Market Wrap-Up
- SET วันที่ 24 พ.ค.67 ปิด -3.36 จุด อยู่ที่ 1,364.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 35,778 ลบ.ต่างชาติขาย 834 ลบ.รายย่อยขาย 125 ลบ. สถาบันซื้อ 646 ลบ. NVDR มียอดขายสุทธิรวม 341 ลบ. โดยมียอดซื้อสุทธิในหุ้นTISCO,ITC,KBANK,LH,CPALL และมียอดขายสุทธิ TRUE,SCC,DELTA,TTB,BEM มูลค่า Short Sales อยู่ที่ 4,775 ลบ. หุ้นที่มี%ปริมาณ Short สูงคือ MAJOR-R,IRPC,TCAP โดยนักลงทุนต่างประเทศมีสถานะ Long ใน Index Futures จำนวน 4,511 สัญญา ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีต่างชาติ Long สุทธิรวม 46,684 สัญญา นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรจำนวน 63 ลบ.
- ตลาดหุ้นสหรัฐ DJIA +0.01%, S&P500 +0.70%, Nasdaq +1.10% ได้แรงหนุนจากกลุ่มบริการสื่อสาร +1.29%, เทคโนโลยี & สาธารณูปโภค +1% หลัง ม.มิชิแกนเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ พ.ค. ลดลงอยู่ที่ 1 & เม.ย. 77.2 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน และคาดเงินเฟ้อสหรัฐ 1 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 3.3% & เม.ย. ที่ 3.5% ตลาดหุ้นยุโรป Stoxx600 -0.19% จากแรงขายกลุ่มสาธารณูปโภค, เฮลธ์แคร์ , อาหาร & เครื่องดื่ม
Market View
- DJIA -2.34%, S&P500 +0.03%, Nasdaq +1.41% WoW หลังรายงาน PMI รวมภาคผลิต & บริการสหรัฐ เบื้องต้น พ.ค. ปรับขึ้นอยู่ที่ 4 & เม.ย. 51.3 สูงสุดในรอบ 25 เดือน กอปรกับผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ลดลง 8,000 อยู่ที่ 215,000 ราย ต่ำกว่าคาดที่ 220,000 ราย จากปัจจัยดังกล่าวบ่งขี้ภาวะเศรษฐกิจ & ตลาดแรงงานสหรัฐยังแข็งแกร่ง อาจส่งผลให้เงินเฟ้อลดลงช้ากว่าคาด โดย CME Fed Watch ชี้โอกาส 49.4% & เดิม 54.8 % คาดเฟดจะลดดอกเบี้ย 0.25% ใน ก.ย. นี้ ขณะที่กลุ่มเทคโนโลยีได้แรงหนุนจากผลประกอบการของ Nvidia สัปดาห์นี้วันพฤหัสติดตาม GDP สหรัฐ Q1/67 ครั้งที่ 2 คาด +1.2% & ครั้ง 1 ที่ +1.6% QoQ และวันศุกร์ Core US PCE เม.ย. คาด 2.8% YoY , 0.3% MoM
- Stoxx600 -0.19% WoW ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลัง PMI รวมภาคผลิต & บริการยูโรโซน เบื้องต้น พ.ค. ปรับขึ้นอยู่ที่ 3 & เม.ย. 51.7 สูงสุดในรอบ 1 ปี กอปรกับ GDP เยอรมัน Q1/67 +0.2% & Q4/66 -0.3% QoQ ส่งผลให้ตลาดกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อยูโรโซนอาจสูงขึ้น หาก ECB จะเริ่มลดดอกเบี้ยใน มิ.ย. สัปดาห์นี้วันศุกร์ติดตาม Core CPI ยูโรโซน พ.ค. คาด 2.8% & เม.ย. 2.7% YoY
- MSCI Asia Pacific X Japan -1.4% WoW ถูกกดดันจากเฟดอาจตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด และสหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนมูลค่า $ 1.8 หมื่น ล. จะมีผลในวันที่ 1 ส.ค. นี้ อาจก่อให้เกิดสงครามการค้ารอบใหม่ ขณะที่จีนได้ซ้อมรบบริเวณช่องแคบไต้หวัน ส่งผลให้ปัจจัยเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์สูงขึ้น
- SET -1.31% WoW ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย/วัน 1 หมื่น ลบ. -10.5% WoW ต่างชาติขาย 4,894 ลบ.สถาบันซื้อ 1,859 ลบ. พอร์ตโบรกซื้อ 1,456 ลบ. รายย่อยซื้อ 1,579 ลบ. โดยกลุ่มที่ปรับลดลง คือ ยานยนต์ หลัง NEX -43% WoW จากความกังวลการส่งมอบรถยนต์ EV ปีนี้จะต่ำกว่าเป้าหมาย ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวชะลอตัวในช่วง Low Season และกลุ่มไฟแนนท์ & อสังหา ฯ ก็ปรับลดลงจากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัว หลัง GDP ไทย Q1/67 +1.5% แม้ว่าสูงกว่าคาดที่ 0.8% แต่สภาพัฒน์ลดคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ลงอยู่ที่ 2.5% จากปัจจัยเสี่ยงสงครามการค้า, Geopolitic และหนี้ครัวเรือนในประเทศอยู่ระดับสูง ขณะที่กลุ่มอาหาร & เครื่องดื่มเป็นกลุ่มช่วยหนุนดัชนี หลังส่งออกไทย เม.ย. ในหมวดเกษตรอุต ฯ +12.7% YoY ส่วนปัจจัยการเมือง ศาล รธน.รับคำร้อง 40 สว.ในการวินิจฉัยสถานภาพของนายก ฯ โดยให้ชี้แจ้งคำกล่าวหาใน 15 วัน ส่งผลให้ปัจจัยเสี่ยงการเมืองสูงขึ้น ระหว่างรอคำวินิจฉัย ศาล รธน.อย่างเร็วสุดในช่วงปลาย มิ.ย. นี้ ประเด็นต้องติดตามวันนี้ การประชุม ครม.เศรษฐกิจนัดแรก และวันศุกร์ MSCI จะรีบาลานท์ดัชนี โดย LH, BTS, MTC ถูกถอดออกจาก Global Standard Index อาจส่งผลให้ดัชนีผันผวนในช่วงปิดตลาด
Daily Strategy
- ประเมินดัชนี SET Index ทรงตัวในกรอบแนวรับ 1,355 – 1,360 แนวต้าน 1,370 – 1,375 ระหว่างรอตัวเลข US PCE ในช่วงค่ำวันศุกร์นี้ เพื่อแนวโน้มเงินเฟ้อ & ดอกเบี้ยสหรัฐ แนะนำทยอยซื้อกลุ่มอาหาร & เครื่องดื่ม เป็นกลุ่มปลอดภัย เช่น GFPT, TFG, TU, AAI, ITC, XO, CBG, OSP / เก็งกำไร RCL,SINO,ETL จากค่าระวางคอนเทนเนอร์ปรับสูงขึ้น
- KCE* (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย IAA Consensus 52.00 บาท) บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 67 เติบโตราว 4-7%YoY และ GPM ที่ 24% โดยคาดยอดขายมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นใน 2Q67 ต่อเนื่อง 3Q67 จากที่ล่าช้าในช่วง 1Q67 อัตรากำไรขั้นต้นคาดทยอยเพิ่มจาก 1Q67 ที่ 23% จากการประหยัดต่อขนาด การลดต้นทุนด้วย AI ทั้งนี้ตลาดคาดกำไรปี 67-68 อยู่ที่ 1 พันล้านบาท +22%YoY และ 2.3 พันล้านบาท +12%YoY
- TU (ซื้อ / ราคาเป้าหมายปี67 19.50 บาท) กำไรปกติ 1Q67 อยู่ที่ 892 ลบ.(+10.60%YoY, -24.12%QoQ) สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ดีYoY ในส่วน ของ operation หลักจากธุรกิจ Petcare และ Ambient Seafood ส่วน 2Q67 เราคาดเห็นกำไรแกว่งขึ้น YoY QoQ จาก 1.ฐานต่ำปกติใน 2Q66 จากในช่วงเวลาดังกล่าว Inventory คู่ค้าอยู่ในระดับสูงจึงไม่ออเดอร์สินค้าใหม่คาดต้นทุนราคาปลาทูน่าอยู่ในระดับต่ำ 1,300-1,500 usd/ton (จากช่วง 2Q66 ที่ 2,000 usd/ton ) ทั้งนี้ราคาปลาทูน่าที่มีโอกาสแกว่งจากโซนล่าง(ราว1,300 usd/ton ใน 1Q67)ขึ้นบน(แต่ไม่สูงเกินไป ไม่สูงกว่า 1,800 usd/ton โดย เม.ย.67 อยู่ที่ 1,375 usd/ton) นอกจากต้นทุนสินค้าใน Inventory ถูกแล้ว ยังดีต่อการปรับราคาขายOEMขึ้นด้วย เป็นบวกมากต่อมาร์จิ้น
Daily Key Factors
Oil Update(+) WTI ก.ค. +$0.85 อยู่ที่ $77.72/บาร์เรล Brent ก.ค. +$0.76อยู่ที่ $82.12/บาร์เรล สัปดาห์ที่ผ่านมา WTI -2.8%, Brent -2.1% WoW จากความกังวลเฟดตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด อาจกระทบด้านลบต่ออุปสงค์น้ำมันตลาดโลก โดยรอผลการประชุมโอเปกพลัสวันที่ 2 มิ.ย.
Gold Update(-) Comex Gold มิ.ย. -$2.70 อยู่ที่ $2,334.50 /ออนซ์ สัปดาห์ที่ผ่านมาสัญญาทองคำ -3% WoW ถูกกดดันจากเฟดอาจตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด โดยสัปดาห์นี้ติดตาม US PCE เม.ย. เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อ
Fund Flow(-) Fund Flow ต่างชาติในตลาด TIP สัปดาห์ที่ผ่านมา ขายสุทธิ -229.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขายหุ้นไทย -133.48 ล.ดอลลาร์สหรัฐ ขายหุ้นอินโดฯ -87.02 ล.ดอลลาร์สหรัฐ และขายหุ้นฟิลิปปินส์ -8.78 ล.ดอลลาร์สหรัฐ
(0) ค่าเงินบาทเช้านีทรงตัวอยู่ที่ 36.64 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(0) ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ลดลงอยู่ที่ 4.451 %
(+) ดัชนี BDI วานนี้ +1 จุด อยู่ที่ 1,797
(-) BitCoinเช้านี้ -0.55% อยู่ที่ 68,776 ดอลลาร์สหรัฐ
(0) วันนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการในวัน Memorial Day, ตลาดหุ้นอังกฤษปิดในวัน Bank Holiday
Economic Calendar
ในประเทศ
27 พ.ค. สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 1/67
31 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
สัปดาห์ที5 สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค,ดัชนี
ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
ต่างประเทศ
27 พ.ค. US วันระลึกถึงทหารที่จากไป
28 พ.ค. USรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากซี ( พ.ค.)
30 พ.ค. US ดัชนีจีดีพี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 1)
US สินค้าคงคลังน้ำมันดิบ
US จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
31 พ.ค. CN ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ( พ.ค.)
EU ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) (ปีต่อปี) ( พ.ค.)
US ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เม.ย.)
Theme Strategy
Theme หุ้นเด่นปี 2567 รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ด้านส่งออกมีโอกาสกลับมาขยายตัว ท่องเที่ยวฟื้นตามจำนวนนักท่องเที่ยว คาดหวัง Flow ไหลกลับหลังธนาคารกลางหลักมีโอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ย
(1) กลุ่มการอุปโภคบริโภค ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ CPALL, CPAXT*, CPN*, CRC, ICHI*, NSL*
(2) กลุ่มส่งออก ได้ประโยชน์จากตัวเลขส่งออกที่คาดฟื้นตัว AAI*, ITC*, TU, COCOCO*, PLUS*, OSP*, SAPPE*, KCE*
(3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้ประโยชน์จากมาตรการ Free Visa AOT*, CENTEL*, ERW*, SPA*, SISB*, WPH*
(4) กลุ่ม Leasing ได้ประโยชน์จากการยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น MTC*, TIDLOR*
(5) กลุ่มโรงไฟฟ้า ได้ประโยชน์จากต้นทุนก๊าซฯ ลดลง BGRIM*, GPSC*
(6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม/ EV ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต สงครามการค้า AMATA, WHA
**หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ที่ยังไม่อยู่ใน Coverage ของฝ่ายวิจัย
Asset Allocation: Equity 50% Fixed Income 30% Alternative Investment etc. Gold 10% Cash 10%
Today Fundamental Research: -
Monthly Portfolio May 2024: GFPT*, SAPPE*, ITC*, BTG*, CPALL, KLINIQ
Analysts
Apichai Raomanachai
Fundamental and Technical Investment Analysis ID No. 002939
Tel 02-829-6999 Ext 2200
Email : apichai.ra@kfsec.co.th
Nopporn Chaykaew
Fundamental Analysis ID No. 043964
Tel 02-829-6999 Ext 2203
Email : noppoen.ch@kfsec.co.th
Nattawat Poosunthornsri
Fundamental Analysis ID No. 087077
Tel 02-829-6999 Ext 2204
Email : nattawat.po@kfsec.co.th