Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

494

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
ประเด็นสำคัญ:
การติดตามกระแสการลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากยอดซื้อสุทธิที่เป็นบวกสามสัปดาห์ติดต่อกัน โดยสัปดาห์ล่าสุดมี net inflow รวมกัน 4,024 ล้านเหรียญ เร่งตัวขึ้นจาก 1,689 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยแรงซื้อที่มากสุดเกิดขึ้นในตลาดหุุ้นไต้หวันจำนวน 3,693 ล้านเหรียญ รองลงมาเป็นเกาหลีใต้จำนวน 232 ล้านเหรียญ ส่วนตลาด TIP เป็น net inflow รวมกัน 99 ล้านเหรียญ และมีแรงซื้อเด่นสุดในตลาดหุ้นไทยมูลค่า 143 ล้านเหรียญ
สำหรับเซคเตอร์เด่นของภูมิภาคจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index มีดังนี้ (1) Basic Materials (2) Mining & Oil และ (3) Transportation & Storage
แนวโน้ม:
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในระยะสั้น (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker) ได้แก่
 กลุ่มที่ Volume Index อยู่ใกล้กับระดับ mid-point และมีแนวโน้มดีขึ้นในระยะสั้น ได้แก่ Bank
 กลุ่มที่ Volume Index มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากระดับสูงกว่า mid-point ได้แก่ Transportation
 กลุ่มที่ Volume Index มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า mid-point ได้แก่ ICT
อัพเดต Market Timing Indicator (เฉพาะตลาดหุ้นไทย):
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหว sideways up หนุนโดยผลประกอบการไตรมาส 1 และจิตวิทยาการลงทุนที่ดีขึ้น
เราคาดว่าการฟื้นตัวของ SET จะดำเนินต่อไปในระยะสั้น จากสัญญาณบวก Market Timing Indicator ดังต่อไปนี้
1 ค่าความผันผวนข้ามวัน (overnight volatility) ได้ลดลงต่อเนื่องจากพีค 18% ในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็น 9.8% ในปัจจุบัน และยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีค่อนข้างมาก
2 ดัชนี Short-term Bull-to-Bear ได้ปรับตัวขึ้นจาก 40% ในสัปดาห์ก่อนเป็น 58% ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Short-term Momentum ก็ฟื้นตัวจากโซนติดลบจนกลับเข้าสู่โซนบวกแล้ว ดังนั้นดัชนี SET จึงมีโอกาสขึ้นทดสอบ 1400 จุดในช่วงปลายเดือนนี้ จากแรงส่งของโมเมนตัมตลาดที่ดีขึ้น และดีที่สุดในรอบหนึ่งเดือน

สรุปภาพตลาดวานนี้
ดัชนี Sideways down วานนี้ โดยแรงขายบลูชิปกดดันจาก DELTA AOT BDMS MINT CPN TRUE BH MTC (มีการ Take-profit หุ้นนำขึ้นก่อนหน้า) แต่ก็เห็นแรงซื้องัดหุ้นล่างขึ้นมาระหว่างวัน ทั้งถ่านหิน BANPU LANNA อุปกรณ์ไอที COM7 ADVICE กลุ่มเทคฯ งานระบบ ITEL INSET SAV เป็นต้น


แนวโน้มตลาดวันนี้
ย่อสลับรีบาวด์
วันนี้คาดหุ้นไทยย่อสลับรีบาวด์ อาการคล้ายเมื่อวาน แม้ภาพรวมจะเห็นปัจจัยบวกที่ทยอยสร้างความเชื่อมั่น เช่น เมื่อวาน GDP ไทย 1Q24 +1.5% y-y ดีกว่าคาด แต่การไต่ระดับขึ้นของหุ้นไทย ดูจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และเรายังคงมุมมองการไต่ระดับขึ้นพ้นน้ำในสัปดาห์นี้ตามรายงานกลยุทธ์ประจำสัปดาห์...
ทั้งนี้ปัจจัยหนุนอื่นๆ ที่เราระบุไว้ในรายงานกลยุทธ์ประจำสัปดาห์ ยังเป็นไปตาม ไทม์ไลน์ที่เราประเมิน เช่น วันนี้ ความชัดเจนเรื่องการนำ LTF กลับมาใช้, พรุ่งนี้ ถ้อยแถลงประธานเฟด (FOMC Minutes) ฯลฯ ทำให้เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อการเล่นหุ้นไทยรอบนี้
ขณะที่ข่าวลบซึ่งอาจสร้างความประหลาดใจเชิงลบต่อตลาดช่วงนี้ เรายังไม่คิดว่าจะมีเข้ามาจนสร้างน้ำหนักเชิงลบกดดันหุ้นไทย เช่น ข่าวการเมืองในประเทศ: 40 สว.ยื่นศาลฯ พิจารณาคุณสมบัตินายกฯ (เรามองว่ายังมีรองนายกพร้อมปฏิบัติงาน) ข่าวอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของ ปธน.อิหร่านตก ซึ่งยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ (เราเห็นว่าอาจส่งผลให้นโยบายทางการทหารที่เคยสร้างความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มฮามาส กับอิสราเอล ชะลอออกไป เป็นต้น)
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้ามองหาปัจจัยหนุนแนวโน้มกำไรไตรมาส 2/24 และครึ่งปีหลัง ตลอดจนการเลือกหุ้นเล่นตามกระแส เช่น หุ้นรับอานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนขนานใหญ่ เป็นต้น

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้าหลังเห็นงบทั้งหมดในสัปดาห์นี้ เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เช่น ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งตะวันตก (โอลิมปิกฝรั่งเศส, บอลยูโร เยอรมัน) MINT AOT อาหารส่งออก TU CPF เป็นต้น

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ทำจุดสูงสุดใหม่ระหว่างวันที่ 1,389 จุด แต่ยืนไม่ได้! ย่อกลับ อย่างไรก็ตามเส้น EMA 3 เส้นทำหน้าที่โซนรับได้อย่างแข็งแกร่งบริเวณ 1,375 จุด ขณะที่ RSI flat รอจังหวะขึ้น....ส่วนวอลุ่มยังไม่เข้า...เงื่อนไขกลับตัวอาจต้องเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย > 5 หมื่นล้านบาท/วัน แผนเทรดภายหลังสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลข GDP 1Q/24 โตดีกว่าคาดและอาจเป็นจุดต่ำสุดในไตรมาสนี้.....เศรษฐกิจเริ่มฟื้นขาแรก หุ้นแบงค์คาดกลับมาน่าสนใจ คาดฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจ หุ้นแนะนำ KTB & TTB ติดตามหน้าเลือกหุ้นเด่นครับ

 

 

What to watch
สว.ร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถือเป็นหน้าที่ "อ.เจษฎ์" ชี้โอกาสเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองสูง รอลุ้นคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ จับตาศาล รธน. นัดพิจารณา 23 พฤษภาคม
ประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เดือน ต.ค. ยังไม่นิ่ง หลังมีองค์กรเอกชนเกือบ 200 องค์กร ค้านนโยบายรัฐบาลดังกล่าว ทั้งนี้ วันที่ 19 มิ.ย. คาดว่าจะมีการประชุมและหาทางออกอีกที
การประชุม FETCO วันที่ 21 พ.ค. เพื่อคลอดเกณฑ์ใหม่สำหรับ TESG, SSF รวมถึงการเสนอมาตรการสนับสนุนการออม เช่น นำ LTF กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เร็ว
รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐวันพุธ


หุ้นแนนำวันนี้
KTBข่าว ITD ปลดล็อคเหมืองโปแตสให้กลุ่มทุน จีน คาดหนุน Sentiment ราคาหุ้นธนาคารเจ้าหนี้ (S 17, R 17.6, SL 16.5)

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

Commodities
ค่าระวางเรือตู้ เด่นนำชาวบ้าน
ในสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบดูไบ ย่อลงเล็กน้อย $0.22 WoW เป็น $83.91/บาร์เรล (ลบต่อ PTTEP เล็กน้อย)
ค่าการกลั่น (อิงสิงคโปร์) ปรับตัวลง $0.99 WoW เป็น $2.38/บาร์เรล กดดันจาก Gasoline และดีเซล เป็นหลัก (ลบต่อ SPRC และ TOP มากสุด)
ส่วนต่างราคา (Spread) ส่วนใหญ่กลับมาอ่อนแอลง หลักๆ จากต้นทุนเพิ่ม (โดยรวมลบต่อ PTTGC มากสุด)
ราคาถ่านหินย่อลง 4% WoW เป็น $143.04/ตัน (ลบต่อ BANPU)
ค่าระวางเรือเทกอง (BDI) ปรับตัวลง 10% WoW เป็น 1,922 จุด จากทุกขนาดเรือ (บวกต่อ PSL และ TTA)
ส่วนค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ (World Container Index) เพิ่มขึ้นต่อ 11% WoW เป็น 3,511 จุด (บวกต่อ RCL)
Fundamental View: เชิงพื้นฐานเราชอบ PTTEP มากสุดสำหรับพลังงานต้นน้ำ, TOP มากสุดในกลุ่มโรงกลั่น และเห็นโอกาสเก็งกำไรในกลุ่มเดินเรือ และเห็นโอกาสเก็งกำไร RCL

Technology Sector
เปลี่ยนหน้าผู้นำ
ผลประกอบการใน 1Q24 ของกลุ่มผู้นำการเติบโตที่มีกำไรเติบโตมากกว่า 30% YoY ประกอบด้วย ITEL HUMAN และ DITTO ในขณะที่กลุ่ม Tech consult หลายบริษัทเจอกับปัญหาภาวะอุตสหากรรมที่ชะลอการตัดสินใจจากงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า ทำให้ภาคเอกชนรอดูท่าทีที่ชัดเจน กดดันการเติบโตของทั้ง BBIK, SRS และ TBN
เรามองว่าทิศทางการเติบโตของกำไรใน 2Q24 จะเห็น YGG กลับมาเติบโตแกร่งจากทุกธุรกิจโดยเฉพาะการปิดดีลหนังของตัวเอง ตามมาด้วย TBN ที่เริ่มมีการรับรู้รายได้งานใหม่ในมือ และผู้นำเดิมอย่าง HUMAN ITEL และ DITTO คาดเติบโตต่อเนื่อง

Utilities Sector
ผลกระทบจากการเปลี่ยนเกณฑ์สำรองไฟฟ้า
รายงานนี้จะเป็นลักษณะให้ความรู้ (Knowledge Sharing) กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนเกณฑ์การวัดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าจากสำรองไฟฟ้าเดิม (Reserve Margin: RM) มาเป็นความเสี่ยงไฟฟ้าดับ (Loss-of-Load Expectation: LOLE) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า (PDP) ครั้งต่อไป โดยจะมีการเพิ่มแหล่งพลังงานที่เน้นสม่ำเสมอได้มากขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม หรือพลังงานหมุนเวียนที่มาควบคู่กับระบบแบตเตอรี่ (ESS)
เดิมการใช้ RM อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าสูงสุดมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เช่น ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2024 เวลา 22:24 น. ที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) บันทึกสถิติความต้องการไฟฟ้าสูงสุดใหม่ที่ 36.8GW แต่หากคำนวณตาม RM จะเท่ากับ 38% ซึ่งความหมายจะคลาดเคลื่อนว่ามีไฟฟ้าสำรองเกินความต้องการ แต่ในช่วงเวลากลางคืน/ฤดูร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ไม่สามารถใช้งานได้ และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมีจำกัด (หรือแล้ง) ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิจริงๆ เพียงประมาณ 39.5GW เท่านั้น (ใกล้กับไฟฟ้าช่วง Peak) ดังนั้น LOLE จึงเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมกว่า
โดยแผน PDP ฉบับใหม่จะมุ่งเป้าไปที่ LOLE ไม่เกิน 0.7 วันต่อปี ซึ่งการรักษา LOLE ให้ต่ำจำเป็นต้องเพิ่มโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานที่เน้นสม่ำเสมอดังกล่าว 670 MW ภายในปี 2027 และ 6.9 GW ภายในปี 2032
Fundamental view: เราคาดผู้ที่จะได้รับประโยชน์มากสุดจากธีมนี้ ได้แก่ GULF และ WHAUP


BA
(Visit Note)
การบินกรุงเทพ
แนวโน้ม 2Q24 ชะลอตัวช่วงโลว์ซีซั่น คาดฟื้นตัวใน 2H24
BA รายงานกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 1,873 ล้านบาท เติบโต 114% YoY และพลิกกลับจากการรายงานขาดทุนสุทธิใน 4Q23 หนุนโดยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น (+11% YoY, +34% QoQ), ราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยที่สูงขึ้น (+18% YoY, +12% QoQ), หนุนอัตรากำไรดีขึ้น แนวโน้ม 2Q24 บริษัทคาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะทรงตัว YoY ที่ (แต่ลดลง QoQ ตามฤดูกาล) ส่วนราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น YoY ได้ต่อเนื่อง
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานใน 2H24 เมื่อเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวเกาะสมุยและการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินที่สนามบินสมุย จากปัจจุบัน 50 เที่ยวบิน/วัน เป็น 73 เที่ยวบิน นอกจากนั้นบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาสนามบินตราด โดยจะสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่และขยายความยาวของทางวิ่งเครื่องบิน (runway) เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ขึ้นและการพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ
Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไรสุทธิของ BA ปี 2024 ที่ 2.2 พันล้านบาท ลดลง 28% ปัจจุบัน BA ซื้อขายที่ PBV ปี 2024 ที่ 2.1 เท่า (ค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ 1.7 เท่า)

 

CPNREIT
(Visit Note)
ทรัสต์เพื่อการลงทุน ในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท
Overhang ใหญ่ๆ หายไป
ใน 1Q24 CPNREIT รายงานผลประกอบการยังคงแข็งแกร่ง กำไรจากการลงทุนสุทธิ (ไม่รวมผลจาก TFRS16) ของกองใน 1Q24 อยู่ที่ 1,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% YoY และ 5% QoQ (จากรายได้ค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟและดอกเบี้ยที่ลดลง) มองไป 2H24 เราคาดว่ารายได้จากศูนย์การค้า และจากโรงแรมฮิลตันพัทยา จะยังเป็นตัวนำการเติบโต

หลังจากการเพิ่มทุนและการต่อสัญญาเช่าเซ็นทรัลปิ่นเกล้าได้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย (8 พ.ค. 2024) เราคาดว่า CPNREIT น่าจะกลับมามีความน่าสนใจอีกครั้ง จากรายได้ค่าเช่าและอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่คาดว่าน่าจะยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย ที่ในไทยน่าจะพีคไปแล้ว
Our view: เรายังมองว่า CPNREIT ผ่านจุดแย่สุดไปแล้ว กลับมาลุ้นรับปันผลแบบความเสี่ยงต่ำลงได้ โดย Bloomberg มีการคาดการณ์อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลของ CPNREIT ที่ระดับ 10.5% ในปี 2024 (DPU ที่ 1.055 บาทต่อหน่วย) และ 10.9% ในปี 2025 (DPU ที่ 1.098 บาทต่อหน่วย) โดยถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดที่ระดับผลตอบแทนเฉลี่ยจากเงินปันผลต่อปีอยู่ที่ 6-8%

SAPPE
(Visit Note)
เซ็ปเป้
คาดกำไร 2Q23 โตต่อเนื่อง YoY และ QoQ
หลังจากที่บริษัทรายงานกำไร 1Q24 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 79% ใน 1Q24 เกิดการประหยัดต่อขนาดการผลิต รวมถึงการลดลงของต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ บริษัทยังเห็นโมเมนตัมการเติบโตของรายได้และอัตรากำไรขั้นต้น ดีต่อเนื่องมายัง 2Q24 ผู้บริหารคาดการณ์รายได้เติบโตอยู่ในช่วง 20-25% YoY และ 4-9% QoQ สอดคล้องกับเป้ารายได้โตเต็มปี 2024 และมีGM ใกล้เคียง 1Q24 (กำไรเติบโต YoY, QoQ ต่อ)
บริษัทคงเป้ารายได้ทั้งปีโต 20-25% YoY และคาดอัตรากำไรขั้นต้นปี 2024 คงที่จากปี 2023 ที่ 45% แม้ว่าจะมีต้นทุนค่าเสื่อมราคาเพิ่ม จากการขยายกำลังการผลิตอีก 25% (เข้า 2Q24) แต่เป็นการใช้โรงงานเดิมแบบเพิ่มกำลังการผลิต และเป็นอัตโนมัติมากขั้น จึงคาดว่า GM จะคงที่ได้
Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2024 เติบโต 23% YoY ซึ่งมีการปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 3% จากข้อมูล ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2024 ปัจจุบัน SAPPE ซื้อขายบน PER ที่ 23.5 เท่า (ค่าเฉลี่ยกลุ่มอยู่ที่ 20.5 เท่า)

 

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

HANA
ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์ช่วงบ่ายวันนี้มุมมองออกมาเป็นกลาง
View From Fundamental: เรามองว่าทิศทางการฟื้นตัวของกำไรเป็นมุมมองเดิมในช่วงก่อนหน้า ไม่ได้มีทิศทางบวกเหมือนกับ KCE อีกทั้งกำไรใน 2Q23 มีฐานที่สูง ภาพรวมกำไร 2Q24 น่าจะลดลง YoY แต่ฟื้นตัว QoQ ยังคงชอบ KCE มากกว่า


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

อ่อนตัว By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วันนี้ พรุ่งนี้ ประเทศไทย เข้าสู่ฤดูฝน ตอนนี้แถว รัชดาฯฝนตก อากาศเย็นสบาย นั่งมองหุ้นหลาย....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้