปรับประมาณการลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า
2 Gold Spot ปรับตัวลงแรงในวันศุกร์ที่ผ่านมาจากข่าวธนาคารกลางจีนชะลอการซื้อรวมถึงแรงกดดันจากการแข็งค่าของ Dollar Index ส่งผลให้ราคาใกล้หลุดแนวรับ 2,290 เหรียญ ซึ่งหากปรับตัวลงต่อไปต่ำกว่าแนวรับหลักนี้ ก็อาจเป็นสัญญาณของการเข้าสู่วงจรการปรับฐานรอบใหญ่ (major correction) เราจึงแนะนำให้เน้นทยอยขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยงมากกว่าการซื้อเพิ่ม (หมายเหตุ: ล่าสุด money managed long-to-short ratio ของ Gold Futures มีสัดส่วนสูงถึง 11.9 เท่า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 10.7 เท่า จึงทำให้มีโอกาสถูก liquidate หากราคาหลุดแนวรับสำคัญข้างต้น)
ส่วนเงิน (Silver) สัญญาณยังไม่ได้คอนเฟิร์มขาลง เนื่องจากราคายังไม่หลุดแนวรับหลักที่ 28.5 เหรียญ โดยหากราคารีบาวด์ได้ในสัปดาห์นี้ก็จะทำให้วงจรกระทิงจะยังคงดำเนินต่อไปในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า แต่หากราคาปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับหลักดังกล่าว ก็จะเป็นสัญญาณเชิงลบคล้ายทองคำ จึงแนะนำให้ติดตามการเคลื่อนไหวในระยะนี้อย่างใกล้ชิด

สรุปภาพตลาดวานนี้
SET รีบาวน์เบาๆ ปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีแรงซื้อ KTB ADVANC INTUCH CCET PTT KBANK เป็นต้น ส่วนหุ้นลบกดดันตลาด BBL BDMS BTS TRUE PTTGC OR IVL เป็นต้น สำหรับหุ้นกลาง-เล็กบวกดี STA STGT NSL SFLEX SYNEX MGC เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
SET เดินมาถึงทางแยก
สัปดาห์ที่แล้วตลาดหุ้นไทยสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2021 สวนทางตลาดหุ้นโลก และภูมิภาค โดยผ่านมาเกือบครึ่งปีแล้วที่ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนติดลบ และยังคงรั้งท้ายต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา...แม้ว่าภาพรวมตลาดหุ้นไทยเป็นขาลง แต่ราคาหุ้นรายตัวยังคงมีหุ้นทำจุดสูงสุดใหม่ ให้เห็น เพียงแต่เป็นชุดหุ้นที่ ไม่ได้อยู่ใน BLS Universe
เนื่องด้วยสภาพตลาดหุ้นไทยที่เป็นขาลง เราจึงระมัดระวังในการหาหุ้นแนะนำที่อยู่นอกเหนือ BLS Universe ไปก่อนในระยะนี้ (คงต้องรอให้ภาวะตลาดโดยรวม มีลมใต้ปีก เข้ามาหอบหุ้นในตลาดให้ฟื้นไประยะหนึ่งเสียก่อน กลยุทธ์ถึงจะเริ่มเพิ่มการ เลือกหุ้นที่อยู่นอกเหนือ BLS Universe)
ซึ่งจากภาพรวมตลาดหุ้นไทยที่ พบการเคลื่อนไหวแทบไม่สอดคล้องกับปัจจัยที่มีอิทธพลต่อตลาดหุ้นโลก ในระยะที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็น ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ เฟด ฯลฯ กลยุทธ์จึงให้น้ำหนักไปกับปัจจัย หุ้นรายตัว และปัจจัยความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศ ที่ต้องอาศัย “Action” จากหน่วยงานที่กำกับดูแลการซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็น มาตรการกำกับความเสี่ยงของ บจ.รายตัว, การเดินสายโรดโชว์โดยตรงให้กับ นลท.ต่างประเทศ
ตลอดจนทิศทางกำไรสุทธิ บจ.ที่หุ้นหลายตัวเผชิญมรสุม การตั้งด้อยค่าจากเงินลงทุน (ตามมูลค่าหุ้นที่ตก) ซึ่งควรจะต้องหาจุดยุติให้เจอ เช่น ขายออก, เปลี่ยนมือเจ้าของ เป็นต้น และสุดท้ายเสถียรภาพของรัฐบาล จากกระแสข่าวที่ตีประเด็นการเมืองให้กลับมาร้อนแรงสร้างความกังวลให้กับตลาดในช่วงนี้
กลยุทธ์คาด กรอบดัชนีฯในสัปดาห์นี้ แบ่งเป็น 2 กรณี 1.) ไม่หลุดลงไปทำ New low ใหม่ คาดจะฟื้นบรรยากาศในการลงทุนให้กลับมาเล่น Sideways เหนือ 1,320 จุด 2.) หลุด 1,320 จุด และเกิด Panic sell คาดจะเกิดแรงซื้อคืนโซน 1,300 จุด หรือต่ำกว่าเล็กน้อย และดันภาพรวมตลาดให้กลับมาค่อยๆ ฟื้นตัวในระยะถัดไป...

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้าหลังเห็นงบทั้งหมดในสัปดาห์นี้ เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เช่น ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งตะวันตก (โอลิมปิกฝรั่งเศส, บอลยูโร เยอรมัน)

 

วิเคราะห์ทางเทคนิค
ดัชนีหุ้นไทยส่งสัญญาณรีบาวด์ พยายามสู้ที่ low ขณะที่โมเมนตัมเข้าสู่ภาวะ oversold เต็มตัว! จับตา หากดัชนียืนรักษาแนวแถวนี้ไว้ได้ อาจส่งผลให้ price pattern เกิดภาพ“ Double bottom” คล้ายรูปแบบในอดีต (thanks กลุ่มสื่อสาร นำโดย INTUCH & ADVANC พ่วงด้วย GULF ปรับขึ้น หนุน SET ยืนปิดบวกสวยงาม) ส่วนแผนเทรด ยังคงแนะ selective buy วันนี้เลือก GULF, ADVANC และ CPAXT (เชียร์ต่อ)…..ส่วนแผนเก็งกำไรหุ้น hot “INTUCH” อยู่ในหน้าถัดไป

 

What to watch
กางไทม์ไลน์การเมืองในประเทศ: อัยการนัดส่งฟ้อง ม.112 คุณทักษิณ 18 มิ.ย.นี้, ศาล รธน.นัดพิจารณาคดียุบพรรคก้าวไกล 12 มิย.
ไทม์ไลน์คดี ถอดถอน นายกเศรษฐา: 7 มิย.ครบกำหนดชี้แจง 12 มิ.ย.ศาลฯนัดประชุม และใช้เวลาพิจารณาไม่น้อยกว่า 15 วัน, คาด 28 มิ.ย.ศาลนัดวินิจฉัยได้เร็วสุด
การประชุมธนาคารกลางสำคัญตลอดสัปดาห์นี้: คาด ธนาคารกลางสหรัฐ, ไทย ไต้หวัน คงดอกเบี้ยนโยบาย และติดตามทิศทางนโยบายการเงินเข้มงวดของ ธนาคารกลางญี่ปุ่น
คาดหุ้นเข้า SET50 BJC TIDLOR BCP ITC หุ้นออก SAWAD COM7 KCE BANPU

หุ้นแนะนำวันนี้
KTB ย่อซื้อ เล่นรับแนวโน้มการเลื่อนขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. และงานภาครัฐฯ(S17.5 R18 SL17)

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

Utilities Sector
เจาะแผน PDP 2024 กลุ่มไหนน่าเล่น?
วันที่ 12 มิ.ย. นี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะเริ่มเปิดรับฟังความเห็นร่างแผนพลังงานฯ (PDP 2024) เราสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การกำหนดเพดานค่าไฟฟ้าไม่เกิน 4 บาท/หน่วย ซึ่งหากเป็นไปตามนี้และราคาก๊าซปรับตัวขึ้น จะกดดัน GM ของกลุ่ม SPP อย่าง BGRIM GPSC
2) คาดการณ์ Peak Demand เพิ่มเฉลี่ยปีละ 3% ต่อปี CAGR ซึ่งสูงกว่าที่เราเคยคาดก่อนหน้านี้ที่ 2.5%
3) การปรับเกณฑ์การคิดปริมาณสำรอง จากระบบ Reserve Margin (RM) เป็น loss-of-load expectation (LOLE) หรือระบบเป้าหมายความเสี่ยงไฟดับ ซึ่งตรงนี้จะบวกกับ GULF WHAUP มากสุด กรณีที่ในอนาคตจะมีการลงทุนระบบไฟฟ้าหมุนเวียนแบบมีแบตเตอรี่
4) แผนพลังงานสะอาดและนิวเคลียร์ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก 30-40% ในปี 2030 โดยในส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 600MW เรามองว่าค่อนข้างเป็นแผนที่ท้าทาย
Fundamental View: เรามองว่า GULF GUNKUL WHAUP จะได้ประโยชน์จากธีมนี้

SAFE (Idea)
เซฟ เฟอร์ทิลิตี้ กรุ๊ป
จีนผลักดันประกันฯ ให้ครอบคลุมการมีบุตรยาก แต่กระทบ IVF ไทย
วันนี้เราออก IDEA call (ด้านลบ/Warnings) หุ้น SAFE โดยเรามองว่า ความหวังต่ออุปสงค์จีนจะลดลง จากกรณีประเทศจีนประกาศให้การใช้บริการผู้มีบุตรยาก (ขอย่อรวมว่า IVF) ถูกรวมอยู่ในแผนประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานของประเทศ
โดยจีนจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายกว่า 50% สำหรับการทำ IVF เพราะต้องการเพิ่มจำนวนประชากร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเริ่มใช้ไปแล้วที่ปักกิ่ง และแผนประกันสุขภาพฉบับใหม่นี้จะเริ่มใช้สำหรับหัวเมืองต่างๆ มากขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป
เรามองมาตรการการสนับสนุนคนให้เข้าใช้บริการ IVF เป็นข่าวร้ายสำหรับคลินิกผู้มีบุตรยากในประเทศไทย เนื่องจากก่อนหน้านี้ จะมีการคาดหวังว่าคนจีนจะเข้ามาใช้บริการมากขึ้นในประเทศไทย เหมือนช่วงก่อนโควิดที่ผ่านมา โดย SAFE มีกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่ใช้บริการในปีที่ผ่านมาราว 7-10% ถึงแม้ผู้บริหารจะมองว่า กลุ่มลูกค้าจีนที่เข้ามาใช้กับ SAFE จะเป็นกลุ่มลูกค้าระดับบน (High end) แต่เรามองว่าการที่จีนประกาศสนับสนุนค่าใช้จ่ายกว่า 50% จะกระทบต่อคนจีนที่จะบินเข้ามาใช้บริการในประเทศไทยอย่างแน่นอน
เราได้ลองวิเคราะห์ sensitivity analysis ทุกๆ 1% ของคนจีนที่หายไป จะกระทบต่อกำไรราว 0.8% นั้นหมายความว่า ใน Worst-case scenario จะกระทบต่อกำไรราว 8% หากลูกค้าชาวจีนหายหมดทั้งพอร์ต
Fundamental View: จากข่าวมาตรการ การกระตุ้นให้คนมีลูกมากขึ้น และภาพกำไร 2Q24 จะปรับตัวลง QoQ ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นในระยะสั้นจะถูกกดดันจากสองเรื่องนี้ ทำให้เรายังคงคำแนะนำถือ และมีโอกาสเห็นการปรับกำไรลงของตลาดราว 5-10%

 

Tactical play
Management Guidance: แม้ไม่ผิดหวัง แต่ก็ไม่กล้าคาดหวังสูง
แม้ดัชนี MGRI (วัดความแม่นของ Guidance) 1Q24 ที่ 42 ยังต่ำกว่าค่ากลางที่ 50 และดีขึ้นจาก ไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่รายละเอียดด้านในพบว่าเกิดจากการมองแนวโน้มกำไรที่อนุรักษ์นิยมมากเกินไป (แล้วผลออกมาดีกว่า) ต่างจากไตรมาสก่อนๆ ที่ไม่ Realistic เพราะจากความผิดหวัง แต่ก็ยังพบว่ามีกลุ่มเดิมที่ผิดหวังซ้ำๆ อย่างรับเหมาฯ ยานยนต์ คอมเมิร์ชบางราย (BJC COM7 GLOBAL) อสังหาฯ บางราย (PSH LH)
อย่างไรก็ตาม บจ. ส่วนใหญ่ยังมองแนวโน้ม 2Q24 ภาพรวมแบบกลางๆ ไม่กล้าให้ Guidance ที่กลับไป Aggressive หรือบู๊มากเกินไปเหมือนปีก่อน ทำให้มองว่าโอกาสผิดหวังจะต่ำเหมือนไตรมาสก่อน โดยมีเพียง 37% ที่มองไตรมาส 2 เชิงบวก โดยแบ่งเป็น กลุ่มที่มั่นใจมากขึ้น (Strong Conviction) เกษตร-อาหาร (ยกแผง) เครื่องดื่ม และกลุ่มที่ยังมองบวกต่อ ท่องเที่ยว ค้าปลีก (โดยเฉพาะที่อิงตามการท่องเที่ยว-การกระตุ้นเศรษฐกิจ) ทั้งนี้ กลุ่มที่เห็นการพลิกความคาดหวังเป็นบวก (จากกลาง-ลบ) ได้แก่ DOHOME GLOBAL ILM CPALL KCE MTC TRUE WHA WHAUP
Tactical view: กลยุทธ์มองแนะนำนักลงทุนใช้ประโยชน์จาก Management Guidance ในการเล็งเป้าหมายหุ้นที่จะทยอยสะสมช่วง 1-2 เดือนนี้ (ก่อน Earnings Preview) อิงจากมุมมองเชิงบวก (สะท้อนความมั่นใจ) บวกจะเห็นกำไรที่ดีกว่า 1Q24 และพื้นฐานแกร่งขึ้น กลุ่มที่มองบวกและแนวโน้มกำไรเติบโต QoQ ด้วย ได้แก่ CPF BTG COCOCO KCE MINT WHAUP GULF MTC

TLI (Visit Note)
ไทยประกันชีวิต
เน้นเพิ่มมูลค่าธุรกิจใหม่ในปี 2024
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อกลยุทธ์ปี 2024 ของ TLI โดยบริษัทจะเน้นพัฒนาช่องทางการขายผ่านตัวแทนและพันธมิตรมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนและกำไรสูงได้ดีขึ้น ทั้งนี้ เราเห็นปัจจัยท้าทายประสิทธิภาพการทำกำไร จากค่าสินไหมทดแทนของประกันสุขภาพสูงขึ้นในปีนี้ โดยบริษัทประเมินว่ายังบริหารจัดการได้
อิงตามประมาณการ Bloomberg consensus ปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปี 2024 ที่ 9.4 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 2 ปี ตั้งแต่เข้า SET ที่ 15.9 เท่า) และ PBV ปี 2024 ที่ 0.8 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV ย้อนหลัง 2 ปี ตั้งแต่เข้า SET ที่ 1.4 เท่า) ขณะที่คาดการณ์ ROE ปี 2024 อยู่ที่ 9.2% คิดเป็น PBV/ROE ที่ 0.090 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ย PBV/ROE ของกลุ่มธนาคารที่เราศึกษาที่ 0.076 เท่า


สรุปประเด็นจาก Quick take

Auto
CHANGAN ได้จับมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทย
CHANGAN ได้จับมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทย เช่น Summit, Thai Summit และ AAPICO
View From Fundamental: การประกาศใช้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศของ Changan เป็น sentiment บวกต่อ AH และทิศทางการได้งานใหม่ๆเริ่มเข้ามาเยอะขึ้นโดยเฉพาะจาก EV จีน แต่คงจะเข้า/เริ่ม rampup จริงในช่วงปีหน้าไป ซึ่งปีนี้กำไรยังคงยังโดนกดดันจากยอดผลิตในประเทศซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัว ใน 3Q24 - 4Q24 เพราะฉะนั้นเรายังคงแนะนำ ถือ เนื่องจาก 2Q24 คงเป็น low season ของปีนี้

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ประคับประคอง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทย คงประคับ ประคอง แกว่งตัวไปมา ท่ามกลาง บริษัทจดทะเบียนไทย...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้