Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

546

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
ประเด็นสำคัญ:
การติดตามกระแสการลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา มียอดขายสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบห้าสัปดาห์ และกระจายตัวไปในทุกตลาด โดยล่าสุดมี net outflow รวมกัน 6,305 ล้านเหรียญ พลิกกลับจากแรงซื้อสุทธิ 1,542 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยแรงขายที่มากสุดเกิดขึ้นในตลาดหุุ้นไต้หวันมูลค่า 3,480 ล้านเหรียญ รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ 2,069 ล้านเหรียญ ส่วนตลาด TIP เป็น net outflow รวมกัน 756 ล้านเหรียญ โดยไทยมีแรงขายมากที่สุดในกลุ่มประเทศทั้งสามดังกล่าวด้วยมูลค่า 320 ล้านเหรียญ
สำหรับเซคเตอร์เด่นของภูมิภาคจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index มีดังนี้ (1) ICT และ (2) Transportation & Storage
แนวโน้ม:
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในระยะสั้น (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker) ได้แก่
 กลุ่มที่ Volume Index อยู่ใกล้กับระดับ mid-point และมีโอกาสรีบาวด์ในระยะสั้น ได้แก่ Bank
 กลุ่มที่ Volume Index มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า mid-point ได้แก่ ICT
อัพเดต Market Timing Indicator (เฉพาะตลาดหุ้นไทย):
ช่วงห้าวันทำการที่ผ่านมา ดัชนี SET ปรับตัวลง -1.8% และหลุดแนวรับ 1350 จุด ซึ่งแย่กว่าที่เราคาด ทำให้ภาพระยะสั้นหุ้นไทยอาจยังเผชิญกับแรงกดดันจากสัญญาณลบของ intraday volatility ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเราคาดว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัว (rebound) จากแนวรับโซน 1320-1330 จุด เนื่องจากล่าสุดดัชนี Short-term Bull-to-Bear ได้ปรับตัวลงสู่กรอบล่างแล้ว ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาดัชนีดังกล่าวมักสวิงในลักษณะ mean-reversion เคลื่อนไหวเป็นวงจรสลับขึ้นลงระหว่างระดับ 10% ถึง 50%
นอกจากนี้เรายังไม่พบสัญญาณความผิดปกติของค่าความผันผวนข้ามวัน (overnight volatility) โดยแม้จะสูงขึ้นบ้าง แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ดี ระดับ 1,320-1,330 จุดของ SET ถือเป็นแนวรับจิตวิทยาที่สำคัญมาก หากหลุดตำแหน่ง major support นี้อาจนำไปสู่สภาวะ panic sell และทำให้ overnight volatility พุ่งสูงขึ้นเกินกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีได้ จึงแนะนำให้ติดตามสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้อย่างใกล้ชิด
คาดการณ์ (ครั้งสุดท้าย) หุ้นเข้า/ออก SET50 / SET100 สำหรับรอบครึ่งหลังปี 67
จากข้อมูลการคำนวณย้อนหลัง 12 เดือน (มิ.ย. 66 - พ.ค. 67) จะได้ลิสต์หุ้นที่มีโอกาสเข้า/ออก ดังนี้
SET50: IN BCP, BJC, ITC, TIDLOR
SET50: OUT BANPU, COM7, KCE, SAWAD
SET100: IN BA, BJC, CKP, MBK, PRM, QH, SKY, TIPH
SET100: OUT AURA, BYD, FORTH, NEX, ORI SNNP, THG, TKN

หมายเหตุ:
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ของดัชนี SET50 /SET100 ตามที่ได้ชี้แจงผ่านการรับฟังความคิดเห็นในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา โดยได้ปรับเกณฑ์การคำนวณดังต่อไปนี้
1. ปรับ trading value เป็นไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อหลักทรัพย์ของทั้งตลาดในแต่ละเดือน
2. ปรับ turnover ratio เป็นไม่น้อยกว่า 1% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของบริษัทในแต่ละเดือน
ทั้งนี้หุ้นจะต้องผ่านเกณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อย 9 จาก 12 เดือนที่ใช้ทำการคำนวณ และหากมีหุ้นไม่ครบ 100 บริษัทจะทำการลดจำนวนเดือนขั้นต่ำลงครั้งละ 1 เดือน โดยไม่น้อยกว่า 6 เดือน

สรุปภาพตลาดวานนี้ SET ดิ่งแรง กลุ่มที่ลงชัดๆ BTS (ย่อต่อ) ตระกูลเจ JMART JMT SINGER SGC การเงิน MTC SAWAD โรงไฟฟ้า GULF GPSC ส่วนกลุ่ม Outperform ส่วนใหญ่ เช่น ADVANC TRUE BDMS BCH SISB และที่บวกแรงสวนชาวบ้าน BA WHAUP SCGP เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้ ไม่มีสัญญาณตอบรับจากหมายเลขที่ท่านเรียก
ตลาดหุ้นไทย ไม่ตอบรับกับข่าวดีใดๆทั้งสิ้น ขณะที่หุ้นโลกยังมีรีบาวด์สลับบ้าง ขานรับข่าว ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ เฟด, และข่าวในประเทศ ลดภาษีนิติบุคคลไทย ผ่านการท่องเที่ยวจัดสัมนา การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ก็ไม่ช่วย
หุ้นไทยมีแต่ซึมลง โดยเฉพาะหุ้นขาประจำที่ มักจะโดนขายแบบหนักหน่วงผ่าน โปรแกรมเทรด ดูรายชื่อหุ้นดิ่ง ที่เราสรุปด้านบน และสุดท้ายแพะที่รับบาปหนี ไม่พ้น เรื่อง ความขัดแย้งผู้ถือหุ้น, มาร์จิ้นคอล ฯลฯ ซึ่งเรายังคงหลีกเลี่ยงหุ้น ขาประจำลักษณะนี้
แถมตลาดหุ้นไทยไม่มี Sector rotation อย่างที่เราระบุในรายงานกลยุทธ์ประจำสัปดาห์ มีเพียงแค่การเลือกหุ้นเล่นรายตัว (Single stock selective) สอดคล้องกับ กลยุทธ์ ที่แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว (แต่ก็เลือกยากมาก)
สรุปกลยุทธ์หลักตอนนี้ เราจะเน้นไปที่หุ้นรายตัวแบบ Single Stock Selective จากการคัดเลือกตาม 1) โมเมนตั้มกำไรไตรมาสถัดไป 2) ธีมลงทุนย่อยๆที่จะหนุนราคาหุ้น/ทิศทางกำไร เช่น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรัฐ, Cover shorted รับมาตรการ ตลท.ต่างๆ ที่จะมีผลบังคบใช้ปลายไตรมาส 2 เป็นต้น

กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้าหลังเห็นงบทั้งหมดในสัปดาห์นี้ เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เช่น ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งตะวันตก (โอลิมปิกฝรั่งเศส, บอลยูโร เยอรมัน)

 

วิเคราะห์ทางเทคนิค
ดัชนีเริ่มต้นเดือนใหม่ เริ่มต้นไตรมาส 2/64 ไม่สวย ร่วงหลุด low ในรอบ 6 สัปดาห์ เข้าใกล้ previous low บริเวณ 1330 จุด จับตา RSI ล่าสุด 32 เข้าใกล้เขต oversold ( RSI < 30 )……สถิติในอดีตต้องย้อนกลับไปช่วง Covid ถึงจะเห็นดัชนีเข้าสู่ภาวะขายมากเกินไป! จับตา “อุณหภูมิการเมืองที่ร้อนแรง” กดดันภาวะตลาดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหุ้นแนะนำประจำเดือนมิ.ย. ได้แก่ “ OSP, ITC, GFPT ยืนสู้กับตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ KCE ปรับลง (เงื่อนไขไม่ควรต่ำกว่าแนวรับที่ 40)

Note: วันนี้กระทรวงพาณิชย์จะประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ เราคาดว่าจะอยู่ที่ 0.9% เทียบกับตลาดคาดไว้ที่ 1.1%......มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

 

What to watch
เร่งขึ้นทะเบียน โรบอทเทรด เพิ่มโทษโบรกเกอร์ทำผิด 3 เท่า เตรียมเคาะ ผจก.ตลท.ใหม่ กลางเดือนนี้
การลดดอกเบี้ยครั้งแรก ของ ธนาคารกลางยุโรป 6 มิ.ย.
เงินเฟ้อ ไทย เดือน พ.ค. เร่งตัวขึ้น 1.2% y-y
เกณฑ์ใหม่ ตลท. ห้าม บจ.ที่เป็น Investment company เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดฯ
ราคาน้ำมันดิบ ไม่ตอบรับข่าว OPEC+ ขยายเวลาลดการผลิตน้ำมันจนถึงปี 68 OPEC+ ปรับลดกำลังการผลิตรวมกันอยู่ที่ 5.86 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 5.7% ของอุปสงค์ทั่วโลก โอเปกพลัสเห็นพ้องที่จะขยายเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปจากเดิมถึงสิ้นปี 2567 เป็นถึงสิ้นปี 2568 และขยายเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 3 เดือนจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3/2567 หลังจากนั้น โอเปกพลัสจะค่อยๆ เริ่มยุติการลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงหนึ่งปีตั้งแต่เดือนต.ค. 2567 ถึงเดือนก.ย. 2568
คาดหุ้นเข้า SET50 BJC TIDLOR BCP ITC หุ้นออก SAWAD COM7 KCE BANPU (ที่มาข่าวหุ้น)


หุ้นแนะนำวันนี้
ADVANC เตรียม Kick off บอลยูโร แม้ AIS ไม่ได้สิทธิ์ แต่ได้อานิสงส์รายได้ซื้อแพคฯเสริม: ติดตามผลบอล โทรอัพเดทเพื่อน ฯลฯ
(S 205, R 210, SL 204)

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

WHAUP
ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์
ทำไม WHAUP ถึงเด่นกว่ากลุ่ม
ราคาหุ้น WHAUP ช่วง YTD ที่ +8.2% ถือว่า Outperform ทั้งกลุ่มโรงไฟฟ้า (-3.5% YTD) และ SET (-2.6% YTD) เรามองว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพราะมีปัจจัยบวกต่อจาก
1) ยังเห็น WHA โอนที่ดินขนาดใหญ่อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงโอกาสที่ WHAUP จะมีลูกค้ามาเซ็นสัญญาเพิ่มเติมทั้งการซื้อน้ำ-ไฟฟ้า และใน 1Q24 ก็เห็นการทำ PPA ที่มีนัยฯ เข้ามาราวๆ 60Mwe และน้ำ 3.5 ล้านคิว/ปี แล้ว นอกจากนี้ หากมีประเด็นการค้าจีน-สหรัฐฯ โมเมนตันดังกล่าวก็ยังคงดี
2) ถัดไป Data Center จะมาช่วยเร่งการใช้ไฟฟ้าอีกต่อ โดยรายใหญ่ๆ อย่าง AWS, Microsoft และ Google กำลังพิจารณาลงทุนในภูมิภาคนี้ และ Data Center จะใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชม. รวมทั้งปกติบริษัทใหญ่ๆ มักมีเรื่อง ESG ทำให้ต้องการพลังงานสะอาดด้วย (ซึ่ง WHAUP มีอยู่แล้ว)
3) การพัฒนา Green Logistics ของกลุ่ม WHA โดย WHA และ WHAUP อยู่ระหว่างทำโครงการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้า ไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของการชาร์จไฟฟ้า และในอีก 5 ปี คาดว่าจะมีแบตฯ ของ EV เก่า สำหรับให้ WHA/WHAUP นำไปทำระบบกักเก็บ (รีไซเคิล) ซึ่งจะต้นทุนต่ำลง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้
4) ปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย เราได้ปรับกำไรปี 2024 ขึ้น 13% และราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 5.6 บาท (เดิม 5.5 บาท) โดยมอง Div. yields 6% ต่อปี ก็ค่อนข้างดึงดูด เทียบกับ ECGO หรือ RATCH เพราะแนวโน้มกำไรดีกว่า จึงให้คำแนะนำซื้อ

MOSHI
(Visit Note)
โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น
ในระยะสั้นยังถูกกดดันจากปัญหาสินค้าขาด
ใน 1Q24 MOSHI มีการรายงานกำไรสุทธิที่ 125 ล้านบาท เติบโต 45% YoY แต่ลดลง 19% QoQ (ตามฤดูกาล) การเติบโตของกำไรหนุนโดยรายได้เติบโต 23% YoY โดยสาขาใหม่และการขยายตัวของอัตราการทำกำไรเป็นหลัก ขณะที่เริ่มเห็นการแผ่วลงของยอดขายสาขาเดิม อย่างไรก็ดี แม้ผู้บริหารยังคงตั้งเป้าการเติบโตของรายได้จากทั้ง SSSG และการขยายสาขาที่ 20% ในปีนี้ โดยบริษัทมีการปรับเป้าหมายการขยายสาขาขึ้นจาก 20 สาขาเป็น 30 สาขาในปี 2024 บริษัทคาดว่าการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน สินค้าใหม่ๆ รวมถึงสินค้าการ์ตูนลิขสิทธิ์จากเกาหลีและญี่ปุ่น ประกอบกับการจัดแคมเปญโปรโมชั่น รวมถึงการจัด Exhibition (ใน 3Q24) จะเป็นตัวขับเคลื่อนรายได้
แต่ระยะสั้น ปัญหาสินค้าขาดแคลนอาจกดดัน SSSG และอัตราการทำกำไร โดยผู้บริหารยังมอง SSSG ใน 2Q24 แผ่ว (คาดไม่เกิน +1%) ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาสินค้าขาดแคลน ซึ่งน่าจะส่งผลกดดันอัตรากำไรขั้นต้นด้วย หลังจากเจอปัญหาจากผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้งนี้ MOSHI มีการปรับระบบ Customize inventory ให้ดีขึ้น และมีการกระจายการสั่งสินค้า เพื่อลดการพึ่งพา Supplier รายใดรายหนึ่งมากเกินไป
Bloomberg consensus คาดการณ์กำไร เติบโต 25% ในปี 2024 ปัจจุบัน MOSHI เทรดบน PER 2024 ที่ 30.4 เท่า


สรุปประเด็นจาก Quick take

Global Marco Update
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณผันผวน ... ภาคการผลิตอ่อนแอ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณผันผวน ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (US ISM Manufacturing PMI) ลดลงสู่ระดับ 48.7 ในเดือนพ.ค. อยู่ในโซนหดตัว (ลดลงจาก 49.2 ในเดือนเม.ย.) และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 49.6 โดยคำสั่งซื้อใหม่และสต๊อกสินค้าปรับตัวลง
แรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มอ่อนลง ดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ (PCE) ยังคง ทรงตัวที่ 2.7% YoY ในเดือนเม.ย. (ตามคาด) แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย MoM ซึ่งหากไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน ดัชนี core PCE ยังคงที่ 2.8% YoY แต่ชะลอตัวลงเหลือ 0.2% MoM (เทียบกับ 0.3% MoM ในเดือนมี.ค. และคาดการณ์ของตลาดที่ 0.3%)

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

อ่อนตัว By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วันนี้ พรุ่งนี้ ประเทศไทย เข้าสู่ฤดูฝน ตอนนี้แถว รัชดาฯฝนตก อากาศเย็นสบาย นั่งมองหุ้นหลาย....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้